ติดสมอง มาจาก การประชุม HA National Forum ครั้งที่ 11


กระบวนการดูแลผู้ป่วยเกิดจาก SIMPLE ได้อย่างไร? มีคำตอบ...

BY Jan ฟิตร่างกายและสมองเต็มที่เพื่อไปประชุมฯ และเดินดูงานที่ใหญ่มาก วันที่ 10 มีนาคม 2553 ที่ศูนย์ประชุม Impack เมืองทองฯ ขากลับหมดแรง มีอ้อนกินก๋วยเตี๋ยวร้อนๆ พี่น้อยใจดี๊ดีนำทีมเข้าโลตัสสิงห์บุรี ของเขาอร่อยจริงๆด้วย แถมไม่เสียกะตังค์สักบาท (วันหลังแวะไหมนะ) ติดใจน่ะ

ที่แน่ๆ คือไม่พลาดที่จะ เอาสาระที่พอติดสมองนิดๆ หน่อยๆ มาฝากพวกเรากัน

เรื่องแรก : Simple in practice สรุปง่ายๆ ก็คือการนำ Simple ที่เป็นมาตรฐาน Patient Safty Goal  มาหา Gapanalysis จาก Patient care Process ก็จะทำให้เราเห็นหนทางไปสู่การพัฒนาปรับปรุงระบบงาน/กระบวนการดูแลผู้ป่วยนั่นเอง ถ้านึกไม่ออกลองดูตัวอย่าง การนำ Simple ไป implement การดูแลผู้ป่วย Pressure ulcer ของ ร.พ. จุฬาฯ

จาก Simple เขา ได้ทบทวน Patient care process ของเขาในอดีตและนำไปสู่ Preventing pressure ulcer ได้ในปัจจุบัน ดังนี้

อดีต Patient care process ผู้ป่วย Pressure ulcer ของเขาเป็น

- Negative pressure

- ใช้แรงงานพยาบาลอย่างเดียว ต่อให้พลิกตะแคงตัว ทุก 1/2 ชั่วโมงก็เกิดแผลกดทับอยู่ดี จึงมีการค้นหาปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน จึงพบว่ามีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง เช่น ผู้ป่วยที่สูงอายุ ผู้ป่วยได้รับอาหารไม่พอ ผู้ป่วยมีข้อจำกัดในเคลื่อนไหว

- เป็นปัญหาของผู้ป่วยกับญาติเท่านั้น

- เกิดขึ้นแล้วมีค่าใช้จ่ายสูง

- เกิดขึ้นแล้วเสียเวลารักษาพยาบาลนาน

***เขาเริ่มมองเห็นว่าการดูแลผู้ป่วยด้วยพยาบาลอย่างเดียวไปไม่รอดแน่***

เขาจึงมีการกำหนด นโยบายการป้องกันแผลกดทับ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการฯ ประกอบด้วยแพทย์ทุกสาขา รวมทั้งจิตแพทย์ เภสัชกร นักโภชนาการ นักกายภาพบำบัด ร่วมกันดูแลฯ ทำให้กระบวนการดูแลผู้ป่วยแผลกดทับ ได้รับการตอบสนองในทุกๆ ด้าน ไม่เป็นภาระของพยาบาลแต่เพียงอย่างเดียวเหมือนอดีต

ปัจจุบัน Patient care process ผู้ป่วย Pressure ulcer ของเขาเป็น

- Negative Outcome

- สหสาขาวิชาชีพมีส่วนร่วม มีนโยบายชัดเจน มีการทำ Work procedure ที่เป็นมาตรฐานชัดเจน มีการนำ Braden scale มาใช้ ประเมินผู้ป่วยหลังรับไว้ 8 ชม. มีการประเมินทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงกับผู้ป่วยเกิดขึ้น ตลอดจนกำหนดวิธีการให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยและผู้ดูแล รวมถึง Discharge Plan มีอุปกรณ์เครื่องมือ เวชภัณฑ์ ที่ช่วยในการดูแลผู้ป่วยเพื่อป้องกันแผลกดทับ เช่นที่นอนลม เบาะเจล Barrier cream ฯลฯ

- เป็นปัญหาของทุกคน

- ค่าจ่ายลด เพราะป้องกันได้ดี

- ทำให้เสียเวลารักษาพยาบาลน้อยลง

***ขอชื่นชมในฐานะที่เขาเป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่มีหอผู้ป่วยในจำนวนมาก มีความหลากหลายในการปฏิบัติ เขายังทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกันได้***

สำหรับร.พ.เราในส่วนตัวคิดว่า การดูแลผู้ป่วยแผลกดทับของเราก็ OK แล้วนะ ว่าไหม?

อีกตัวอย่างหนึ่งคือ Patient Fall เรื่องนี้เขามีการจัดตลาดนัด KM ให้แต่ละ ward นำเสนอเกี่ยวกับ

- ปัจจัยเสี่ยงภายใน(ตัวผู้ป่วย)

- ปัจจัยเสี่ยงภายนอก

- จัดตั้งคณะกรรมการ Fall team ประกอบด้วยสหสาขาวิชาชีพเช่นกัน

- ทบทวน Fall assessment, Fall investigation และกำหนดวิธีปฏิบัติดังนี้ ถ้า Fall score < 2 จะปฏิบัติ Basic Fall ถ้า Fall score > 2 จะปฏิบัติตาม strick Fall และทดลองใช้ 3-6 เดือน จึงประเมินผล

- มีการติด Sticker เพื่อเตือนให้มีการเฝ้าระวัง

- มีการประกวดป้ายสัญลักษณ์ รางวัล 2,000 บาท

- มีการประกวดภาพยนตร์ รางวัล 20,000 บาท

- เภสัชกรให้ความรู้เรื่องยาที่เสี่ยงต่อ Patient fall

- กำหนดการรายงาน(Incident report) ที่ครอบคลุมเกี่ยวกับการเกิดเหตุว่า  เกิดเหตุเวลาใด อย่างไร ที่ไหน จากอะไร เกิดแล้วผลเป็นอย่างไร เพื่อนำไปวิเคราะห์หา RCA และมีประโยชน์ในการป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำได้ 

เรื่องที่ 2 การใช้ Trigger Tools ค้นหาความเสี่ยงที่เกิดจากยา (ADR,ADE) เรื่องนี้มีตัวอย่างดีๆ จาก ร.พ.บุรีรัมย์ แต่เอ๊ะ! อย่าพึ่งรู้เลย ...ก็มันเมื่อยและก็หิวแล้วหล่ะขอพักก่อน Bye Bye/By Jan

หมายเลขบันทึก: 344024เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2010 16:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ผมได้ไปเดินดูนิทรรศการ(เหลือจากที่เก็บไปเยอะ)

เห็นมีอะไรดีๆเอามาให้ชมกันเยอะเลยครับ

อนุเทพ

ขอบคุณมากคะ ได้สามระดี ๆๆ มากค สรุปได้เข้าใจ ดีกว่าไปฟังเองอีกคะ

ระดับน้อง ๆ ฟังแล้วยังงงนิด ๆ อยากรู้มากกว่านี้ อ่านเองก็ไม่ค่อยเข้าใจ พี่จรรจะชี้แนะอย่างไรดีสำหรับผู้ปฏิบัติที่อยากให้คนไข้ได้รับสิ่งดี ๆ มีความปลอดภัย แต่คุย-เขียนภาษา HA ไม่เป็น

ง่ายๆ มองปัญหา หรือสิ่งที่คิดว่าอาจเกิดปัญหา (อันนี้ต้องมีตัวเลขเอาไว้เปรียบเทียบหลังแก้ไข/ปรับปรุง/พัฒนา) หาสาเหตุ หาคนช่วย (ใครเกี่ยวบ้างเพื่อความเชื่อมโยง) คิดวิธีแก้ (วิธีการแล้วแต่จะคิด แต่ต้องแก้ให้ตรงจุด/สาเหตุ) ลงมือแก้ไขปรับปรุง และประเมินผล (ปรเมินทั้งวิธีการที่นำมาใช้ และผลลัพธ์) ถ้าดีก็ทำต่อไป ถ้ายังไม่ดีหรือเกิดปัญหาเพิ่มก็ทำเหมือนเดิมอีก เป็นรอบๆ ไป ทีเขาเรียก CQI น่ะ จนมันดีเลิศประเสริฐศรี เราก็จารึกไว้เป็น มาตรฐาน (แต่ก็ต้องทบทวนเพราะมันมีการเปลี่ยนแปลงด้านวิชาการได้เรื่อยๆ)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท