ชีวิตที่พอเพียง : ๙๘๒a. เรียนรู้จาก PMA Conference


          วันอาทิตย์ที่ ๔ เม.ย. ๕๓ ทีม secretariat ของ PMA Conference นัดแนะกันไป retreat ที่สวนสามพราน    หลังจากการนัดครั้งแรกต้องเลื่อน เพราะการเดินขบวนของกลุ่มเสื้อแดง   วันนี้เราแน่ใจว่าเขาเน้นแสดงพลังกันที่สี่แยกราชประสงค์   ไม่ไปทั่วเมือง   การเดินทางไปกลับจากสวนสามพรานน่าจะไม่มีปัญหา

          ผมเรียนรู้กระบวนการจัดการประชุมที่ยอดเยี่ยม ออกแบบโดย รศ. ดร. ชื่นฤทัย กาญจนจิตรา   โดยมีขั้นตอนต่อไปนี้

   รายการแฟนพันธุ์แท้   ถามและให้รางวัลแก่ผู้ที่ตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องราวเชิงประวัติศาสตร์ ของ PMA Conference ได้   ทำให้ผู้เข้าร่วมได้รู้จัก PMA Conference มากขึ้น ชัดเจนขึ้น


    รายการเขียนสิ่งประทับใจ และข้อเสนอแนะ อย่างละ ๓ ประเด็น (หรือมากกว่า) ลงบนกระดาษ Post It   แล้วใช้กิจกรรม “หมอนดนตรี” หาผู้อ่านและอธิบายความเห็นของตน ๑ ประเด็น   รวม ๓ คนต่อ ๑ ด้าน   พอเป็นตัวอย่าง    แล้วเอาไปติดบอร์ดตามหัวข้อ   ซึ่งมี ๑๓ ข้อ : side meeting, field trip, market place, พิธีเปิด, พิธีปิด, เนื้อหาการประชุม, วิดีโอเกี่ยวกับมูลนิธิ, วิดีโอเกี่ยวกับ HIS, สถานที่จัดประชุมและ facility, อาหาร, การต้อนรับและการลงทะเบียน, กระเป๋าและของที่ระลึก, การประชาสัมพันธ์และการเสนอข่าว 
          ผมมองว่า รายการนี้คือรูปแบบหนึ่งของ AAR นั่นเอง   แต่จัดกระบวนการให้แต่ละคนเขียนโดยอิสระ   ใช้ card technique ช่วย 
          หลังจากนั้น อ. ชื่นฤทัย รวบรวมประเด็นจาก card   นำมาทำ ppt นำเสนอ   และขอให้แต่ละคนกล่าวข้อสังเกตของตน   ทำให้ได้ประเด็นสำหรับนำมาปรับปรุงการทำงานปีต่อๆ ไป
          ผมดีใจจนเนื้อเต้น ที่การพูดคุยอย่างอิสระ เปิดใจ สบายใจ ทำให้เห็นลู่ทางดำเนินการใช้ PMA Conference สร้างความเข้มแข็งของระบบสุขภาพไทย และของระบบวิจัยสุขภาพไทย


    ตอนบ่ายเป็นการวางแผนการประชุมปี 2011 : HRH Challenges towards Achieving MDGs and Beyond  ระหว่าง ๒๖ – ๒๘ ม.ค. ๕๔   เท่ากับเป็นการทำงานต่อจาก Kampala Declaration ในเรื่องการพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ   ร่วมกับ GHWA   ในที่ประชุม ผู้รู้พูดกันว่าอุปสรรคสำคัญคือการเอาเปรียบกันโดยประเทศพัฒนาแล้ว ทำโครงการที่ดูดี แต่ลึกๆ แล้วเป็นการเอาเปรียบประเทศกำลังพัฒนา ช่วยเหลือเพื่อผลิตแล้วสมองไหลไปสู่ประเทศพัฒนาแล้ว เช่นโครงการ PEPFAR ของสหรัฐอเมริกา   พูดกันว่า เพื่อให้เข้าใจเรื่องนี้ ควรเชิญ Andrew Green จาก Nuffield Centre มาพูด   หมอวิโรจน์บอกว่าในทางตรงกันข้าม การผลิตกำลังคนบางประเทศตั้งใจผลิตเพื่อส่งออก   มีประเทศหนึ่งผลิตส่งไปช่วยประเทศอื่น เช่นคิวบา เวลานี้มีหมอ ๕๐๐ – ๖๐๐ คนอยู่ที่ประเทศติมอร์ เลสเต้ ทำงานในชนบท
          นพ. สุวิทย์ให้หลักของ HRH Development ว่า Plan long, Act short, Update often   และเสนอให้มี Plenary เรื่อง Education in the 21st Century
          นพ. วิโรจน์ ผู้มีวิญญาณ pro-poor ชี้ให้เห็นประเด็น international health workforce market กับการไหล (migration) ของ HRH   ซึ่งมีรายละเอียดหรือความซับซ้อนสูงยิ่ง   เสนอให้พิจารณาหัวข้อ retention ใน Plenary
          นพ. สุวิทย์ ประธานตัวจริง สรุปว่าเราต้องกำหนดโปรแกรมการประชุมให้เป็นที่ยอมรับขององค์กรที่เป็นเจ้าภาพร่วมกัน (WHO, GHWA, JICA)   ให้มีความสมดุล   และ Joint Secretariat เป็นผู้นำเสนอ   ไม่ใช่ของฝ่ายไทย (PMA Conference Secretariat) เพียงฝ่ายเดียว 

     
    ผมกล่าวปิดประชุมโดยชี้ให้เห็นว่า การมาร่วมกันทำงานที่มีคุณค่ายิ่งนี้เป็นบุญกิริยา   ผลที่เกิดขึ้นต่อการพัฒนาระบบสุขภาพของส่วนต่างๆ ของโลก ที่เกิดจาก PMA Conference นี้แม้จะมองเห็นเป็นรูปธรรมยาก   แต่มีอย่างน่นอน   และผลดีเหล่านั้นจะทำให้เกิดผลบุญต่อทุกคน   ยิ่งต่อไปเราเห็นลู่ทางที่จะเก็บเกี่ยวความรู้และ connection จากการประชุม   เอามาต่อยอดสู่การปฏิบัติในประเทศไทยมากขึ้น ผลที่เป็นรูปธรรมจะเห็นชัดเจนขึ้น   พวกเราก็จะยิ่งอิ่มเอิบบุญยิ่งขึ้น   ขอให้ทุกคนมีความสุขใจจากบุญกิริยานี้

 

วิจารณ์ พานิช
๔ เม.ย. ๕๓

 

บรรยากาศการประชุมในตอนเช้า

 

บรรยากาศการประชุมในตอนบ่าย

หมายเลขบันทึก: 350503เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2010 10:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท