103. เยือนถิ่น...ดินแดนประวัติศาสตร์ชาติไทย


การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ คือ การเข้าใจสังคมในอดีตให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด เพื่อนำมาเสริมสร้างความเข้าใจในสังคมปัจจุบัน...
      เมื่อวันที่ 11-12 มีนาคม 2553 นับเป็นช่วงเวลาสามคืนสองวัน ของการเดินทางร่วมกันระหว่างคณะครู-นักเรียน โรงเรียนเชียงกลมวิทยา ในโครงการทัศนศึกษาอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร-อบต.เมืองบางขลัง-พิพิธภัณฑ์บ้านจ่าทวี (และวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร) จ.สุโขทัย-จ.กำแพงเพชร-จ.พิษณุโลก 
      การเดินทางระยะเวลาสั้นๆ เป็นบทเรียนที่สำคัญครั้งหนึ่งในชีวิต ที่ทำให้เด็กๆ หลายคนได้เรียนรู้ด้วยประสบการณ์ของตนเอง และเรียนรู้จากวิทยกรที่ชำนาญการในพื้นที่ ...เป็นการเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งเกือบทุกด้าน รวมทั้ง รับรู้การถ่ายทอดความภาคภูมิใจ จากสถานที่ สิ่งแวดล้อม และองค์ความรู้ที่ได้รับจากคำบอกเล่าของวิทยากร และ/หรือผู้คนในท้องถิ่น...นำไปสู่กระแสความภาคภูมิใจในความเป็น "ชาติ" และ ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของ "ชนชาติไทย"
บรรยากาศดีๆ ในมุมต่างๆ ของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
พิพิธภัณฑ์ในอุทยานฯกำแพงเพชร, วัด ทรงอาคารสมัย ร.5, วัดช้างรอบ อุทยานฯกำแพงเพชร

พิพิธภัณฑ์บ้านจ่าทวี, วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร(พระพุทธชินราช)
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยได้รับการประกาศคุ้มครองครั้งแรกตามประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 92 ตอนที่ 112 ลงวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2504 ต่อมาในปี พ.ศ. 2519 โครงการฟื้นฟูอุทยานแห่งนี้ก็ได้รับการอนุมัติ และเปิดอย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2531 โดยในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2534  องค์การยูเนสโกได้ประกาศให้อุทยานแห่งนี้เป็นแหล่งมรดกโลกร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์ที่กำแพงเพชรและศรีสัชนาลัยภายใต้ชื่อว่า"เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร" (Historic Town of Sukhothai and Associated Historic Towns) 
พระอจนะ วัดศรีชุม
เทศบาลตำบลเมืองบางขลัง เมืองคนดี มีน้ำใจ และตัวอย่างชุมชนเศรษฐกิจชุมชน
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
อุทยานประวัติศาสตร์ที่กำแพงเพชร
      ...เก็บบรรยากาศ ภาพในมุมมองต่างมาเก็บไว้ในความประทับใจและความทรงจำ การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ เป็นการเข้าใจสังคมในอดีตให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด  เพื่อนำมาเสริมสร้างความเข้าใจในสังคมปัจจุบัน ดังนั้น การศึกษาประวัติศาสตร์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในด้านต่างๆ เช่น 
    - ช่วยให้มนุษย์รู้จักตัวเอง กล่าวคือ ทำให้รู้บางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับขอบเขตของตน ขณะเดียวกันก็รู้เกี่ยงกับขอบเขตของคนอื่น
    - ช่วยให้เกิดความเข้าใจในมรดก วัฒนธรรมของมนุษยชาติ ความรู้ ความคิดอ่านกว้างขวาง ทันเหตุการณ์ ทันสมัย ทันคน และสามารถเข้าใจคุณค่าสิ่งต่างๆในสมัยของตนได้
     - ช่วยเสริมสร้างให้เกิดความระมัดระวัง ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ฝึกฝนความอดทน ความสุขุมรอบคอบ ความสามารถในการวินิจฉัย และมีความละเอียดเพียงพอที่จะเข้าใจปัญหาสลับซับซ้อน
      - ประวัติศาสตร์เป็นเหตุการณ์ในอดีตที่มนุษย์สามารถนำมาเป็นบทเรียน และประยุกต์ใช้ในกระบวนการแก้ไขปัญหา และวิกฤตการณ์ต่างๆ ให้เป็นไปตามหลักจริยธรรม คุณธรรม ทั้งนี้ เพื่อสันติสุขและพัฒนาการของสังคมมนุษย์เอง

    

หมายเลขบันทึก: 345882เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2010 21:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อยุธยา  เมืองเก่าของเราแต่ก่อน..จิตใจอาวรณ์มา..เล่า...อู๊ย! ขออภัยค่ะ..มาผิดเพลง..

สุโขทัย..ใครก็รู้คู่ราชธานี...งามประเพณี...(อะ่ อะ)...ต่อไม่ถูกค่ะ..

ครูบันเทิงก็เคยไปแล้วค่ะ..สวยงามมากๆค่ะ..ปัจจุบันนี้นักเรียนและคุณครูของเราได้ไปร่วมทัศนศึกษากันมากอย่างทั่วถึง ต้องขอขอบคุณโครงการดีๆของรัฐบาลน่ะค่ะ..

ขอให้มีความสุขกับงานที่รักน่ะค่ะ..

  • สวัสดีคะ
    P
  • อ่านข้อความ แล้วได้รอยยิ้มและความบันเทิง จาก ครูบันเทิง สมชื่อคะ
  • โครงการทัศนศึกษาเป็นแนวคิดดีๆ ในการสร้างประสบการเรียนรู้ให้กับนักเรียน และเป็นกลยุทธ์การกระจายรายได้สุดยอดเลยคะ
  • เพราะคนไทย กิน ใช้ จ่าย เที่ยว แบบไม่อั้น
  • ต่อไปคงต้องมีนโยบาย ใช้จ่ายอย่างพอเพียงตามมาแน่ๆ
  • ขอให้มีความสุขกับช่วงเวลาปิดภาคเรียนนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท