เรื่องเล่าของเก๊ายาง...


เก๊ายางบ้านเฮาบ่ะเดี่ยว...

     เมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อปี 2438 พระยาทรงสุรเดช (อั๋น บุนนาค) ข้าหลวงใหญ่มณฑลลาวเฉียงได้ปรับปรุงถนนตั้งแต่เชิงสะพานนวรัฐ เลียบแนวริมแม่น้ำปิงยาวมาจนถึงเขตเมืองลำพูนให้มีความกว้างมากขึ้น

 

     ในปี 2425 เจ้าพระยาสุรสีห์วิศิษฐ์ศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) ได้นำพันธุ์ต้นยางนามาปลูกเป็นครั้งแรก หลังจากนั้นมีการปรับปรุงทางอีกครั้งเพื่อให้มีความกว้างเท่ากันตลอดเส้นทาง และได้มีการนำต้นยางมาให้ชาวบ้านปลูกอย่างจริงจังเมื่อปี 2465 ในรัชกาลที่ 6 เพื่อความร่มรื่นและสวยงาม และในเขตเมืองลำพูนได้ปลูกต้นขี้เหล็ก (ข้อมูลเพิ่มเติมที่http://www.oknation.net/blog/akom/2008/03/11/entry-1)

   

  ตลอดเส้นทางของถนนสายนี้มีต้นไม้นับพันกว่าต้น ซึ่งในปัจจุบันพบลดลงมาก จนเกิดประเพณีการบวชต้นยางเกิดขึ้นทุกปี เพื่อร่วมอนุรักษ์ และรักษาต้นไม้คู่บ้านคู่เมืองนี้ไว้ให้ได้มากที่สุด แต่ด้วยความเจริญ ที่เพิ่มขึ้น เทคโนโลยีที่ทันสมัยทำให้มีการตัด/ทำลายต้นยางเหล่านี้ไปหลายต่อหลายต้นในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา

    ต้นยางแต่ละต้นจะมีหมายเลขกำกับอยู่จะมีกี่คนที่รู้ว่าหน้าบ้านตัวเองต้นยางต้นที่เท่าไหร่กันหนอ.....และเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งก็คือต้นยางแต่ละต้นจะมีดอกเอื้อง หรือกล้วยไม้ที่คนทั่วไปรู้จักกันเป็นอย่างดี ช่วง มีนาฯ-เมษาฯ กำลังแข่งกันออกดอกสีเหลืองนวลตาตลอดแนวสองข้างทาง สวยงามมากขอบอก....

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 352838เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2010 18:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

......หันล่ะๆ  krugui  เกยหันแล้วก่เกยก๋ายไปตางสารปีเจื่อๆ.....

ต้นยางสูงใหญ่แสดงถึงความเก่าแก่  ถึงแม้จะเป็นอุปสรรคต่อการขยายถนน

แต่..เราต่างก็อยากอนุรักษ์เอาไว้  ใจ้ก่เจ้า???

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท