เด็กวัฒฯ
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร คนวัฒนธรรม

พฤติกรรมการแต่งกายของคนในยุคนี้


"จะนุ่งห่มดูพอสมศักดิ์สงวน
ให้สมควรรับพักตร์ตามศักดิ์ศรี
จะผัดหน้าทาแป้งแต่งอินทรีย์
ดูฉวีผิวเนื้ออย่าเหลือเกิน
จะเก็บไรไว้ผมให้สมพักตร์
บำรุงสักดิ์ตามศรีมิให้เขิน
เป็นสุภาพราบเรียบแลเจริญ
คงมีผู้สรรเสริญอนงค์ทรง
ใครเห็นน้องต้องนิยมชมไม่ขาด
ว่าฉลาดแต่งร่างเหมือนอย่างหงษ์
ถึงรูปงามทรามสงวนนวลอนงค์
ไม่รู้จักแต่งองค์ก็เสียงามฯ"

 

          บทกลอนข้างต้นนั้นคัดมาจากสุภาษิตสอนหญิงของพระสุนทรโวหาร หรือสุนทรภู่กวีเอกของไทย สะท้อนถึงการประพฤติปฏิบัติตนและการแต่งงกายของสุภาพสตรีไทย ในสมัยปู่ ย่า ตา ยาย ที่ผ่านมา ว่า การเป็นกุลสตรีไทยต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรี รวมถึงการแต่งกายจะต้องแต่งอย่างพอเหมาะพองามไม่มากไม่น้อยเกินไป ที่สำคัญต้องถูกต้องตามกาลเทศะและสุภาพเรียบร้อย

         ค่านิยมการแต่งกายในปัจจุบันที่เปลี่ยนไปจากอดีตที่ผ่านมา อาจเกิดจากการขาดความรู้ความเข้าใจในรากฐานการดำเนินชีวิตของผู้ออกแบบและสสวใส่ ซึ่งอาจไม่เข้าใจว่าเสื้อผ้าอาภรณ์แบบไหนเหมาะสมกับกาลเทศะใด จนกระทั่งเกิดเป็นประเด็นปัญหา เช่น การที่มีคนตั้งข้อสังเกตว่าเยาวชน หรือวัยรุ่นหญิงมีความกล้าในการแต่งกายกันมากขึ้น โดยเฉพาะเครื่องแบบชุดนักศึกษา ทั้งเสื้อและกระโปรงต้องฟิตจนปริหรือรัดรูปร่างจนไม่ส่งผลดีกับภาวะสุขภาพของผู้สวมใส่ มองดูแล้วน่าจะต้องทนอึดอัดกับการสวมใส่อยู่ไม่น้อย ปัจจุบันนักศึกษาจำนวนไม่น้อยมีรสนิยมในการแต่งกายที่ไม่เหมาะสมและถือเป็นแฟชั่น โดยไม่คำนึงถึงกฎระเบียบและรูปแบบที่ถูกต้อง รวมถึงประพฤติตามกันโดยไม่คำนึงถึงความเหมาะสมกับบุคลิกภาพของตนเอง จึงเกิดภาพลักษณ์การแต่งกายของนักศึกษาที่ไม่สวยงาม ไม่เหมาะสม ผู้พบเห็นต่างวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างไม่รู้จบ
        สถาบันการศึกษา ซึ่งเป็นสถาบันมีหน้าที่โดยตรงในการปลูกฝังความดีงามให้อยู่ในจิตสำนึกของเด็กและเยาวชน มีบทบาทสำคัญในการลดการเบี่ยงเบนทางนิยมการแต่งกายของเยาวชนในสังคมไทย ปัจจุบันนี้มีหลายสถาบันที่ส่งเสริมในเรื่องค่านิยมที่ดีในการแต่งกาย และมีนโยบายที่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง มีการส่งเสริมให้นักเรียนใผ้ไทย หรือแต่งกายในแบบชุดไทยใน 1 วันต่อสัปดาห์ ซึ่งหากผ้าไทยได้ถูกกำหนดให้เป็นเครื่องแบบสำหรับนักเรียน สร้างความชื่นชมแก่ผู้พบเห็นโดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยว เยาวชนที่อยู่ในสถาบันการศึกษาก็จะยิ้มแย้มแจ่มใส มีความรู้สึกว่าได้แต่งกายสวยงามเป็นพิเศษกว่าทุกวัน นับเป็นความคิดที่ดีที่มีสถาบันให้การรณรงค์และส่งเสริมสร้างค่านิยมที่ดี สร้างความภูมิใจให้กับเยาวชนไทยอย่างจริงจัง
      จากที่กล่าวมา ทำให้มองเห็นว่า กฎ ระเบียบ ข้อบังคับอาจไม่ใช่วิธีการที่ก่อให้เกิดความเต็มใจในการปฏิบัติ อีกทั้งอาจไม่เกิดลดีในการใช้กับวัยรุ่นหรือเยาชน แต่การปลูกฝัง การจูงใจ สร้างค่านิยมที่ดีงามตั้งแต่เยาว์วัย น่าจะเป็นกลไกสำคัญในการสร้างเสริมพฤติกรรมและค่านิยมที่ดีงามให้กับเยาวชน แม้ว่าในปัจจุบันเทคโนโลยีจะก้าวล้ำไปแค่ไหน แต่ความงามในเรื่องพฤติกรรมและการแต่งกายตามครรลองของวัฒนธรรมก็ยังเป็นสิ่งที่บ่งบอกความเป็นตัวตนคนไทยได้ดีที่สุด

 

                                                                                                   ขอขอบคุณ คุณปัญชลี  ด้วงเอียด
                                                                                                  วารสารศูนย์เฝ้าระวังทางวัฒนธรรม
                                                                                                   สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
   
หมายเลขบันทึก: 351198เขียนเมื่อ 12 เมษายน 2010 11:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 16:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท