j
วชิราพร บวรกิติวงศ์ ชัยวรมุขกุล

ศิลปะการจับถูก case study ของการพิมพ์ดีด


ท่านๆ เคยพิมพ์ดีด หรือ พิมพ์คอมพิวเตอร์ คงทราบกันดีว่า ...

สวัสดีค่ะ ชุมชนแห่งการเรียนรู้

บล็อกนี้ เป็นแรงบันดาลใจ มาจากน้องเอิร์ท ไพรัชช์อีกครั้งหนึ่งค่ะ

จะกล่าวถึงการที่ทำอะไรก็ตาม ให้ work นั้นหมายถึง ให้ดูแล้ว อืมม์ เข้าท่านะ คำว่า “work” นั้น วันนี้ j มีเรื่องราวที่ดีๆ เป็น case ที่ได้ทดลองทำแล้วปรากฏว่า มัน work มาฝากกันค่ะ

สมัยก่อน ก่อนการใช้คอมพิวเตอร์ อย่างที่พราบกันดี เราจะฝึกฝนการพิมพ์สัมผัส โดยใช้เครื่องพิมพ์ดีด เพราะอะไรคะ จริงๆ แล้ว จะฝึกโดยใช้คอมพิวเตอร์เลยก็ได้นี่นา แต่หากถ้าเป็นการเรียนการสอน อาจารย์จะนับคำผิดไงคะ แล้วก็นานวันไป จะจับเวลากับตัวอักษร หรือย่อหน้าที่สามารถพิมพ์ได้

เพราะฉะนั้น นี้ก็เป็นเหตุผลที่ การเรียนการสอน เพื่อให้เราได้พิมพ์สัมผัสได้เนี่ย จึงไม่ใช่คอมพิวเตอร์ อีกทั้ง การฝึกการพิมพ์ดีด ได้ผลดีเพราะเป็นการฝึกแรง กำลังเรา เนื่องจาก การพิมพ์ดีด ต้องเคาะ และออกแรงกดมากกว่า ใช้คอมพิวเตอร์ หากพิมพ์ผิด จะทำการลบ ก็ไม่ได้ ได้ก็ยุ่งยากต้องมีหมึกเฉพาะ ไม่สู้กับการใช้คอมพิวเตอร์ที่สะดวก

มีโอกาสได้ถามน้องนักเรียนที่รู้จักคนหนึ่งค่ะ เธอบ่นเกี่ยวกับวิชาเรียนพิมพ์ดีด

“น้องเรียนพิมพ์ดีดเนี่ย เพราะอะไรจึงลงเรียนจ๊ะ”

“หนูพิมพ์งาน ไม่เก่งค่ะ เรียกว่า จิ้มดีดมากกว่า สัมผัสไม่ได้เลย เวลาจะแชทหรือเล่นเอมกับเพื่อน ก็ช้ามากค่ะ เห็นคนที่เขาพิมพ์ได้ แล้วอยากทำได้บ้าง”

“น้องชอบการพิมพ์โดยใช้อะไรมากกว่ากันคะ ระหว่าง เครื่องพิมพ์ดีด และเครื่องคอมพิวเตอร์”

“โห พี่คะ ก็ต้อง คอมอยู่แล้วสิคะ ใครเขาจะใช้พิมพ์ดีดกัน สมัยนี้ไม่มีแล้ว”

“มีนะ บางหน่วยงาน บางที่ เขาก็ยังใช้อยู่ เออ เพราะอะไรน้องถึงชอบพิมพ์งานด้วยคอมพิวเตอร์มากกว่า พี่ไม่ได้หมายถึง ใช้คอมสำหรับทำอย่างอื่นนะ เอาแค่เรื่องการพิมพ์ก็พอ”

“ก็นะ พี่ หากพิมพ์แล้วมันผิด ก็ยังมี back space ได้ ง่ายจะตาย ไม่เข้าใจ อยากพิมพ์เร็ว ทำไมไม่ใช้คอมพิวเตอร์ ทำไมใช้เครื่องพิมพ์ดีด เหนื่อยก็เหนื่อย ตั้งค่าหน้ากระดาษก็ยุ่งยาก หนักอีกด้วย”

“อาจารย์วัดความก้าวหน้าของนักเรียนยังไงจ๊ะ”

“อาจารย์ก็ให้พิมพ์ บางวันสอบ 10 นาที ได้กี่ย่อหน้า ไม่ก็ นับตัวอักษรซึ่งมีไว้แล้ว อย่างเช่น 1000 ตัวอักษร ผิดกี่ตัวอักษร ตอนพิมพ์นะ หนูก็ไม่เกรงเท่าไร แต่พอสอบเนี่ย เกรง และเร่งด้วยกลัวไม่ทันเพื่อน”

“พอน้องเกรงเนี่ย กลัวพิมพ์ไม่ทันเพื่อน แล้วน้องดูแป้นพิมพ์มั้ย”

“ก็ยังดูเหมือนเดิมแหละค่ะ”

ถึงตรงนี้ j ก็รู้วัตถุประสงค์ของน้องว่า ใจจริง อยากพิมพ์สัมผัสเป็น และอยากพิมพ์อักษรต่างๆ ได้ไวขึ้น แต่ติดที่ว่าโรงเรียนต้องใช้เครื่องพิมพ์ดีด น้องพิมพ์และอยากลดความผิดพลาด โดยมองว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้ง่ายเนื่องจากมี back space แก้คำผิด แต่เครื่องพิมพ์ดีด ผิดคือ เสียคะแนน ทำให้เป็นส่วนหนึ่งที่เกิดอคติขึ้น ในการก้าวต่อไปของการพิมพ์มา

มาดูกันเถอะค่ะ

จับผิด

Discovery- ค้นพบว่า เกิดคำผิดเกิดขึ้น

Dream- ต้องการพิมพ์สัมผัสให้ได้ ต้องการไม่ให้มีคำผิด

Design- ฝึกฝนใหม่ด้วยการไม่ดูแป้นพิมพ์ และ ต้องไม่ผิด

Destiny- ออกแบบตารางการฝึกวันละ 5 ย่อหน้า และจับเวลา ความเร็ว

(อะไรกันเนี่ย ย ย ... มีแต่ผิด กับ ผิด)

คราวนี้ เรามาจับถูกกันค่ะ

Discovery- ค้นพบว่า เครื่องพิมพ์ดีดไม่เอื้ออำนวยต่อการฝึก ก็ลองฝึกโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ อีกทั้งคอมพิวเตอร์ยังมี back space  ให้แก้ไขคำผิดพลาดได้จึงไม่เกรงมาก แม้ว่าจะพิมพ์ได้ไม่เร็วมากก็ตาม

Dream- ต้องการพิมพ์ได้โดยสัมผัส ไม่มองแป้นพิมพ์

Design- ฝึกฝนการพิมพ์ โดยนอกวิชาเรียนให้ฝึกโดยใช้คอมพิวเตอร์สลับกับใช้เครื่องพิมพ์ดีด หากพิมพ์แล้วผิดพลาดก็ช่างมัน หากเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ต้องกด back space ค่อยเอาผลมาดูว่า พิมพ์คราวนี้ มี 1000 ตัวอักษร ดูอักษรที่พิมพ์ถูก  ไม่ต้องมัวนั่งหาจุดผิด แล้วพยายาม กระตุ้นตัวเองว่าอย่ามองแป้น ที่สำคัญคือ พิมพ์ผิดไปอย่ากด back space

Destiny- ออกแบบการฝึกวันละ 5 ย่อหน้า สลับกันเรื่อยๆ ระหว่างการใช้คอมพิวเตอร์และการใช้เครื่องพิมพ์ดีด

ผลลัพธ์ออกมา สำหรับการที่ j ได้แนะนำน้องด้วยวิธีการจับถูกนั้น ผ่านมา นานเท่าไรจำไม่ได้ มาเจอน้องอีก น้องขอบคุณเรา และพบว่า การพิมพ์นั้น สามารถพิมพ์ได้ไวขึ้น ไม่ค่อยมีคำหรืออักษรที่ผิดพลาด แม้ว่า j จะบอกว่า ด้วยการฝึกฝนของน้องด้วย แต่คำตอบที่ได้รับจากน้องอีกคำหนึ่ง ก็เพราะว่า เรารู้ว่า อุบายในการจับถูกว่า พิมพ์ดีด ไม่มี back space เกรง กลัวผิด มองแป้น ผลออกมาจึงช้า และไม่ได้ผล

แต่เราสอนเคล็ดลับให้น้องฝึกฝนโดยใช้คอมพิวเตอร์ เพราะมี back space ก็จริง แต่ไม่ให้ใช้ แต่ความรู้สึกคือ มีแล้วก็อุ่นใจ แม้จะไม่ให้ใช้ก็ตาม ผลก็คือ ค่อยๆ พิมพ์ไปเรื่อยๆ ผิดถูกก็ช่าง แต่ก็ไม่ได้ดูแป้นพิมพ์แล้ว แถมระยะเวลาที่ใช้ในการพิมพ์ลดลงด้วย แสดงถึง ความชำนาญที่ค่อยๆ เพิ่มขึ้นค่ะ

ตรงนี้ ได้ข้อคิดอีกข้อหนึ่งค่ะว่า การจับถูกได้ผลที่ดีกว่าจับผิดเสมอ

Designed by JW

หมายเลขบันทึก: 344807เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2010 16:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 22:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะพี่แจ๋วแหว๋ว

อรเป็นอีกคนที่เคยลงเรียน Typing ค่ะเพราะว่าอยากพิมพ์แบบสัมผัสได้จะได้พิมพ์ได้เร็วขึ้น มันจะได้สะดวกหลายๆอย่างค่ะ ^^ ตอนเรียนเรียนแค่ typing ของภาษาอังกฤษน่ะค่ะ สำหรับภาษาไทยไม่ได้เรียนมาแต่ก็พิมสัมผัสได้แต่จะวางมือไม่ค่อยตรงตามหลักสูตรเขาเท่าไรแต่อาศัยความเคยชินเอาน่ะค่ะ ทำให้พิมพ์ได้แบบไม่ต้องดูเหมือนกัน

เรียน คุณ JW

  • ยินดที่ได้รู้จักเป็นอย่างยิ่ง
  • ผมคงมีเรื่องปรึกษาคุณหลายเรื่อง
  • ฝากความคิดถึงให้คุณแป้ง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท