อยุธยา : คอนสแตนติน ฟอลคอน : การก้าวเข้าสู่อำนาจสมัยสมเด็จพระนารายณ์



คอนสแตนติน ฟอลคอน

(ที่มา : http://th.wikipedia.org/)

                 คอนสแตนติน ฟอลคอน ชายชาวกรีก หรือเจ้าพระยาวิชาเยนทร์เป็นคนที่สมเด็จพระนารายณ์รักยิ่ง เนื่องจากเป็นที่รอบรู้ในเรื่องต่างประเทศ การทูต เป็นคนเฉลียวฉลาดมีไหวพริบดี พูดได้หลายภาษา และรู้จักการวางตัว ซึ่งชาวต่างชาติมักจะกล่าวถึงฟอลคนอนว่ามีสติปัญญายิ่งในทางเดียวกัน          

                “ท่านเป็นคนมีสติปัญญาสามารถอย่างยิ่งยวด และเป็นคนรู้ประหยัดบังคับความประพฤติตนสรรแต่ที่ดีไว้โดยไม่ต้างสงสัย”

                นอกจากนั้นฟอลคอนยังเป็นคนเจ้าเล่ห์ ฉลาดแกมโกง มักใหญ่ใฝ่สูง ชอบการประจบประแจง มักในสินบน เป็นที่รังเกียดของชาวต่างชาติหลายต่อหลายคน และกับขุนนางไทยอีกหลายต่อหลายคน

                “มองซิเออร์ คอนสตันซ์ นั้นเป็นคนที่จะพูดถึงบ่อย ๆ ...เป็นหัวหน้าอันเด็ดขาดของการทั้งปวงที่ทำกันในเมืองนี้...เป็นคนไม่สูงไม่ต่ำ รูปร่างหน้าตาดีพอใช้...อายุอยู่ในราว ๓๕-๓๖ปี เป็นคนไหวพริบ รูปร่างภายนอกงดงาม แต่ข้าพเจ้าสงสัยว่าภายในใจจะไม่ตรงกับภายนอก....เป็นคนมักใหญ่ใฝ่สูง เป็นคนชอบเงิน เป็นคนชอบทำการแก้แค้น ชอบคนเยอะและชอบคนที่ลงหมอบคลาน นอกจากนี้ก็เป็นคนดีที่สุดในโลก”

               ฟอลคอนมีความสามารถในทางการทูตและการค้าขาย เป็นผู้สร้างรายได้ให้กับท้องพระคลังหลวงอย่างมากมาย ด้วยการใช้วิธีผูกขาดทางการค้า สิ้นค้าสำคัญอย่าง พริกไทย ไม้หอม เขาสัตว์ งาช้างและของป่าหายากทั้งหลาย ประชาชนคนทั่วไปจะไม่มีสิทธิ์ทำการค้าขายกับชาวต่างชาติได้โดยตรง รัฐบาลจะชื้อสินค้าเหล่านั้นเอาไว้เองทั้งหมด จากนั้นรัฐบาลก็จะตั้งราคาเอาตามใจชอบแล้วนำสิ้นค้านั้นไปชายให้กับชาวต่างชาติ ชาติให้ข้อเสนอที่ดีกว่าจะมีสิทธิ์ในสิ้นค้าที่ดีกว่า หรือได้สิทธิ์ขาดในสิ้นค้านั้นแต่เพียงผู้เดียว ส่วนการรับซื้อสิ้นค้าต่าง ๆ ที่ชาวต่างชาตินำมาขายในนั้น รัฐบาลมีสิทธิ์ในการเลือกซื้อก่อนพ่อค้าเอกชน และมักจะใช้สิ้นค้าอื่นเป็นการแลกเปลี่ยน ไม่ได้ใช้เงินจ่ายเท่าใดนัก ระบบพระคลังสินค้านี้ทำให้ชาวต่างชาติทั้งหลายไม่พอใจนัก แต่เนื่องจากไม่สามารถหาซื้อสินค้าสำคัญได้จากเอกชนคนใดได้ จึงมีความจำเป็นต้องซื้อในระบบพระคลังสินค้าอย่างจำใจ ประเทศไทยได้เปรียบดุลการค้ากับการค้าขายกับชาวต่างชาติแต่เพียงฝ่ายเดียว ฟอลคอนยังกีดกันการค้าขายของชาวมุสลิมจนชาวมุสลิมหมดอำนาจในการค้าขายในน่านน้ำประเทศไทยไปจนเกือบหมด

 

การสร้างอำนาจของฟอลคอน 

                 ฟอลคอนเข้ารับราชการโดยกอารสนับสนุนของออกญาโกษาธิบดี (เหล็ก) ด้วยความเป็นคนขยันขันแข็งจึงได้รับมอบหมายงานสำคัญให้ฟอลคอนทำหลายครั้ง  ฟอลคอนพยายามรวบรวมอำนาจของออกยาโกษธิบดีมาไว้ในมือทีละน้อย ในไม่ช้าฟอลคอนก็แสดงความสามรถของตนให้เป็นที่ประจักษ์ จึงเป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระนารายณ์

               เมื่อครั้งลุศักราช ๑๐๑๙ ปีระกานพศกนั้น  (พ.ศ.๒๒๒๐)  มีฝรั่งเศสนายกำปั่นผู้หนึ่ง บรรทุกสินค้าเข้ามาค้าขาย ณ กรุงเทพมหานคร ครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินให้ต่อกำปั่นใหญ่ลำหนึ่ง ครั้งเสร็จแล้วจะเอาออกจากอู่ จึงให้ล่ามถามฝรั่งเศสพ่อค้านั้นว่า ณ เมืองฝรั่งเศสเอากำปั่นออกจากอู่กระทำอย่างไรจึงเอาออกได้ง่าย, ฝรั่งเศสผู้นั้นเป็นคนมีสติปัญญามาก ชำนานในการรอกกว้าน จึงให้ล่ามกราบทูลพระกรุณารับอาสาจะเอากำปั่นออกจากอู่, แล้วแต่งการผูกรอกกว้าน และจักรชักกำปั่นออกจากอู่ลงสู่ท่าได้โดยสะดวก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโสมนัสพระราชทานรางวัลเป็นอันมาก แล้วโปรดตั่งให้เป็นหลวงวิชาเยนทร์พระราชทานที่บ้านเรือนแลเครื่องยศให้อยู่ทำราชกาลในกรุงนี้ แลหลวงวิชาเยนทร์นั้นมีความสวามิภักดิ์อุสาหะในราชกิจต่าง ๆ มีความชอบมาก จึงโปรดให้เลื่อนเป็นพระยาวิชาเยนทร์

               แต่กระนั้นก็ยังคงไม่เพียงพอสำหรับเขา ยังมีขุนนางอีกหลายคนที่มีอำนาจ โดยเฉพาะออกญาโกษาธิบดี เหล็ก ผู้บังคับบัญชาของเขานั่งเอง การที่ฟอลคอนจะก้าวขึ้นมามีอำนาจได้ก็ต้องกำจัดคนเหล่านั้นเสียก่อน

               ถึงออกญาโกษาธิบดี (เหล็ก) ถึงจะเป็นผู้มีความสามารถในทางเชิงรบ มีความเฉลียวฉลาดและสติปัญญาดีแต่ก็มีข้อเสียคือเป็นคนเกียจคล้านชอบหาความสนุก ลุ่มหลงในทรัพย์สมบัติ ชอบรับของกำนัน ดังนั้นฟอลคอนจึงเห็นช่องทางจะก้าวขึ้นมามีอำนาจ โดยการสร้างอำนาจให้เป็นที่ประจักษ์ต่อขุนนางไทยและอาศัยว่าตนเป็นคนโปรดปรานของพระเจ้าแผ่นดิน ดังเช่น ได้ให้ชาวอังกฤษทำแผนผังป้อมปราการแบบยุโรป แล้วนำขึ้นถวายทอดพระเนตร เป็นทีว่าตนทำขึ้นเอง พร้อมกล่าวถึงความสำคัญของป้อมปืนใหญ่ว่าจะช่วยป้องกันประเทศทางแถบชายทะเลจากการโจมตีของเรือปืนจากชาวต่างชาติได้ สมเด็จพระนารายณ์ทรงเชื่อ มีรับสั่งให้หัวเมืองต่าง ๆ ที่กำหนดไว้สร้างป้อมตามแผนของฟอลคอนโดยเร็ว แต่ออกษาโกษาเหล็กกลับคัดค้านโดยให้เหตุผลว่า

                 ๑. คนไทยไม่รู้วิธีป้องกันตนเมื่อถูกล้อมอยู่ในป้อมเหมือนชาวยุโรป ยังแต่จะเป็นผลเสียให้ข้าศึกทำการยึดป้อมเพื่อเป็นประโยชน์แก่ฝ่ายตนได้ ทำให้ยากแก่การขับไล่หรือยึดคืน

                 ๒. ฟอลคอนไม่มีความชำนาญในงานประเภทนี้ อาจสิ้นเปลืองพระราชทรัพย์โดยไม่จำเป็น

                 สมเด็จพระนารายณ์ก็ทรงเชื่อออกญาโกษา แต่ฟอลคอนก็ทูลว่า ที่ออกญาพูดเช่นนั้นเพราะได้รับเงินสินบนจากพวกที่เสียผลประโยขน์จากการสร้างป้อม  สมเด็จพระนารายณ์ทรงถามออกญาโกษาว่าจริงหรือไม่ ออกญาก็ยืนกรานไม่ยอมรับ  สมเด็จพระนารายณ์ทรงกริ้วมาก โดยไม่มีการพิสูจน์ว่ามีความผิดจริงดังข้อกล่าวหา ทรงตำหนิออกญาโกษาอย่างรุนแรง ทรงขับออกจากที่เฝ้ารับสั่งให้โบยอย่างหนัก จึงเป็นเหตุที่ทำให้ออกญาโกษาเหล็กล้มป่วย ไม่ช้าก็ถึงแก่อสัญญกรรม

                 เมื่อสิ้นออกญาผู้นี้แล้ว ฟอลคอนก็มีอำนาจมากยิ่งขึ้น พระคลังคนใหม่ที่ได้รับการแต่งตั่งขึ้นมาแทนได้ไม่นานก็ถูกปลกออกจากตำแหน่งในเวลาไม่นาน ปลัดทูลฉลอกถูกประหารชีวิต  ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ทั้งหลายที่ได้รับพระอาญารุนแรงเช่นนี้ ล้วนแต่มีความขัดแย้งกับฟอลคอนทั้งสิ้น ฟอลคอนใช้วิธีการเดียวกันในการกำจัดขุนนางคือใส่ร้ายและกดขี่  ทำให้บรรดาขุนนางไทยน้อยใหญ่เกรงกลัวไม่มีใครกล้าทูลฟ้องร้องเรื่องฟอลคอนแก่พระเจ้าอยู่หัว เมื่อเป็นดังนี้ทำให้ฟอนคอนบังคับบัญชางานทั้งปวงได้อย่างเด็ดขาด จนทำให้ฟอลคอนลำพองใจ แสดงอำนาจของตนราวกับเป็นกษัตริย์ รวมรวมพรรคพวกเสริมสร้างอำนาจแก่ตน

                “ในเวลานั้นไม่ว่าบุคคลชนิดใด ต้องอ่อนน้อมยอมคอนซตันติน ฟอลคอน ทุกคน ฝ่ายฟอลคอนมั่นใจเองแต่ว่าพวกมัชชันนารีคณะเยซวิตคงจะเข้าเป็นฝ่ายพรรคพวกของตน ทั้งเชื่อแน่ว่าประเทศฝรั่งเศสฝ่ายอินเดียให้ทำการได้โดยสะดวกเพื่อประโยชน์ทำให้ตัวของตัวมั่งคงบริบูรณ์ขึ้นนั้นจึงได้เกิดการขัดขวางการงานต่าง ๆ ขึ้น และเมื่อกระทำการสิ่งใดก็จะออกอำนาจดุจเป็นพระเจ้าแผ่นดินเสียเอง

              พฤติกรรมของฟอลคอนนอกจากจะแสดงอำนาจกับบรรดาขุนนางไทยแล้ว ยังแสดงอำนาจกับพ่อค้าชาวต่างประเทศอีกด้วย จึงทำให้ฟอลคอนเป็นเกลียดชังของขุนนางไทย มุสลิม และพ่อค้าไทย มุสลิม ชาวต่างชาติที่เกี่ยวข้อง ถึงเวลานี้แล้วฟอลคอนคือผู้มีอาจสูงสุดในทุกด้านของประเทศนี้

 

การขจัดอำนาจมุสลิม 

              ฟอลคอนพยายามขจัดอำนาจของชาวมุสลิมเช่น รับอาสานำคณะทูตไทยไปอิหร่าน เมื่อปี พ.ศ. ๒๒๒๓ และสามารถขายสินค้าได้เป็นราคาดีเป็นการตัดหน้าชาวมุสลิมแล้ว ยังมีเหตุการณ์ที่เอื้ออำนวยแก่ฟอลคอนในการขจัดอำนาจชาวมุสลิมคือ

              ๑. ข้าราชการไทยส่วนใหญ่ก็ต้องการขจัดอำนาจชาวมุสลิมอยู่แล้ว จึงเป็นช่องทางให้ฟอนคอนเสนอพรรคพวกของเขา

                     แซมมวล ไวท์ (Siames White) ชาวอังกฤษ รับตำแหน่งสำคัญเป็นกลมเจ้าท่าเมืองมะริด มีหน้าที่ควบคุมเมืองท่าของไทยทางย่านมหาสมุทรอินเดีย และจะต้องทำหน้าที่เก็บเงินและจัดการรายได้ทั้งหมดของสมเด็จพระนารายณ์ตลอดแคว้นตะนาวศรี รวมทั้งเป็นหัวหน้าข้าหลวงเกี่ยวกับธุรกิจทางทะเลในอ่าวเบงกอล

                    ริชาร์ด เบอร์นาบี (Richard Burnaby) เป็นเจ้าเมืองแคว้นตะนาวศรี คอยช่วยเหลือกิจการต่าง ๆ ตามที่ไวท์ต้องการ

                    อีวัตต์ (Ivatt) เป็นผู้แทนดูแลสินค้าหลวงประจำเมืองมาสุลีปะตำ จัดการเกี่ยวกับการขนถ่ายสินค้าทั้งจัดจำหน่ายบนฝั่งโคโรเมนเดล ตลอดจนซื้อสินค้าของหลวงบรรทุกเรือตอนขากลับด้วย

                    ทั้งสามคนนี้ได้ดำรงตำแหน่งแทนมุสลิมสามคนที่ถูกปลดออกไป  แต่การแย้งชิงอิทธิพงทางการเมืองและการค้าระหว่างสองฝ่ายนี้ยังดำเนินต่อไป ในที่สุดไวท์เสนอเรื่องเป็นทางการไปยังฟอลคอนเมื่อ พ.ศ.๒๒๒๗ เพื่อทำสงครามกับประเทศกอลคอนดา ในชั้นแรกได้รับพระบรมราชานุญาต แต่ได้เผิกถอนในภายหลังซึ่งแสดงให้เห็นว่าฟอนคอนว่ายังไม่มีอาจเด็ดขาด  เพราะไม่สามารถที่จะขัดขวางพ่อค้ามุสลิมที่เชื่อว่าให้สินบนแก่ราชการชั้นสูงของไทย

               ๒. เมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ส่งคณะราชทูตมาไทยโดยมีเชอวาเลีย เดอ โชมองต์ เป็นเอกอักราชทูต ทำให้ไทยมั่นใจยิ่งขึ้นว่าจะได้ฝรั่งเศสไว้เป็นพันธมิตร และไทยได้ส่งคณะราชราชทูตไปยังฝรั่งเศส เพื่อเพิ่มความสัมพันธไมตรีให้ยิ่งมากขึ้น ไทยจึงแต่งตั้งให้ เชอวาเลีย เดอ ฟอร์บัง ไปดูแลเมืองบางกอก รวมทั้งตั้งคนเข้ารีต(คริสตัง)ให้เป็นเจ้าเมืองภูเก็ตแทนมุสลิม

              ๓. เมื่อคณะราชทูตของพระเจ้าสุลัยมานเดินทางเข้ามาในประเทศไทย ทางการไทยก็ได้แสดงความสบประมาทต่อราชทูตอิหร่านชุดนี้ โดยสั่งห้ามราชทูตอิหร่านในไทยมาเยี่ยมคณะราชทูตและไม่ยอมให้ถวายพระราชสาส์นโดยตรงต่อสมเด็จพระนารายณ์ อีกทั้งยังจัดในเรื่องอาหารการกินและที่พักไม่เหมาะสม สร้างความไม่พอใจแก่คณะทูต และชาวมุสลิมเป็นอย่างมาก

             ๔. สมเด็จพระนารายณ์ทรงให้การสนับสนุนการเผยแพร่คริสต์ศาสนาของคณะบาทหลวงอย่างมาก พร้อมทั้งทรงพระราชทานที่ดินให้สร้างโบสถ์และบ้านแก่คณะเผยแพร่ศาสนามากมาย จนเกิดข่าวลือว่า พระองค์จะทรงเปลี่ยนศาสนาเป็นคริสต์

              นอกเหนือจากที่กล่าวไปแล้ว แซมมวล ไวท์ ยังทำตนเป็นโจรสลัดเที่ยวปล้นสดมภ์น่าน้ำในอ่าวเบงกอลในนามของกษัตริย์ไทย จึงทำให้เป็นที่หวาดกลัวและเกลียดชังของบรรดาพ่อค้าชาวมุสลิม ซึ่งเป็นผลเสียต่อไทย คือ ไม่มีเรือสินค้าเข้ามาค้าขายในระยะนี้

              จากเหตุการณ์ที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้ถือเป็นแรงผลักดันสำคัญที่เกิดให้เกิดปฏิกิริยาในหมู่ชาวมุสลิม จนเป็นเหตุให้เกิดการก่อกบฏขึ้นใน วันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๒๒๙

 


             เรื่องเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ พงศาวดารเล่มที่ ๑๒ (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่๑๕-๑๘), องค์การค้าของคุรุสภา : พระนคร, ๒๕๐๗, หน้า ๓๒๙.

            ชาวฝรั่งเศสมักจะเรียกฟอลคอนว่า คอนสตันซ์ ในพงศาวดารไทยเรียกฟอลคอนว่า “ฝรั่งเศส นายกำปั่นหนึ่ง”

           จดหมายเหตุคณะพ่อค้าฝรั่งเศสในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์. จดหมายมองซิเออร์ เวเรต์ ประชุมพงศาวดารเล่มที่ ๒๕ (ประชุมพงศาวดารภาคที่๔๑ ต่อ ๔๒-๔๓). พิมพ์ครั้งที่ ๑, องค์การค้าของคุรุสภา : กรุงเทพฯ, ๒๕๒๒  

             พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับ สมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน . พระนคร : สำนักพิมพ์คลังวิทยา. หน้า ๔๑๓

             เคยเป็นแม่ทัพหน้ายกไปตีเมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ.๒๐๒๕ ซึ่งสามารถตีลำพูน ลำปาง เชียงใหม่ แล้วจับเจ้าเชียงใหม่พร้อมท้าวพระยาทั้งหลายมาถวายสมเด็จพระนารายณ์เป็นอันมา (ศิลปากร, กรม ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๖ เล่มที่ ๖ หน้า ๒๖๗) ดูใน พลับพลึง มูลศิลป์. ความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศส สมัยอยุธยา. พิมพ์ครั้งแรก,  บรรณกิจ: กรุงเทพฯ, พ.ศ.๒๕๒๓, หน้า ๑๖๒ 

            หมายถึง คอนสแตนติน ฟอลคอน

            พงศาวดารเรื่องฝรั่งเศสกับไทย ประชุมพงศาวดารเล่ม ๑๖ (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๒๗). พิมพ์ครั้งที่ ๑, องค์การค้าของคุรุสภา : กรุงเทพฯ, ๒๕๒๗, หน้า  ๙๐.

            ผูกการทางการค้า จับชาวต่างชาติใส่ขื่อขังคุก ลงโทษผู้กระทำผิดอย่างคนไทยสามัญ พงศาวดารเรื่องฝรั่งเศสกับไทย ประชุมพงศาวดารเล่ม ๑๖ (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๒๗). พิมพ์ครั้งที่ ๑, องค์การค้าของคุรุสภา : กรุงเทพฯ, ๒๕๒๗ หน้า  ๙๐.

             เนื่องจากความผันผวนทางการเมืองระหว่างประเทศ กับการล่าอาณานิคมของชาวตะวันตก

 

วาทิน ศานติ์ สันติ เรียบเรียง

บรรณานุกรม

จันทร์ฉาย ภัคอธิคม.ประวัติศาสตร์ไทยสมัยแรกเริ่มถึงสมัยธนบุรี. เล่ม๑. ๒. มหาวิทยาลัยรามคำแหง : กรุงเทพฯ.

­­ดิเรก กุลสิริสวัสดิ์. ความสัมพันธ์ของมุสลิมทางประวัติศาสตร์และวรรณคดีไทย ศิลปวัฒนธรรม ฉบับพิเศษ. พิมพ์ครั้งที่ ๔.  มติชน : กรุงเทพฯ. พ.ศ.๒๕๔๕.

พลับพลึง มูลศิลป์. ความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศส สมัยอยุธยา. พิมพ์ครั้งแรก,  บรรณกิจ : กรุงเทพฯ. พ.ศ.๒๕๒๓.

รวมบันทึกประวัติศาสตร์อยุธยาของฟาน ฟลีต(วัน วลิต). ในวาระ ๔๐๐ ปี สัมพันธไมตรีไทย –   เนเธอร์แลนด์, ฉบับปรับปรุง,  พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพ. พ.ศ.๒๕๔๘.

วิไลเลขา ถาวรธนสาร, และคณะ.  พื้นฐานวัฒนธรรมไทย (HI 121). พิมพ์ครั้งที่ ๑๒. มหาวิทยาลัยรามคำแหง : กรุงเทพฯ. พ.ศ.๒๕๔๒.

ศิลปากร, กรม.  จดหมายเหตุคณะพ่อค้าฝรั่งเศสในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์. จดหมาย มองซิเออร์ เวเรต์ ประชุมพงศาวดารเล่มที่ ๒๕ (ประชุมพงศาวดารภาคที่๔๑ ต่อ – ๔๒ - ๔๓). พิมพ์ครั้งที่ ๑,  องค์การค้าของคุรุสภา : พระนคร. ๒๕๒๒.  

__________, จดหมายเหตุของคณะพ่อค้าฝรั่งเศส. ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๔๔ (ภาคที่ ๕). พิมพ์ครั้งที่ ๑.  องค์การค้าของคุรุสภา : พระนคร. ๒๕๒๗.

___________, จดหมายเหตุฟอร์บัง  ประชุมพงศาวดาร เล่มที่ ๕๐ ประชุมพงศาวดารเล่มที่ ๘๐.    ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์, องค์การค้าของคุรุสภา : พระนคร. ๒๕๑๓.

__________,  ประชุมพงศาวดารเล่มที่ ๒๖ (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๔๔). ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์ : องค์การค้าคุรุสภา : พระนคร.

__________,  พงศาวดารเรื่องฝรั่งเศสกับไทย ประชุมพงศาวดารเล่ม ๑๖ (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่   ๒๗). พิมพ์ครั้งที่ ๑, : องค์การค้าของคุรุสภา : พระนคร. ๒๕๒๗.

__________,  พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับ สมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน. สำนักพิมพ์คลังวิทยา : พระนคร. ไม่ปรากฏสำนักพิมพ์.

__________,  เรื่องเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ พงศาวดารเล่มที่ ๑๒ (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่๑๕-๑๘). ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์ องค์การค้าของคุรุสภา : พระนคร. ๒๕๐๗.

อาทร จันทวิมล ดร. ประวัติศาสตร์ของแผ่นดินไทย. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์.

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C_%28%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%99_%E0%B8%9F%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%99%29. สืบค้นเมื่อ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓

หมายเลขบันทึก: 343873เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2010 22:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2013 07:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท