โรคจิตเภท


มารู้จักโรคจิตเภทกันเถอะ
      โรคจิตเภท คือ โรคทางจิตใจชนิดหนึ่ง ซึ่งมีความผิดปกติของความคิดเป็นลักษณะเด่น มีลักษณะเป็นกลุ่มอาการผิดปกติหลายๆอย่างรวมกัน สาเหตุไม่ทราบแน่ชัด เกี่ยวข้องกับ สารเคมีในสมองและกรรมพันธุ์ การเลี้ยงดู สิ่งแวดล้อม ความเครียด การใช้สารเสพติด   
       อาการ มีอาการหลงผิด  หมายถึง การที่ผู้ป่วย มีความเชื่อในเรื่องที่ไม่เป็นจริงหรือเชื่อในเรื่องที่ผู้อื่นในสังคมไม่ยอมรับ โดยไม่มีเหตุผลมาอธิบายอาการหลงผิด เช่นหวาดระแวง เชื่อว่ามีคนจ้องปองร้าย  คนคุยกันเรื่องตนเอง ดูทีวีคิดว่าเกี่ยวกับตน คิดว่าตนเป็นคนสำคัญ  คิดว่าตนมีโทรจิต  หรือคนอื่นล่วงรู้คามคิดตน  คนอื่นพูดพาดพิง  มีคนบังคับการกระทำมี อาการประสาทหลอนเช่น หูแว่ว ภาพหลอน คิดไม่ต่อเนื่อง พฤติกรรมแปลกๆ ก้มกราบคนทั่วไป  ยิ้ม หัวเราะคนเดียว หรือไม่แสดงอารมณ์เลย      ผู้ป่วยส่วนหนึ่งดำเนินโรคไปสู่การเป็นโรคเรื้อรัง                
      การรักษา มีการรักษาด้วยยายาที่ได้คือยาต้านโรคจิต จิตบำบัด รักษาด้วยไฟฟ้าซึ่งใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา                   
      การดูแลตนเอง รับประทานยาต่อเนื่องพบแพทย์ตามนัด งดสิ่งเสพติด มีวิธีจัดการกับอาการและความเครียด สังเกตอาการกำเริบ เช่น นอนไม่หลับ ไม่มีสมาธิ สูญเสียการควบคุมตัวเอง สับสน ซึมเศร้า มีความวิตกกังวล กลัว หูแว่ว ภาพหลอน หวาดระแวง
      เมื่อผู้ป่วยหลงผิดญาติควรเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้แสดงความคิด ความรู้สึก การกระทำที่สื่อความหลงผิดโดยไม่แสดงความเห็นโต้แย้งหรือคล้อยตาม ไม่แสดงอาการขบขัน บอกผู้ป่วยว่าเข้าใจความรู้สึก ไม่โต้เถียงให้เปลี่ยนความคิด จัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย
     เมื่อผู้ป่วยประสาทหลอนญาติควรจัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย  เก็บวัตถุหรือสิ่งของที่อาจเป็นอันตรายแก่ผู้ป่วยแนะนำให้ผู้ป่วยบอกเมื่อมีอาการประสาทหลอน อยู่เป็นเพื่อนใกล้ๆ บอกสภาพตามความเป็นจริงพูดคุยเบี่ยงเบน หากิจกรรมเบี่ยงเบนความสนใจ เช่น ซักผ้า รดน้ำต้นไม้
    เมื่อผู้ป่วยมีอาการก้าวร้าวญาติควรมีท่าทีสงบ ช่วยให้ผู้ป่วยรับรู้ว่าความโกรธ ความก้าวร้าวเป็นเรื่องปกติแต่ต้องมีขอบเขตและการแสดงออกที่เหมาะสมจัดกิจกรรมที่เหมาะสมที่ผู้ป่วยสามารถระบายความโกรธได้เช่น การชกกระสอบทราย กีฬา  กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการก้าวร้าวรุนแรงควรยึดหลักปลอดภัยไว้ก่อน เก็บอาวุธออก ไม่ควรอยู่ตามลำพังกับผู้ป่วย ตั้งสติไว้ ใช้น้ำเสียงอ่อนโยน ไม่ยั่วยุหรือตำหนิ เว้นระยะห่างจากผู้ป่วยพอสมควร ไม่ควรจ้องตาผู้ป่วยตรงๆ อาจเพิ่มความระแวง ไม่รับปาก ให้สัญญาในสิ่งที่ญาติทำไม่ได้ รับฟังผู้ป่วยด้วยท่าทีเห็นใจ เข้าใจ ไม่ตำหนิ ค่อยๆชี้แจงความจริง ควรมีหมอนใบใหญ่ๆวางไว้ใกล้ๆ ที่สามารถหยิบมาป้องกันตัวได้ รีบนำส่งโรงพยาบาล
         ญาติเองอาจรู้สึกเหนื่อยล้าเมื่อดูแลผู้ป่วยจิตเภท ควรหาคนดูแลแทนบ้าง หาเวลาพักผ่อน มีวิธีคลายเครียดที่เหมาะสมเช่น ระบายปัญหาให้คนที่ไว้ใจได้ฟัง ออกกำลังกาย ฟังเพลง  ลดความคาดหวังกับผู้ป่วยลง ไม่ตำหนิตนเอง
 
คำสำคัญ (Tags): #โรคจิตเภท
หมายเลขบันทึก: 351460เขียนเมื่อ 13 เมษายน 2010 18:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 13:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ขอบคุณสำหรับสาระดีๆ ครับ

วันนี้รู้สึกเหงา...เศร้า...พี่กำลังเป็นโรคซึมเศร้าหรือเปล่า...อิ..อี...อึ...อื

สวัสดีค่ะ

งานหนักไหมค่ะที่ปลาปาก

ขอบคุณค่ะที่แวะมาเยี่ยม

สวัสดีค่ะพี่ปริมปราง เหงาๆ เศร้าๆ เหรอค่ะ ยิ้มๆๆๆค่ะ

หายหรือยังค่ะ  น้องอุ้มเอาดอกชวนชมงามๆมาฝากค่ะ

สวัสดีค่ะ น้องถาวร

  • ตามมาดูอีกครั้ง...อ้อตอบแล้ว...ส่งภาพมาฝากพี่ใช่ไหมละ...ขอเก็บไปใช้ละนะ...

สวัสดีค่ะพี่ปริมปราง

ดอกไม้สวยๆและรอยยิ้มส่งให้พี่ค่ะ

หวัดดีค่ะ พี่ถาวร เมื่อสัปดาห์ก่อน เพื่อนน้องไปที่ รพ.ศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น จะไปปรึกษาเรื่องการรักษาภาวะการมีบุตรยากน่ะคะ พอดีเพื่อนตรวจแล้วพบว่ามีพังผืดเกาะอยู่ในท่อนำไข่ ไปรอนานเลยค่ะ แต่ไม่ได้พบคุณหมอเพราะวันนี้นหมอไม่ได้เข้า เพื่อนเลยต้องกลับบ้านที่ศรีสะเกษ ทั้งๆที่ยังไม่ปรึกษาหมอเลยสักคำ น้องเลยอยากทราบว่า พี่ถาวรมีคำแนะนำสำหรับเพื่อนน้องไหม รบกวนด้วยนะคะ

สวัสดีค่ะน้องเทียนขาว

ยินดีที่รู้จักค่ะ

สัปดาห์หน้าจะสอบถามข้อมูล รายละเอียดมาให้นะค่ะ

สวัสดีค่ะน้องเทียนข่าว

พี่สอบถามรายละเอียดมาแล้วค่ะ คลินิกมีบุตรยากเปิดทุกอังคารบ่ายค่ะ บ่ายโมงเป็นต้นไปค่ะ หมออกตรวจแน่ๆค่ะ

น้องเทียนขาวสบายดีนะค่ะ พี่เพิ่งมาจากบ้านที่สกลนครค่ะเลยตอบช้าหน่อย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท