ค่ายเยาวชนอาสา...กับกระบวนการ AIC


จัดกิจกรรมให้เยาวชนจากพื้นที่สมุทรปราการเรียนรู้กระบวนการวางแผนเเละเรียนรู้เเบบมีส่วนร่วม

ท่านพัฒนาการจังหวัดสมุทรปราการ คำเเข ธรรมนิยาย นำทีมวิทยากรกระบวนการขับเคลื่อนพลังเยาวชนด้วย..กระบวนการAIC ในค่ายถักทอเครือข่ายเยาวชนอาสาพัฒนาเมืองปากน้ำ

    

     ค่ายเยาวชนอาสา...กับกระบวนการ AICเป็นการจัดกิจกรรมให้เยาวชนจากพื้นที่สมุทรปราการเรียนรู้กระบวนการวางแผนเเละเรียนรู้เเบบมีส่วนร่วมซึ่งเป็นวิชาหนึ่งในการจัดค่ายเยาวชน ตามโครงการถักทอเครือข่ายเยาวชนอาสาพัฒนาเมืองปากน้ำ ดำเนินการโดยเหล่ากาชาดจังหวัดสมุทรปราการ ผมเองได้รับมอบหมายพร้อมทีมงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน รับผิดชอบในกิจกรรมตามหัวข้อ การวางแผนพัฒนาชุมชนด้วยการเรียนรู้เเบบมีส่วนร่วม โดยใช้กระบวนการAIC ในวันที่ 19 มีนาคม 2553 ที่ค่ายลูกเสือริมขอบฟ้า เมืองโบราณ สมุทรปราการ

 

     กระบวนการ A-I-C นี้เป็นกระบวนการวางแผนที่มีแนวความคิดคือ  เปิดโอกาสให้บุคคล และผู้แทนของกลุ่มองค์กร ต่างๆ ที่อยู่ใน ชุมชน ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม และรับผิดชอบในการกำหนดทิศทางในการพัฒนาชุมชน ร่วมตัดสินใจอนาคตของชุมชน ร่วมดำเนินกิจกรรมการพัฒนา และร่วมรับผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น กระบวนการ A - I - C จะช่วยให้ชุมชนข้าไปมีส่วนร่วม ในการวางแผนและการตัดสินใจ ร่วมสร้างความเข้าใจในการดำเนินงาน สร้างการยอมรับ ความรับผิดชอบในฐานะ สมาชิกของชุมชน เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของ และเกิดความภาคภูมิใจในผลงานที่ตนมีส่วนร่วม กระบวนการพัฒนาชุมชน จึงเกิดความต่อเนื่อง และก่อให้เกิดความสำเร็จสูง

 

ในการเรียนรู้ครั้งนี้ผมจึงวางกระบวนการตั้งแต่ให้เยาวชนที่อาวุโสสูงสุดในกลุ่มออกมาเล่าสะท้อนภาพชุมชนในอดีตที่ผ่านมา จากนั้นให้ทุกคนเขียนภาพชุมชนในปัจจุบันตั้งประเด็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น อะไรเป็นเงื่อนไข หรือปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชุมชน จากนั้นมองหาผลกระทบที่เกิดขึ้น และกิจกรรมการร่วมกันกำหนดชุมชนของตนในฝันว่า อนาคตภายใน 5 ปีข้างหน้าเยาวชนทั้งหมดอยากเห็นชุมชนเป็นอย่างไร และสุดท้ายประเด็นสำคัญ ทำอะไร อย่างไรบ้างฝันถึงจะเป็นจริงได้ ก็คือกระบวนการวางแผนงาน โครงการ กิจกรรมของเยาวชนในการพัฒนาชุมชนแบบจิตอาสานั่นเอง กระบวนการทุกข้อคำถามทุกกิจกรรมใช้การวาดภาพทั้งหมด ผลงานเป็นโครงการ/กิจกรรมของเยาวชน 15 โครงการ

        

         

 

คำสำคัญ (Tags): #km#เยาวชน
หมายเลขบันทึก: 345695เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2010 01:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (28)

มีกิจกรรมดีๆ มาฝากกันอีกแล้ว ดีจังเลย

ขอบคุณเรื่องราวดีคะ จะแวะมาอ่านเรื่อยๆนะคะ ^^

สวัสดีครับอาจารย์ สอนให้เด็กเป็นนักวางแผนแบบมีส่วนร่วม ต่อไป เขาจะได้ช่วยกันปกป้อง รักษาทรัพยากรชุมชน รู้เท่าทันผู้มีอำนาจที่มาจัดการทรัพยกรไปเป็นผลประโยชน์ของตน

มาเยี่ยมอาจารย์ค่ะ

 เเวะมาอ่านบ่อยๆนะขอรับ

ขอบคุณท่านพี่ใหญ่เเห่งวงการนักพัฒนาขอรับ

อสพ.ถ้าเดาไม่ผิดลูกศิษย์ผมเเน่ขอรับ

ผมเคยใช้เทคนิคนี้ในการอบรมบ่อยครับ

แต่ก็ไม่เป็นไปตามสูตรเป๊ะครับ

สวัสดีค่ะ

  • กิจกรรมแบบนี้น่าจะมีการจัดมาก ๆ
  • เพราะค่ายสามารถปลดล็อกความคิดของเด็ก ๆ ได้เป็นอย่างดี
  • ขอขอบคุณแทนเด็ก ๆ ด้วยนะคะ

แวะมาเรียนรู้ครับ

  • สนับสนุนและให้กำลัใจ คนใช้กระบวนการAIC
  • ได้มีโอกาสได้เรียนรู้กับต้นตำหรับ Bill SmithและTurid Satoเมื่อนานมาแล้ว(ปะมาณ 15 ปีที่แล้ว)
  • ชื่นชอบกับกระบวนการนี้ ตอนหลังมี AI ผมว่ามีส่วนทำให้กระบวนการAICแหลมคมขึ้น
  • ขอบคุณครับ

เป็นการฝึกทักษะการเรียนรู้ที่ดีและน่าส่งเสริมมากครับ

 ขอบคุรหนานเกียรติขอรับ ผมเองก็ตัดทอนกระบวนการAIC เต็มรูปแบบออกเพื่อให้สอดคล้องกับช่วงเวลาเเละเยาวชนที่มีความอดทนในการทำอะไรนานๆไม่ได้นัก ก็ดีขอรับที่สำคัญไม่ให้เสียประเด็นเเละยึดการมีส่วนร่วมเป็นสำคัญ

เพื่อนอ้อยขอบคุณมาก ตอนนี้พุงโตน่าดูเลย(กินเยอะมากๆๆๆ)

 ขอบคุณครูคิมขอรับ ฐานคิดของผมคือพยายามหากิจกรรมที่เด็กๆเเละเยาวชนเขาได้ทำร่วมกัน คิดร่วมกัน เราเป็นเพียงผู้จัดกระบวนการเท่านั้นขอรับ

สวัสดีค่ะอาจารย์

*** ชอบกิจกรรมการเข้าค่ายมาก ขอบคุณที่นำมาให้ได้เรียนรู้ต่ะ

 ขอบคุณขอรับอาจารย์

ขอบคุณขอรับท่านเป็นการประยุกต์กิจกรรมให้เยาวชนได้พัฒนาระบบคิดด้วยขอรับ

 ขอบคุณท่านขอรับที่เข้ามาเเลกเปลี่ยน

อาจารย์พี่คะ คราวหน้าชวนพอลล่าไปด้วยคนค่ะ

เมล์มาบอกกำหนดการได้ไหมคะ ที่ [email protected] เจ้าคะ ทำเพื่อชาวสมุทรปราการ ครับพี่น้อง อิอิ

สวัสดีค่ะอาจารย์

เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจมากเลยนะค่ะ

ทำให้เด็กได้มีการร่วมกันคิด

ขอบคุณสำหรับสาระความรู้ดีๆค่ะ

แล้วก็ขอบคุณมากๆนะค่ะที่แวไปทักทายค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์  P  ที่เคารพ

 

วันหยุดอาจารย์ได้พักผ่อนบ้านหรือยังคะ

 

กระบวนการ A - I - C จะช่วยให้ชุมชนข้าไปมีส่วนร่วม ในการวางแผนและการตัดสินใจ ร่วมสร้างความเข้าใจในการดำเนินงาน สร้างการยอมรับ ความรับผิดชอบในฐานะ สมาชิกของชุมชน เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของ และเกิดความภาคภูมิใจในผลงานที่ตนมีส่วนร่วม กระบวนการพัฒนาชุมชน จึงเกิดความต่อเนื่อง และก่อให้เกิดความสำเร็จสูง

 

** รู้สึกเป็นเกียรติ  ภูมิใจ และดีใจ  ที่ได้เป็นลูกศิษย์ ของอาจารย์ ผู้มีความคุณงามความด่า มีคุณค่าและรังสรรค์ประโยชน์จากสังคมอย่างแท้จริง  โดยได้นึกถึงตัวเองเลย อาจารย์ที่ชื่อ "อาจารย์กู้เกียรติ  ญาตเสมอ"

 

** คุณงามความดีของอาจารย์นี้ ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้รับรู้ และโปรดปกปักรักษาคุ้มครอง  ป้องกันภัยอันตรายใดๆ  ให้พ้นไปจากอาจารย์ของลูกศิษย์ ตลอดไปค่ะ

** ด้วยความเคารพเป็นอย่างสูง

 

สวัสดีค่ะ

เห็นความตั้งใจในการทำงานเพื่อเด็กๆ

และการทำงานของเด็กๆแล้ว

ชื่นใจค่ะ

สวัสดีค่ะ

ตามมาอ่านกิจกรรมดีๆอีกแล้วค่ะ ^^

เเล้วเราจะเป็นเครือข่ายสร้างเยาวชนเข้มเเข็งกัน

ขอบคุณขอรับเป็นเครือข่ายเหนี่ยวแน่นจริงๆนะขอรับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท