บัญชีกำหนดคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งและอัตราค่าจ้างของลูกจ้างประจำ


สวัสดีปีใหม่ค่ะ.....

เริ่มต้นปีก็มีเรื่องต้องเรียนถามเลย คืออยากจะเรียนถามท่านอาจารย์ว่าในกรณีที่ขอเปลี่ยนตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่ธุรการ ต้องมีการเตรียมเอกสารอะไรบ้าง เพื่อใช้ประกอบในการขอปรับตำแหน่งดังกล่าวนะค่ะ..…♪♪♫♫

ขอให้อาจารย์มีความสุข สมหวัง ตลอดปีและตลอดไปนะค่ะ

ตอบ...คุณ kosorn...

  • การขอปรับตำแหน่งของพนักงานธุรการสิ่งที่เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบต้องเตรียม คือ
  • การประกาศของส่วนราชการในการขอปรับเปลี่ยนตำแหน่งจากพนักงานธุรการ 1 เป็น 2 หรือ 3 หรือ 4 เพราะเหตุที่ทำต้องแจ้งให้บุคลากรในสังกัดเราทราบว่ามีท่านใดที่จะประสงค์ปรับเปลี่ยน เพราะบางส่วนราชการจะมีเจ้าหน้าที่ตำแหน่งดังกล่าวหลายคนค่ะ...
  • ให้ศึกษาคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งของตำแหน่งพนักงานธุรการ แต่ละระดับให้เข้าใจอย่างแจ้งชัดค่ะ เพราะแต่ละระดับจะมีบอกไว้ในสำหรับคำว่า "หรือ" ให้ใช้ข้อใดข้อหนึ่ง
  • ถ้ามีคนมาสมัครก็ขอให้ดูในคำสั่งของเขาที่เขาได้รับมอบหมายงาน ดูเวลาที่เขาได้รับคำสั่งให้ดูในคำสั่งว่า ทั้งนี้ ตั้งแต่เมื่อไร เพราะการสั่งให้ทำงานจะเป็นตัวกำหนดในเงื่อนของเวลา  ให้นับมาจนถึงปัจจุบันในวันสุดท้ายของการรับสมัครค่ะ
  • ควรจัดทำบัญชีรายละเอียดของรายชื่อที่มีผู้มาสมัคร วันที่รับสมัคร ลำดับที่เท่าไร ชื่อ-นามสกุลของผู้สมัคร ลายมือชื่อผู้สมัคร หมายเหตุ เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานค่ะ
  • ดูวุฒิการศึกษาที่คนมาสมัครจบการศึกษาว่ามีวุฒิตรงหรือไม่กับคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งในแต่ละระดับ
  • บางระดับ เช่นระดับ 2 ให้ดูคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งในแต่ละข้อ โดยใช้ข้อใดข้อหนึ่ง เพราะมีคำว่า "หรือ"
  • สำหรับกระบวนการดำเนินการ ถ้าจะให้ทราบว่า เขามีความรู้ความสามารถมากน้อยเพียงใด อาจใช้กระบวนการสอบคัดเลือกเข้ามาก็ได้ เช่น การสอบงานสารบรรณ 2 ฉบับ ที่ต้องใช้ในการทำงานด้านงานธุรการอยู่ในปัจจุบัน มาใช้วัดความรู้ความสามารถเขาก็ได้  หรือบางส่วนราชการอาจจะไม่สอบก็ได้ แต่ก็ต้องตอบให้สังคมทราบว่า ลูกจ้างประจำท่านนั้นมีความรู้ ความสามารถเหมาะสมและความชำนาญงานในหน้าที่เช่นไร มีหลักฐานอะไรบอกว่ามีความรู้ ความสามารถ ที่ผู้เขียนบอกให้สอบ นั่นคือ จะสามารถตอบสังคมได้ว่า ถ้าผ่านการทดสอบดังกล่าว ก็แสดงว่าลูกจ้างประจำท่านนั้น มีความรู้ ความสามารถ จึงสามารถทำข้อสอบและผ่านการทดสอบได้ เป็นแบบการวัดเชิงประจักษ์ไงค่ะ...หรืออาจมีการสอบสัมภาษณ์ด้วยก็ได้ค่ะ...
  • เมื่อสอบผ่าน ก็ประกาศการสอบขึ้นบัญชีได้ไว้ค่ะ จะติดไว้กี่ปี
  • เมื่อประกาศผลสอบได้ ก็เรียกบรรจุตามกระบวนการในการสอบคัดเลือกค่ะ...และก็ออกคำสั่งการปรับเปลี่ยนตำแหน่งให้ค่ะ แต่ควรประสานงานกับ ก.พ. + กรมบัญชีกลางด้วยนะค่ะ...อาจเป็นการส่งคำสั่งให้ทราบค่ะ...
  • สำหรับคนที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ เป็นผู้ที่ต้องการปรับเปลี่ยนตำแหน่ง จะต้องทำอย่างไรนั้น...ผู้เขียนขอบอกว่าให้เตรียมตัว "อ่านหนังสืองานสารบรรณ หรือเรื่องที่ส่วนราชการต้องการสอบเพื่อคัดเลือกท่าน" เท่านั้นเองค่ะ...สอบให้ผ่านตามที่ผู้เขียนบอกข้างต้นค่ะ...
  • เพราะการสอบนั้น  เป็นการวัดความรู้ ความสามารถของท่านอีกเรื่องหนึ่งในการพัฒนาตนเองว่าท่านมีความรู้ ในเรื่องงานสารบรรณจริง ๆ มากน้อยเพียงใด...เขาเรียกว่า "รู้ลึกและรู้จริง" ค่ะ...งานสารบรรณ เห็นว่าง่าย ๆ แต่พอได้ปฏิบัติจริง ๆ แล้ว ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายหรอกค่ะ มีเกร็ดเล็ก เกร็ดน้อยเยอะมากค่ะ...
  • ต้องขอของคุณสำหรับคำอวยพรนะค่ะ...เช่นเดียวกันค่ะ...
  • ผู้เขียนก็น้อมขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของเมืองพิษณุโลก เช่น พระพุทธชินราช สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ สมเด็จพระสุพรรณกัลยา ฯลฯ จงดลบันดาลให้คุณและครอบครัวพบแต่ความสุข สมหวังตลอดปี 2554 และตลอดไปด้วยค่ะ...

ได้รับความกระจ่างมากเลย ก็ต้องขอขอบพระคุณอย่างสูงมากนะค่ะ แต่ถ้าในกรณีที่ตอนนี้อยู่ในตำแหน่งพนักงานบริการจะขอปรับเป้นเจ้าหน้าที่ธุรการนะค่ะ...ต้องมีการเก็บผลงานอะไรหรือไม่ หรือแค่ทำหนังสือขอปรับแจ้งเปลี่ยนตำแหน่งถึง สพม.แล้วทาง สพม.จะดำเนินการต่อให้เองค่ะ รบกวนอีกนิดน่ะค่ะ...ขอบคุณล่วงหน้ามากค่ะ

ตอบ...คุณ kesorn...

  • การที่เราจะขอเปลี่ยนตำแหน่งคงจะไม่ได้ ต้องปรึกษาที่ ผอ.และเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในเรื่องนี้ก่อนค่ะว่าจะดำเนินการให้หรือไม่ เพราะเป็นอำนาจของส่วนราชการค่ะ...ถ้าทำให้หรือตกลงกันได้ก็สามารถทำได้ค่ะ...ความจริงแล้ว ทาง สพม. ต้องทำการชี้แจงให้ลูกจ้างประจำรับทราบค่ะว่าจะให้ดำเนินการอย่างไร...
  • อีกอย่างอาจทำบันทึกข้อความในการขอปรับเปลี่ยนตำแหน่ง ว่าขอปรับเปลี่ยนเพราะเหตุใด การที่เป็นพนักงานบริการจะขอปรับเป็นพนักงานธุรการ ต้องมีคำสั่งว่าได้สั่งให้เราปฏิบัติงานในตำแหน่งพนักงานธุรการด้วยนะค่ะ...ถ้ามีงานที่เกี่ยวกับตำแหน่งพนักงานธุรการ เช่น การทำงานธุรการ งานสารบรรณ รับ - ส่งหนังสือ จัดเก็บเอกสารของทางราชการ ก็สามารถขอปรับเปลี่ยนได้ แต่ต้องมีคุณสมบัติตรงตามระดับตำแหน่งแต่ละระดับด้วยนะค่ะ...(ยึดคำสั่งมอบหมายงานเป็นหลักด้วยค่ะ)...แนบไปพร้อมกับบันทึกข้อความในการขอปรับเปลี่ยนค่ะ...
  • เวลาจะขอปรับเปลี่ยนตำแหน่ง ขอให้ดูให้ดี ๆ นะค่ะ ว่าตำแหน่งใหม่ที่จะขอปรับเปลี่ยนนั้น ชื่อเต็ม ที่ถูกต้องของตำแหน่งนั้น คือ ตำแหน่งใด เพราะถ้าพิมพ์ผิดจะทำให้เกิดการสับสนและความวุ่นวายจะตามมาค่ะ...

ขอขอบคุณมากเลยค่ะ...ได้รับความรู้และกระจ่างดีจริงๆเลยค่ะ

แต่...แหม อาจารย์น่าจะมาเป็นบุคลากรที่ทาง สพม.10 บ้างนะค่ะ

เพื่อที่ทางลูกจ้างทางนี้จะได้รับความรู้และการช่วยเหลือที่ดีเยี่ยมจากอาจารย์...

เหมือนกับพวกพี่ๆลูกจ้างที่ มรภ.พิบูลสงครามเลย

อิจฉาพวกพี่ๆเขาจริงเลย.....

แล้วในแต่ละหน่วยงานที่ดูแลเกี่ยวกับผลประโยชน์ของลูกจ้าง จะมีใครที่สนใจและดูแลได้เท่าของอาจารย์นะ

ยังไงก้อขอให้อาจารย์อยู่ให้ความรู้กับพวกลูกจ้างไปนานๆ นะค่ะ อย่าเพิ่งเบื่อ..และรำคาญ พวกลูกจ้าง เสียก่อนนะค่ะ

ขอบคุณค่ะ ◘◘ ♠♠ ♥♥♥

ตอบ...คุณ kesorn...

  • ยินดีให้คำแนะนำค่ะ...นี่คือ หน้าที่ของข้าราชการค่ะ ถ้าเรารู้ เราควรให้คำแนะนำ...ไม่ว่าจะอยู่สังกัดใด ถ้าเราเป็นคนไทย ใช้ระเบียบปฏิบัติเดียวกัน ถ้ารู้ ควรเป็นที่ปรึกษาให้ได้ค่ะ...
  • เพราะจะทำให้คนที่ไม่รู้ ไม่ทราบ ได้รับรู้ รับทราบและปฏิบัติได้อย่างถูกต้องค่ะ...
  • จากที่เขียนบล็อกมา ทำให้ทราบว่า ส่วนราชการไทย ควรพัฒนาด้านความรู้ให้กับหัวหน้าส่วนราชการ + เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ อย่างแท้จริงในการให้ความสำคัญ สิทธิประโยชน์ของกลุ่มบุคลากรในองค์กรนั้น ๆ อย่างมากจริง ๆ ค่ะ...
  • เพราะบางครั้ง มีลูกจ้างฯ ไปถาม แต่ก็ยังบอกไม่ได้ ไม่ทราบ ไม่รู้...ถ้าไม่ทราบก็ต้องศึกษา หาความรู้จากส่วนราชการอื่น...ไม่ใช่บอกปัด แล้วไม่ตอบทำให้ลูกจ้างเกิดความงง และจะกลายเป็นผลเสียในอนาคตได้ค่ะ...
  • อีกอย่างเท่าที่สัมผัสมา บางหน่วยงานไม่ค่อยให้ความสำคัญในเรื่องของลูกจ้าง ฯ เลยค่ะ...เอาแต่ผลประโยชน์แต่ข้าราชการด้วยกัน ซึ่งมองดูแล้วไม่สบายใจสักเท่าไร
  • ความจริงทุกกลุ่ม ทุกส่วน ก็มีความสำคัญเท่าเทียมกันทั้งนั้นค่ะ แต่แตกต่างกันตรงที่อยู่ต่างกลุ่ม สวัสดิการที่แตกต่าง...แต่ความเป็นคนไม่ได้แตกต่างกันเลย
  • อย่างน้อยผู้ที่ทำงานด้านงานการเจ้าหน้าที่ หรือหัวหน้าส่วนราชการ ต้องสนใจในเรื่องของคนในองค์กรทุกคนให้มาก ๆ กว่าที่เป็นอยู่ปัจจุบันค่ะ...ไม่ใช่ปล่อยปะละเลย จะทำให้เกิดปัญหาที่แคลงใจต่อไปในระยะยาวได้ค่ะ...
  • ตอนนี้ผู้เขียนก็ให้งานราชภัฏวิจัยเรียบร้อยก่อนค่ะ จะตรวจสอบดูลูกจ้างภายใน มรพส. บ้างว่ามีท่านใดที่จะพอปรับเปลี่ยนตำแหน่งได้อีก...เพราะช่วงนี้งานเยอะจริง ๆ ค่ะ...
  • ขอบคุณอีกครั้งค่ะ...

 

แล้วตำแหน่งชั้นล่าง ๆ อย่างคนที่ทำหน้าที่คล้าย ๆ กับนักการ(เขาเรียกว่าคนงานบริการรึเปล่าก็ไม่รู้นะครับ)คือกลางคืนนอนเฝ้า เช้า-เย็นทำความสะอาด กลางวันทำงานอย่างอื่นบ้าง รดน้ำต้นไม้บ้าง เขามีกำหนดค่าจ้างอย่างไรครับอาจารย์ ผมเข้าทำไหม่ เขาให้รวมแล้วได้ 4,800 เองครับ (ส่วนราชการเป็น กศน. ครับ) ถามแค่อยากรู้ไว้เท่านั้นเองนะครับ ชอบการตอบคำถามของอาจารย์ครับ

ตอบ...ลูกจ้างใหม่...

  • ก่อนอื่น ต้องขอทราบว่า คุณคือ ลูกจ้างประจำ ที่ใช้ระเบียบของลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. 2537 หรือไม่ ถ้าใช่ สงสัยเรื่องเงินเดือนของคุณนะค่ะว่า ทำไมได้รับเพียง 4,800 บาท เพราะในระเบียบเขาจะกำหนดขั้นต่ำไว้ที่ 5,080 หรือไงนี่แหล่ะค่ะ ให้ดูตามไฟล์ด้านล่าง ลองคลิกดูนะค่ะ รหัส พนักงานบริการ คือ 1117 ค่ะ เลื่อน curser ลงไปที่รหัสดังกล่าวนะค่ะ ทั้ง 2 ไฟล์ จะทำให้ทราบเรื่องขั้นค่าจ้างขั้นต่ำ - ขั้นสูง และทราบหน้าที่ที่เราต้องรับผิดชอบค่ะ ว่าต้องทำอะไรบ้างกับตำแหน่งที่เราเป็นอยู่ค่ะ...ถ้าสงสัยก็ถามมาใหม่นะค่ะ...
  • http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/534/288/original_service.pdf?1285800424
  • http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/530/099/original_general_job_8.pdf?1285769955

สวัสดีคะ...อาจารย์

หายไปนานกลับมาก็มีคำถามมารบกวนอาจารย์อีกแล้ว คือจะเรียนถามอาจารย์ว่า ในกรณีที่ขอปรับระดับกลุ่มงานจาก 1 เป็น 2(ตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์) ตรงเหตุผลความจำเป็นควรจะเขียนอย่างไรถึงจะทำให้อ่านแล้วดูดีนะคะ และในกรณีที่ขอเปลี่ยนจากพนักงานบริการเป็นพนักงานธุรการและจากพนักงานรักษาความปลอดภัยเป็นช่างไม้ว่าควรจะให้เหตุผลที่จำเป็นอย่างไรที่ฟังแล้วดูดีที่สุด...อีกเหมือนกัน

ขอรบกวนอาจารย์อีกครั้งนะคะ....

สุดท้ายนี้ก็ขอให้อาจารย์มีสุขภาพที่แข็งแรงตลอดๆๆๆๆไปนะคะ

ตอบ...คุณ kesorn...

  • สำหรับตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์ ถ้าจะปรับจากระดับ 1 เป็นระดับ 2 นั้น ให้ดูที่คำสั่งมอบหมายงานว่า ปัจจุบันได้ทำหน้าที่ขับรถยนต์อยู่หรือไม่ และให้ดูที่คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งสำหรับตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์ ในระดับ 2 เข้าเกณฑ์ในข้อใดข้อหนึ่งที่คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งกำหนดหรือไม่ ถ้าได้ อาจจัดการดำเนินการสอบสัมภาษณ์ ตั้งเป็นรูปคณะกรรมการ ให้สังเกตพฤติกรรมของผู้ที่จะขอปรับว่ามีพฤติกรรม เห็นควรเลื่อนขึ้นในระดับที่สูงขึ้นหรือไม่ เช่น ให้ดูพฤติกรรมในด้านการให้บริการ ว่ามีน้ำใจช่วยเหลือผู้ที่ไปขอใช้บริการหรือไม่ เช่น การเปิด-ปิด ประตู การมีน้ำใจช่วยยกกระเป๋า พฤติกรรมในขณะขับรถยนต์  การพัฒนาตัวของลูกจ้างประจำที่จะขอปรับ ว่าดีขึ้นหรือไม่ ถ้าไม่ดีขึ้นก็ไม่สมควรปรับ แต่ถ้าดีมีน้ำใจหรือเรียกว่ามีจิตในการให้บริการ ก็ควรปรับให้ อาจทำการสอบโดยการสอบสัมภาษณ์ แล้วกระจายคะแนน แล้วแต่ส่วนราชการจะวัดเขาในด้านใดบ้าง เช่น การบริการ เจตคติ พฤติกรรมในด้านอื่น ๆ เป็นต้น ค่ะ...สำหรับแบบประเมินส่วนราชการต้องดำเนินการเองนะค่ะ...แล้วคะแนนประเมินผลออกมาต้องตอบสังคมหรือผู้อื่นได้ชัดเจนค่ะ...
  • การเปลี่ยนตำแหน่งจากพนักงานบริการเป็นพนักงานธุรการ นั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่าปัจจุบันเขามีคำสั่งในการทำงานด้านธุรการหรือไม่ ถ้ามี ก็ให้ดูที่คุณสมบัติของตำแหน่งพนักงานธุรการด้วย ว่าได้หรือไม่ ให้ใช้ข้อใดข้อหนึ่งนะค่ะ เพราะมีคำว่า "หรือ" แต่ถ้ามีคำว่า "และ" ต้องใช้ทั้งหมดค่ะ ให้ตีความหมายของคำว่า "หรือ" กับ "และ" ดี ๆ ค่ะ...รู้สึกว่าตำแหน่งพนักงานธุรการ จะบอกชัดเจนว่า ผู้ที่จะดำรงตำแหน่งนี้ต้องปฏิบัติงานในด้านนี้มาไม่น้อยกว่ากี่ปี...ในกระบวนการจัดการ อาจจัดให้มีกระบวนการสอบ เช่น อาจมีการสอบข้อเขียนเพื่อต้องการให้ทราบว่าผู้ที่จะดำรงตำแหน่งนี้ต้องมีความรู้ในเรื่องธุรการจริง ๆ อาจสอบจากเรื่อง งานสรรบรรณ บอกเจ้าตัวให้รู้ล่วงหน้าว่าจะสอบเรื่องนี้ เขาจะได้ไปเตรียมตัวเพื่อมาสอบไงค่ะ...และอาจมีการสอบสัมภาษณ์ร่วมด้วยก็ได้ค่ะ...
  • สำหรับตำแหน่งพนักงานรักษษความปลอดภัยจะเป็นเป็นช่างไม้ ต้องดูว่าปัจจุบันเขาได้ทำงานช่างไม้หรือไม่ แล้วก็ต้องดูบริบทของส่วนราชการด้วยว่า มีตำแหน่งช่างไม้ไว้ทำอะไรให้กับส่วนราชการได้บ้าง เรียกว่า ต้องมีภาระงานที่ชัดเจนค่ะ ถ้ามีชัดเจน ก็ให้ผ่านกระบวนการสอบคัดเลือก เช่น ตั้งคณะกรรมการ อาจให้เขามีการสอบในภาคปฏิบัติ เช่น การทำเก้าอี้ แล้วให้เขาส่งชิ้นงานให้คณะกรรมการดู และอาจให้มีการสอบสัมภาษณ์ด้วย เพื่อที่ในขณะสัมภาษณ์ต้องบอกให้เขาทราบไปด้วยว่า การที่จะได้เลื่อนระดับให้สูงขึ้นนั้น เขาจะต้องมีการพัฒนาตนเองก่อนด้วย เพื่อความก้าวหน้าในอาชีพของเขาไงค่ะ...
  • ศึกษาไฟล์คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ตามนี้ค่ะ...
  • http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/534/289/original_support.pdf?1285800428
  • http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/534/292/original_bbb1.pdf?1285800442
  • ขอขอบคุณสำหรับคำอวยพรค่ะ...

ตอนนี้ทำงานตำแหน่งพนักงานพิมพ์ ระดับ 1 ส มา 3 ปี แต่ทำงานในตำแหน่งคนงาน  มาแล้ว 21 ปี เพิ่งปรับเป็นพนักงานพิมพ์ อยากจะปรับเป็นพนักงานธุรการ ระดับ 2 จบอนุปริญญา เข้าข่ายหรือไม่

ตอบ...คุณลูกจ้างสามหมอก...

  • ถ้าต้องการเปลียนเป็นพนักงานธุรการ ระดับ 2 นั้น ให้ดูคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งพนักงานธุรการ ระดับ 2 รหัส 2108 ค่ะ...ตามไฟล์ด้านล่างนี้
  • http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/534/289/original_support.pdf?1285800428
  • คุณสมบัติให้ใช้ข้อใดข้อหนึ่งค่ะ เพราะมีคำว่าหรือ...
  • ถ้าคุณจบอนุปริญญา ต้อง ปวส. นะค่ะ...เพราะเข้าเกณฑ์ในข้อ 4 ก็สามารถปรับได้ค่ะ แต่งานที่ทำอยู่ต้องเป็นงานธุรการนะค่ะ...ไม่ใช่เป็นพนักงานพิมพ์อย่างเดียว...
  • ให้ปรึกษาหัวหน้าส่วนราชการ + เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเรื่องบุคคล ดูก่อนค่ะ...
  • กระบวนการดำเนินการ อาจมีการสอบ ขึ้นอยู่กับส่วนราชการค่ะ...

สวัสดีคะ...อาจารย์

       ต้องขอนุญาตเรียนถามอาจารย์ว่า ลูกจ้างประจำที่ปฏิบัติงานประจำจังหวัดชายแดนภาคใต้ สามารถนำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยบำเหน็จความชอบสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชานแดนภาคใต้ พ.ศ.2550 มาใช้ประกอบการนับระยะเวลาการปฏิบัติงานเป็นทวีคูณ เพื่อขอปรับระดับชั้นงานให้สูงขึ้นได้หรือไม่

ตอบ...ลูกจ้างใต้...

  • ให้ดูระเบียบดี ๆ นะค่ะ ว่าใช้ในกรณี นับเวลาการปฏิบัติงานทวีคูณ ในช่วงเวลาใด ใช้ในตอนเกษียณหรือไม่ เพราะการนับเวลาปกติ ส่วนมากเขาจะไม่ทำกัน จะนับให้ก็ต่อเมื่อเกษียณไงค่ะ...ลองศึกษาดูนะค่ะ เพราะผู้เขียนยังไม่ได้ศึกษาในเรื่องนี้ ช่วงนี้งานมากค่ะ...
  • แต่ในความคิดเห็นของผู้เขียนที่เคยผ่าน ๆ มา การนับเวลาทวีคูณ เขาจะนับให้ตอนเกษียณอายุราชการเท่านั้น สำหรับการขอปรับระดับชั้นงานนั้น ไม่นับค่ะ ให้นับในเวลาปกตินี้เท่านั้นค่ะ...

สวัสดีค่ะ...ทุกท่าน...

  • สำหรับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นวัน Valentine "วันแห่งความรัก"...
  • สุขสันต์วันวาเลนไทน์ค่ะ...
  • "รักและหวังดีต่อคนค่ะ"...
  • สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนต้องการมอบให้ พวกเราทุกคนค่ะ เลยมาชวนไปดูค่ะ...
  • อย่าลืมเข้าไปดูในค่ำคืนนี้นะค่ะ...แล้วจะตกตะลึงในความมหัศจรรย์ค่ะ...
  • http://gotoknow.org/blog/bussayamas2554/425785

เรียน ท่านผู้รู้ คุณบุษยมาศ

ด้วยความเคารพปัจจุบันข้าพเจ้ารับราชการ(ลูกจ้างประส่วนราชการ) ที่ท่าอากาศยานแห่งหนึ่ง....ของส่วนราชการ สังกัด กรมการบินพลเรือน กระทรวงคมนาคม จบการศึกษา ปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขา รัฐประศาสนศาสตร์ อายุราชการ 13 ปี เพิ่งเป็นพนักงานพิมพ์ดีด ชั้น 1 ได้ 3 ปี และ ปัจจุบัน เป็นพนักงานพิมพ์ดี ชั้น 2 มาได้เข้าปีที่ 2 ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น พนังงานพิมพ์ ระดับ 2 ข้าเจ้ามีความสงสัยหลายประการ ด้วยความที่ไม่ทราบว่าทำไม่ พนักงานพิมพ์ถึง มีชื่อเรียกเช่นนี้ ทำไมไม่มีชื่อเรียกเหมือนเจ้าหน้าบันทึกข้อมูล เพราะลักษณะงานมีความเหมือนกัน ที่สำคัญคือ มีการใช้ คอมพิวเตอร์ในการทำงานเป็นหลัก ทำไม่หลักการของส่วนราชการไม่ทำเหมือนขององค์อิสระ อย่างเช่น ระบบ ศาล คือ ปรับเปลี่ยน ตำแหน่งของลูกจ้างประจำในส่วนราชการของตนปรับเลี่ยนเป็นข้าราชการได้ เมื่อมีเวลาที่เหมาะนั้นเขาจะให้โควตาพิเศษ คือ คัดเอาจากบุคคลภายในก่อน ในอนาคตข้างหน้าไม่นานนี้ จะมีระบบแบบยืดหยุ่นมากกว่านี้ไหมครับ แล้วใครจะเป็นกำลังสำคัญเพื่อช่วยผลักดันระบบเหล่านี้ได้ ต้องทำหนังสือเสนอใครให้ช่วยเหลือได้ ต้องใช้หลักการอะไรเข้าช่วยเพื่อ ให้ลูกจ้างทั้งหลายได้เป็นข้าราชการ อย่างเสมอภาคในระบบราชการไทย

ขอแสดงความนับถือ

ผู้มีโอกาสน้อย

ตอบ...คุณกิติกุล...

  • การที่รัฐได้ปรับเปลี่ยนคำว่า "พนักงานพิมพ์ดีด" มาเป็น "พนักงานพิมพ์" นั้น เนื่องมาจากสาเหตุว่า สมัยก่อนมีการพิมพ์โดยใช้เครื่องพิมพ์ดีดไงค่ะ ยังไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ปัจจุบันรัฐได้ปรับให้เป็นพนักงานพิมพ์ โดยปัจจุบันแทบจะไม่มีเครื่องพิมพ์ดีดใช้เลยก็ว่าได้...สำหรับเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลนั้น จะทำงานในเชิงลึกกว่าพนักงานพิมพ์ พนักงานพิมพ์จะมีหน้าที่พิมพ์...ส่วนเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลจะทำงานในด้านการบันทึกข้อมูล อาจทำงานในด้านการคีย์ข้อมูลต่าง ๆ ลงในโปรแกรมสำเร็จรูป ซึ่งเป็นงานในเชิงลึกและกว้างกว่าพนักงานพิมพ์ค่ะ...
  • อย่าลืมว่า...ตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา ตั้งแต่ประเทศไทยได้กู้เงินจาก IMF...ซึ่งเงื่อนไขในการกู้เงินจาก IMF...ระบุไว้ว่า ถ้าประเทศไทยจะกู้เงินจากต่างประเทศได้ ประเทศไทยต้องลดอัตรากำลังข้าราชการที่เพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปี ให้ได้...ถึงแม้การใช้หนี้ IMF. จะหมดไปแล้ว สำหรับปัจจุบัน ผู้เขียนก็ยังไม่ทราบว่าที่ประเทศไทยไปกู้เงินต่างชาติมาอีกนั้น จะมีข้อแม้ข้อนี้รวมอยู่ด้วยหรือไม่...จึงทำให้รัฐต้องลดอัตรากำลังของข้าราชการไงค่ะ เพราะงบประมาณค่าใช้จ่ายในเรื่องของเงินเดือนเป็นจำนวนค่อนข้างสูงค่ะ...
  • จึงทำให้ปัจจุบันในการให้อัตราเป็นข้าราชการมานั้น ในแต่ละส่วนราชการค่อนข้างทำได้น้อยมากค่ะ...ถึงให้อัตราข้าราชการมาก็มีอัตราส่วนที่น้อย ถ้าเทียบเป็น % ก็ยังน้อยกว่าข้าราชการที่เกษียณไปค่ะ...จึงเป็นที่มาว่า ทำไมไม่ให้ลูกจ้างประจำปรับเปลี่ยนเป็นข้าราชการ
  • อีกอย่าง...กลุ่มบุคลากรของรัฐ มีหลากหลายประเภท ค่ะ เช่น ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ หรือ พนักงานมหาวิทยาลัยและลูกจ้างชั่วคราว ...หน้าที่ของลูกจ้างมีหน้าที่สนับสนุนงานหลักคือ ข้าราชการไงค่ะ...และภารหน้าที่ของลูกจ้างประจำก็ยังไม่เท่ากับข้าราชการค่ะ ถ้าพูดถึงการวิเคราะห์งานในหน้าที่ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของข้าราชการและลูกจ้างประจำกันแล้ว...จึงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำไม ไม่ให้ลูกจ้างประจำปรับเป็นข้าราชการ...ถ้าจะปรับได้นั้น ต้องมีการวิเคราะห์ค่างานของแต่ละประเภท แต่ละตำแหน่งกันใหม่ค่ะ...
  • ในระบบการบริหารงานบุคคล สำหรับการเสมอภาคนั้น เป็นไปไม่ได้หรอกค่ะ...เพราะขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ค่างานค่ะ...
  • สำหรับลูกจ้างประจำนั้น การจ้างของรัฐก็ต้องดูในเรื่องการบรรจุในครั้งแรกค่ะว่า รัฐจ้างมาเป็นลูกจ้างประจำด้วยวุฒิการศึกษาใด ต่อมาเมื่อเรียนจบนั้น ก็ไม่ใช่หมายความว่า สามารถนำวุฒินั้นมาปรับให้ขั้นค่าจ้างสูงขึ้นได้เลย...อาจมีบางตำแหน่งที่ต้องใช้วุฒิที่สูงขึ้นได้ แต่บางตำแหน่งก็ไม่ใช่ต้องใช้วูมิสูงขึ้นนั้นหรอกค่ะ...

มีปัญหารบกวนสอบถามอาจารย์อีกแล้วค่ะ...ว่าเอกสารประเภทสมุดลงเวลาการมาปฏิบัติราชการใช้เวลาในการเก็บกี่ปี หรือทำลายได้เลย รบกวนอีกแล้วนะค่ะ...0000

ตอบ...คุณ kesorn...

ขอขอบคุณอาจารย์มากๆๆ..เลยค่ะ

ตอบ...คุณ kesorn...

  • งานสารบรรณ ยังใช้ของปี 2526 และเพิ่มเติมฉบับที่ 5 พ.ศ. 2548 ตามระเบียบสำนักนายภรัฐมนตร่ค่ะ...

ปัจจุบันนี้ลุกจ้างประจำคิดอัตราเงินเดือนเป็นเปอร์เซนต์หรือเป็นระบบขั้นค่ะ

 

 

ตอบ...คุณ [IP: 202.29.92.252] ...

 

 

 

เรียนสอบถามว่าเงินเดือน เม.ย.54 นี้ ลูกจ้างประจำได้รับ 5% และ 13 % เหมือนข้าราชการหรือไม่ เพราะที่อ่านเจอไม่เห็นมีพูดถึงลูกจ้างประจำเลย มีแต่ครูเท่านั้น.....

ตอบ...คุณ kesorn...

  • ของข้าราชการเพิ่งจะประกาศในกฤษฎีกา ของลูกจ้างประจำคงต้องรอนะค่ะ เพราะพนักงานราชการก็ออกมาใช้แล้ว  อาจไม่เกินเดือนเมษายน 2554 นี้หรอกค่ะ ถ้ามีจะรีบนำมาแจ้งให้ทราบนะค่ะ...

ขอบคุณมากค่ะ....  ขอให้เที่ยวสงกรานต์ให้สนุกนะค่ะ.....

สวัสดีค่ะ...คุณ kesorn...

  • สงกรานต์ว่าจะไปทำบุญให้แม่ที่วัดค่ะ...แล้วก็มาเก็บกวาดบ้านค่ะ...
  • ไปเที่ยวก็เท่านั้นค่ะ อายุมากแล้ว อยู่บ้านทำประโยชน์ให้กับที่อยู่อาศัยดีกว่าค่ะ
  • ขอบคุณนะค่ะ...

สวัสดีค่ะอาจารย์........

แวะมาที่ไรก็มีปัญหาข้อข้องใจมาถามอาจารย์ทุกทีเลย คือจะสอบถามอาจารย์ว่าการใช้บัญชีเงินเดือนใหม่ตามกลุ่มที่ 1-4 เป็นอย่างไรค่ะ ตามบัญชีที่บวก 5% แล้ว คือ

กลุ่มที่ 1 เดิมเต็มขั้นที่ 18,190 + 5 % เป็นเต็มขั้น 19,100

กลุ่มที่ 2 เดิมเต็มขั้นที่ 22,220 + 5 % เป็นเต็มขั้น 23,340

กลุ่มที่ 3 เดิมเต็มขั้นที่ 36,020 + 5 % เป็นเต็มขั้น 37,830

กลุ่มที่ 4 เดิมเต็มขั้นที่ 64,340 + 5 % เป็นเต็มขั้น 67,560

หมายความว่าสิ้นเดือนพฤษภาคม 2554 ทุกคนใช้บัญชีเงินเดือนใหม่ + 5 % ใช่ไหมค่ะ

แล้วสมมุติว่าพอเดือนตุลาคม 2554 ได้ขั้นเงินเดือนจนเต็มขั้นในกลุ่มที่ 1 เต็มขั้นที่ 19,100 ตำแหน่งพนักงานบริการ ยังไม่ได้ทำเรื่องขอปรับระดับ เดือนเมษายน 2555 ได้อีก 1 ขั้น จะใช้บัญชีเงินเดือนที่ขั้นไหนค่ะ

แต่ถ้าในกรณีที่ทำเรื่องขอปรับระดับเป็นพนักงานบริการ ระดับ 2 ได้แล้ว เดือนตุลาคม 2554 ได้เต็มขั้น 19,100 พอเมษายน 2555 ได้ 1 ขั้น จะใช้บัญชีขั้นไหนกลุ่มไหนค่ะ งงกับคำถามไหมค่ะ คนถามก็จะงงเอง ถ้าอาจารย์ลำดับใจความแล้วไม่งง คลายข้อสงสัยให้หน่อยนะค่ะ รบกวนอีกตามเคย แต่ถึงอย่างไรก้็ขอขอบคุณอาจารย์อย่างมากเลยที่เป็นกูรูให้กับผู้ที่ไม่รู้อีกหลายๆคนและขอให้อาจารย์มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงนะค่ะ....ขวัญใจลูกจ้างทั้งหลาย

 ตอบ...คุณ kesorn...

  • การใช้บัญชีอัตราค่าจ้างลูกจ้างของส่วนราชการใหม่ 5 % ตามบล็อกด้านล่างนี้นะค่ะ...
  • http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/436348
  • ค่ะ เมื่อเลื่อนขั้นแล้ว ก็ปรับ 5 % ให้กับลูกจ้างได้เลยค่ะ...ตามไฟล์หนังสือข้างต้นค่ะ...
  • มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่ 1 เมษายน 2554 ค่ะ...
  • ตำแหน่งพนักงานบริการ อยู่ในกลุ่มค่าจ้างที่ 1 ถ้าได้ 1 ขั้น ก็ได้ค่าตอบแทนพิเศษ 4 % ไงค่ะ สำหรับเต็มขั้นค่ะ
  • เมื่อทำเรื่องขอปรับระดับเป็นพนักงานบริการ ระดับ 2 ได้แล้ว เดือนตุลาคม 2554 ได้เต็มขั้น 19,100 พอเมษายน 2555 ได้ 1 ขั้น จะใช้บัญชีขั้นไหนกลุ่มไหนนั้น ก็ให้ดูว่า ตำแหน่งพนักงานบริการ ระดับ 2 เทียบได้กับกลุ่มค่าจ้างใดค่ะ ใช่ขั้นค่าจ้างกลุ่มที่ 1-2 หรือไม่ ถ้าใช่ ก็เทียบกลุ่ม 2 ค่ะ ใช้อัตราค่าจ้างที่ใกล้เคียงกับ 19,100 บาท ถ้าไม่มีก็เทียบอัตราที่สูงกว่า 19,100 ในกลุ่มที่ 2 นิดหนึ่งไงค่ะ...คราวนี้อัตราค่าจ้างก็จะไปที่กลุ่มที่ 2 แล้วค่ะ...แล้วก็ปรับให้เขาด้วยว่าได้ 1 ขั้น หรือ 4 % ไงค่ะ ทำเหมือนครั้งก่อน ๆ ค่ะ...
  • ขอบคุณสำหรับคำอวยพรค่ะ...(พี่สงสัยว่า เป็นพนักงานบริการ ระดับ 1 แล้วปรับไปเป็นพนักงานบริการ ระดับ 2 ทำไมค่ะ ค่าจ้างก็ตันแล้ว ทำไมไม่ลองปรับไปเป็นตำแหน่งอื่น ที่ก้าวหน้ากว่า แต่ต้องเป็นงานที่ปฏิบัติด้วยนะค่ะ เช่น ทำหน้าที่อื่น แล้วค่าจ้างก็เปิดเพดานไงค่ะ)
  • ตำแหน่งพนักงานบริการ ตามไฟล์ด้านล่างนี้ค่ะ
  • http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/534/288/original_service.pdf?1285800424

ขอบคุณมากๆๆ เลยค่ะสำหรับคำตอบที่ช่วยคลายความสงสัยคะ... เมื่อไหรสงสัยแล้วจะเข้ามาถามใหม่นะค่ะ...

ตอบ...คุณ kesorn...

  • ยินดีให้คำแนะนำค่ะ...
  • ขอบคุณค่ะ...

สวัสดีครับอาจารย์ ผมพึ่งได้เข้ามาเป็นครั้งแรกคือมีข้อสงสัยที่จะเรียนถามท่านอาจารย์อยู่หลายประการดังนี้ครับ ๑.ผมมีพี่เป็นลูกจ้างประจำที่โรงเรียนในตำแหน่งพนักงานบริการ ทำงานมาแล้ว ๑๕ ปี เงินเดือน ๑๓,๐๐๐ ต้น ๆ จบปริญญาตรีหากไปสอบในตำแหน่งครูผู้ช่วยหากสอบติดจะต้องนับอายุราชการตำแหน่งใหม่หรือว่า นับเอาอายุราชการของพนักงานบริการไปด้วยครับ ๒.ในกรณีเดียวกันนี้หากทำงานต่อในครูผู้ช่วย ในปี ๒๕๕๔ จนอายุ ๖๐ ปี จะได้รับบำเหน็จหรือบำนาญครับ และต้องเริ่มต้นเงินเดือนตำแหน่งครูผู้ช่วยใหม่หรือใช้เงินเดือนพนักงานบริการครับ

ตอบ...คุณทวีป...

  • การที่ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการวันใด ก็เริ่มต้นนับวันบรรจุในวันนั้นค่ะ ไม่นับเวลาการเป็นลูกจ้างประจำนะค่ะ
  • สำหรับช่วงเวลาของการเป็นลูกจ้างประจำ ก็จะได้สิทธิ ตามระเบียบของลูกจ้างประจำค่ะ...เป็นคนละส่วนกันค่ะ...
  • การที่ทำงานในกรณีบรรจุเป็นครูผู้ช่วย ต้องดูอายุที่เหลือของคุณว่าจะเกษียณเมื่อไรด้วยค่ะ ถ้า 25 ปี ก็รับบำนาญค่ะ
  • ต้องเริ่มต้นเงินเดือนของการเป็นครูผู้ช่วยค่ะ เงินเดือนไม่สามารถนำมารวมกันได้ค่ะ เพราะเป็นบุคลากรภาครัฐคนละประเภทกัน ภาระงานก็แตกต่างกันค่ะ...

เรียน อ.บุษยมาศ

การปรับฐานเงินเดือนร้อยละ 5% ข้าราชการบำนาญได้แต่ลูกจ้างประจำที่เกษียณในปี 2552-2553 ไม่ได้ทั้งที่ได้รับบำเหน็จรายเดือน กลับไม่ได้เพราะอะไรครับ

สวัสดีครับอาจารย์ ขอเรียนถามอาจารย์ครับว่า โรงเรียนที่ปรับเปลี่ยนตำแหน่งภารโรงไปเป็นพนักงานพิมพ์แล้วทางโรงเรียนจะขอลูกจ้างชั่วคราวตำแหน่งนักการภารโรงได้หรือไม่ครับ คือทาง สพป.ให้สำรวจข้อมูลโรงเรียนขาดภารโรงไป อาจารย์ว่าจะได้ไหมครับ ขอบคุณครับ

ตอบ...คุณ Luck...

  • คงต้องรอกฎหมายของลูกจ้างประจำก่อนกระมังค่ะ...เพราะตอนนี้ยังไม่เห็นมีค่ะ เอาไว้จะถามกรมบัญชีกลางให้แล้วจะมาบอกนะค่ะ...

ตอบ...พนักงานพิมพ์...

  • ให้ศึกษาหนังสือจากทางเจ้าหน้าที่การเงินนะค่ะว่า ทางกระทรวงการคลังได้มอบหมายให้ส่วนราชการดำเนินการจ้างเหมา ยามและก็สามารถเบิกค่าจ้างให้ได้ด้วยค่ะ หนังสือที่แจ้งมาจะประมาณ 2 ปี แล้วกระมังค่ะ
  • เพราะในหนังสือฉบับนั้น มอบให้ส่วนราชการดำเนินการจ้างเหมา เช่น แม่บ้าน ยาม คนงาน แล้วทำเรื่องเบิกเพื่อของบประมาณการว่าจ้างมาค่ะ
  • ลองดูนะค่ะ...

ข้าราชการส่วนท้องถิ่น (อบต.)ปรับเงินเดือน 5% แล้ว ไม่ทราบว่าส่วนของลูกจ้างประจำ จะปรับหรือไม่ครับ

ตอบ...ลูกจ้าง อบต.

  • ให้ดูมติ ครม. ว่าได้หรือไม่ เพราะถ้าข้าราชการเงินเดือนขึ้น ลูกจ้างประจำของส่วนท้องถิ่น ก็น่าจะขึ้นนะค่ะ... หรือไม่ก็สอบถามหัวหน้าส่วนราชการที่คุณสังกัดดูนะค่ะ...

เรียน อาจารย์อีกครั้งครับ ผมได้เปิดดูมิต ครม.แล้ว ไม่เห็นพูดถึงค่าจ้างประจำของลูกจ้างเลย และสอบถามบุคลากรผู้จัดทำเกี่ยวกับเงินเดือนแล้ว เขาบอกว่ายังไม่มีหนังสือสังการให้รอไปก่อน เรียน อาจารย์ต่อไปว่าถ้าไม่มีมติ ครม.ส่วนของลูกจ้างประจำก็คงหมดสิทธิ์ใช้ไหมครับอาจารย์ ช่วงนี้ก็อยู่ระหว่างหยุบสภาด้วย หรือว่าอาจารย์มีอะไรที่จะชีแนะเพื่อเป็นขวัญและกำใจแก่ลูกจ้างประจำทั่งไปบ้าง

เรียน อาจารย์อีกครั้งครับ ผมได้เปิดดูมิต ครม.แล้ว ไม่เห็นพูดถึงค่าจ้างประจำของลูกจ้างเลย และสอบถามบุคลากรผู้จัดทำเกี่ยวกับเงินเดือนแล้ว เขาบอกว่ายังไม่มีหนังสือสังการให้รอไปก่อน เรียน อาจารย์ต่อไปว่าถ้าไม่มีมติ ครม.ส่วนของลูกจ้างประจำก็คงหมดสิทธิ์ใช้ไหมครับอาจารย์ ช่วงนี้ก็อยู่ระหว่างหยุบสภาด้วย หรือว่าอาจารย์มีอะไรที่จะชีแนะเพื่อเป็นขวัญและกำใจแก่ลูกจ้างประจำทั่งไปบ้าง

ตอบ...คุณลูกจ้าง อบต.

  • มีอีกวิธีหนึ่งค่ะ ให้สอบถามไปที่กรมบัญชีกลาง ดูนะค่ะ เพื่อเจ้าหน้าที่ของกรมบัญชีกลางจะได้ชี้แนะได้บ้างค่ะ...ได้ผลอย่างไร แจ้งให้พี่ทราบด้วยในกระทู้นี้นะค่ะ เพื่อบอกให้เพื่อน ๆ ได้ทราบข่าวความเคลื่อนไหวไงค่ะ...
  • ปัจจุบัน การเป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำ มีหลากหลายสังกัดเหลือเกินค่ะ ไม่เหมือนสมัยก่อน การที่จะแจ้งอะไรให้ทราบก็ต้องให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนจึงจะนำมาแจ้งได้ค่ะ ขอบคุณล่วงหน้านะค่ะ...

เรียน อาจารย์ครับ ขอความอนุเคราะห์ช่วยกรุณาดู หนังสือ กค.0428/ว.46 ลงวันที่ 6/5/54 ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขอ้างและแจ้งให้ส่วนราชการในสังกัดให้ปรับค่าจ้างลูกจ้างประจำ 5% และหนังสือดังกล่าวโดยมีผลตั้งแต่ 1 เม.ย. เป็นต้นไปนั้น สือที่อ้างถึงได้รวมถึงลูกจ้างส่วนราชการทุกส่วน(ในความเข้าใจของผมนะครับ) ถ้าเป็นเช่นนั้น กรมส่งเสริมฯน่าจะหนังสือแจ้งให้ส่วนราชการในความรับผิดชอบดำเนินการ อาจารย์ลองอ่านดูและช่วยชี้แนะด้วยครับจะได้กระจ่าง

ตอบ...ลูกจ้าง อบต....

  • ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0428/ว 46 ลงวันที่ 6 พ.ค.2554  จะหมายถึงการปรับอัตราค่าจ้างลูกจ้างประจำของส่วนราชการ ซึ่งถ้าเป็นสมัยก่อนจะไม่ปัญหาสำหรับการแจ้งว่า คือ ลูกจ้างประจำของส่วนราชการ ต่อมาเมื่อมี อบต. เกิดขึ้น ผู้เขียนยังสงสัยว่าลูกจ้างประจำของ อบต. ใช่ใช้ระเบียบของลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. 2537 หรือไม่ ถ้านิยามเหมือนกัน ก็ใช้ด้วยกันได้ แต่ถ้านิยามคำว่า ลูกจ้างประจำของส่วนราชการกับลูกจ้างประจำของ อบต. ใช้ระเบียบคนละฉบับ ก็ไม่ใช่ ให้คุณสอบถามเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบดูก่อนนะค่ะ ผู้เขียนเกรงว่าถ้าตอบไปแล้วผิด เพราะปัจจุบันกฎหมายมีมากมายเหลือเกิน...แต่ถ้าความหมายของลูกจ้างประจำของส่วนราชการหมายรวมถึงลูกจ้างประจำของ อบต. รวมอยู่ด้วยแล้วล่ะก็สามารถปรับค่าจ้างได้ค่ะ... (เนื่องจาก อบต. เพิ่งจะมาก่อตั้งหลังจากระเบียบลูกจ้างประจำของส่วนราชการ)เพราะในความหมายของลูกจ้างประจำของส่วนราชการตามระเบียบนั้น มีสังกัดตามส่วนราชการ กระทรวง ค่ะ เลยไม่แน่ใจว่าหมายความรวมถึง ลูกจ้างประจำของ อบต.หรือไม่...อย่างไรแล้ว ขอให้สอบถามเจ้าหน้าที่งานการเจ้าหน้าที่หรืองานบุคคลดูก่อนนะค่ะ...
  • ถ้าได้ขอมูลอย่างไรแล้ว แจ้งให้ทราบด้วยนะค่ะ จะได้แจ้งให้เพื่อน ๆ ได้ทราบกันค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ...

ตำแหน่งช่างไม้ ช่างปูน ช่างไฟฟ้า ช่างประปา ช่างคุรุภัณท์ระดับ3อยู่ในหมวดใด1 2 3 4

ตอบ...คุณพงศธร...

  • ให้คุณคลิกดูในกลุ่มงานช่างด้านบนในบล็อกนะค่ะ ถ้าอยู่ในตำแหน่งระดับครุภัณฑ์ ระดับ 3 น่าจะอยู่ในกลุ่มบัญชีค่าจ้าง กลุ่มที่ 2-3 นะค่ะ...
  • ลองคลิกดูนะค่ะ ในบล็อกนี้นะค่ะ...เรื่อง บัญชีกำหนดคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งและอัตราค่าจ้างของลูกจ้างประจำ นี่แหล่ะค่ะ...

เรียน อาจารย์บุษยมาศ

ดิฉันเป็นลูกจ้างประจำอยู่ กทม อยากโอนย้ายได้เหมือนข้าราชการการจังเลยค่ะอาจารย์

จะเป็นไปได้ใหม่ค่ะ ว่าลูกจ้างประจำจะได้มีโอกาศโอนย้ายได้บ้าง ถ้าเป็นไปได้อาจาย์รบกวนหารือ

กรมบัญชีกลางให้หน่อยได้ใหม่ค่ะ และขอความกรุณาแจ้งความคืบหน้าให้ทราบด้วย เพราะลูกจ้างฯหลายคน

ก็คงอยากทราบความคืบหน้าเรื่องนี้มากเลยค่ะอาจารย์

ขอกราบขอบพระคุณอาจารย์ล่วงหน้าค่ะ

สวัสดีค่ะ...อาจารย์

วันนี้มีเรื่องน้อยใจมาระบายให้อาจารย์ฟังค่ะ.. คือได้สอบถามติดตามเรื่องที่ทำหนังสือขอปรับเปลี่ยนสายงานและปรับระดับของลูกจ้างประจำไปยัง สพม.10 กับหัวหน้างานบุคคลากรเลยหล่ะ ได้รับคำตอบว่ายังไม่รู้เลยว่าเขากำหนดตำแหน่งอย่างไร แล้วเปลี่ยนได้หรือเปล่า เอาไว้ก่อนนะ..เพราะต้องทำเรื่องอื่นที่สำคัญก่อนคือเรื่องย้ายครู.. เรื่องปรับเปลี่ยนตำแหน่งและระดับของลูกจ้างไม่สำคัญเอาไว้ก่อน..ก็เลยถามว่าแล้วจะให้ดำเนินการอย่างไรต่อ เพราะก่อนหน้านี้ก็เคยส่งมาแล้วครั้งหนึ่ง ได้รับคำตอบจากท่านว่าหาย ให้ทำส่งใหม่ หัวหน้างานฯตอบว่า ไม่หายหรอกโยนทิ้งเองแหละเพราะยังไม่สำคัญ นี้คือคำตอบที่ระดับหัวหน้างานตอบ...ฟังแล้วได้แต่อึ้ง

ทำไมบุคคลที่ได้รับภาระหน้าที่และตำแหน่งในระดับแบบนี้ถึงได้ไม่มีความเป็นธรรมเลย บุคคลที่ทำงานแบบนี้น่าจะเป็นแบบอาจารย์ทุกคน ทุกที่ ทุกหน่วยงานน่ะ ผู้ที่อยู่ในระดับล่างจะได้อุ่นใจว่าเขาสามารถให้คำตอบ ให้คำปรึกษาได้ สงสัยทาง สพม.10 กว่าจะได้ปรับตำแหน่งกัน คงจะสุดท้ายหรือไม่ก็คงจะไม่ได้ปรับอีกตามเคย เหมือนที่ผ่านมา ..... แต่ถึงยังไงก็ขอให้อาจารย์อยู่เป็นขวัญใจของลูกน้อง ผู้ใต้บังคับบัญชาไปนานๆ...นะค่ะ

ตอบ...คุณ IDTHEE [IP: 161.200.36.236] ...

  • การโอนย้าย ขึ้นอยู่กับส่วนราชการค่ะว่าจะให้โอนย้ายได้หรือไม่...เพราะเห็นบางส่วนราชการก็ให้โอนย้ายได้ บางส่วนราชการก็ไม่ให้โอนย้ายค่ะ เหตุอาจมาจากการเสียอัตรากำลังไงค่ะ...ให้คุณปรึกษาหัวหน้าส่วนราชการดูนะค่ะ...เพราะทางกรมบัญชีกลางจะมีหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องค่าจ้างค่ะ...

ตอบ...คุณ kesorn...

  • การทำงานเกี่ยวกับบุคคล เป็นงานที่เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของบุคลากรของส่วนราชการ ทุกประเภทจะต้องมีความเทียมเทียมกันเพราะไม่เช่นนั้น ในอนาคตมีการขึ้นศาลปกครองได้ค่ะ เพียงแต่ผู้ใต้บังคับบัญชายังรู้กฎหมายไม่มาก ถ้าบางส่วนราชการไปพบเจอบุคคลที่เรียกว่า รู้กฎหมายมาก ๆ ถึงกับมีการขึ้นศาลปกครองได้ค่ะ เพราะในระดับ ม. มีมาแล้วค่ะ...
  • การทำงานบุคคล เท่าที่ผ่านมา จะเป็นการทำงานแบบงานประจำ คือ งานธุรการ แต่ในอนาคตเป็นการทำงานแบบเชิงรุก ต้องทำทุกรูปแบบที่จะให้ส่วนราชการอยู่รอดได้ค่ะ (นี่คือ การบริหารงานภาครัฐเกี่ยวกับเรื่องบุคคลแนวใหม่)...ผู้เขียนยังคิดอยู่เสมอว่า ถ้าเจ้าหน้าที่งานบุคคลยังทำแบบนี้ ก็ไม่แตกต่างกับการทำงานแบบเดิม ๆ ไม่มีการทำงานแบบเชิงรุก ไม่เสาะหาความรู้ ไม่มีการพัฒนาตนเอง ยังคิดว่า ประเทศไทยจะไปถึงไหนกันหนอ...
  • แม้แต่ที่คุณ kesorn เล่ามา ก็เห็นใจทั้งคุณและเจ้าหน้าที่ แต่ถึงอย่างไรเจ้าหน้าที่ก็ต้องศึกษา เพราะส่วนราชการอื่น ๆ เขาปรับเปลี่ยนกันแล้ว ทำได้ก็ควรทำให้เพียงแต่จัดอันดับความสำคัญก่อนหลัง และไม่ควรจะตอบคุณแบบนั้น มีวิธีที่จะตอบให้ผู้มาติดต่อทราบอีกตั้งมากมายกับคำตอบ...ถ้าตอบแบบที่คุณว่า นั่นไม่ใช่ การเป็นข้าราชการที่ดี ความหมายของข้าราชการที่ดี คือ ข้ารับใช้แผ่นดิน แล้วเจ้าหน้าที่คนนั้นรับใช้แผ่นดินสมกับการเป็นข้าราชการหรือไม่
  • สำหรับผู้เขียนมีความตระหนักถึงตัวเองเป็นข้าราชการ ถึงจะมีตำแหน่งไม่ใหญ่โตมากมายนัก แต่ผู้เขียนก็สามารถบอกหรือพูดได้ว่า "ปัจจุบันผู้เขียนได้ทำหน้าที่ของการเป็นข้าราชการที่ดี เพื่อรับใช้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" ได้อย่างเต็มภาคภูมิ มีข้าราชการที่คิดแบบที่ผู้เขียนคิดแบบนี้ กันสักกี่คน บางส่วนจะคิดแต่ผลประโยชน์สำหรับตนเองและพวกพ้องกันเสียมากกว่า...น่าเสียดาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่านทรงทำให้กับประเทศตั้งมากมายตอนที่ท่านยังมีกำลังอยู่ และทรงสั่งสอนให้ข้าราชการทุกคนกระทำสิ่งที่ดี ๆ มีคุณประโยชน์ต่อแผ่นดิน แต่ที่เห็น ๆ บางคนก็เป็นแบบที่คนบอก บางคนก็ทำเพื่อผลประโยชน์ต่อตนเองและพวกพ้อง แล้วในอนาคตประเทศไทยจะไปแบบไหน ลูก - หลาน ที่มาสืบสานงานต่อจะเป็นอย่างไร...
  • คงต้องขึ้นอยู่กับ "จิตใต้สำนึก" ของข้าราชการแต่ละคนแล้วละค่ะ...
  • เหตุที่ผู้เขียนต้องมานั่งตอบ มาบอก เพียงเพื่อ "ให้ทราบว่าโลกปัจจุบันเขาไปถึงไหนกันแล้ว มีการเปลี่ยนแปลงต่อบ้านเมืองและระบบราชการมากมาย แต่บางคนก็มิได้ศึกษา แต่อยู่เพื่อรับเงินเดือนไปวัน ๆ ไม่สมกับตนเองได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่งกันเลย ไม่คิดถึง คำว่า "ข้าราชการ" ที่ดีมากนัก น่าสงสารประเทศชาติจังค่ะ...
  • สำหรับผู้เขียนจะทำได้ก็อีกประมาณ 11 ปี ค่ะ เพราะถ้าเกษียณไปแล้ว ก็คงให้เด็ก ๆ รุ่นใหม่ มาทำแทนแล้วละค่ะ...
  • เป็นกำลังใจให้ก็แล้วกันนะคะ...(เป็นไปได้ให้ลองปรึกษา ผอ.เขต สิค่ะ)...
  • ขอบคุณค่ะ...

ขอเรียนถามคุณบุษยมาศ

ทำไมช่างปูน ระดับ 3 เงินเดือน ยังใช้ขั้นวิ่งของกลุ่มที่ 1 และ 5 เปอร์เซ็นได้เมื่อไหร่

ตอบ...คนดอนทราย...

  • ช่างปูน ระดับ 3 จะอยู่ในบัญชีค่าจ้าง 1 - 2  ขั้นวิ่งต้องอยู่ที่กลุ่มที่ 1 จนกว่าค่าจ้างจะเต็มขั้นวิ่งของกลุ่มที่ 1 ก่อนค่ะ จึงจะไปอยู่ในบัญชีกลุ่มที่ 2
  • 5 % ขึ้นค่ะ คงต้องใจเย็นนิดหนึ่ง อย่างน้อยก็ได้รับตกเบิกค่ะ เพราะที่ ม. ของผู้เขียนก็เพิ่งจะดำเนินการเสร็จเหมือนกันค่ะ...เหตุที่ช้า อยู่ที่กระบวนการในการดำเนินการค่ะ + หนังสือสั่งการกว่าจะมาถึงเจ้าหน้าที่ได้ก็มีเวลาให้ดำเนินการน้อยด้วยค่ะ เรียกว่า ต้องรอนิดหนึ่งนะค่ะ แต่อย่างไรก็ได้รับตกเบิกเงิน 5 % กันค่ะ...(จะทำอะไรให้ได้ดั่งใจเราไม่ได้หรอกค่ะ...)

ผมเป็นลูกจ้างประจำสังกัดโรงเรียนมัธยมในจังหวัดร้อยเอ็ดอยากเรียนถามว่าผมจะสามารถเปลี่ยนไปสายงานอื่นได้หริอไม่เช่นพนักงานพิมพ์ดีดหรือพนักงานธุรการปัจจุบันผมจบ ป.ว.ส.และดำรงตำแหน่งช่าวลงครุภัณฑ์ชั้น3

ตอบ...คุณสุนทร มนตรี...

  • การที่จะเปลี่ยนตำแหน่งนั้น ขึ้นอยู่กับงานที่คุณได้ปฏิบัติ เช่น ถ้าเปลี่ยนเป็นพนักงานพิมพ์นั้น คุณก็ต้องพิมพ์คอมพิวเตอร์ได้ อีกอย่างก็ต้องไปดูที่คุณสมบัติของพนักงานพิมพ์ในแต่ละระดับว่าจะเปลี่ยนได้หรือไม่ค่ะ...เพราะเมื่อเปลี่ยนตำแหน่งไปแล้วจะมีผลตอนการประเมินผลการปฏิบัติงานไงค่ะ ถ้าพิมพ์ไม่ได้ก็ไม่ควรเปลี่ยน แต่ถ้าพิมพ์ได้ก็จะเป็นไปตามคุณสมบัติของตำแหน่งค่ะ...
  • สำหรับพนักงานธุรการ คุณก็ต้องเคยได้ปฏิบัติงานสารบรรณมาพอสมควร เช่น สามารถร่างหนังสือโต้ตอบหนังสือราชการได้ การรับ - ส่ง หนังสือราชการ การเก็บรักษา การยืม การทำลายหนังสือในระดับหนึ่ง ให้ศึกษาคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งของพนักงานธุรการด้วยนะคะ...
  • ทั้งนี้ ให้ปรึกษากับเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ + หัวหน้าส่วนราชการด้วยค่ะ...
  • สำหรับกรณีที่คุณยังไม่เคยทำหน้าที่ดังกล่าวข้างต้น ส่วนราชการอาจกำหนดภาระงานให้คุณ แล้วทำการสอบคัดเลือกก็ได้ค่ะ...
  • การเปลี่ยนตำแหน่งนั้น ไม่ใช่เป็นความต้องการของตัวเราเอง แต่มาจากการที่ตัวคุณเองได้มีการพัฒนาการทำงานในทางที่ดีขึ้น สามารถทำงานได้กว้างขึ้น ไม่ใช่ทำงานแบบเดิม ๆ แล้วก็ขอปรับเปลี่ยน คงไม่ใช่ แต่ถ้าคุณมีการพัฒนาตัวคุณเอง มีความรู้ ความสามารถในตำแหน่งที่จะปรับเปลี่ยน (เรียกว่า มีเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ) ส่วนราชการก็สามารถกระทำให้ได้ค่ะ...
  • 

ขอสอบถามหน่อยครับเกี่ยวกับการเปลี่ยนตำแหน่งใหม่ คือปัจจุบันผมเป็นลูกจ้างประจำของส่วนราช พึ่งเปลี่ยนตำแหน่งใหม่เป็นช่างครุภัณฑ์ชั้น 3 เมื่อ 23 มกราคม 2552 ก่อนการปรับโครงสร้างใหม่ที่กพ.เวียนให้แต่ละกรมฯ ผมสามารถเปลี่ยนตำใหม่ใหม่ได้มั้ยคับ และการเปลี่ยนตำแหน่งใหม่นั้นต้องปฏิบัติงานในหน้าที่ตำแหน่งเดิมกี่ปีครับ ถึงจะเปลี่ยนตำแหน่งใหม่ได้ ตอนนี้ผมเปลี่ยนได้2ปีครึ่ง และตอนนี้มีโครงสร้างตำำแหน่งใหม่ ที่ผมกำลังทำเรื่องขอเปลี่ยนใหม่ จากช่างครุภัณฑ์ชั้น 3 เป็น ช่างไฟฟ้า ชั้น 3 คุณสมบัติงานที่ผมทำนั้นสอดคล้องกับตำแหน่งใหม่ทุกอย่างรวมถึงวุฒิการศึกษาและประสบณ์การทำงานตรงทุกอย่างที่กพ.กำหนด ขอรบกวนคำถามแค่นี้ครับ ขอบคุณครับ

ตอบ...คุณนิคม...

  • การเปลี่ยนตำแหน่งใหม่ เป็นช่างไฟฟ้า ให้ดูที่ความประสงค์ของส่วนราชการด้วยนะคะว่า หน้าที่หลักที่ให้คุณได้ปฏิบัติปัจจุบันคือ ตำแหน่งใด และส่วนราชการต้องการให้คุณปฏิบัติงานอะไรส่วนใหญ่...การเปลี่ยนตำแหน่งใหม่ให้ดูที่คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งใหม่ด้วยค่ะว่าสำนักงาน ก.พ. แจ้งว่าอย่างไร....ถ้าระบุจำนวนปีก็ควรปฏิบัติตามนั้น แต่ถ้าไม่ระบุ ก็เป็นไปตามคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งใหม่ค่ะ...

กระผมขอเรียนถาม คุณบุษยมาศ อย่างนี้ครับ กระผมเป็นลูกจ้างประจำ ตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์ ของส่วนราชการ กระทรวงศึกษาธิการ อยากถามว่า ตำแหน่งพนักงานขับรถ ทำไมเมื่อก่อน เงินเพดานสูงกว่าตำแหน่งทั่วไปมากเลย แต่เดี่ยวนี้ต่ำกว่าตำแหน่งอื่นมากเลย กระผมจะต้องทำอย่างไรครับ และ อีกอย่างกระผมไม่ค่อยจะได้ขับรถ นานๆ ขับที ส่วนมากจะ ทำงานโสตทัศนศึกษามากกว่าครับ  และก็ซ่อมบำรุง จำพวก ไฟฟ้า โทรศัพท์ เสียงตามสาย คอมพิวเตอร์ และงานระบบอินเตอร์เน็ตในโรงเรียน  งานเครือข่าย กระผมจบ ปวส. สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ  และ ปริญญาตรี  ด้านบริหารธุรกิจ แขนงวิชาการจัดการทั่วไป เพิ่งจบ 6 พ.ค. 54 นี้เอง  หากว่ากระผมจะเปลี่ยนตำแหน่งเป็น"เจ้าหน้าที่โสตทัศนศึกษา" จะได้ไหมครับ และเพดานเงินเดือนจะอยู่ที่เท่าไรครับ ตอนนี้อยากทราบวิธีการมากเลยครับ ขอรบกวน คุณบุษยมาศ ช่วยชี้แนะหน่อยนะครับ ขออภัยด้วยนะครับยาวไปหน่อยครับ

เรียนคุณบุญยมาศ ครับ

ปัจจุบันผม ตำแหน่งช่างเครื่องมือกล ระดับ 2 ไม่ทราบอยู่ในกลุ่ม 1 หรือ 2 กันแน่ครับ (น่าจะอยู่กลุ่ม 2 แล้วหรือป่าวครับ)

แล้วทำไมประกาศเลื่อนขั้นเงินเดือน ณ ปัจจุบัน ของผมยังไปใช้ระดับขั้นเงินเดือนของกลุ่มที่ 1 อยู่ล่ะครับ

ขอบคุณมากครับ

ตอบ...คุณพล วงใหญ่...

  • ถ้าปรับเปลี่ยน น่าจะเป็นตำแหน่งช่างครุภัณฑ์ นะคะ...เพราะทำเกี่ยวกับเรื่องโสตทัศนศึกษาได้ ให้คลิกดูที่ไฟล์ด้านบน กลุ่มงานช่างค่ะ สำหรับเงินค่าจ้างนั้น ก็อยู่ในไฟล์นั้นอยู่แล้วค่ะ ศึกษาให้ละเอียดนะค่ะ แล้วจะทราบว่าควรเปลี่ยนหรือไม่...

ตอบ...คุณสุรชัย...

  • ตำแหน่งช่างเครื่องมือกล ระดับ 2 นั้น อยู่กลุ่มบัญชีที่ 1-2 ค่ะ สำหรับการเลื่อนขั้นค่าจ้างนั้นจะต้องเลื่อนให้เต็มขั้นกลุ่มบัญชีที่ 1 ก่อน จึงจะสามารถเลื่อนไปยังกลุ่มบัญชีที่ 2 ได้ค่ะ ลองศึกษาที่รหัส 3314 ด้านล่างนี้ดูนะคะ...
  • http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/534/292/original_bbb1.pdf?1285800442

เรียนถามอาจารย์บุยมาศ

ผมเป็นลูกจ้างประจำตำแหน่งช่างปูนระดับ 3 ต้องการย้ายจากโรงเรียนหนึ่งไปรงเรียนหนึ่งได้หรือเปล่า ถ้าได้แบบฟอร์มการย้ายเหมือนของครูหรือเปล่า ขอบพระคุณมากครับ

ตอบ...คุณคนดอนทราย...

คนสะเมิงเชียงใหม่ในหมอก

ตำแหน่งพนังงานขับรถยนต์ 1-2 ไปตันที่ 22,220 บาท (ตอนนี้อยู่ในกลุ่มนี้อยู่) สงสัยที่กลุ่มที่สามไปตันที่ 29,320 หากมีพนักงานขัยรถยนต์คนเดียวสามารถปรับขึ้นไปได้ไหมครับ บรรจุเมื่อปี 2530 หากนับเวลาราชการจะเกิน และจะมีข้ออื่นมาประกอบอีกไหมครับ ถ้าหากจะขอปรับสมมุติว่าตันแล้วที่ระดับ 2 เพราะดูในความเหมาะสมกับตำแหน่งระบุว่าแต่งตั้งจากชั้นสองปฏิบัติงานมาแล้วไม่น้อยกว่า สามปีหรือแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความสามารถเหมาะสมและชำนาญงานด้านนี้มาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปึ

ตอบ...คนสะเมิงเชียงใหม่ในหมอก...

  • ให้สอบถามไปที่กรมบัญชีกลางนะคะ ว่าทำได้หรือไม่ เพราะในสมัยก่อนจะต้องระบุว่าคนที่เป็นหัวหน้าจะต้องมีลูกน้องกี่คน แต่ไม่ทราบว่าปัจจุบันยังจะกำหนดการควบคุมลูกน้องอยู่หรือเปล่า...ถ้าดูในคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งใหม่นี้ ไม่มีระบุไว้ เพื่อความชัดเจนให้สอบถามไปที่กรมบัญชีกลางนะคะ...
คนสะเมิงเชียงใหม่ในหมอก

อันนี้แหละครับปัญหา คุณสมบัติกรอบในตำแหน่งไม่ระบุ แต่หากถามไปกรมบัญชีกลางกลับระบุต้องมีลูกน้องในสังกัดแปดถึงสิบคน ผมว่ามันไม่ยุติธรรมนะครับอยู่โรงเรียน ทั่วประเทศนี่จะมีสักกี่โรงที่มีคนขับรถเป็นสิบๆคน ครับ มันก็สองมาตรฐานอีกนั่นแหละต้องเป็นคนที่อยู่สำนักงานเขต หรือไม่ก็ อบจ รพช สำนักงานเหล่านี้เท่านั้นหรือที่จะมีสิทธิ์กินเงินเดือนของกลุ่มที่สาม ทั้งๆที่ลักษณะงานเหมือนกันหรืออาจจะสบายกว่างานที่อยู่โรงเรียนด้วยซ้ำไป เพราะอยู่กันหลายคนคิวงานกว่าจะถึงกันบางคนว่างเป็นอาทิตย์ แต่อยู่โรงเรียนมีคนเดียว ทำทุกอย่าง ไม่ขับรถไปราชการต่างจังหวัด ก็ทำงานที่ห้องธุรการดูแลงานโสต งานครุภัณฑ์ ซ่อมไฟฟ้า ส่งหนังสือราชการ ฯลฯ แล้วแต่นายจะให้ทำ อยากฝากวิงวอนผูเกี่ยวข้องช่วยแก้ใขให้ด้วยครับ ขอบคุณครับ

นางสาวสมจิตร หอมวงศ์

ดิฉันเป็นลูกจ้างประจำของอบต. อยากทราบว่า ลูกจ้างประจำ ในอบต.ของดิฉันมีลูกจ้างประจำแค่คนเดียว จากการปรับเงินค่าจ้างประจำได้รับปี ละ 1 ขั้น ไม่ทราบว่าจะสามารถได้ 2 ขั้น หรือเปล่าค่ะ ลืมบอกไปค่ะ ดิฉันตำแหน่ง ผช.เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี จบป.ตรี ด้านบัญชีโดยตรง ตอนนี้กำลังจะขอปรับ เป็นนักวิชาการเงินและบัญชี (ลูกจ้างประจำ) ถ้าปรับแล้ว เงินค่าจ้างจะขึ้นหรือเปล่า ตอนนี้ดิฉันได้รับเงินค่าจ้าง 8,540.- ค่าครองชีพ 1500 ทำงานมา 9 ปีค่ะ ช่วยด้วยนะค่ะ

ตอบ...คุณคนสะเมิงเชียงใหม่ในหมอก...

  • ที่ให้สอบถามไปยังกรมบัญชีกลาง เพื่อให้ได้คำตอบที่ชัดเจนค่ะ เพราะกรมบัญชีกลางจะตรวจสอบในเรื่องของการปรับเปลี่ยนตำแหน่งค่ะ ไม่อยากให้ทำแล้วเสียเวลาต้องมานั่งแก้ไขคำสั่งว่าไม่ได้ไงค่ะ...ทางกรมบัญชีกลางคงมีเหตุผลนะคะ อย่าเพิ่งด่วนสรุปความโดยที่ยังไม่ได้ฟังเหตุผลด้วยค่ะ...
  • ถ้าคุณสมบัติใหม่ไม่มีลูกน้องมาเกี่ยวข้องก็ไม่น่าจะต้องนำมาเป็นเกณฑ์นี่ค่ะ แต่ให้สอบถามเพื่อความถูกต้องอีกครั้งค่ะ...

ตอบ...คุณสมจิตร หอมวงศ์...

  • การเลื่อนขั้นค่าจ้างของลูกจ้างประจำ ถ้าใช้ระเบียบเดิมที่ไม่มี % เช่น ข้าราชการแล้วละก็ ก็ยังคิดเกณฑ์โควต้า 15 % มากำหนดในการคิด 2 ขั้นอยู่ค่ะ...
  • การปรับขั้นค่าจ้าง ถือว่าเป็นการขยายเพดานเงินค่าจ้าง ขั้นค่าจ้างก็ยังเท่าเดิมก่อนค่ะ ไม่มีการปรับพอก จนกว่าจะขยายจากกล่มบัญชี 1 ไปยังบัญชี 2 ค่ะ ก็ได้ประมาณ 200 - 300 กว่า ประมาณนี้ค่ะ...
  • การที่จะไปยังบัญชีกลุ่ม 2 นั้น ก็ต้องได้ขั้นค่าจ้างเต็มขั้นของกลุ่มบัญชี 1 ก่อนค่ะ...
คนสะเมิงเชียงใหม่ในหมอก

ขอขอบพระคุณสำหรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ต่อพี่น้องชาวลูกจ้างทุกๆคน โดยเฉพาะตัวผมเอง ที่ท่านกรุณาเสียสละเวลามาตอบให้หายข้อสงสัย หากมีข้อสงสัยอีกจะขอรบกวนอีกในอนาคตข้างหน้านะครับ

ขอบพระคุณครับ

สวัสดีค่ะ คุณคนสะเมิงเชียงใหม่ในหมอก...

  • ยินดีค่ะ ขอบคุณค่ะ...

กระผมอยากทราบว่า เงินอีก 8 % ลูกจ้างประจำจะได้รับเหมือนข้าราชการหรือเปล่าครับ ขอบคุณนะครับที่เป็นธุระสรรหา ข้อความมาใขให้กระจ่างแจ่มแจ้ง ขอบคุณมากๆนะครับคุณ บุษยมาศ

ลูกจ้าง สาธารณสุข

สวัสดีค่ะ ดิฉันเป็นลูกจ้างของ ร.พ

ตำแหน่งเริ่มต้นที่ ผู้ช่วยเหลือคนไข้ ต่อมามีการสอบปรับตำแหน่ง ก็สอบเป็นพนักงานพิมพ์ดีด

ปัจจุบันเป็น พนักงานพิมพ์ดีด ชั้น 2 ซึ่งเงินเดือนตันที่ 18,190 บาท ตอนที่สอบเพราะอยากให้ตรงงานที่ทำ

เพราะทำงานด้านเอกสาร งานสารบรรณ และได้สอบถามกับการเจ้าหน้าที่ ได้คำตอบว่า ที่ ร.พ จะไม่มีตำแหน่งพนักงานพิพม์ดีดชั้น 3 เริ่มมีปัญหาตอนนี้เอง เพราะ พนักงานพิมพ์ดีด ชั้น 2 เงินเดือนจะตันน้อยสุด กว่าตำแหน่งอื่นๆ ตำแหน่งอื่นจะตันอยู่ที่ 22,220 บาท คิดไม่ออกจะทำอย่างไรดี ช่วยดิฉันคิดหน่อยค่ะ

ตอบ...คุณพล วงศ์ใหญ่...

  • สำหรับเงิน 8 % น่าจะเป็นส่วนของข้าราชการครู ของ สพฐ.มากกว่ากระมังค่ะ เพราะข้าราชการพลเรือนสามัญ, ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ก็ได้เพียง 5 % เท่านั้นค่ะ เช่นเดียวกับลูกจ้างประจำ ไม่สามารถได้อีก 8 % แล้วค่ะ...เพราะตามมติ ครม. ให้เท่านี้ค่ะ...

 

ตอบ...คุณลูกจ้างสาธารณสุข...

  • ให้ลองสอบถามไปยังกรมบัญชีกลางสิค่ะ...
  • ไม่รู้ว่าของสาธารณสุข ทำกรอบไว้หรือค่ะ...เพราะของ ม. ก็ไม่มีกรอบกำหนดไว้แบบที่คุณบอกนะคะ สามารถโตได้จนกว่าความสามารถของลูกจ้าง ฯ คนนั้นจะไม่สามารถทำได้เองไงค่ะ...
  • ถ้าตัน คงต้องปรับเปลี่ยนเป็นตำแหน่งอื่นหรือเปล่า แต่ก็ต้องเป็นงานที่เราได้ปฏิบัติอยู่ด้วยนะคะ...

เมื่อวันที่ 9 ก.ค 54 ผมพิมย์ตกคำว่า..ให้ ผมจึงขอเรียน ผอ.ใหม่ว่า ผมอยากให้ลงตารางช่างไม้ชั้น3ด้วยนะครับ.ขอบคุณมากครับ

ตอบ...คุณทวี...

นักการภารโรงที่ จบป.ตรี

อยากทรบว่า ถ้านักการที่เป็นลูกจ้างประจำในโรงเรียนสกัด กทม จบ ป.ตรี จะได้ปรับตำ่แหน่งใหม่หรือไม่คับ และอีกคำถามว่าเงินเดือนจะเพิ่มหรือเปล่าคับ

ตอบ...นักการภารโรงที่ จบ ป.ตรี...

  • การปรับตำแหน่งจะไม่เกี่ยวกับการจบ ป.ตรีค่ะ ยกเว้นในบางตำแหน่งที่เราได้ปฏิบัติงานอยู่ หรือที่ทางส่วนราชการเปิดรับสมัครตำแหน่งใหม่ ต้องมีวุฒิ ป.ตรีค่ะ จึงจะนำวุฒิไปปรับเข้าได้ค่ะ
  • ปัจจุบันตำแหน่งนักการภารโรง ในส่วนราชการอื่น ๆ เขาก็ปรับเป็นตำแหน่งอื่นกันแล้ว เช่น เดิมตำแหน่งนักการภารโรง ถ้าทำงานธุรการของโรงเรียนได้ ส่วนราชการก็จะปรับให้เป็นพนักงานธุรการ หรือถ้าพิมพ์คอมฯ ได้ ก็จะปรับให้เป็นพนักงานพิมพ์ ฯลฯ กันค่ะ เพราะตำแหน่งดังกล่าวจะสามารถปรับเลื่อนระดับเป็นระดับ 1, 2 ,3 หรือ 4 กันได้ ซึ่งทำให้มีการเพิ่มขั้นค่าจ้างกันด้วยไงค่ะ...

ระบบตำแหน่งลูกจ้างประจำ กพ.มีผลบังคับใช้1เมย.53เกี่ยวกับขั้นวิ่ง5%ใช่หรือไม่ครับเพราะผมเลื่อนขั้นเงินเดือน5%แบบขั้นวิ่ง1เมย.54อย่างนี้ต้องย้อนหลังของปี53หรือไม่ครับ

ตอบ  คุณภารโรง ปวส.

  • ให้ดูว่า เดิมคุณอยู่ตำแหน่งใด ระดับใด เวลาปรับเปลี่ยนไปตำแหน่งใหม่ให้ดูว่า งานใหม่นั้น คุณได้ปฏิบัติอยู่หรือไม่ และส่วนราชการมีความจำเป็นด้วยหรือไม่ที่เมื่อปรับไปแล้วงานที่ปฏิบัติใหม่เป็นงานที่ตรงตามภารกิจของส่วนราชการนั้น ๆ ค่ะ
  • ถ้าเป็นอย่างที่บอกข้างต้น ก็สามารถปรับตำแหน่งใหม่ได้ ในระดับเดิมค่ะ...

ตอบ คุณ NA...

  • 5 % จะมีผลบังคับใช้ ณ 1 เมษายน 2554 เท่านั้นค่ะ ไม่มีผลย้อนหลัง

ท่านอาจารย์ครับ กระผมอยากทราบ ข้อ1.คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งของรหัส 2401 พนักงานช่วยการพยาบาล 2402 พนักงานช่วยเหลือแพทย์และพยาบาล 2403 พนักงานช่วยเหลือคนไข้ 2403 ผู้ช่วยพยาบาล ข้อ2.การเลื่อนระดับทั้ง4รหัสนี้ครับ ข้อ3.การเปลี่ยนตำแหน่งเช่นจาก2403 เป็น 2404 หลักเกณท์ต้องทำอย่างไรบ้างครับ รบกวนท่านอาจารย์ส่งคำตอบมาที่ [email protected] ขอบคุณท่านอาจารย์มากๆครับ

ตอบ...คุณ pn2546...

  • จากที่ถามในข้อ 1 ให้ศึกษาตามไฟล์ด้านล่างนี้ค่ะ
  • http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/534/289/original_support.pdf?1285800428
  • ดูตามรหัสนะคะ...จะมีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งด้านข้างขวามือค่ะ
  • ข้อ 2 การเลื่อนระดับ ก็เป็นไปตามระดับที่เรียงอยู่แล้วค่ะ
  • ข้อ 3 หลักเกณฑ์ในการปรับเปลี่ยนให้ศึกษาที่คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งในตำแหน่งที่จะต้องการเปลี่ยนก่อน คือ ถ้าเดิมเราอยู่ระดับ 3 ของตำแหน่ง 2403 ถ้าเปลี่ยนไปตำแหน่ง 2404 ก็จะต้องไปอยู่ในระดับ 3 เช่นกัน แต่ต้องดูที่คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งด้วยค่ะ ว่าได้หรือไม่
  • ให้ปรึกษากับส่วนราชการและเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบค่ะ

5 % ยังไม่ได้เลยอะครับของเขต สพม 34เชียงใหม่แม่ฮ่องสอน ที่อื่นได้กันรึยังครับ

ขอบคุณครับ

  • ที่ มรภ.พิบูลสงคราม ได้รับกันแล้วค่ะ...
  • ลองสอบถามไปที่ สพม.34 เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ดูสิค่ะ ว่าเพราะเหตุดใด? ที่ยังไม่ได้รับ...เพราะเลยมา 4 เดือนแล้วนะค่ะ อย่างช้าก็ไม่น่าเกิน 2 เดือน...

จบ ป.ตรีบัญชี จะไปสมัครสอบนักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการของ สพฐ.ได้ไหมคะ

ตอบ...คุณฐาณิญา...

  • การจะสมัครได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติที่ทาง สพฐ.จะเป็นผู้กำหนดค่ะ...ว่าวุฒิใดบ้างที่สามารถสมัครได้ ...

เป็นลูกจ้างประจำ ตั้งแต่ 1 กค 46 ตำแหน่งที่ได้รับ ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี ทำไมไม่มีสิทธิปรับเงินให้สูงขึ้นและมีไม่สิทธิได้รับเครื่องราชฯ

เรียน คุณบุษยมาศ

กระผม เป้นลูกจ้างประจำ ตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์ ของกรมปศุสัตว์ ทำงานมาเป็นเวลา 31 ปีแล้วครับ อยากถามว่า ทำไม กพ.ถึงได้กำหนดเป็นตำแหน่ง สนับสนุน 1 ครับ ทำไมไม่ปรับให้เป้น ระดับ สนับสนุน 2 เลยละครับ เพราะทำงานมานานขนาดนี้แล้ว ความรู้ความสามารถ และประสพการณ์ คงไม่ต้องพูดถึง ว่ามีมากมายแค่ไหน ส่วนพนักงานเข้าและเย็บเล่ม ทำไมปรับให้ทันที่เลย ไม่เห็นต้องรอ เลยครับ ปรับได้เลย จาก 1 เป็น 2 ผมละงงจริง ๆ กับระบบ นี้ ครับ ช่วยตอบให้เข้าใจหน่อยครับ

ตอบ...คุณน้ำผึ้ง...

  • ผู้เขียนไม่เข้าใจคำถาม เกี่ยวกับเรื่อง สิทธิปรับเงินให้สูงขึ้น ขอให้แจ้งข้อมูลชัดเจนกว่านี้ได้หรือไม่ จึงไม่สามารถตอบให้ได้ค่ะ
  • การที่จะมีสิทธิได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ลูกจ้างประจำมีสิทธิได้รับเครื่องราช ฯ ศึกษาในระเบียบดูนะคะ...คลิกที่สารบัญ(บน) ด้านขวามือ ของคุณ จะปรากฎ บล็อกที่ผู้เขียนได้นำมาลงให้หลายเรื่องค่ะ...

ตอบ...คุณคนขับรถ...

  • ให้ศึกษาเรื่องการปรับเข้าสู่ตำแหน่ง ซึ่ง ก.พ. ได้แจ้งมาให้ถือปฏิบัตินะคะ...
  • การที่จะปรับเข้าสู่ตำแหน่งนั้น ไม่เกี่ยวกับการที่เราทำงานมานาน เพราะระเบียบเพิ่งจะออกมาให้ส่วนราชการได้ถือปฏิบัติคะ เป็นไปตามคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งของตำแหน่งนั้น ๆ...สำหรับตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์ กับตำแหน่งพนักงานเข้าและเย็บเล่ม อาจมีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งไม่เหมือนกัน จึงทำให้การปรับเข้าสู่ตำแหน่งแตกต่างกัน ให้คุณศึกษาตั้งแต่เรื่องการปรับเข้าสู่ตำแหน่ง ตั้งแต่แรก ที่ผู้เขียนได้นำมาลงให้ศึกษาด้วยค่ะ จะได้เข้าใจจากบล็อกต่าง ๆ ที่ผู้เขียนได้นำมาลงให้ หรือคลิกที่สารบัญ ด้านบนขวามือของคุณ จะมีเรื่องหลายเรื่องที่ผู้เขียนได้นำมาแจ้งให้ศึกษา (กรณีศึกษา ด้านล่างสุดของบล็อกจะเป็นเรื่องก่อน ด้านบนของบล็อกจะเป็นเรื่องล่าสุดค่ะ)

เรียนคุณบุษยามาศ

ผมเป็นช่างไม้ชั้น 3 ซึ่งสอบมาตรฐานฝีมือผ่านชั้น 2 ถ้าหากปรับเป็นช่างไม้ชั้น4 จะต้องสอบมาตรฐานฝีมือผ่านชั้น 3

หรือไม่ เพราะตอนนี้เป็นช่างไม้ชั้น 3 อยู่แล้ว หากจะปรับเป็นช่างไม้ชั้น 4 ใช้คำสั่งที่แต่งตั้งช่างไม้ 3 เป็นช่างไม้ 4 ได้หรือไม่

ตอบ...อ.ปง

  • ปัจจุบันเป็นตำแหน่งช่างไม้ ระดับ 3 หากจะปรับเป็นช่างไม้ ระดับ 4 นั้น ให้คุณดูที่คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง หน้า 31 ซึ่งมีทั้งหมด 4 ข้อ ให้คุณใช้คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ข้อใดข้อหนึ่งใน 4 ข้อ (ข้อใดก็ได้ค่ะ เพราะใช้คำว่า "หรือ") ซึ่งก็ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานในระดับชั้นที่มีความสัมพันธ์กับหน้าที่ความรับผิดชอบ คุณอาจใช้ ข้อ 1 หรือ ข้อ 2 หรือ ข้อ 3 หรือ ข้อ 4 ในการเข้าสู่เกณฑ์ที่จะได้รับแต่งตั้งให้เป็นช่างไม้ ระดับ 4 ก็ได้ค่ะ...
  • http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/534/292/original_bbb1.pdf?1285800442

อยากได้บัญชีอัตราเงินค่าจ้างส่วนราชการ ตำแหน่งช่างครุภัณฑ์ (ที่โรงเรียนมีตำแหน่งช่างครุภัณฑ์ชั้น 3) แนบไฟล์ทาง e-mail ให้ด้วยจักขอบพระคุณยิ่งครับ

ตอบ...คุณตะวัน ตลอดไธสง

  • ลองศึกษาไฟล์ด้านล่างนี้ดูนะคะ และค่อย ๆ ศึกษาค่ะ จากบล็อกด้านบนเป็นเรื่องใหม่สุดค่ะ...
  • http://www.gotoknow.org/blog/bussayamas46/436348

 

 

จิรัชยาพร ยิ้มประดิษฐ์

ขอเรียนถามนะคะ

เป็นลูกจ้างประจำ เพิ่งได้รับการปรับจากพนักงานพิมพ์ดีด 1 เป็น พนักงานพิมพ์สายสนับสนุน 2 คะ ถ้าเกษียณอายุราชการจะเบิกค่ารักษาพยาบาลได้หรือเปล่าคะ

ขอบคุณคะ

เรียนบุษยมาศ

ลกจ้างประจำที่เกษียรณอายุราชการ ไม่ทราบว่าสวัสดิการต่างๆยังได้รับอยู่เหมือนเดิมหรือเปล่า ถ้ามี มีอะไรบ้าง

ขอบคุณท่านอาจารย์มากๆ

ตอบ คุณจิรัชยาพร + คุณคนดอนทราย

• ปัจจุบันเห็นมีแต่สิทธิ เรื่อง การรับบำเหน็จรายเดือน เรื่องเดียวนะคะ

• สำหรับเรื่องสิทธิประโยชน์ ค่ารักษาพยาบาล ค่าเช่าบ้าน ฯลฯ อยู่ในระหว่างที่กระทรวงการคลังตรวจสอบข้อมูลค่ะ...

• ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงให้ลูกจ้างประจำได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น ผู้เขียนจะนำมาแจ้งให้ทราบค่ะ...

คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งของลูกจ้างประจำที่กระทรวงการคลังกำหนด ทุกกระทรวงใช้แนวทางเดียวกันหรือเปล่าคะ เช่น สพฐ.

ขอบคุณค่ะ ...พี่บุษ

ตอบ...คุณปรารถนา...

  • ลูกจ้างประจำของ สพฐ. ก็ใช้ระเบียบนี้จ้า...จึง...
  • สบายดีไหม?...
  • คิดถึงเสมอจ้า...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท