“พละ 5” และ ความเป็นตัวตนของเรา


จากบริบท สู่ความเชื่อมโยง "พละ ๕" ของ อาจารย์ ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด

 "พละ ๕"ที่มาของพลังองค์กร

 

   ได้อ่านข้อความของ อาจารย์ ดร. ประพนธ์ ผาสุขยืด จาก สคส ดูแล้วน่าชื่นใจ และ น่าสนใจ จึงนำมาลงใน Blog ของ ศูนย์บริการวิชาการ เพื่อเป็นการเผยแพร่

 เป็นแนวความคิดที่น่าสรรเสริญ ทีมงานจากคณะแพทยศาสตร์ มอ.ทำให้ท่าน ดร.ประพนธ์ ท่าน     "ปิ๊งแวป"

 เลยขอต่อยอดท่านด้วยความเคารพ ในประเด็นต่อจากนิ้ว ๕ นิ้วของท่านอาจารย์

 "ถ้ากำมือรวมเป็นหนึ่ง คือ การบูรณาการให้เข้ากับ บริบท หรือ Contex หรือ ความเป็นตัวตนของเรา" จะมีพลังขับเคลื่อน เหมือนหมัดสั่งในหนังบู๊ลิ้ม

 ซึ่งหมายถึงการที่เราบูรณาการกิจกรรมต่างๆในการพัฒนาคุณภาพเข้าด้วยกัน ไม่แบ่งแยก หรือ แยกส่วนทำ หรือ มอบหมาย ให้แต่ละคน แต่ละส่วนแบ่งกันทำจะเป็นเรื่องที่

 "นำมนต์ขาว" ของท่านอาจารย์หมอ วิจารณ์ พานิช มาใช้เพื่อเป็นการเสริมพลังองค์กร

 "ที่คำนึงถึงความเป็นตัวตนจริงๆ และ จะทำให้เกิดการความเชื่อมโยงในการพัฒนาบุคลากร กับ การจัดการความรู้ ให้เป็นเนื้อเดียวกัน"

 ในการพัฒนาตน เพื่อพัฒนาคน พัฒนางาน พัฒนาองค์การ เพื่อให้เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาชาติไทยอย่างยั่งยืน

 
      ข้อความข้างล่างเป็นของ อาจารย์ ดร.ประพนธ์ผาสุขยืดครับ
     
       วันนี้ผม ( ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด )ได้เข้าร่วมกิจกรรม “วันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เล่าสู่กันฟัง (Knowledge Sharing Day) ครั้งที่ 3 ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีผู้เข้าร่วมประมาณ 200 คน จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำให้ผมเกิด “ปิ๊งแว้บ” ขึ้นมาว่า          
        การจัดการความรู้หรือ KM จริงๆแล้วก็คือตัวเชื่อมระหว่าง Srategy กับ Competency นั่นเอง เพื่อให้เห็นภาพ ผมได้ชูมือขึ้น 3 นิ้ว นิ้วกลางแทน KM นิ้วชี้แทน Strategy และนิ้วนางแทน Competency เวลาพูดถึง Strategy เรากำลังมองด้วยสายตาของ Strategist เรากำลังพูดเรื่อง Strategic Management เรามียุทธศาสตร์บางอย่างที่จะต้องดำเนินการ แต่คำถามก็คือ เรามีขีดความสามารถที่จะดำเนินการเรื่องดังกล่าวได้หรือไม่ ซึ่งก็หมายถึง Competency ที่จำเป็นต้องมีนั่นเอง และนี่คือประเด็นที่ผมพูดว่า KM จะเป็นตัวเชื่อมระหว่าง Competency กับ Strategy เวลาพูดเรื่อง Competency อาจจะเป็นการมองจากสายตาด้าน HR เป็นหลัก และเพื่อจะให้ได้ภาพที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ผมขอเติมอีก 2 นิ้วที่เหลือ ดังนี้: นิ้วหัวแม่มือเปรียบได้กับวิสัยทัศน์ พันธกิจ ขององค์กร ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องมาก่อนการกำหนด Strategy ส่วนนิ้วก้อยนั้นคือสิ่งที่ต่อเนื่องมาจาก Competency ซึ่งก็คือ Performance หรือสมรรถนะนั่นเอง ผมตั้งชื่อหลักการนี้ว่า “พละ 5” เพื่อให้เห็นว่าทั้ง 5 องค์ประกอบนี้ เป็นเรื่องที่สำคัญ เกี่ยวพันกัน และเป็นที่มาของ "พลังองค์กร" ครับ ( ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด สคส )

 JJ

หมายเลขบันทึก: 3480เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2005 20:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2013 09:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

งง มาก มายย เรย คร๊า

ว่าเปงเรื่อง เกี่ยว กับอารายย

เรียนท่าน งงมั้ย

  • เรียนอย่างนี้ครับ
  • KM เป็นเรื่องการจัดการความรู้ ที่เป็น "เครื่องมือ เสริม การบริหาร" ต้องนำมาบูรณาการ กับ เครื่องมือ อื่นๆ ครับ

สวัสดีครับ

  • ตามมาอ่านเครื่องมือ การบริหารและบูรณาการครับ
  • ท่านน JJ สบายดีนะครับ
  • ระลึกถึงครับ
  • จึงมาหา
  • รักษาสุขภาพด้วยนะครับ

เรียนครูโย่ง ช่วงนี้ ร่างกาย พอไปได้ครับ งานเว้นวันเสาร์ พรุ่งนี้ไป มีตลอดครับ ขอบพระคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท