โครงการเชิงรุก สัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพการสร้างสุขแก่นิสิตทันตแพทย์


ภาวะปัจจุบัน ความเครียดได้ปรากฏพบในชีวิตประจำวันในบุคลากรทุกระดับ หรือทุกอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นคนทำงาน นักเรียนนิสิตนักศึกษาแม้แต่แม่บ้านทั่วๆไป  ในวงการการศึกษา 
คณะทันตแพทยศาสตร์ก็เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทและหน้าที่โดยตรงในการผลิตบุคคลากรสุขภาพที่มีคุณภาพครบถ้วนสมบูรณ์แก่สังคม ซึ่งหมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้นิสิตทันตแพทย์สำเร็จการศึกษา นอกจากจะเป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรมของวิชาชีพแล้ว ยังต้องเป็นผู้นำสังคมในการสร้างและสุขภาพที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ ส่วนหนึ่งนิสิตจะต้องมีการดำเนินงานร่วมกับชุมชน โดยใช้แนวคิดการมีส่วนร่วม (Participatory approach) ในการทำงานร่วมกันและการดำเนินงานอย่างครบวงจร (Project cycle: Community assessment, Planning, Implementation, Monitoring, Evaluation) กิจกรรมการเรียนรู้ที่จะหล่อหลอมนิสิตทันตแพทย์ให้เป็นต้นแบบของการสร้างและมีสุขภาพ จึงไม่ไช่เพียงการเรียนตามหลักวิชาหรือตามหลักสูตรที่กำหนดไว้เท่านั้น แต่สิ่งแวดล้อมทางสังคมและบุคคลากรทุกระดับในคณะทันตแพทยศาสตร์ ต่างมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างประสบการณ์การมีสุขภาพที่ดีแก่นิสิตทันตแพทย์ เพื่อเป็นทุนทางความสุขสำหรับนิสิตในการทำงานพัฒนาสุขภาพประชาชนในชุมชนต่างๆที่นิสิตทันตแพทย์ได้ไปทำงานหลังจากสำเร็จการศึกษา

การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพการสร้างสุข เป็นกิจกรรมในการสร้างความเข้าใจในกระบวนการสร้างสุขแก่นิสิตคณะทันตแพทยศาสตร์ และบุคคลากร
ที่สนใจทุกระดับ เพื่อให้สามารถขยายวิธีการและกระบวนการสร้างความสุขต่อไปถึงผู้เกี่ยวข้องเพื่อนร่วมงานโดยเฉพาะนิสิตทันตแพทย์ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของคณะทันตแพทยศาสตร์  โดยจิตปัญญาศึกษาจะเป็นเครื่องมืออันหนึ่งที่นำมาใช้เพื่อการรู้จักและพัฒนาตนเองรวมทั้งเข้าใจผู้อื่น เพื่อค้นหาและพัฒนาศักยภาพของแต่ละคน เพิ่มความเข้าใจคน เข้าใจชีวิต ลดอัตตา ลดความเป็นตัวตน และสามารถมองเห็นเพื่อนมนุษย์ด้วบความเข้าใจ  อันนำไปสู่การเป็น “แพทย์หัวใจมนุษย์” ได้ต่อไป

กิจกรรม

1. ติดต่อประสานงานกับวิทยากร สถานที่ และการจัดพาหนะเดินทาง 
    วันที่  1 - 31 มกราคม 2553

2. ประชาสัมพันธ์ และรับสมัครผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ

    วันที่  1-28 กุมภาพันธ์ 2553

3. ดำเนินงานโครงการ การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพการสร้างสุข

   (ดังรายละเอียดที่แนบมา)

   วันที่  17 - 19 มีนาคม 2553 เป็นเวลา 3 วัน

4. ประเมินและสรุปผลโครงการฯ
    วันที่ 15 เมษายน - 31 พฤษภาคม 2553 

หมายเลขบันทึก: 343758เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2010 14:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพการสร้างสุขแก่นิสิตทันตแพทย์ (มศว.) ฉบับแก้ไข

ภาวะปัจจุบัน ความเครียดได้ปรากฏพบในชีวิตประจำวันในบุคลากรทุกระดับ หรือทุกอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นคนทำงาน นักเรียนนิสิตนักศึกษาแม้แต่แม่บ้านทั่วๆไป ในวงการการศึกษา

คณะทันตแพทยศาสตร์ก็เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทและหน้าที่โดยตรงในการผลิตบุคคลากรสุขภาพที่มีคุณภาพครบถ้วนสมบูรณ์แก่สังคม ซึ่งหมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้นิสิตทันตแพทย์สำเร็จการศึกษา นอกจากจะเป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรมของวิชาชีพแล้ว ยังต้องเป็นผู้นำสังคมในการสร้างและสุขภาพที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ ส่วนหนึ่งนิสิตจะต้องมีการดำเนินงานร่วมกับชุมชน โดยใช้แนวคิดการมีส่วนร่วม (Participatory approach) ในการทำงานร่วมกันและการดำเนินงานอย่างครบวงจร (Project cycle: Community assessment, Planning, Implementation, Monitoring, Evaluation) กิจกรรมการเรียนรู้ที่จะหล่อหลอมนิสิตทันตแพทย์ให้เป็นต้นแบบของการสร้างและมีสุขภาพ จึงไม่ไช่เพียงการเรียนตามหลักวิชาหรือตามหลักสูตรที่กำหนดไว้เท่านั้น แต่สิ่งแวดล้อมทางสังคมและบุคคลากรทุกระดับในคณะทันตแพทยศาสตร์ ต่างมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างประสบการณ์การมีสุขภาพที่ดีแก่นิสิตทันตแพทย์ เพื่อเป็นทุนทางความสุขสำหรับนิสิตในการทำงานพัฒนาสุขภาพประชาชนในชุมชนต่างๆที่นิสิตทันตแพทย์ได้ไปทำงานหลังจากสำเร็จการศึกษา

การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพการสร้างสุข เป็นกิจกรรมในการสร้างความเข้าใจในกระบวนการสร้างสุขแก่นิสิตคณะทันตแพทยศาสตร์ และบุคคลากร

ที่สนใจทุกระดับ เพื่อให้สามารถขยายวิธีการและกระบวนการสร้างความสุขต่อไปถึงผู้เกี่ยวข้องเพื่อนร่วมงานโดยเฉพาะนิสิตทันตแพทย์ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของคณะทันตแพทยศาสตร์ โดยจิตปัญญาศึกษาจะเป็นเครื่องมืออันหนึ่งที่นำมาใช้เพื่อการรู้จักและพัฒนาตนเองรวมทั้งเข้าใจผู้อื่น เพื่อค้นหาและพัฒนาศักยภาพของแต่ละคน เพิ่มความเข้าใจคน เข้าใจชีวิต ลดอัตตา ลดความเป็นตัวตน และสามารถมองเห็นเพื่อนมนุษย์ด้วบความเข้าใจ อันนำไปสู่การเป็น “แพทย์หัวใจมนุษย์” ได้ต่อไป

กิจกรรม

1. ติดต่อประสานงานกับวิทยากร สถานที่ และการจัดพาหนะเดินทาง

วันที่ 1 - 31 มกราคม 2553

2. ประชาสัมพันธ์ และรับสมัครผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ

วันที่ 1-28 กุมภาพันธ์ 2553

3. ดำเนินงานโครงการ การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพการสร้างสุข

(ดังรายละเอียดที่แนบมา)

วันที่ 17 - 19 มีนาคม 2553 เป็นเวลา 3 วัน

4. ประเมินและสรุปผลโครงการฯ

วันที่ 19 มีนาคม - กันยายน 2553

4.1 การประเมินก่อนการเข้าอบรม (17 มีนาคม 2553 โดยใช้สวนปรุง stress test)

4.2 การประเมินหลังเสร็จสิ้นการอบรม ( 19 มีนาคม 2553โดยใช้สวนปรุง stress test)

4.3 การติดตามผลและประเมินหลังการอบรมครบ 3 เดือน (ประมาณเดือน มิถุนายน

53 โดยใช้บันทึกวิธีจัดการกับความเครียด และสวนปรุง stress test พร้อมพบปะ

วิทยากรอีกครั้ง)

4.4 การติดตามผลและการประเมินผลเมื่อครบ 5 เดือน (ประมาณเดือน สิงหาคม 53

โดยใช้บันทึกวิธีจัดการกับความเครียด และสวนปรุง stress test)

4.5 สรุปผลโครงการฯพร้อมส่งรายงาน (กันยายน 53)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท