เผยแพร่ผลงาน


บทคัดย่อ

ชื่องานวิจัย                        :    การพัฒนาแบบฝึก การอ่าน  คิดวิเคราะห์  และเขียนภาษาไทย 

                                                  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6 

                                                  โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าอุตรดิตถ์

                                                  อำเภอเมือง  จังหวัดอุตรดิตถ์

ชื่อผู้ทำวิจัย                      :    นางเพ็ญจันทร์     กิตติวัฒน์

 

                   การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  (1)  เพื่อออกแบบและพัฒนาแบบฝึกการอ่าน  คิดวิเคราะห์ และเขียนภาษาไทย  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าอุตรดิตถ์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน  80/80   (2)  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกการอ่าน  คิดวิเคราะห์ และเขียนภาษาไทย  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าอุตรดิตถ์  (3)  . เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกการอ่าน  คิดวิเคราะห์ และเขียนภาษาไทย  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง  ได้แก่  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6/2 โรงเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าอุตรดิตถ์ ในภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2551  ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง   เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล  คือ  แบบฝึกการอ่าน  คิดวิเคราะห์ และเขียนภาษาไทย  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าอุตรดิตถ์    แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  แบบวัดความพึงพอใจ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  ค่าเฉลี่ย  ค่าร้อยละ  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การทดสอบค่าที (t-test  แบบ  one sample)  ค่าความยากง่าย  ค่าอำนาจจำแนก  ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ  ผลการวิจัยพบว่า  (1)  การพัฒนาแบบฝึกการอ่าน  คิดวิเคราะห์ และเขียนภาษาไทย  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าอุตรดิตถ์  มีประสิทธิภาพ  (E1 / E2)  เท่ากับ 86.62 / 85.06  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้  80 / 80  (2)  ผลการใช้แบบฝึกการอ่าน  คิดวิเคราะห์ และเขียนภาษาไทย  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าอุตรดิตถ์  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกการอ่าน  คิดวิเคราะห์และเขียนภาษาไทย  สูงกว่าก่อนเรียนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01  (3)  ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกการอ่าน  คิดวิเคราะห์ และเขียนภาษาไทย  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าอุตรดิตถ์  อยู่ในระดับ  มากที่สุด

 

 

หมายเลขบันทึก: 347922เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2010 10:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2012 00:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ชัดเจน แจ่ม แจ๋ว

พี่สาวก็ทำเรื่องคล้ายๆกัน

แต่ ป.1 ค่ะ

ชื่อผลงานทางวิชาการ             การประเมินโครงการวิถีธรรมตามรอยเท้าพ่อ

โรงเรียนวัดไทรใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ประถมศึกษานนทบุรี เขต 2

ผู้ประเมิน                            นางจุฬาพร  พลายด้วง

หน่วยงาน                           โรงเรียนวัดไทรใหญ่

ปีการศึกษา                         2554 

บทคัดย่อ

              การประเมินโครงการวิถีธรรมตามรอยเท่าพ่อ โรงเรียนวัดไทรใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินสภาพแวดล้อมของโครงการวิถีธรรมตามรอยเท่าพ่อ โรงเรียนวัดไทรใหญ่ 2) เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการวิถีธรรมตามรอยเท่าพ่อ โรงเรียนวัดไทรใหญ่ 3)เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงานของโครงการวิถีธรรมตามรอยเท่าพ่อ โรงเรียนวัดไทรใหญ่ 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการวิถีธรรมตามรอยเท่าพ่อ โรงเรียนวัดไทรใหญ่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน คือ ครูผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้ปกครองนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่  4 - 6 ของโรงเรียนวัดไทรใหญ่ จำนวน 548 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบสอบถามที่ผู้รายงานสร้างขึ้น เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มี 5 ระดับ และแบบบันทึกรายการ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

              ผลการประเมิน พบว่า

              1.  ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อม โดยภาพรวม มีความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของโครงการทั้งด้านนโยบายทางการศึกษา ปี 2554  นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2554 และมาตรฐานการศึกษาของชาติ มาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียน มาตรฐานที่ 2 ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ ซึ่งวัตถุประสงค์ของโครงการฯ สอดคล้องกับแนวทางในการดำเนินงานของครูผู้สอนในการแก้ปัญหาพฤติกรรมกรรมจริยธรรมของนักเรียนได้ ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางดำเนินงานได้ในระดับมาก

              2. ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น โดยภาพรวมมีความเหมาะสมการดำเนินงานโครงการอยู่ในระดับมาก โดยพิจารณาเป็นรายด้าน สรุปได้ดังนี้

                  2.1 ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นเกี่ยวกับบุคลากร พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ กรรมการดำเนินงานโครงการฯ มีความรู้ ความเข้าใจ นโยบาย เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของโครงการฯ

                 2.2  ผลการประเมินด้านงบประมาณ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ งบประมาณในการดำเนินงานโครงการฯ มีเพียงพอ และ แหล่งการเงินอื่นๆ สนับสนุน

                 2.3  ผลการประเมินด้านวัสดุ อุปกรณ์ และอาคารสถานที่ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ อาคารและสถานที่สำหรับจัดกิจกรรมโครงการฯ มีเพียงพอ รองลงมา คือ วัสดุ และอุปกรณ์สำหรับใช้ในกิจกรรมโครงการฯ อยู่ในสภาพพร้อมตลอดเวลาและเพียงพอ

             3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินงาน ในภาพรวมมีความเหมาะสม
การดำเนินงานโครงการอยู่ในระดับมาก โดยพิจารณาเป็นรายด้าน สรุปได้ดังนี้

                  3.1 ผลการประเมินด้านการปฏิบัติตามขั้นตอนของโครงการฯ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ คณะกรรมการมีการประชุมร่วมกับผู้ปกครองและชุมชนเพื่อขอความร่วมมือ

                  3.2 ผลการประเมินด้านการดำเนินงานตามแผน พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ             มีการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติกิจกรรมโครงการฯ

                  3.3 ผลการประเมินด้านการมีส่วนร่วม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยสรุปผลได้ดังนี้

                  3.3.1 ผลการประเมินด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ

โรงเรียนมีการประชุมชี้แจงนโยบายโครงการฯ ให้ชุมชนและผู้ปกครองทราบ                                           

                3.3.2 ผลการประเมินด้านการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน พบว่า ข้อที่มี

ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผู้ปกครองสอบถามนักเรียนถึงกิจกรรมโครงการวิถีธรรมตามรอยเท้าพ่อ โรงเรียน

วัดไทรใหญ่ เพื่อวัดความรู้และความคิดเห็น

             3.3.3 ผลการประเมินในการฝึกปฏิบัติและความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า ข้อที่มี

ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนได้รับความรู้เพิ่มขึ้น เพราะเข้าร่วมโครงการวิถีธรรมตามรอยเท้าพ่อ โรงเรียน

วัดไทรใหญ่

             4. ผลการประเมินด้านผลผลิตการดำเนินโครงการ ในภาพรวมมีความเหมาะสมในการดำเนินงานโครงการอยู่ในระดับมาก โดยพิจารณาเป็นรายด้าน สรุปได้ดังนี้

                  4.1 ผลการประเมินด้านการบูรณาการการเรียนการสอน พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ กิจกรรมการขับเคลื่อนโรงเรียนวิถีพุทธ (โรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ) มีการนำไปบูรณาการกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาอื่น

                  4.2  ผลการประเมินด้านการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และประชาธิปไตยสู่ชุมชน พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนจัดป้ายนิเทศกิจกรรมโครงการฯ เพื่อให้ผู้ที่ไปติดต่องานกับโรงเรียนของท่านได้ศึกษา

 

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท