Praepattra
ผู้ช่วยศาตราจารย์ Praepattra Kiaochaoum

สภาวะนิมิตติดใจ


พระครูปลัดวีระนนท์ วีรนนฺโท : เจ้าอาวาสวัดป่าเจริญราช พระวิปัสสนาจารย์ http://www.veeranon.com/

ในขณะที่สภาพอดีตมันทรงอยู่

เมื่อเราออกจากสมาธิ

ใจมันนึกถึงอดีตว่าเราทำอย่างนี้แล้วมันดี

ความรู้สึกนั้นมันค้างอยู่ที่ใจ

 

พอมันค้างอยู่ที่ใจ ทำให้นึกถึงคนอื่น

อยากจะให้คนอื่นได้รู้และได้มาปฏิบัติเหมือนเรา

แสดงว่าสภาวะมันค้าง มันเป็นอดีตที่ผ่านมา

มันยังติดจิตอยู่ ตรงนี้เขาเรียกว่าเป็น  นิมิตติดใจ

 

เมื่อจะไปที่ไหนก็เห็นคนนั้นเป็นอย่างนี้ คนนี้เป็นอย่างนั้น

เราเห็นคนเจ็บหรือเห็นคนเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้แล้ว

เราอยากจะช่วยให้เขาพ้นทุกข์ ความคิดมันปรุงแต่งไป

 

มันเป็นการปรุงสภาวทุกข์เกิดขึ้นมาอีก เพราะสภาวะของตนเองก็ยังทุกข์อยู่

กลายเป็นทุกข์เพิ่มกลายเป็นทุกขลักษณะที่กำหนดไม่ได้

ตรงนี้พระไตรลักษณ์ที่เกิดแสดงให้เห็น

 

เหมือนกับลูกของเศรษฐีที่เข้ามาบวชในพุทธศาสนาแต่รักษาจิตตนเองไม่ได้

พระพุทธเจ้าให้กลับไปรักษาจิตของตนเอง

 

เพราะมันกำหนดอารมณ์ไม่ทัน

สภาวะอนิจจัง  สภาวะทุกขัง จึงเกิดขึ้นตามมา

 

ในที่สุดก็เป็นอนัตตา  คือ  ไม่มีอะไรเลย พอกำหนดได้

มันมีแต่รูปนาม เกิดดับๆ รูปเกิดดับ นามเกิดดับ สลับไปมา

รูปเป็นเหตุให้อาศัยซึ่งนาม นามเป็นเหตุให้อาศัยซึ่งรูป

 

กำหนดรู้อยู่อย่างนี้เป็นอนัตตาเป็นอนัตตลักษณะ  

แสดงลักษณะต่างๆ ออกมาให้เห็นว่ามันเป็นของที่ไม่ใช่ตัวตน

 

มันเกิดขึ้นแล้วมันก็สลายไป สภาวะท้องพอง  ท้องยุบก็เช่นเดียวกัน

พอท้องพองขึ้นมา แล้วสภาวะนั้นหายไป นั่นคือ

 

รูปลักษณะที่กำหนดและมันแสดงออกให้เห็น

เพียงแต่ให้เราได้รู้การกำหนดสภาวะสติ

โดยเรากำหนดจมลงอยู่ในสภาวะตัวนี้

 

เมื่อเรามีสติสัมปชัญญะแก่กล้าก็กำหนดสภาวะตรงนั้นได้ลึกลงไป

 

กำหนดเห็นได้เป็นชั้นๆ ลงไปว่าสติเป็นอย่างนี้

 

สัมปชัญญะเป็นอย่างนี้ สภาวธรรมเป็นอย่างนี้

 

มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป นั่นเอง

 

 

ติดตามอ่านตอนต่อไปที่นี่ค่ะ

 

อิสระแห่งจิต

 

http://gotoknow.org/blog/mindfreedom

 

ขอให้เจริญในธรรมทุกท่าน

 

บุญรักษา  ธรรมคุ้มครองค่ะ

  

หมายเลขบันทึก: 348823เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2010 15:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท