การหารจำนวนที่มีตัวหารไม่เกินสามหลัก


แก้ปัญหาการหารของนักเรียน

           บทคัดย่อ

       

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)  พัฒนาแบบฝึกทักษะเรื่อง การหารจำนวนที่มีตัวหาร     ไม่เกินสามหลัก  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนบ้านละลม  จังหวัดศรีสะเกษ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  80/80  2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง  การหารจำนวนที่มีตัวหารไม่เกินสามหลัก  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนบ้านละลม จังหวัดศรีสะเกษ  ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ  3) หาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะเรื่อง การหารจำนวนที่มีตัวหารไม่เกินสามหลัก  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2  โรงเรียนบ้านละลม  จังหวัดศรีสะเกษ 4) ศึกษาความพึงพอใจ ในการพัฒนา        การเรียนรู้เรื่อง  การหารจำนวนที่มีตัวหารไม่เกินสามหลัก  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนบ้านละลม  จังหวัดศรีสะเกษ  โดยใช้แบบฝึกทักษะ   กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย  คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนบ้านละลม  ปีการศึกษา 2552 จำนวน 34 คนจาก   1 ห้องเรียนได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple  Random  Sampling)  โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่  แผนการเรียนรู้จำนวน 12 แผน แบบฝึกทักษะ จำนวน 12  แบบฝึก แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชนิด  4  ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยาก  (p)  ระหว่าง  0.43  ถึง  0.77   มีค่าอำนาจจำแนก (B) ตัวถูก  0.23 ถึง  0.68  ค่าอำนาจจำแนก(B)  ตัวลวง  0.05  ถึง  0.38  มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ  0.92 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน  ที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ จำนวน 11 ข้อ  มีค่าอำนาจจำแนก (rxy) ตั้งแต่ 0.51 ถึง 0.74 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ  (∝) เท่ากับ 0.61 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐานใช้  t-test (Dependent  Samples)

                  ผลการวิจัยสรุปผลได้ดังนี้

                  1.  การพัฒนาแบบฝึกทักษะการหาร  เรื่อง  การหารจำนวนที่มีตัวหารไม่เกินสามหลัก     กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนบ้านละลม  จังหวัด ศรีสะเกษ มีประสิทธิภาพ 94.02/88.03 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์  80/80  ที่ตั้งไว้

                 2.  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนบ้านละลม จังหวัดศรีสะเกษ ที่เรียนเรื่อง    การหารจำนวนที่มีตัวหารไม่เกินสามหลัก  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  โดยใช้แบบฝึกทักษะ  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01             

                 3.  ดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะ  เรื่อง  การหารจำนวนที่มีตัวหารไม่เกินสามหลัก  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์    ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนบ้านละลม  จังหวัด ศรีสะเกษ  มีค่าเท่ากับ  0.774  แสดงว่า นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น  0.774  หรือคิดเป็นร้อยละ  77.4 

                4.  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนบ้านละลม  จังหวัดศรีสะเกษ  มีความพึงพอใจ   ในการพัฒนาการเรียนรู้เรื่อง  การหารจำนวนที่มีตัวหารไม่เกินสามหลัก  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกทักษะ อยู่ในระดับมากที่สุด

 

คำสำคัญ (Tags): #บทคัดย่อ
หมายเลขบันทึก: 350508เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2010 10:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 20:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ดีจริง ใช้ได้จริง เชื่อ.

อภิวัฒน์ อาจอินทร์

ดีครับ น่าสนใจมาก

นักเรียนมีทักษะที่ดีขึ้นถือว่าประสบผลสำเร็จ เป็นเรื่องน่ายินดีค่ะ

อ่านแล้วเข้าใจค่ะ แล้วก็ใช้ได้จริงด้วยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท