สิทธิ, เสรีภาพ,


สิทธิและเสรีภาพ เป็นสิทธิที่มีเงื่อนไข และมีขอบเขตจำกัด

มองดูสถานการณ์การชุมนุมของคนไทยที่เรียกตัวเองว่าเป็น 'กลุ่มเสื้อแดง' แล้วก็ ย้อนกลับไปคิดถึงการชุมนุมของกลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่า 'กลุ่มคนเสื้อเหลือง' แล้วก็คิดถึง บทเรียนบทหนึ่งในวิชาสิทธิมนุษยชน คือ สิทธิและเสรีภาพนั้น ไม่ใช่สิทธิเด็ดขาด แต่เป็นสิทธิที่มีข้อจำกัด   ทั้งสิทธิในการชุมนุมและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นนั้นเป็นสิทธิ และเสรีภาพที่มีข้อจำกัดภายใต้กฎหมายที่กำหนดไว้

ผมไม่มีข้อมูลมากพอจะบอกได้ว่าปัจจุบัน การชุมนุมนั้นมีการละเมิดกฎหมายหรือยัง แต่ตั้งข้อสังเกตบางประการไว้ดังนี้

๑. ถ้าย้อนกลับไปดูการชุมนุมของคนเสื้อเหลืองที่บุกเข้าไปในสถานที่ราชการ และการปิดสนามบินก็ต้องถือว่าเป็นการละเมิดกฎหมาย และ

 ๒. ถ้ามองการเทเลือดของคนเสื้อแดงลงบนท้องถนน ก็ต้องถือว่าละเมิดกฎหมายเหมือนกัน  คือ การทำให้บ้านเมืองสกปรก และ อาจทำให้เกิดโรคติดต่อ

 (โปรดเช็คกฎหมายทั้งสองกรณี : นี้เป็นเพียงความเห็น ยังไม่ได้ดูตัวบทประกอบ)
 
ทั้งสองกรณี ก็ไม่ต่างกันละเมิดกฎหมายพอกัน

อย่างไรก็ตามผมขอตั้งข้อสังเกตไว้ว่าการชุมนุมทุกครั้งที่ผ่านมามีข้อที่หน้าดีใจว่าเป็นการจุดกระแสให้ คนในสังคมหันมาสนใจสิทธิของตนเอง หันมาตรวจสอบนักการเมือง และหันมาสนใจข่าวสารบ้านเมืองมากขึ้น ผมหวังเห็นสิ่งดีๆ เกิดขึ้นในบ้านเมืองไทยว่า

๑.การเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดง จะหลุดพ้นไปจากการเคลื่อนไหวเพื่อการสถาปนาอำนาจของ นายทักษิณ 

 
๒.การเคลื่อนไหวของกลุ่มคนทุกสีในประเทศไทยจะเป็นเครื่องจุดประกายให้เกิดการตั้งคำถามกับระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยของไทยในปัจจุบัน ให้มีการดำเนินงาน อย่างโปร่งใส และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

๓.การเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง ครั้งนี้จะเป็นการสร้างให้เกิดความเห็นร่วมกันของสังคมในการปฏิรูปโครงสร้างสังคมให้เกิดกลไกการสะท้อนความเห็นของทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนอย่างแท้จริง

ปล. ปัจจุบันผมไม่ได้เชียร์ทั้งเสื้อแดงและเหลือง สิ่งเดียวที่ผมอยากเห็นในบ้านเมืองไทย คือ การมีภาคประชาสังคมที่เข้มแข็ง และเปิดกว้างพร้อมรับฟังความเห็นทุกฝ่ายเพื่อนำมาพิจารณาหาแนวทางในการบริหารงานประเทศไทยให้เจริญรุ่งเรื่อง โดยยึดประโยชน์สุขของประชาชนเป็นที่ตั้ง

ผมไม่กลัวการมีฝ่ายค้าน หรือความแตกแยกในสังคม แต่ฝ่ายค้าน หรือคนที่เห็นต่างในสังคมไทยต้องพัฒนาตัวเอง โดยยึดหลักฐานข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์  และข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้ มาประกอบ มากกว่า เป็นการพยายามสร้างข้อมูลข่าวสารที่บิดเบือนมาทำลายกัน และการเห็นแตกต่างในสังคมทั้งหลายทั้งปวง หากเป็นการเห็นต่างโดยยึดผลประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้งคงไม่เป็นไรมั้งครับ .. แต่ทั้งหลายทั้งปวง ต้องยืนอยู่บนหลักความอดทนอดกลั้น และสันติวิธี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 346149เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2010 10:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อันนี้ผมไม่แน่ใจนะครับ ใช้ความรู้สึกซะส่วนใหญ่ ในความคิดผม.....บ้านเมืองเราเคยมีเหตุการณืทำนองนี้มาแล้ว

ไม่ว่าจะป็นเหตุการณ์ 14ตุลาหรือ พฤษภาทมิฬ พอเวลาผ่านไป ผลมันก็กลับมาเป็นแบบเดิม ผมไม่เห็นว่ามันจะมีการพัฒนาขึ้นเลย

ไม่ว่าจะเป็นในทางการเมืองหรือทางทหาร เพราะในสมัยนี้ก็ยังมีการปฏิวัติ กันอยู่ ซึ่งมันแสดงให้เห็นว่าระบอบประชาธิปไตยของ

ประเทศไทยยังไม่มีการพัฒนา ผมเชื่อว่า การออกมาประท้วง ในครั้งนี้ เมื่อเวลาผ่านไป.....ก็จะกลับเข้าสู่ระบบการเมืองแบบเดิมๆ

ซึ่งในความคิดผมนะครับ ผมว่าน่าจะให้ กระทรวงกลาโหม เนี่ย เป็นองค์กรอิสระไปเลย ไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยวกับรัฐบาล เพราะบทบาท

ในทางทหารมีหน้าที่สำคัญ และอำนาจก็เยอะด้วย ซึ่งอาจจะถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในทางการเมือง แบบว่าห้ามมายุ่งกับการเมือง

มีหน้าที่รักษาความมั่นคงของประเทศเพื่อไม่ให้ใครมารุกราน อำนาจอธิปไตย ส่วนในเรื่องของความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ก็

ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของตำรวจไปเลย ไม่ต้องให้ทหารเข้าไปยุ่ง.....แบบนี้อ่ะครับ

ขอบคุณที่แวะมาแสดงความเห็นนะครับ เท่าที่จับได้มีสองประเด็นนะครับ ๑.การพัฒนาของระบบการเมืองไทย ๒.ความเป็นอิสระของส่วนราชการ ส่วนแรกการพัฒนาของระบบการเมืองไทย ผมขอมองและแสดงความคิดในมุมของผมอย่างนี้ครับ เดิมทีประเทศไทยช่วงหลังปีสองพันห้าร้อยมานั้นแยกเป็นหลายช่วงครับ ในส่วนผมเองเอาเหตุกรณ์ต่างๆมาเป้ฯตัวตั้งและแยกไว้อย่างนี้ครับ

๑.๑ หลังปีสองพันห้าร้อยจนถึงปีสองพันห้าร้อยสิบหก และ

๑.๒ ช่วงสองพันห้าร้อยสิบหกมาจนถึงปสองพันห้าร้อยสิบเก้า และ

๑.๓หลังสองพันห้าร้อยสิบเก้าจบถึงปีสองพันห้าร้อยสามสิบห้า และ

๑.๔ หลังปี สองห้าสามห้าจนถึงปี สองพันห้าร้อยสี่สิบ และ

๑.๕ หลังปีสองพันห้าร้อยสี่สิบจนถึงปีสองพันห้าร้อยสี่สิบเก้า และ

๑.๖ ท้ายสุด, หลังปีสองพันห้าร้อยสี่สิบเก้าจนถึงปัจจุบัน

 

-ช่วงที่หนึ่ง ๒๕๐๐-๒๕๑๘

ช่วงนั้นเป็นช่วงรอยต่อของ การเปลี่ยนอำนาจจาก กลุ่มที่เรียกตัวเองว่าคณะราษฎร์ มาเป็น กลุ่มเผด็จการทหาร นำโดย จอมพลสฤษธิ์ มายังจอมพลถนอม และจอมพลประภาส ประชาธิปไตย"ไม่มี"   ใครเห็นต่างรัฐบาล ถูกใช้ข้อหา เป็นคอมมิวนิสต์ ถูกจับ ถูกลงโทษ ประหาร โดยไม่มีกระบวนการยุติธรรมรองรับ (รธน. มาตรา ๑๗ ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีใช้อำนาจอย่างเด็ดขาด)  เช่น คุณเตียง สิริขันธ์ (ที่จริง คุณเตียง ถูกสังหารก่อน ปีสองพันห้าร้อย พร้อมนักการเมืองภาคอีสาน ที่มีคุณภาพหลายคน นี่อาจจะเป็นเหตุผลว่าทำไม นักการเมืองภาคอีสานดีๆ หลายคน สูญพันธ์; ผมไม่ค่อยเห็น ปัจจุบัน ผมไม่ได้ติดตามผลงานว่าช่วยชาวบ้าน และผลักดันนโยบายจริงจังแค่ไหน ไม่ขอวิจารณ์) คุณครอง  จันดาวงศ์  คุณจิตร ภูมิศักดิ์

ข้อสังเกต รัฐธรรมนูญถูกยกเลิก ห้ามการประท้วงทุกรูปแบบ ปิดสภา

ในระหว่างนั้นเอง ปีสองพันห้าร้อยแปด เกิดเสียงปืนแตกเริ่มการต่อสู้ระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์ และ รัฐบาลอย่างเป็นทางการ

-ช่วงที่สองหลังปีสองพันห้าร้อยสิบหก จนถึงปีสองพันห้าร้อยสิบเก้า

ช่วงนี้ นักศึกษาชนะ มีประชาธิปปไตย พอสมควร และอยู่บนความวุ่นวายทางการเมือง และมีการตามเก็บ(สังหาร) กลุ่มแกนนำนักศึกษา แรงงาน โดยไม่เปิดเผย เริ่มการอพยพเข้าป่าหาพรรคคอมมิวนิสต์

ข้อสังเกต มีการเดินขบวนประท้วง มีเสรีภาพ พอสมควร ปัญญาสังคมหลายอย่างถูกยกขึ้นมาพูดในช่วงนี้โดยเฉพาะ ความเท่าเทียมกัน สิทธิสตรี สิทธิแรงงาน
มีการทำสงครามกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
นิสิต นักศิกษา นักเรียนอาชีวะมีบทบาทเข้าไปร่วมแก้ไขปัญหาสังคม

๑.๓ หลังสองพันห้าร้อยสิบเก้าจบถึงปีสองพันห้าร้อยสามสิบห้า

เป็นประชาธิปไตยครึ่งใบรัฐบาลถูกหนุนหลังโดยกองทัพ มีการปฏิวัติบ่อยครั้ง และไม่มีค่อยการประท้วงทางการเมือง(ข้อมูลไม่ชัด: ผู้รู้ ช่วยเสริมด้วยครับ)  มีการเลือกตั้ง โดยกำหนดให้ สภาเป็นผู้เลือกนายก (นายกรัฐมนตรีไทย เป็นทหารร้อยเปอร์เซ็นต์)

เริ่มนโยบาย หกสิบหกทับสองห้าสองสาม

ปัญญาชนไทยที่เข้าป่า อยากเป็นขุนนางฝ่ายซ้าย เริ่มเห็นว่าพรรคคอมมิวนิสต์ไม่ใช่ทางออกเพราะ ก็มีการแบ่งชนชั้น กลุ่มชี้นำ ในพรรคเหมือนกัน หลายคนกลับเข้าเมือง

รัฐบาลใช้นโยบาย พยายามตัดขาดนิสิตนักศึกษาจากการเมือง จำกัดการทำกิจกรรมทางการเมือง และมอมเมาประชาชน วัยรุ่นด้วยด้วยสื่อ เกิดยุคสายลม แสงแดด วัยรุ่นไม่สนใจบ้านเมือง ในหมู่นักศึกษาสนใจกิจกรรมบรรเทิงมากกว่า บ้านเมือง การตีกันในหมู่นักเรียนอาชีวะ (ที่จริงมีมาก่อนนานแล้ว)
 เริ่มมีแนวความคิดการเบื่อการเมือง การเมืองเรื่องสกปรกนักการเมืองเป็นคนทำลายชาติ(มีมานานแล้ว แล้วก็เป็นจริง แต่ ผมไม่เห็นมีใครไปควบคุม)

เดี๋ยวมาต่อครับ

ขอบคุณที่แวะมาแสดงความเห็นนะครับ เท่าที่จับได้มีสองประเด็นนะครับ ๑.การพัฒนาของระบบการเมืองไทย ๒.ความเป็นอิสระของส่วนราชการ ส่วนแรกการพัฒนาของระบบการเมืองไทย ผมขอมองและแสดงความคิดในมุมของผมอย่างนี้ครับ เดิมทีประเทศไทยช่วงหลังปีสองพันห้าร้อยมานั้นแยกเป็นหลายช่วงครับ ในส่วนผมเองเอาเหตุกรณ์ต่างๆมาเป้ฯตัวตั้งและแยกไว้อย่างนี้ครับ

๑.๑ หลังปีสองพันห้าร้อยจนถึงปีสองพันห้าร้อยสิบหก และ

๑.๒ ช่วงสองพันห้าร้อยสิบหกมาจนถึงปสองพันห้าร้อยสิบเก้า และ

๑.๓หลังสองพันห้าร้อยสิบเก้าจบถึงปีสองพันห้าร้อยสามสิบห้า และ

๑.๔ หลังปี สองห้าสามห้าจนถึงปี สองพันห้าร้อยสี่สิบ และ

๑.๕ หลังปีสองพันห้าร้อยสี่สิบจนถึงปีสองพันห้าร้อยสี่สิบเก้า และ

๑.๖ ท้ายสุด, หลังปีสองพันห้าร้อยสี่สิบเก้าจนถึงปัจจุบัน

 

-ช่วงที่หนึ่ง ๒๕๐๐-๒๕๑๘

ช่วงนั้นเป็นช่วงรอยต่อของ การเปลี่ยนอำนาจจาก กลุ่มที่เรียกตัวเองว่าคณะราษฎร์ มาเป็น กลุ่มเผด็จการทหาร นำโดย จอมพลสฤษธิ์ มายังจอมพลถนอม และจอมพลประภาส ประชาธิปไตย"ไม่มี"   ใครเห็นต่างรัฐบาล ถูกใช้ข้อหา เป็นคอมมิวนิสต์ ถูกจับ ถูกลงโทษ ประหาร โดยไม่มีกระบวนการยุติธรรมรองรับ (รธน. มาตรา ๑๗ ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีใช้อำนาจอย่างเด็ดขาด)  เช่น คุณเตียง สิริขันธ์ (ที่จริง คุณเตียง ถูกสังหารก่อน ปีสองพันห้าร้อย พร้อมนักการเมืองภาคอีสาน ที่มีคุณภาพหลายคน นี่อาจจะเป็นเหตุผลว่าทำไม นักการเมืองภาคอีสานดีๆ หลายคน สูญพันธ์; ผมไม่ค่อยเห็น ปัจจุบัน ผมไม่ได้ติดตามผลงานว่าช่วยชาวบ้าน และผลักดันนโยบายจริงจังแค่ไหน ไม่ขอวิจารณ์) คุณครอง  จันดาวงศ์  คุณจิตร ภูมิศักดิ์

ข้อสังเกต รัฐธรรมนูญถูกยกเลิก ห้ามการประท้วงทุกรูปแบบ ปิดสภา

ในระหว่างนั้นเอง ปีสองพันห้าร้อยแปด เกิดเสียงปืนแตกเริ่มการต่อสู้ระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์ และ รัฐบาลอย่างเป็นทางการ

-ช่วงที่สองหลังปีสองพันห้าร้อยสิบหก จนถึงปีสองพันห้าร้อยสิบเก้า

ช่วงนี้ นักศึกษาชนะ มีประชาธิปปไตย พอสมควร และอยู่บนความวุ่นวายทางการเมือง และมีการตามเก็บ(สังหาร) กลุ่มแกนนำนักศึกษา แรงงาน โดยไม่เปิดเผย เริ่มการอพยพเข้าป่าหาพรรคคอมมิวนิสต์

ข้อสังเกต มีการเดินขบวนประท้วง มีเสรีภาพ พอสมควร ปัญญาสังคมหลายอย่างถูกยกขึ้นมาพูดในช่วงนี้โดยเฉพาะ ความเท่าเทียมกัน สิทธิสตรี สิทธิแรงงาน
มีการทำสงครามกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
นิสิต นักศิกษา นักเรียนอาชีวะมีบทบาทเข้าไปร่วมแก้ไขปัญหาสังคม

๑.๓ หลังสองพันห้าร้อยสิบเก้าจบถึงปีสองพันห้าร้อยสามสิบห้า

เป็นประชาธิปไตยครึ่งใบรัฐบาลถูกหนุนหลังโดยกองทัพ มีการปฏิวัติบ่อยครั้ง และไม่มีค่อยการประท้วงทางการเมือง(ข้อมูลไม่ชัด: ผู้รู้ ช่วยเสริมด้วยครับ)  มีการเลือกตั้ง โดยกำหนดให้ สภาเป็นผู้เลือกนายก (นายกรัฐมนตรีไทย เป็นทหารร้อยเปอร์เซ็นต์)

เริ่มนโยบาย หกสิบหกทับสองห้าสองสาม

ปัญญาชนไทยที่เข้าป่า อยากเป็นขุนนางฝ่ายซ้าย เริ่มเห็นว่าพรรคคอมมิวนิสต์ไม่ใช่ทางออกเพราะ ก็มีการแบ่งชนชั้น กลุ่มชี้นำ ในพรรคเหมือนกัน หลายคนกลับเข้าเมือง

รัฐบาลใช้นโยบาย พยายามตัดขาดนิสิตนักศึกษาจากการเมือง จำกัดการทำกิจกรรมทางการเมือง และมอมเมาประชาชน วัยรุ่นด้วยด้วยสื่อ เกิดยุคสายลม แสงแดด วัยรุ่นไม่สนใจบ้านเมือง ในหมู่นักศึกษาสนใจกิจกรรมบรรเทิงมากกว่า บ้านเมือง การตีกันในหมู่นักเรียนอาชีวะ (ที่จริงมีมาก่อนนานแล้ว)
 เริ่มมีแนวความคิดการเบื่อการเมือง การเมืองเรื่องสกปรกนักการเมืองเป็นคนทำลายชาติ(มีมานานแล้ว แล้วก็เป็นจริง แต่ ผมไม่เห็นมีใครไปควบคุม)

เดี๋ยวมาต่อครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท