สัมมนาป้องกันควบคุมโรค BITEC บางนา 10-12 มีนาคม 2553


สัมมนาป้องกันควบคุมโรค BITEC บางนา 10-12 มีนาคม 2553

รมต.ว่าการ เปิดการสัมมนา ป้องกันควบคุมโรค BITEC บางนา
ผู้ลงทะเบียนกว่า 2,000 คนจากกระทรวงสาธารณสุชและจากทองถิ่น
ท่านมีเวลาพูดจำกัด เพราะจะต้องรีบไปประชุมสภา

ต่อมาเป็นรายการ "หมอลำ" แสดงนำและร้องนำโดยหมอจริงๆ คือโดยอายุรแพทย์
ซึ่งเล่าว่า สนใจหมอลำตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ๆ
จึงใช้เพลงหมอลำเพื่อ สื่อข่าวสารด้านสุขภาพไปให้กับผู้ชอบฟังหมอลำ
และทีมงานนักเต้นหางเครื่อง พยาบาลและเจ้าหน้าที่อื่นๆ ทีมหมอรำจึงมีเวลาพิ่มขึ้น
คำร้องท่อนแรก จะช่วยบอกได้ว่าเป็นเพลงของ อุบล ขอนแก่น โคราข ...

ผมจดบันทึกและถ่ายภาพมาได้เพียงบางส่วน
เพราะมีห้องแยกหลายห้องในเวลาเดียวกัน

 

วันที่ 10 มีค.53 ผมเข้าสัมมนาเรื่อง "ชุมชนกับวัณโรค"
How Community involve in TB Detection and Care
นพ.ยุทธิชัย  เกษตรเจริญ เป็นผู้ดำเนินรายการ

ทีมงานภูเก็ต เล่าวา DOTS โดยเจ้าหน้าที่ได้ผลมากกว่า DOTS ที่ทำโดยญาติ
แต่  TBCA เล่าว่า DOTS โดยญาติได้ผลดีเท่าๆ กันไม่ต่างจาก DOTS โดยเจ้าหน้าที่
TBCA มาช่วยงาน TB ในโรงงาน สถานประกอบการมีมากกว่า 2 แสนแห่ง
แต่ TBCA ทำงานมา 2-3 ปี ชวนมาเข้าร่วมโครงการประมาณ 15,000 แห่ง เท่านั้น

 

 

ตอนเย็นวันที่ 11 มีค.53 16:30 -17:30 น.
ที่ระเบียงทางเดิน บริเวณที่เรียกว่า "ห้องรับแขก"
มีบรรยายการถ่ายภาพ โดยบรรณาธิการวารสารถ่ายภาพ
และผู้ที่ได้รางวัลภาพถ่ายระดับนานาชาติของไทย


(มีภาพอันหนึ่ง ที่โชว์อยู่ ก็ คือ ภาพ "เป่าจนโปน"
ของ งานอาชีวเวชกรรม กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม ที่ไปช่วยงานร่วมทีมกัน
กับ สสจ.พิษณุโลก สคร 9 ที่ จังหวัดสุโขทัย) 

วันที่ 11 มีนาคม 2553 ผมเข้าฟังห้องส่งเสริมสุขภาพ นพ.จิตร สิทธีอมร
พญ.ฉายศรี และ นพ.ปิยะ สสจ.สุโขทัย เรื่องจังหวัดปลอดบุหรี
และวิทยากรอีกท่านหนึ่งเรื่องส่งเสริมสุขภาพ

(คุณกิตติ สคร 9 ที่นำ ABC Aircraft + Boat + Car ไปโชว์ผลงานความคิดสร้างสรรค์
ก็เข้าฟังห้องนี้ด้วย
ผลงานของคุณกิตติ เช่น ขันดักยุง รองเท้านินจา ครอบปากกินได้กัดไม่ได้
และ "กินร้อนช้อนกลางล้างมือ" ที่ใครๆก็ว่าๆ ก็ไม่เห็นจะเกี่ยวกับไข้หวัดใหญ่เลย
แต่ดูที่ Result ซิ โรคท้องเดินของประเทศไทย ในปีนั้น ลดลงมากเป็นหมื่นเป็นแสนคน)

วันสุดท้ายจะเลิกงานสัมมนาเร็วขึ้น เนื่องจากกลุ่มเสื้อแดงจะเดินทางมา กรุงเทพ
นพ.วินัย สวัสดิวร บรรยาย เรื่อง ทิศทาง สปสช 2553

นพ.วินัย สวัสดิวร (ได้เคยเรียนระบาดวิทยา, หัวหน้ากลุ่มงานเวชกรรมสังคม, สสจ.ยโสธร, ...)

อธิบาย เรื่องทิศทาง สปสช 2553 (ปีที่ 8) ที่ BITEC บางนา 
วันปิดประชุมงานส่งเสริมป้องกันโรค ของกรมควบคุมโรค (จัดปีเว้นปี) 
 
ใน 2 ปีแรก ของ สปสช  รมต.สาธารณสุช มี 5 คน
ซึ่งทุกคนยังไม่เคยรู้ว่า สปสช คืออะไร ??
จึงให้อธิบายว่า สปสช ทำงานอะไร (ก็คือ Mission ของ สปสช)
 
ปีแรกๆ ท้องถิ่น คือเทศบาลและ อบต. 
เข้าร่วมสนับสนุน เรื่องสุขภาพ กับ สปสช ประมาณ 800 แห่ง 
ปัจจุบันเทศบาลและ อบต.เพิ่มเป็น 5,000 แห่ง จากทั้งหมดประมาณ 7,000 แห่ง
 
เทศบาลแห่งแรกที่เป็นคู่สัญญากับ สปสช คือเทศบาลนครพิษณุโลก 
และนำเงินชองท้องถิ่นมาสนับสนุน ด้านสุขภาพ ในช่วงเวลา 2-3 ปีประมาณ 50 ล้านบาท
  
การเรียนการสอนนิสิตแพทย์  ม.นเรศวร และ รพ.พุทธชินราช ปี 4 
ผมได้จัดให้นิสิตแพทย์ ม.นเรศวร และ รพ.พุทธชินราช (ปี 4 ปี 2552 คือรุ่นที่ 12 จำนวน 60 คน
ปี 5 จะเป็นรุ่น 11 จำนวน 60 คน) ไปดูงาน สสจ. เทศบาล สปสช.(พิษณุโลก) 
ให้นิสิต ส่ง Powerpoint ส่งเป็นไฟล์ โดยไม่ต้อง print ในกระดาษ คือ

1) ประวัติ
2) Vision, Mission
3) สายงานบังคับบัญชา Organization Chart
4) เป้าหมาย
5) วิธีการทำงาน
6) ผลงาน (ผลงานเด่น ผลงานที่ทำได้ตามเป้า และผลงานที่ยังไม่ถึงเป้า)
7) ปัญหาอุปสรรคและวิธีแก้ไข
8) แนวโน้มในอนาคต

รวม 8 เรื่อง ตามที่ได้รับคำแนะนำ จาก รศ.นพ.ชุมนุม พรหมขัติแก้ว
ส่วนนิสิตปี 5 มีวิชาอาชีวเวชศาสตร์ จึงมีเรื่องกองทุนประกันสังคม กองทุนเงินทดแทน
 
สอนภาคทฤษฏี จึงต้องการให้ นิสิตคิด เช่น ให้มี Reflection 
มีคำถาม เช่น ถ้ามี สปสช.หรือ ถ้าไม่มี สปสช. 
งานกระทรวงสาธารณสุขจะดีกว่าหรือว่าไม่ดีกว่าเดิมเพราะอะไร
(Provider Purchaser Split, HA พัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล, ... )

เช่น นพ.ภูวนนท์  ทพ.สันติ ก็ได้ อธิบายว่า
ที่ สปสช. ต้องการหลักฐานรายละเอียดค่าใช้จ่ายที่โรงพยาบาลได้ใช้เงินไป 
ก็เพราะต้องนำรายละเอียดนี้ไปนำเสนอขอค่าใช้จ่ายรายหัวจากสำนักงบประมาณ

(คุณอรพิน, คุณอัจฉราวรรณ, คุญอารัญญา) งานอาชีวเวชกรรม กลุ่มงานเวชกรรมสังคม รพ.พุทธชินราช รวมทีมกันกับ สสจ.พิษณุโลก (คุณสมชาย และทีมงาน) และ สคร 9 (คุณวิรัช และทีมงาน)
ตรวจสมรรถภาพปอด  (Pulmonary Function Test) ที่จังหวัดสุโขทัย

 

ถ้าไมไปช่วยวัดความดันโลหิตให้ที่บ้าน
แม่ลูกอ่อนคนนี้ เธอจะมีเวลาว่าง ไปตรวจวัดความดัน ที่สถานีอนามัยหรือ PCU ได้เอง หรือไม่ ?

ภาพนี้นำเสนอในเชิงความสวยงาม การจัดองค์ประกอบภาพ การวัดแสง และความตั้งใจที่จะช่วยเหลือผู้อื่น แต่ในเชิงวิชาการในขั้นตอนการวัดความดันโลหิต ยังไม่ถูกต้องเสียทีเดียว คงจะต้องมีนิเทศงาน Coaching อีกสักหน่อยนึง

หมายเลขบันทึก: 343911เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2010 06:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท