แผนวิสัยทัศน์ 12 ปี กทม.


กทม.จะเป็นเมืองมีชีวิตชีวา สิ่งแวดล้อม-คมนาคมดี การพัฒนาที่ยืดหยุ่น

แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร 12 ปี (2552-2563)

สรุปย่อ : กรุงเทพมหานครได้รับการวางแผนให้เป็นเมืองท่องเที่ยวในห้าปี และเป็นเมืองที่มีการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน ในห้าสิบปีข้างหน้า

อนาคตของกรุงเทพฯ 

            จากการอยู่ในศูนย์กลางของภูมิภาค  กรุงเทพฯ และปริมณฑลมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และกายภาพ รวมทั้งจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  โดยมีความคาดหวังดังนี้

ระยะ 5 ปี กรุงเทพฯ จะเป็นมหานครที่มีแหล่งท่องเที่ยวทางด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณสถานที่ได้รับการบูรณะฟื้นฟู เป็นมหานครสีเขียว

ระยะ 15 ปี กรุงเทพฯ จะเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงระบบคมนาคมขนส่งระดับภูมิภาค

ระยะ 30 ปี กรุงเทพฯ จะเป็นพื้นที่น่าอยู่ที่มีการเดินทางสะดวกสบาย คล่องตัว และเชื่อมโยงการ

คมนาคมขนส่งทุกระบบเข้าด้วยกัน บนรากฐานการพัฒนาเมืองที่สมดุลที่ปลอดภัยจากน้ำท่วม

ระยะ 50 ปี กรุงเทพฯ จะเป็นพื้นที่ที่มีการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน น่าอยู่อาศัย และมีศิลปวัฒนธรรม

ที่เป็นเอกลักษณ์ควรแก่การดำรงรักษาไว้

วิสัยทัศน์การพัฒนากรุงเทพฯ (Vision of Bangkok 2020)

                กรุงเทพฯ มีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการค้า การบริการ ทั้งในระดับ

ประเทศและระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ภายใต้หลักการมหานครน่าอยู่อย่างยั่งยืน (Sustainable Metropolis) ซึ่งมุ่งพัฒนาโดยยึดประชาชนชาวกรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลาง

โดยแยกวิสัยทัศน์ออกเป็น 3 มิติการพัฒนาได้แก่ Gateway Green และ Good Life ซึ่งเชื่อมโยงกับการพัฒนาในระดับพื้นที่ ได้แก่ มหานคร

(Gateway) ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาในระดับมหานคร ยั่งยืน

                Gateway ด้านสังคม จะมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคด้านการศึกษา มหานครแห่งการเรียนรู้สุขภาพ และวัฒนธรรม”   Gateway ทางเศรษฐกิจให้กับกรุงเทพฯ มีเป้าหมายสำคัญเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเชิงธุรกิจ ให้กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคด้านเศรษฐกิจวิทยาการ ธุรกิจการเงิน  กรุงเทพฯ มีความเป็นGatewayของประเทศไทยที่เชื่อมโยงไปสู่หลายระดับพื้นที่ตั้งแต่ระดับกลุ่มประเทศอินโดจีน ระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  พื้นที่ระดับทวีปเอเชีย-โอเชเนีย ไปจนถึงระดับโลก

(Green) ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาในระดับเมือง และน่าอยู่

                Green ซึ่งหมายถึงการพัฒนาเมืองในทิศทางที่ให้มีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่ดี

ควบคู่ไปกับการผลิต และการค้า การบริการที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง

Green คือการสร้างเมืองแห่งเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมด้วยการส่งเสริมให้มีสภาพสังคมที่ส่งเสริมเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของท้องถิ่นที่มีความหลากหลายอีกด้วยส่วนการพัฒนา

หลักการ Green ในแง่ของเศรษฐกิจ จะต้องให้ความสำคัญกับระบบเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งในระดับพื้นที่แบบเมือง ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงหมายถึงการพัฒนาสาขาการผลิตที่ท้องถิ่นมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษให้กลายเป็นสินค้าที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล

(Good Life) ที่เป็นแนวทางการพัฒนาในระดับชุมชนน่าอยู่ 

                ชุมชนที่ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีจะต้องเป็น เมืองสวยงาม มีชีวิตชีวาและสะดวกโดยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้ตอบสนองการเป็นชุมชนแบบมีชีวิตชีวาอยู่ตลอดเวลา (Lively Community) เพื่อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ สามารถดำเนินไปได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพในพื้นที่และเวลาที่แต่ละกิจกรรมต้องการ ดังนั้นกรุงเทพฯ จะเป็นชุมชนเมืองที่มีชีวิตตลอด 24 ชั่วโมง

                การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนมีผลโดยตรงกับพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่ควรจะเป็น ชุมชนที่ประชาชนมีโอกาสทางเศรษฐกิจที่เปิดกว้างและหลากหลายเนื่องจากการผลิตแบบมหานครประกอบด้วยหน่วยธุรกิจย่อยๆ เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาการค้า การบริการ และการท่องเที่ยว ระบบเศรษฐกิจของกรุงเทพฯ จะสามารถพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพจะต้อง เสริมสร้างโอกาสในการประกอบการของท้องถิ่น (Civic Opportunity)

แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร 12 ปี เพื่อมุ่งสู่มหานครน่าอยู่อย่างยั่งยืน

            พัฒนาระบบขนส่งมวลชนที่ครบวงจร เชื่อมต่อใจกลางเมืองสู่ชานเมืองและภูมิภาครอบด้านผลักดันให้เกิดการพัฒนาชุมชนชานเมืองกรุงเทพฯ   พัฒนาปัจจัยส่งเสริมทางด้านเศรษฐกิจ

ส่งเสริมและพัฒนาด้านการศึกษา  ส่งเสริมการท่องเที่ยวและวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น           สร้างความสมดุลระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อม  ส่งเสริมให้คนกรุงเทพฯ มีสุขภาพดี มีครอบครัวอบอุ่น  ส่งเสริมสวัสดิการพื้นฐานทุกด้านเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนกรุงเทพฯ

                พัฒนาระบบบริหารงานของกรุงเทพมหานคร โดยเน้นให้เกิด ธรรมาภิบาล

การมีส่วนร่วมจากประชาชนและทุกภาคส่วน เพื่อเป็นต้นแบบการบริหารมหานคร

5 ยุทธศาสตร์การพัฒนาหลัก

ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแบบบูรณาการ เพื่อมุ่งสู่ การเป็นศูนย์กลางภูมิภาค (Strengthening Infrastructure for Regional Mega-City) เป็นยุทธศาสตร์ที่มุ่งตอบสนองวิสัยทัศน์แห่งความเป็นมหานครระดับโลก (Gateway)

ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาศักยภาพเมือง เพื่อก้าวทันการแข่งขันทางเศรษฐกิจและเป็น มหานครแห่งการเรียนรู้

ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนากรุงเทพฯ ให้เป็น มหานครแห่งสิ่งแวดล้อม (Striving for Green Bangkok) เป็นยุทธศาสตร์ที่มุ่งตอบสนองวิสัยทัศน์แห่งการเป็นเมืองที่มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Green) ในการเป็นเมืองแห่งสิ่งแวดล้อม และวิสัยทัศน์แห่งการเป็น เมืองน่าอยู่ (Good Life)

ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนากรุงเทพฯ ให้เป็นมหานครแห่ง คุณภาพชีวิตที่ดี และ มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม (Providing Good Quality of Life in Cultural Mega-City) เป็นยุทธศาสตร์ที่มุ่งตอบสนองวิสัยทัศน์แห่งการเป็นเมืองที่มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Green) เป็นชุมชนน่าอยู่(Good Life)

ยุทธศาสตร์ที่ 5  พัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อเป็น ต้นแบบด้านการบริหารมหานคร (Mastering Best Service and Mega-City Management) เป็นยุทธศาสตร์ที่มุ่งตอบสนองมิติด้านการบริการในทุกวิสัยทัศน์

ยุทธศาสตร์การสร้างเสริมความเข้มแข็งของครอบครัว และ สังคม

                มีเป้าหมายเพื่อจะสร้างบุคลากรที่มีประสิทธิภาพโดยผ่านครอบครัวและชุมชนซึ่งเป็นหน่วยทางสังคมที่เล็กที่สุดใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด

                โดยมีกลยุทธ์หลัก 5 กลยุทธ์ ได้แก่  ส่งเสริมและพัฒนาผู้นำชุมชน และประชาชนรวมทั้งภาคีด้านการพัฒนาชุมชน  ส่งเสริมและพัฒนาสถาบันครอบครัว ส่งเสริมระบบและการจัดบริการสวัสดิการและสังคมสงเคราะห์เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส ส่งเสริมและพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนและสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน เพิ่มศักยภาพการให้บริการด้านที่อยู่อาศัยสำหรับประชาชน รวมทั้งข้าราชการและลูกจ้างที่มีความต้องการ

 ยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาระบบบริหารจัดการ

                เป้าหมาย เพื่อเป็นต้นแบบด้านการบริหารมหานคร (Mastering Best Service and Mega-City Management) โดยมีกลยุทธ์หลัก 5 กลยุทธ์ ได้แก่

                ขยายช่องทางการบริการให้มีความหลากหลาย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพงานบริการประชาชน มุ่งสู่ความเป็นองค์กรชั้นเลิศด้านการบริการ (Best Service Organization) พัฒนาระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ ของกรุงเทพฯ เพื่อมุ่งสู่การเป็นมหานครแห่งการบริการทางอิเล็กทรอนิกส์

                ติดตามและประเมินความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการบริการของกรุงเทพมหานคร  มุ่งเน้นให้มีการถ่ายโอนอำนาจจากส่วนกลางให้กับกรุงเทพมหานคร/องค์การระดับภาคมหานครอย่างจริงจัง

                ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารราชการกรุงเทพมหานครให้มีความคล่องตัวต่อการพัฒนาและบริการประชาชน  โดยผ่านฉันทามติของภาคีการพัฒนา (Stakeholder) ต่างๆ

                กลยุทธ์หลักไว้ 6 กลยุทธ์ ได้แก่    บูรณาการผังเมืองรวมกับแผนงานด้านต่างๆ ในการพัฒนากรุงเทพฯ จัดตั้งสถาบันพัฒนาเมืองเพื่อเป็นศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนา ที่สนับสนุนการบริหารมหานครในเชิงสหวิทยาการ และสนับสนุนการพัฒนาสู่การเป็นชุมชนน่าอยู่ยั่งยืน

                ส่งเสริมการมีส่วนร่วม ของประชาชนทุกภาคส่วนในการพัฒนาภาคมหานคร เพื่อเสริมสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมในการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน  ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างเมืองเพื่อสร้างความร่วมมือสำหรับการพัฒนาเมืองในมิติต่างๆ ที่นำไปสู่ความเป็นชุมชนน่าอยู่ยั่งยืนและเป็นศูนย์ กลางภูมิภาค

บทส่งท้าย

                กรุงเทพฯ ในอนาคตจะมีความเป็นมหานครน่าอยู่อย่างยั่งยืน ด้วยการเป็นแหล่งแรงงานที่มีทักษะฝีมือและมีความสามารถ มีโครงสร้างพื้นฐาน  และระบบโครงข่ายโทรคมนาคมที่เป็นเลิศ

                ประชากรมีคุณภาพชีวิตที่ดี  และสิ่งแวดล้อมดี  การพัฒนามีความยืดหยุ่นพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนโครงสร้างเพื่อการพัฒนาและปรับตัวให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกได้

สมพงษ์  สรุป   7 ก.พ. 53 อ้างอิ่ง :แผนยุทธศาสตร์สิบสองปี,กรุงเทพมหานคร

 

หมายเลขบันทึก: 351196เขียนเมื่อ 12 เมษายน 2010 11:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท