ขับ AI ให้เกินกว่า 75,000 กม.


Appreciative Inquiry

เมื่อวานผมเขียนเรื่องขับ AI... .ให้ได้แสนกิโล  หลายคนฟังอาจถอดใจว่ามันไกล เหลือเกิน จริงๆเป็นแค่คำอุปมาอุปไมยครับ ไม่ได้โหดขนาดนั้นครับ  ผมเลยเขียนบทความเพิ่มเติมครับ โดยจากการสังเกตความก้าวหน้าของคนที่ทำ AI Project กับผมมาสี่รุ่น (รปีนี้รุ่นที่ 5)  รุ่นที่หนึ่งกับสอง ไม่ทำต่อแล้วครับ จะว่าไปตอนนั้นทักษะของผมไม่ได้จริงๆ ตอนที่ทำเห็นผลวูบวาบครับ และไม่ได้วัดเป็น KPI ออกมาจริงๆ

รุ่นที่สามนี่เป็นช่วงที่ผมทำชุมชมนักปฏิบัติ AI Thailand ขึ้นมาแล้วจริงจัง พยายามช่วยเหลือให้นักศึกษา และผู้สนใจให้ลงมือปฏิบัติจริงครบ 4-D ส่วนผมก็ทำวิทยานิพนธ์เรื่อง Appreciative Inquiry แบบ ใช้Action Research เป็น Research Methodology หลักแล้ว AI เป็น Intervention ไปด้วย ครับ ช่วงนี้เราทำอะไรเป็นจริงเป็นจังครั้งแรก รุ่นที่สามนี่จาก 32 คนที่สนใจเข้ามาคุยกับผมนะครับ ปัจจุบันที่ยังทำต่อเนื่องอยู่มีอยู่สี่คนครับ ไม่ทำ กลุ่มต่อมาเลิกสนใจ AI ไปแล้วด้วยเหตุผลที่ว่า “ยุ่งกับเรื่องอื่นๆ” ราวๆ 10 ราย ที่เหลือบอกว่า “นิสัยการทำงานเปลี่ยนไป รู้จักสังเกตมากขึ้น” สรุปแล้วจากเริ่มต้น 32 คน ระกว่างสี่เดือนที่ทำ AI Project เห็นประเภท High Impact มากๆ เช่นยอดขายเพิ่มมากๆ นี่ประมาณ 10 ราย หรือราวๆ 30% กว่าครับ จาก 10 รายนี่ทำต่อมาอีกด้วยตนเองก็ 4 คนนี่เองครับ

ผมจะยังไม่พูดถึงรุ่น 4 ครับ เพราะรอปีหน้า จริงๆรุ่น 4 นี่ผลจะแรงกว่ารุ่น 3 ครับ แต่ยังไม่แน่ว่าจะยั่งยืนถึงไหน สี่คนยังทำต่อในรุ่น 3 นี่เป็นใครครับ ทั้งหมดอาศัยอยู่ที่อำเภอพล ขอนแก่นครับสามคนเป็นพยาบาล อีกคนเป็นวิศวกรอยู่สระบุรีแต่กลับบ้านทุกสุดสัปดาห์ครับ จุดร่วมของสี่คนที่ยังคงทำ AI ต่อแล้วยังขยายผลต่อมีดังนี้ครับ

  1. ทั้งสี่คนเคยทำ AI กับผลพร้อมกันๆ ตอนที่ผมก็ยังงูๆปลาๆ แต่ผมพยายามติดตามและให้ feedback ครับ แต่ปรากฏว่าผลงานออกมาดีมากๆครับ สักเดือนครึ่งเริ่มเห็นครับ ประมาณเดือนที่สามเขาลุยไปเองเลย ผมให้กำลังใจและ ให้เขาได้สอนเพื่อนๆ อีกหลายๆคนครับ
  2. พยาบาลสามท่านอยู่ในหน่วยงานของสาธารณสุขซึ่งกระแสการใช้ OD, R2R และ Happiness workplace กำลังมาแรง ทั้งหมดรู้จัก AI, World café มาก่อน พอลงมือทำก็ไปได้สวยครับ คนที่สี่เป็นวิศวกร ตอนแรกทำได้แค่แผนกของตนเองที่มีสิบสี่คน นายยังไม่เห็นภายหลังปีที่สาม โรงงานทำ TQM จึงได้กลายเป็นกำลังหลัก โรงงานกลับมาให้การสนับสนุนครับ สรุปได้ว่า “ทั้งสี่คนมีทักษะพอ และอยู่ในจุดที่สามารถบูรณาการ AI เข้ากับสิ่งที่องค์กรกำลังเน้นอยู่ได้อย่างลงตัว”
  3. ทั้งหมดนี้เท่าที่ผมสังเกตุครับ คือ ถามคนสัก 20-30 คน เลือก Discovery ที่พอทำได้มาขยายผลสัก 3-5 เรื่อง ก็บินเดี่ยวได้เลยครับ
  4. แต่จุดต่างของคนที่ทำต่อหรือไม่ ก็คือ “หาเรื่องทำต่อได้ครับ" เช่นกลุ่มเมืองพล ขยายงานต่อไปในกลุ่มใหญ่ขึ้น” วิศวกรโรงงานท่านนั้นก็ยกระดับ AI จากแผนกในโรงงาน 14 คนเป็น TQM ของโรงงานครับ  (รุ่นห้าผมเน้นสร้าง CoP มากครับ เผื่อยั่งยืนกว่าเดิมและ เผื่อแก้ปัญหาข้อที่สองได้)
  5. เท่าที่ดูทั้งหมดมีนิสัยเป็นคนชอบริเริ่ม และชอบทำงานครับ (ไม่ใช่ริเริ่ม แต่ให้คนอื่นทำ) ชอบลองและลุยครับ

ครับการขับรถแสนกิโล ถ้าขับทุกวันก็ใช้เวลาไม่นานหรอกครับ สำหรับคนที่ตั้งใจทำจริงจัง ไม่นานก็ได้สัก 75,000 กิโลครับ แต่ 25,000 กิโล หรือไกลกว่านั้นคุณจะขับไปได้หรือไม่ อยู่ที่คุณมีเป้าหมายว่าจะขับต่อหรือไม่ และจะไปทางไหน

ในมุมของ AI คือคุณจะทำอะไรให้มากกว่าเดิมหรือเปล่า ทางมีอยู่แล้วครับ

 

คำสำคัญ (Tags): #appreciative inquiry
หมายเลขบันทึก: 344420เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2010 08:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ถ้าเทียบเป้าหมายอยู่ที่ 100 กิโล ตอนนี้ผมก็ค่อยๆเดินมาได้ 78 กิโลแล้วครับ

ระหว่างทางยังคงสนุกกับการค้นหาเรื่องราวตามที่ต่างๆ แถมมองไปข้างหน้าไกลๆ เพื่อนำมาหาจุดเปลี่ยน แล้วขยายผล/คิดต่อยอดครับ

ตอนนี้สิ่งผมคิดว่วผมมี Skill เพิ่มมากขึ้นคือ ผมเริ่มสังเกตอะไรรอบตัวมากขึ้น มองอะไรก็ AI มองอะไรก็ การขอ ซะอย่างงั้น

จุดนี้ต้องขอบคุณอาจารย์ครับ ที่สร้างจุดเปลี่ยนนี้ให้ฝังอยู่กับตัวผม ตอนนี้กำลังพยายามเอาไปขยายให้เห็นผลจริงอยู่ครับ

แต่บางทีก็ไม่รู้จะเอาไปวัดผลอย่างไรเหมือนกัน เพราะไม่มีสนามให้ลองจริงๆ เหมือนกับทำ Action จะเดินไปบอกเขา

บางทีเขาก็ไม่ทำให้ครับ แต่ผมเชื่อว่าก็มีอยู่ไม่น้อยเหมือนกันที่นำวิธีที่เวิร์คที่เราหาเจอไปทำ แต่เขาไม่ได้รายงานผล

ตรงนี้ไม่ทราบว่าผมจะทำอย่างไรดีครับ... บางทีก็สงสัยเหมือนกันว่า เราได้จะนำไป ขยายผล ตรงไหน อย่างไรดี ^^

ตรงนี้จะเป็น Workshop เรื่อง "เต็มใจ" นะไพรรัชช์ จะช่วยให้คุณค้นพบว่า ภาวะไหน ที่คน "เต็มใจ" ช่วยเหลือคนอื่น คุณเองต้องลองไปเรื่อยๆครับ หาทางทดลองวิทยายุทธครับ ให้ได้ ตรงนี้ขึ้นกัว่าเราจะคิดการณ์ใหญ่แค่ใด นี่ก็จะเป็น Workshop ที่เราจะจัดกันน่าจะสัปดาห์ถัดจาก "เต็มใจ" (Design/destiny)) จะเป็นเรื่อง "ให้ทั้งใจ (Dream)" ครับ

อีกเรื่องเป็น ทำแล้วได้ดั่งใจคิดอันนี้จะเป็นเรื่อง Design ครับ คอยติดตามดูน่าจะช่วยให้เห็นอะไรอีกมากครับ

กว่าจะขับเคลื่อนมาได้ขนาดนี้ต้องใช้ความพยายามอย่างสูงคะ

แต่ระหว่างทางนั้นถ้ามีความน่าสนใจ และเราสนุกกับมัน ยังไงก็ไปถึงเป้าหมายได้ไม่ยากคะ

ถ้าไม่มองเป็นเรื่องที่ลำบากนะคะ

แต่หนูว่า AI เป็นเรื่องที่สนุกและน่าสนใจมากอยู่แล้วคะ

เวลามองอะไรเดี๋ยวนี้ มักจะพยายามมองให้เป็น AI แล้วหนูว่ามันสนุกที่จะได้พบอะไรที่เราไม่คาดคิดอยู่เสมอๆเลยคะ

เห็นด้วยกับเอิร์ท แล้วก็หนิงค่ะ เดี๋ยวนี้มองอะไรก็มองเป็น AI ^^ กลายเป็นคนช่างคิดช่างสังเกต มากขึ้นค่ะ เห็นอะไร work ก็เอากลับมาคิดต่อว่าทำไมมัน work ได้นะ ค่อยๆเรียนรู้ไปค่ะเริ่มจากเรื่องใกล้ๆตัวไปก่อนค่ะ หนทางยังอีกยาวไกล แต่ไม่ต้องรีบค่ะ ค่อยเป็นค่อยไป สะสมประสบการณ์ไปเรื่อยๆ

  • ต้อง ริ เริ่ม ลอง ลุย >>> ทางมีอยู่แล้ว อยู่ที่ว่าจะทำอะไรให้ดีกว่าเดิมหรือไม่....
  • ขอบพระคุณค่ะอาจารย์ ที่กรุณาขยายผลให้

 

ไม่ได้คิดตามระยะทาง เป็นกิโลเมตรค่ะ

แต่หนูดเป็นชั่วโมงบิน เก็บแต้มของเวลา

จะลองดูเหมือนกันค่ะ ว่า การที่จะ success ได้

เรานี้ ใช้เวลาถึง 10000 ชั่วโมง หรือเปล่า

หรือทำให้สั้นลงได้กว่านั้น โดยใช้ AI ช่วยค่ะ

jw

ผมพึ่งจะเริ่มทดลองใช้AIกับชุมชนอย่างจริงจังในพื้นที่ 1 ตำบล

กำลังขยายการเรียนรู้ในช่วงปีนี้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท