Orn
น.ส. กนกอร ตั้งกุลบริบูรณ์

ทำไมต้องคุยกับคนงาน ?


จิตวิทยาการขอจากการคุยเล่นและ"ได้ใจ"

สวัสดีค่ะชาว G2k ทุกท่าน วันนี้มาเรียนรู้เรื่องจิตวิทยาการขอจากการคุยเล่นๆ และ "ได้ใจ" ดูนะคะ

 

ที่บ้านทำธุรกิจเป็นร้านขายรถสามล้อเครื่องค่ะ ส่วนใหญ่จะพบเห็นใช้กันตามภาคอีสานค่ะ มีอยู่วันหนึ่งเราได้รับคนงานใหม่คนหนึ่ง เป็นช่างเครื่องยนต์เก่าจากโรงงานผลิตรถค่ะ พอดีว่าตอนนั้นมีรถสามล้อเครื่องรุ่นใหม่ออกมา คือรุ่นเครื่องยนต์ขนาดใหญ่กว่าเดิม ฉะนั้นช่างโดยทั่วไปจะยังไม่มีประสบการณ์กับเครื่องรุ่นใหม่นี้ค่ะ

ปัญหามีอยู่ว่า เจ้าเครื่องรุ่นใหม่ที่ใหญ่ขึ้นนี้มันทำให้ท่อไอเสียมีเสียงดังตามไปด้วย มีลูกค้าบ่นๆกันหลายคนว่าเสียงท่อไอเสียดัง เราก็แจ้งเรื่องนี้ไปกับทางโรงงานค่ะ แต่ผลก็คือไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงแก้ไขอะไรไม่ได้

ตอนนั้นพี่ชายไปคุยเล่นๆเรื่องเจ้าปัญหาท่อไอเสียเสียงดังกับช่างที่รับมาใหม่ เพราะบางทีพี่ชายชอบชวนพวกช่างไปกินข้าวเย็นนั่งเล่นกันหลังเลิกงาน เขาเลยแนะนำไปว่าให้ลองดัดแปลงท่อไอเสียทำท่อให้มีขนาดใหญ่ขึ้นจะได้เก็บเสียงได้ พี่ชายอรก็เลยลองทำตามที่ช่างแนะนำดูค่ะ ผลปรากฎว่าช่วยได้จริงๆทำให้ลูกค้าหมดปัญหากับเรื่องเสียงดังไปได้ค่ะ

เรื่องนี้จริงๆเป็นวิธีแก้ไขง่ายๆเองค่ะ ก็เลยสงสัยว่าทำไมทางโรงงานแก้ไขไม่ได้ และช่างคนนี้ก็เป็นช่างที่เคยอยู่กับทางโรงงานค่ะ  เขาบอกว่าทางโรงงานไม่เคยถามเขาหรือบอกเขาเกี่ยวกับเรื่องนี้เขาจึงไม่รู้ว่ามีปัญหาอะไร แต่ถึงรู้เขาก็ไม่อยากจะช่วยหาวิธีแก้ไขปัญหาเพราะมันไม่ใช่จุดที่เขารับผิดชอบ ช่างคนนี้จะรับผิดชอบเรื่องเครื่องยนต์เท่านั้น แต่พอมาอยู่ที่ร้านเราเขาสบายใจเพราะเราอยู่กันเหมือนครอบครัวค่ะ มีคนงานไม่กี่คนช่วยกันทุกๆอย่างบางทีงานยุ่งๆเจ้าของร้านก็ต้องลงไปช่วยคงงานซ่อมโน่นซ่อมนี่ด้วยค่ะ (ได้ใจคนงานนั่นเองค่ะ)

จากเรื่องนี้ก็เลยกลายเป็นว่าการพูดคุยกับคนงาน และความเป็นกันเองเอาใจใส่พนักงานนั้นบางทีก็ทำให้เราแก้ไขปัญหาจุดบกพร่องหรือพบเจอเรื่องราวแปลกๆใหม่ๆที่เป็นประโยชน์ได้ค่ะ เพราะถ้าองค์กรของคุณสามารถ "ได้ใจ" พนักงานแล้วล่ะก็ความภักดี ความหวังดี ของพนักงานก็จะช่วยส่งเสริมองค์กรไปด้วยค่ะ

มีหลายองค์กรใหญ่ๆที่มีบุคคลากรฝีมือดีแต่ไม่ได้ให้ความสำคัญหรือใส่ใจกับบุคคลเหล่านั้นทำให้เหมือนต่างคนต่างอยู่ไปวันๆ ไม่ได้รู้สึกอยากช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ความเจริญก้าวหน้าก็จะไม่บังเกิดด้วยค่ะ

หมายเลขบันทึก: 348835เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2010 16:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 10:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
  • สวัสดีค่ะ
  • "ไม่อยากให้ผู้บริหารเป็นเหมือนฟ้า เพราะฟ้าหาไม่เจอ แต่อยากให้ผู้บริหารเป็นเหมือนเช่นทะเล ที่รองรับน้ำทุกสาย และกลายเป็นไอ กลับมาเป็นฝน ที่ให้ความชุ่มฉ่ำแก่แผ่นดิน" ชอบผู้บริหารแบบนี้ค่ะ บุษราก็เลย Copy เค้ามาเหมือนกัน
  • ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณค่ะที่แวะมาอ่าน ผู้บริหารก็ควรเอาใจใส่พนักงานคนในองค์กรบ้างค่ะ จริงๆแค่ทักทาย ยิ้มให้ ถามไถ่ทุกข์สุขบ้าง แค่นั้นพวกเขาก็ดีใจแล้วล่ะค่ะ

น่ายินดีที่แก้ปัญหาได้ค่ะ จากการดัดแปลงตามคำแนะนำค่ะ

การคุยกับคนงาน หรือพนักงานปฏิบัติการ จะทำให้เราทราบปัญหาที่แท้จริงมากกว่า และจะทำให้แก้ปัญหาได้ตรงจุดครับ

ถ้าเราใส่ใจพวกเขา พวกเขาก็จะให้ความร่วมมือกับเราครับ

สวัสดีค่ะอร การที่เราสามารถเติมใจ

จนลูกน้องได้ใจไปนั้น แป้งคิดว่าเป็นเรื่องที่ดีมากๆเลยค่ะ

ลูกน้องจะทำงานเหมือนกับเป็นของเค้าเอง

อีกทั้งยังช่วยในเรื่องอื่นๆอีกด้วย

ขอบคุณสำหรับสาระดีๆค่ะ

ขอบคุณที่แวะมาค่ะ

ถ้าได้ใจลูกน้องจริงๆได้ก็ดีสิคะ แต่ถึง "ได้ใจ" บางครั้งมันก็ได้แปปเดียวแล้วเขาก็เปลี่ยนใจไป มนุษย์เราหลายใจดีค่ะ ^^

P
เห็นด้วยบางทีเราได้ความรู้อะไรใหม่ๆจากการคุยกันพนักงานเล่นๆเนี่ยล่ะค่ะ

การบริหารงานการให้เกียรติพนักงานว่าเป็นผู้ร่วมงานและให้ความรู้สึกร่วมเป็นเจ้าของกิจการ

จะทำให้เขารับผิดชอบงานมากขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์คะ

เหมือนกันการถาม Marven เกี่ยวกับสิ่งที่เขาชำนาญครับ

พี่ชายอรแยบยลมากเลย ตีสนิทให้เขาไว้ใจก่อน แล้วถามเรื่องที่เราอยากรู้

ซึ่งโดยมากแล้ว บอกทุกรายครับ แล้วยิ่งเขาเป็น Marven แล้วด้วย

การที่เราไปถามในสิ่งที่เขามีความรู้ สามารถช่วยได้แล้วละก็ เขายินดีที่จะช่วยเราอย่างเต็มที่แน่นอครับ ^^

ใช่ค่ะ จริงๆเราไม่ต้องไปแจกแบบสำรวจ หรือทำวิจัยอะไรมากมาย ก่อนอื่น แค่ลองคุยเล่นๆถามคนในองค์กรคุณดูก่อนสิคะ อาจจะเจอวิธีใหม่ๆทำให้ประหยัดต้นทุนไปได้เยอะเลยค่ะ

tipping point is innovation and

creates the new idea.

Fighting Fighting !!

jw

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท