149.สายลับ พ.27 บทที่ 3


 ผมพยายามที่จะหาภาพบุคคลทางประวัติศาสตร์มาประกอบเรื่องทางประวัติศาสตร์ที่นำเสนอ ผมอาจจะไม่ตอบเม้นของท่านไม่ว่ากันนะครับ ขอเชิญท่านติดตามประวัติศาสตร์ที่ไม่มีในตำรา ณ.บัดนี้

          รานงายฉบับสำคัญสุดยอดนี้   ข้าพเจ้าเขียนดวยความระมัดระวัง  อย่างยิ่งเพราะเป็นเอกสารที่จะฉุดลากบรรดาคนสำคัญของชาติ  ผู้มีความจงรักภักดีต่อชาติ   ศาสนา  พระมหากษัตริย์ อย่างซื่อสัตย์สุจริตให้ไปสู่ตะแลงแกงได้ง่ายที่สุด-----  บุคคล คณะนี้จะต้องถูกยิงเป้าทั้งหมดถ้าเอกสารชิ้นนี้ ตกไปอยู่ในมือของรัฐบาล  ซึ่งกำลังถืออำนาจเป็นกฎหมายอยู่แล้ว   ข้าพเจ้าหวั่นเกรงว่า รายงานฉบับนี้   อาจสูญหายเสียกลางทาง  คือถูกสันติบาลของหลวงอดุลเดชจรัส  บังเกิดความสงสัยและค้นจับได้จากกระเป๋า เอกสารของพนักงานกรมวังในระหว่างที่นำไปบน ขบวนรถไฟจาก กรุงเทพฯ  ถึงหัวหิน    กรณีเช่นนั้นอาจเกิดขึ้นขณะใดก็ได้  เพราะสายลับของรัฐบาลมีอยู่รอบด้าน เหมือนตาสับปะรด เขาอาจสะกดรอยดูความเคลื่อนไหวทุกฝีก้าว ของพวกข้าราชสำนักที่เขา สงสัยข้าพเจ้าจำต้องวางมาตราการป้องกันให้รัดกุม........ 

           ดังรายงานฉบับนี้ จึงใช้หมายเลขแทนชื่อบุคคลที่จำต้องเอ่ยอ้าง เช่นใช้เลข 1  แทนพระองค์บวรเดช   เลข 2 แทนพระยาเทพสงคราม ผู้จะรับตำแหน่งเป็นเสนาธิการ  ของกองทัพเลข 3 แทนพระยาศรีศรศักดิ์ ฯลฯ ถ้าบังเอิญรายงานนี้ต้องตกไปอยู่ในเงื้อมมือของฝ่ายรัฐบาลเขาก็จะได้ล่วงรู้แต่เพียง "แผนการ"  โดยไม่ทราบว่าบรรดาแม่ทัพนายกองฝ่ายปฏิปักษ์ต่อรัฐบาลคือผู้ใดบ้าง  รายงานฉบับนี้เปิดเผยเฉพาะแผน ยาตราทัพ  ส่วน  "ตัวการ"ทั้งหลายซึ้งล้วนแต่เป็นผู้ ไม่เคยคิด คต ทรยศต่อราชบัลลังก์   ก็จะได้อยู่รอดปลอดภัย    อย่างมากก็เพียงถูกสงสัย  ซึ่งสายลับของรัฐบาลจะต้องดมกลิ่นแกะรอยต่อไป.....อีกนานความหวั่นใจอีกข้อหนึ่ง    คือการส่งรายงานไปในกระเป๋าหนังสือ   ของกรมวังตามปกติที่เคยปฏิบัติกันมานั้นไม่มีมาตราการประกันความปลอดภัยเท่าที่ควร   พนักงานกรมวังเพียงแต่หิ้วกระเป๋าขี้นรถไฟไปโดยปราศจาก การคุ้มกันพิเศษใด ๆทั้งนี้ทั้งนั้น   ก็เพราะแต่ไหนแต่ไรมายังไม่เคยปรากฎว่ามีการฉกชิงเอกสารทางราชการของราชสำนัก    แต่ขณะที่สถานการณ์ตึงเครียด  ราชบัลลังก์กำลังสั่นสะเทือนด้วยแรงงัดแงะ  ของพวกคอมมิวนิสต์  พฤติการณ์ที่ไม่เคยปรากฎในเมืองไทยก็ได้ปรากฎแล้วมากเรื่อง การใช้อำนาจยึดกระเป๋าเอกสารสำนักพระราชวังอาจเกิดขึ้นเมื่อไรก็ได้.....ถ้าเป็นความประสงค์ของฝ่ายผู้บริหารประเทศธรรมดาผู้มีอำนาจย่อมใช้อำนาจได้ทุกขณะ   โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเขามีอำนาจ   เผด็จการ...

           เพื่อความมั่นใจในข้อนี้     ข้าพเจ้าจึงกำหนดให้ผู้ช่วย   " พ.

27 "   เป็นผู้นำรายงานฉบับนี้เดินทางไปหัวหินในขบวนรถไฟเดียวกัน  กับพนักงานกรมวัง และเมื่อถึงวังไกลกังวลก็ให้นำขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวายด้วยตนเองเพื่อให้เป็นที่แน่ใจว่า   รายงานเรื่องสำคัญนี้   ได้ถึงพระราชหัตถ์แล้วอย่างแน่นอน......เอกสารชิ้นเล็ก แต่มีความสำคัญชั้นสุดยอดอีกแผ่นหนึ่ง คือบัญชีรายชื่อนายทหารชั้นหัวหน้าซี่งเรียงลำดับเลขเพื่อแสดงว่า เลขใดเป็นใครดังได้กล่าวแล้วนั้น  ได้ใช้วิธีพิมพ์บรรทัดถี่  ลงในแผ่นกระดาษที่ตัดเป็นริ้วหางว่าว พับจีบ ใส่ซองขนาดจิ๋ว   ซึ่งต้องทำขึ้นเป็นพิเศษ  ซองเล็กจิ๋วนี้จะต้องถูกเก็บไว้ในที่ที่  หยิบง่าย เพื่อทำลายได้ทันที ที่จะเกิดมีการ บังคับตรวจค้นกันขึ้น คือจะต้องแอบฉีกทิ้ง หรือเคี้ยวกลืนให้หมดไป เอกสารชิ้นนี้  ผู้ช่วยพ.27  จะต้องทูลเกล้าฯ ถวายพร้อมกับรายงาน  ซึ่งบรรจุในซองราชการตามปกตินั้น....

          ข้อสำคัญอีกประการหนึ่ง  ของรายงาน  คือ ข้าพเจ้าเกรงว่าข่าวเรื่องการยาตราทัพของ  พระองค์เจ้าบวรเดช   อาจจะรั่วไหลไปจากหนังสือรายงาน  ภายหลังที่องค์พระประมุขแห่งชาติได้ทอดพระเนตรแล้ว   เพราะรายงานข่าวของ "พ.27" โดยปกติเป็นเสมือน"หนังสือ  พิมพ์พิเศษ" ฉบับหนึ่ง   ซึ่งเจ้านายทั้งฝ่ายหน้าฝ่ายใน ได้ทรงทราบกันอยู่ภายในพระราชฐาน   แต่ข่าวที่มีความสำคัญมากๆ  ก็อาจได้รับการวิพากวิจารณ์กันมาก    จนอาจจะงอกหางกางปีกบินหนี ออกจากกำแพงพระราชวังไปบ้างก็ได้  เพื่อป้องกันการรั่วไหลในด้านนี้ ข้าพเจ้าได้เขียนหมายเหตุท้ายรายงาน "โดยความเห็นชอบของท่านผู้สำเร็จราชการฯ  ว่ารายงานเรื่องนี้มีความสำคัญ   ขั้นที่บรรดาผู้ก่อการจะถูกประหารชีวิตได้จึงขอพระราชทานมิให้เจ้านายฝ่ายได้ทรงทราบ  และขอได้ทรงทำลายเสียด้วยการเผาไฟ" 

          ก่อนที่ท่านผู้สนใจติดตามเรื่องนี้   จะได้ทราบว่ารายงานสำคัญสุดยอดนี้  "ผู้ช่วย พ.27"  สามารถนำไปถึงวังไกลกังวลและได้นำ  ขึ้นทูลเกล้าฯ  ถวายต่อพระหัตถ์แห่งองค์พระประมุขของชาติตามคำสั่งของผู้สำเร็จราชการพระราชวังหรือไม่.  ข้าพเจ้าขอให้ท่าผู้อ่านหยุดคิดด้วยจิตใจเที่ยงธรรมว่า ถ้ารายงานฉบับนี้ถึงพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็หมายความว่า  พระองค์ทรงทราบความเคลื่อนไหวของทหารกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเตรียมจะยกพวกมาขับไล่ทหารอีกกลุ่มหนึ่ง ที่เคยกบฎต่อพระมหากษัตริย์  และขาดความชำนาญการปกครองบ้านเมือง  จนถูกพลเรือนสมองแหลมเพียงเพียงไม่กี่คนพยายามชักจูงออกนอกลู่นอกทางของระบอบประชาธิปไตยไปสู่คอมมิวนิสต์  อันเป็นลัทธิเผด็จการเต็มคราบ....

          การที่ทหารต่อทหารแย่งอำนาจกันเอง   ด้วยการรัฐประหารก็ได้ปรากฎเป็นตัวอย่างอยู่แล้ว   เมื่อรัฐบาลพระยามโนฯ ถูกล้ม   พระมหากษัตริย์มิได้ทรงมีพระราชอำนาจหรือโอกาสจะทรงระงับการช่วงชิงอำนาจกันนั้นได้เลย..... เคยได้ยินผู้วิพากษ์วิจารณ์ว่า"ถ้าพระปกเกล้าฯทรงทราบล่วงหน้าว่าพระองค์เจ้าบวรเดช  กำลังเตรียมจะล้มรัฐบาล   ก็น่าจะทรงเตือนให้รัฐบาลรู้ตัว  มิฉะนั้นก็เท่ากับทรงสมคบกับพระองค์บวรเดช"

          ข้อวิจารณ์นี้เป็นการสรุปความง่ายเกินไปเพราะการ   "ทราบ"  กับการ "สมคบ"นั้นเป็นคนละประเด็น..ทราบ แปลว่า  รู้    สมคบ  แปลว่าร่วมคบคิดกัน   ข้าพเจ้ามึความคิดเห็นอีกด้านหนึ่งว่า    ถ้าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ  ทรงทราบและแจ้งต่อรัฐบาล   ก็จะเป็นข้อผิดพลาดอย่างหนักซึ้งจะต้องทรงเศร้าสลดพระราชหฤทัยไปตลอดกาล   เพราะบรรดานายทหารผู้เกรียงไกรและมีจิตใจซื่อตรงจงรักต่อพระองค์จะต้องเดินแถวเข้าสู่ตะแลงแกง ยืนเป็นเป้าให้เพชฌฆาตของรัฐบาลป้อนกระสุนปีนกลเล่นอย่างสนุกมือ

         มีข้อวิจารณ์ต่อไปว่า "น่าจะทรงห้ามพระองค์บวรฯมิให้ก่อ

การ เช่นนั้น" ประเด็นนี้เป็นพระบรมราชวินิจฉัยการควรมิควรนั้นย่อมมีเหตุผลเฉพาะกรณี    พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ   ทรงมีพระปรีชาสุขุมคัมภีรภาพ  ดังที่ได้ทรงแสดงให้ประจักษ์ทั่วกัน...เมื่อวันถูกยึดอำนาจการปกครอง   และเมิ่อทรงวิจารณ์โครงการเศรษฐกิจสมุดปกเหลืองเป็นต้น  การห้ามพระองค์เจ้าบวรเดชนั้น   โดยฐานะผู้ทรงศักดิ์สูงสุดแห่งพระราชวงค์จักรีย่อมทรงกระทำได้แน่   แต่ผู้ถูกห้ามจะเชื่อฟังหรือไม่นั้น  พระองค์ทรงทราบดีกว่าใครๆดังที่ได้เคย มีพระราชดำรัสเตือน คณะพระยาพหลฯไว้ว่า ให้ระวังพระองค์บวรเดชไว้.." อย่าไปทำให้ช้ำใจ  เขาเป็นผู้ใหญ่แล้ว  ฉันเตือนเขาไม่ได้ "พระราชดำรัสนี้เป็นการแสดงชัดอยู่แล้วว่า  พระเจ้าอยู่หัวทรงรู้จักพระนิสัยของพระองค์เจ้าบวรเดชดีทีเดียว....

          รถยนต์หลวง จากสถานีรถไฟหัวหิน รับพนังานกรมวัง  และ"ผู้ช่วย  พ.27 "  มาถึงวังไกลกังวล  เมื่อบ่ายโมงเศษของวันที่  24  กันยายน 2476และ "ผู้ช่วย พ.27"  ได้เข้าพบ พระยาอิศราธิราชเสวี จางวางกรมมหาดเล็กโดยทันทีขอให้นำขึ้นเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทตามคำสั่งของเจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒผู้สำเร็จราชการสำนักพระราชวัง"เธอนะรึ  จะเข้าเฝ้า ฯ"  จางวางมหาดเล็ก  มองเสมียนหน้าอ่อน  ที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน  เพราะเขาพึ่งเข้ารับราชการในวันเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปีกลาย  และพึ่งเคยมาราชการที่หัวหินเป็นครั้งแรก"ท่านผู้สำเร็จราชการฯ  มีบัญชาให้ผมเข้าเฝ้าถวายรายงานพิเศษ"  "ผู้ช่วย พ.27"ตอบ พร้อมกับนำซองรายงานออกแสดง"ก็นี่มันรายงานที่ฉันเป็นคนนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ทุกๆวัน"  พระยาอิศราฯ กล่าวเมื่อเห็นตราประจำครั่งสีทอง ที่ซอง และยื่นมือจะรับ  แต่ข้าราชการ หนุ่มไม่ยอมส่งให้"แต่ฉบับนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก   ท่านผู้สำเร็จฯ  จึงให้ผมนำมาทูลเกล้าฯถวายด้วยตนเอง" "แต่เธอจะเข้าเฝ้าฯ ไม่ได้  เพราะเธอไม่มีตำแหน่งเฝ้าฯ"จางวางมหาดเล็กอ้างระเบียบของราชสำนัก  " สำคัญอะไรนักนะ ฉันจึงเป็นคนถวายไม่ได้ "

         " เป็นคำสั่งของท่านผู้สำเร็จราชการฯ  ให้ผมนำขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวายต่อพระหัตถ์"เสมียนหนุ่มยืนยัน" ทำไมต้องเป็นยังงั้น " เจ้าคุณจางวางซักด้วยความไม่ชอบใจ" เพราะจะให้เป็นที่แน่ใจว่า หนังสือถึงพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยเรียบร้อย" "แต่เธอจะเข้าเฝ้า ฯ ไม่ได้เป็นอันขาดเพราะผิดระเบียบ"จางวางมหาดเล็กยืนกรานด้วยนำเสียงขุ่น"แต่ผมก็ได้รับบัญชามาว่า ต้องให้แน่ใจว่าทรงได้รับรายงานนี้"ยกซองรายงานขึ้นชูประกอบคำพูด"ถ้างั้นก็ เอายังงี้ดีไหม   ตามฉันมาซิ "เจ้าคุณจางวางพยายามพูดอย่างสงบอารมณ์    เดินนำ ผู้ช่วย " พ27 " ขึ้นสู่ที่ประทับบนพระตำหนักเปี่ยมสุข   ไปถึงพระทวารซึ่งมีพระวิสูตรเป็นช่องน้อยพลางกระซิบบอกให้ ผู้ช่วย" พ27 " มองเข้าไปในห้องที่ประทับ

          ณ.พระเก้าอี้ที่ประทับภายในห้องนั้น   พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว   ประทับรับสั่งอยู่กับ เจ้าชายองค์หนึ่ง  ซึ่งพับเพียบอยู่ข้างพระเก้าอี้ " บนเก้าอี้นั่นใคร   รู้จักไหม ? "  เจ้าคุณจางวางถามข้อที่ไม่น่าจะถาม " พระเจ้าอยู่หัว   ใครๆ ก็รู้จักนี่ครับ "  เสมียนหนุ่มชักฉุน " ใครที่นั่งข้างพระเก้าอี้  นั่น ? "  เสียงกระซิบซัก" ท่านชิ้น "ผู้ช่วย พ.27  ออกพระนาม นายพันโทหม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท   สวัสดิวัตน์   ผู้ซึ่งต่อมาในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองได้เป็นหัวหน้าคณะ เสรีไทย  ในประเทศอังกฤษ  และทรงนำทหารเสรีไทย (Force 136)  จำนวน36 คน  มาปฏิบัติงานกู้ชาติในเมืองไทยและที่กรุงเดลฮี

            " งั้นก็ดีแล้ว ส่งซองรายงานนั่นมา แล้วคอยดูให้แน่ใจว่า พระเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับหรือเปล่า" " ผู้ช่วย พ.27 "ตัดสินใจมอบซองสำคัญให้ จางวางมหาดเล็กเพราะไม่มีทางขัดขืนได้แล้ว   คำสั่งของผู้สำเร็จราชการฯให้เขานำทูลเกล้าฯ ถวายด้วยตนเองนั้นมีเจตนาเพียงให้เป็นที่แน่ใจว่า รายงานเรื่องพิเศษได้ถึงพระหัตถ์บัดนี้จางวางมหาดเล็กจะนำเข้าไปถวายให้เห็นประจักษ์ตาก็นับได้ว่าไม่ผิดความประสงค์ของ ผู้สำเร็จราชการฯ "มีอีกซองหนึ่งครับ"เขาหยิบซองจิ๋วออกจากกระเป๋าเสื้อชั้นบน "ต้องถวายพร้อมกัน" "ซองอะไรกันนี่ ? "เสียงกระซิบถามอย่างสนเท่ห์มันคงจะเป็นซองราชการชนิดแรกในชีวิตของ จางวางมหาดเล็กที่เคยนำทูลเกล้าฯถวายมันกระจิ๋วหริว อะไรอย่างนั้น   " สำคัญกว่าซองใหญ่อีกนะครับ " ผู้ช่วย พ.27อธิบาย  จางวางมหาดเล็กรับซองจิ๋วใส่พานทองพร้อมด้วยซองใหญ่  แล้วเข้าพระทวารไปถวายคำนับ  และคลานเข่าเข้าไป ทูลเกล้าฯ ถวายซองรายงานทั้ง2 ขนาด ข้าราชการหนุ่มน้อยแอบพระทวาร  มองลอดพระวิสูตรเข้าไป เห็นการทูลเกล้าฯ ถวายหนังสือสำคัญนั้นโดยตลอด...เขาได้เห็น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  ทรงมีรับสั่งกับจางวางมหาดเล็ก  คงจะตรัสถามเรื่องซองขนาดจิ๋ว  ซึ่งเจ้าคุณจางวางคงถวาย คำอธิบาย"แน่ใจหรือยังว่า  พระเจ้าอยู่ทรงรับแล้ว "เจ้าคุณจางวาง ถามแบบผู้พิชิต - เมื่อกลับมาหาข้าราชการชั้นผู้น้อย " แน่แล้วครับ "

          " เรื่องสำคัญอะไรนักนะ "จางวางมหาดเล็กกล่าวเหมือนปรารภกับตัวเองไม่มีคำตอบจาก ผู้ช่วย พ.27

         สองวันต่อมา   จางวางกรมมหาดเล็กหลวง  ได้รายงานถึงผู้สำเร็จราชการพระราชวังว่า  เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   ทรงทอดพระเนตรรายงานพิเศษทั้ง 2 ซอง โดยตลอดแล้ว   จึงพระราชทานหม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์ฯ  อ่านจบแล้ว  จึงทูลเกล้าถวายคืน  พระเจ้าอยู่หัวฯก็ทรงจุดไฟเผาเอกสารนั้นจนมอดไหม้ไปใน พระสุพรรณราช (กระโถน) จางวางมหาดเล็กไม่รู้เรื่องในรายงาน ของ พ.27 จึงคิดเห็น เป็นของขบขัน ว่าผู้สำเร็จราชการพระราชวัง ทำให้เป็นเรื่องสลักสำคัญเสียหนักหนาถึงกับต้องส่งคนถือไปจากกรุงเทพ ฯ   และให้ทูลเกล้าฯถวายด้วยตนเอง  แท้ที่จริงก็เป็นเพียง เรื่องเก่าๆ ที่ทรงทราบอยู่แล้วเท่านั้น .....

          อย่างไร ก็ตาม  การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯทรงเผารายงานเช่นนั้น เป็นเรื่องแปลก    เพราะไม่เคยทรงกระทำและก็มิได้แย้มพระโอษฐ์ ถึงเรื่องรายงานฉบับนั้นอีกเลย   ผิดกับทุกๆ ฉบับที่ทรงมีการวิพากษ์วิจารณ์เรื่อง ราวต่างๆ อยู่เสมอ จึงเป็นวิสัยธรรมดาที่มีเจ้านายผู้ใกล้ชิดพระยุคลบาท  บางพระองค์ต้องพระประสงค์จะทรงทราบเรื่อง  " ลึกลับ "  ในรายงานที่เป็นเถ้าถ่านไปแล้วนั้นบ้าง  เลยเกิดมีเรื่องที่ก่อความไม่สบายใจให้แก่  "พ.27"  เป็นอย่างยิ่งในระยะนั้น    คือเกรงความลับจะรั่วไหลไปเข้าหูพวกรัฐบาลซึ่งพวกคิดปฏิวัติ อาจถูกจับไปยิงเป้าหมดเลย

         ประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณาบัดนี้คือ พระราชดำรัส ว่า" เรื่องเก่า "นั้นแสดงว่า เคยทรงทราบมาก่อน แล้ว  แต่จะทรงทราบประการใดนั้น พอจะประมวลข่าวได้ว่า  แผนการใช้กำลังทหารหัวเมืองระดมกันเข้ามาปราบกบฏในเมืองหลวงนั้นเป็น แผนปราบจลาจล ซึ่ง นายพลโท พระองค์เจ้าอลงกฏ  เสนาบดีกลาโหม, นายพลตรี พระยาอนุภาพไตรภพ  ผู้บัญชาการกองพลที่ 2  นครราชสีมา,  นายพลตรี พระยาพิชัยสงคราม แม่ทัพที่ 1 ราชบุรี-เพชรบุรี(มีนาย พลโท พระยาวิชิตวงศวุฒิไกร สมุหราชองครักษ์รวมอยู่ด้วย) ได้เคยกราบบังคมทูล  ที่วังไกลกังวล เพื่อจะใช้ปราบการปฏิว้ติในกรุงเทพ ฯ  เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 แผนการนี้จะให้ นายพลตรี หม่อมเจ้าทองทีฆายุ  ทองใหญ่  ผู้บัญชาการกองพลที่ 3 นำทัพจากปราจิณบุรี, พระยาอนุภาพไตรภพ  นำกองพลที่ 2 จากนครราชสีมาพระยาพิชัยสงครามนำทัพราชบุรี-เพชรบุรี   ส่วนทหารจากพิษณุโลก,นครสวรรค์,ลพบุรี,  และอยุธยา   ก็จะบุกเข้าปราบกบฏในกรุงเทพ ฯ พร้อมกัน

          แผนการดังกล่าวนี้  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ ไม่ทรงเห็นชอบเพราะไม่มีพระราชประสงค์จะให้เกิดการ รบราฆ่าฟันกัน  และการปฏิวัติเพื่อนำระบอบประชาธิปไตยมาใช้ปกครองประเทศสยาม    ก็เป็นพระราชปรารถนาอยู่แล้ว แผนการกรีธาทัพทหารหัวเมืองเข้าปราบพวกกบฏในเมืองหลวงจึงเป็น " เรื่องเก่า "ที่พระองค์ทรงทราบมาแล้ว มิใช่แผนการใหม่อะไรเลย...

         อีกแง่หนึ่งที่ข้าพเจ้าบังเกิดความไม่แน่ใจ คือ พระราชดำรัส  แก่ผู้สำเร็จราชการพระราชวังที่ว่า"เด็กของเจ้าคุณคงไม่รู้เรื่องลึกๆซึ้งๆ "  นั้น อาจไม่ใช่เรื่องทหารหัวเมือง  แต่เป็นเรื่องที่กำลังมีการคิดล้มรัฐบาลพระยาพหลฯ อยู่ภายในกรุงเทพ ฯตามที่ข้าพเจ้าได้สืบรู้ และ ติดตามความเคลื่อนไหวอยู่แล้วอย่างใกล้ชิด แต่ยังมิได้ทำรายงานกราบบังคมทูล  เพราะกำลังแกะรอยให้เห็นถนัดชัดแจ้งเสียก่อนเท่านั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  อาจจะทรงหมายถึงเรื่องนี้  ว่าข้าพเจ้าไม่รู้ลึกซึ้ง ?

          อย่างไรก็ดีเรื่องทางโคราช  ก็ได้ปรากฎในรายงานกราบบังคมทูลแล้วหากมีพระราชประสงค์จะทรงห้ามปราม พระองค์เจ้าบวรเดชก็อาจจะไม่มีโอกาส  เพราะพระองค์เจ้าบวรเดชทรงซ่อนเร้นพระองค์อยู่อย่างมิดชิด  ไม่ประสงค์จะได้รับพระบรมราชโองการห้ามในเมื่อได้ตั้งพระทัยแน่วแน่แล้วว่า จะต้องโค่นรัฐบาลที่ประพฤติผิดหลายประการ   รวมทั้งการที่ยอมให้คอมมิวนิสต์ครอบงำอยู่ด้วยนั้นให้จงได้  แผนการล้มรัฐบาลพระยาพหลฯครั้งนี้   กำหนดไว้เพียงยกกำลังทัพใหญ่เข้าปิดล้อม   เพื่อขู่บังคับให้รัฐบาลยอมจำนน  และปฏิบัติตามข้อเรียก ร้อง โดยไม่ต้องมีการรบราฆ่าฟัน   ให้เสียเลือดเนิ้อคนไทยด้วยกันตามแผนการนี้  กองทหารทางภาคเหนือจะยกมาจากพิษณุโลกนครสวรรค์,อยุธยา, ภาคอิสานจะมาจากอุบลราชธานี,อุดรธานี นครราชสีมา. ภาคตะวันออก  จะมาจากปราจิณบุรี  ภาคใต้ มาจากเพชรบุรี,ราชบุรี  เปรียบเทียบหอกเท่าใบพายแทงเข้าหูซ้ายทะลุหูขวา   ทิ่มจากด้านหน้าทะลุด้านหลัง

        กองทัพหลวงของพระองค์บวรจะทะลวงเข้าถึงสถานีจิตรลดาตั้งใจมากินเลี้ยงกันในพระนคร  เครื่องสนามของทหารจึงไม่มีหม้อหุงข้าวติดตามมาด้วยเลย..(เมื่อมาเจอะสถานการณ์ที่โอละพ่อบรรดาทหารในกองทัพพระองค์เจ้าบวรเดช จึงต้องอดข้าวจนหน้าเหลืองอยู่แค่ทุ่งบางเขน ในวันยาตราทัพมาปราบพวกกบฎในกรุงเทพฯ)เจตนารมณ์ของพระองค์เจ้าบวรเดช  ในแผนการที่ไม่ให้มีการเสียเลือดเนื้อคนไทยด้วยกันนั้น "พ.27" ได้ขีดเส้นอัญประกาศไว้ในรายงานฉบับพิเศษด้วย เพราะเป็นข้อสำคัญอย่างยิ่งในแผนการ  และเป็นข้อที่ไม่ขัดต่อพระราชอัธยาศัยอันเปี่ยมล้นด้วยพระเมตตาปรานีต่อพสกนิกรไทยทุกคน  ร.ท.  ขุนโรจนวิชัย ผู้ใกล้ชิดกับพระองค์เจ้าบวรเดช ได้เน้นหนักในเจตนารมณ์ของท่านแม่ทัพเมื่อเปิดเผยแผนการละเอียดให้ "พ.27"  ทราบก่อนกำหนดยาตราทัพเพียง 18 วันอันเป็นระยะเวลาที่ผู้การแต่ละคนกำลังรอคอย อยู่ด้วยชัยชนะ...?

        นายทหารชั้นผู้ใหญ่ของสมัยราชาธิปไตย  ที่ถูกปลดจากราชการโดยมี มีความผิดฐานมียศสูงถึงขั้น "นายพล"หรือพวกที่มียศต่ำกว่า แต่มีความฝักใฝ่ใกล้ชิดกับพวกเจ้าก็ถือเป็นความผิดฐานเป็น รอยัลลิสต์ และถูกปลดหรือโยกย้ายรวมทั้งพวกนายทหารชั้นผู้น้อยที่ถูกแบ่งชั้นวรรณะด้วยการเป็นพวกก่อการ 24 มิถุนายน 2475 และพวกที่ไม่ได้ก่อ..ดังได้กล่าวไว้แล้วในตอนก่อนๆ--ล้วนสนับสนุนการล้มรัฐบาลอยู่ทั่วกัน....หน่วยงาน " พ.27 " ได้สืบสาวและก้าวเข้าสู่กลุ่มผู้กำลังเตรียมการปฏิวัติอยู่ในพระนครคณะหนึ่ง ได้ติดตามความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิด ถ้าไม่เข้าคลุกคลี ก็ไม่มีหวังจะขุดค้น "ความใน"ได้เลย ช่างภาพและนักข่าวสงครามต้องฝ่าอันตรายเข้าไปอยู่ในสมรภูมิพร้อมกับเหล่านักรบ  ก็ด้วยความประสงค์ที่จะได้ข่าวและข่าวอันถูกต้องชัดเจน...

           ในที่นี้จะไม่มีการเอ่ยชื่อนายทหารที่กำลังก่อการภานใน

กรุงเทพฯว่ามีใครบ้าง จะกล่าวแต่เพียงว่า มีชั้นนายพันหลายคน

ที่ได้ถูกศาลทหารลงโทษในภายหลังต่อมา  ซึ่งมีทั้งโทษ "เตะโด่ง"

โทษปลดหรือย้าย,โทษจำคุกตลอดจนถึงโทษประหารชีวิต (เมื่อปี

2481)แต่ก็มีบางคน "ดวงดี" ได้อยู่รอดปลอดภัย  ได้มียศสูงเด่น

มีตำแหน่งเป็นรัฐมนตรี  ส่วนนายทหารชั้นรองๆ จนถึงนายร้อยตรี

ที่ "ดวงไม่ดี" และ "ดวงดับ" ถูกติดคุก  ถูกยิงเป้าไปก็หลายคน

ที่"ดวงเด่น" เผ่นขึ้นถึงนายพล ก็มีเหมือนกัน พวกดวงดีเหล่านี้

ไม่มีคนไหนปริปากว่าเคยได้ร่วมคิดล้มรัฐบาลไม่สำเร็จมาแล้ว

ก็ใครเล่าอยากรับว่าตนเคยเป็นกบฎ...

           เพียงลูกศิษย์ลูกหาและผู้รักใคร่นับถือ "ทหารเสือ" ที่แตกคอกับ พระยาพหลฯเสียแล้ว  ก็มีมากหน้าหลายตา ซึ่งพร้อมจะเข้าร่วมกับทหารหัวเมืองที่จะยกเข้ามาทั้ง  4  ทิศสรุปความว่า  งานโค่นรัฐบาลพระยาพหลฯครั้งนี้ ทหารของชาติ  ทั้งนอกและในพระนคร  ต่างกำลังคาดเชือกเตรียมจะชกรัฐบาลเผด็จการให้นับสิบไปเลย..แต่ฝ่ายที่อยู่ในพระนครมีแต้มดีกว่า  เพราะอยู่ในเรือลำเดียวกันและแสดงการ  "เหยียบเรือสองแคม" ได้สนิทแนบเนียนจึงมีหลายคนที่สามารถเอาตัวรอดได้ทัน....

       ขณะที่กองทัพฝ่ายหัวเมืองเตรียมพร้อมที่  จะยกกำลังมาปราบรัฐบาลในกรุงเทพฯนั้น ฝ่ายสนับสนับที่อยู่ในพระนครก็มีการประชุมกันอย่างเงียบเชียบ  บ้านหนึ่งในคลองฝั่งธนฯถูกใช้เป็นกองเสนาธิการวางแผนการอันมีวัตถุประสงค์ตรงกัน  คือล้มรัฐบาลพระยาพหลฯซึ่งอยู่ในวิสัยที่จะถูกเล่ห์กะเท่ของนักการเมือง--แปรรูป ประชาธิปไตยให้กลายเป็นลัทธที่ชาวไทยไม่พึงปรารถนา  ในไม่ช้า...

           บทบาทของ "คณะชาติ" ในกรุงเทพฯ ก็มีบางคนเตรียมลงมือทำงานปฏิวัติด้วยการช่วยในด้านโฆษณาชวนเชื่อภายในพระนคร และบ้างก็เพียงแต่สนับสนุนด้วยจิตใจ  นอกจากนี้ก็มีพวกนักฉวยโอกาสที่เหยียบเรือสองแคมด้วยเหมือกัน  พวกนี้ได้แก่นายตำรวจบางคน  ที่มาเข้าร่วมก่อการ  ถ้าชนะเขาก็เป็นฝ่ายชนะ  ถ้าแพ้เขาก็เข้ากับพวกชนะ  คือแสดงตนเป็นตำรวจของรัฐบาล พรางตัวเข้ามาสืบสวน  พอฝ่ายรัฐบาลชนะ  เขาก็จับเพื่อๆที่ก่อการด้วยกันส่งเข้ากรงขังไปเลย..เสร็จศึกบวรเดชแล้ว จึงมีคติเตือนใจกันไว้ว่า "ใครที่คิดปฏิวัติ จงอย่าได้คบกับตำรวจตำรวจเป็นอันขาด"

       พูดถึง "คณะชาติ" ข้าพเจ้าได้เอ่ยถึงเพียงประโยคเดียวใน "พ 27"ภาคต้น หน้า 248 บรรทัดที่ 9 ซึ่งกล่าวไว้ว่า "รัฐบาล ไม่ยอมให้คณะราษฎร์ ตั้งพรรคการเมืองชื่อ "คณะชาติ"  ความข้อนี้มีเงื่อนงำยอกย้อนกันอยู่ชวนให้ผู้อ่านบางท่านข้องใจ  จนเขียนจดหมายถามมา  เพราะเป็นที่ทราบกันว่า "คณะชาติ" นั้น ขุนนางเก่าหลายคนเป็นผู้ก่อตั้งขึ้น  โดยมีพระยาโทณวณิกมนตรี เป็นหัวหน้าพรรค  บุคคลสำคัญที่เป็นกรรมการก็มี  นายพลตรีพระยาเสนาสงคราม, นายนาวาเอก พระยาศราภัยพิพัฒ, หลวงมหาสิทธิโวหาร(สอ  เศรษฐบุตร) นายหลุย  คีรีรวัต  บรรณณาหนังสือพิมพ์กรุงเทพ ฯเดลิเมล์, และนายธรรมนูญ  เทียนเงิน  เป็นต้น  ข้าพเจ้ามิได้เล่าเรื่องเบื้องหลังของการก่อตั้ง " คณะชาติ "  เพราะเห็นว่าได้มีเรื่อง  " พรรคการ

เมือง "  ยุคนั้นไว้แล้วหลายแห่งผู้สนใจขออ่านได้จากหอสมุดแห่งชาติ

             บังเอิญเมื่อวันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม 2513 ข้าพเจ้าได้ไปหาเจ้าคุณโทณวณิกมนตรี ที่บ้านของท่าน โดยนำบัตรกำหนดงานบำเพ็ญกุศล50 วัน ศพหลวงมหาสิทธิโวหารไปให้  ท่านเจ้าคุณเป็นนักเรียนราชวิทยาลัยรุ่นพี่ ที่ข้าพเจ้าเคารพอย่างสนิท ข้าพเจ้าจึงขอทบทวนความจำเรื่อง " คณะชาติ " ท่านก็เล่าให้ฟัง...

            ชั้นแรก  มีขุนนางผู้มีชื่อเสียงในการเขียนหนังสือและแต่งเพลงแต่ยังยังไม่ปรากฎว่าเข้าเล่นการเมือง--คนหนึ่งเป็น"หน้าม้า" มาชักชวนท่านให้เปิดการสอนวิชาการเมืองระบอบประชาธิปไตย  โดยจะอาศัยสถานลีลาศของสวนสราญรมย์เป็นที่เรียน  ท่านเจ้าคุณตกลงเห็นชอบเพราะอยากให้คนไทยได้มีความรู้เรื่องระบอบการปกครองที่เพิ่งนำมาใช้ ในเมืองไทย และตัวท่านเองก็เคยเรียนรู้วิชานี้มาจากเมืองนอก เมื่อได้มี คนอาสาเป็น " เจ้ามือ "  ขึ้นดังนี้ แล้ว " หน้าม้า " ผู้มาชวนจึงเปิดเผยความประสงค์ว่าต้องการ จะตั้งพรรคการเมือง ชื่อ คณะชาติ เป็นคู่แข่งกับ " คณะราษฎร์ " เพื่อจะได้มีพรรค " ฝ่ายค้าน " ให้เป็นระบอบประชาธิปไตยอันสมบูรณ์แบบอังกฤษ  สมาชิกของพรรค " คณะชาติ " จะรวบรวมเอาจากพวกขุนนางเก่าสมัย ราชาธิปไตย  ซึ่งเมื่อมีราษฎร ที่มิได้เป็นพวก คณะราษฎร์ มาสบทบเข้าด้วยแล้ว  ก็จะเป็นพรรคการเมืองที่ยิ่งใหญ่ที่สุด  เพราะชื่อ คณะชาติ นั้นครอบคลุมทุกกลุ่มชนในชาติอยู่แล้ว...

          เจ้าคุณโทณวณิกมนตรี ผู้เป็นคน "ตงฉิน"  และมีจิตใจดี ก็ตก

ลงและยอมรับตำแหน่ง " นายก กรรมการ คณชาติ " โดย "หน้าม้า " ขอทำหน้าที่เลขาธิการพรรค ส่วน เจ้าคุณเสนาสงคราม,เจ้าคุณศราภัย,หลวงมหาสิทธิโวหาร,นายหลุย คีรีวัต,และ นายธรรมนูญ เทียนเงิน..รักที่จะเป็นฝ่ายค้านรัฐบาล  ก็เข้าร่วมด้วย และก็มีจำนวนผู้ยินดีเข้าร่วมคณะอีกมาก    แต่ยังไม่มีการยื่นหนังสือขอ อนุญาตต่อรัฐบาลเพื่อตั้งพรรคการเมืองดังกล่าว  เพราะยังไม่แน่ใจว่ารัฐบาล จะอนุญาตหรือไม่...

              จะอย่างไรก็ตาม  อยู่ๆ นาย หน้าม้า ก็ยื่นหนังสือ ต่อรัฐบาลขอตั้งพรรคการเมืองชื่อ "คณะชาติ " เสียเอง นัยว่าได้รับการสนับสนุนจากคนสำคัญของคณะราษฎร์ ผู้มีสมองเฉียบแหลม ที่คิดจะรวบเอา " คณะชาติ " ไปไว้เป็นกำลังของคณะราษฎร์ในโอกาสข้างหน้า....ชั้นแรกนี้ถ้า "คณะชาติ " ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลพระยามโนฯ  ให้เป็น พรรคการเมือง ขึ้นแล้ว " คณะราษฎร์ "  ก็จะขออนุญาต บ้าง ซึ่ง รัฐบาล ( ที่มีพวกขุนนางเก่าอยู่มาก ) ก็จะปฏิเสธไม่ได้  เรื่องของเรื่องก็คือ " นายหน้าม้า " เป็นตัวแทนของคณะราษฎรในการจัดตั้ง " คณะชาติ " ขึ้นนั่นเอง เรียกได้ว่า " คณะราษฎร์ " เป็นผู้พยายามตั้ง " คณะชาติ " เพื่อเปิดช่องทางให้"คณะราษฎร์"   ตั้งตนเองเป็นพรรคการเมืองได้สำเร็จ...

              แต่นายกรัฐมนตรี  พระยามโนปกรณ์ ฯ ก็ฉลาดหลักแหลมรู้เท่าทันผู้เป็นมันสมองของคณะปฏิวัติ....ที่ปรารถนาจะตั้งคณะของตนขึ้นเป็นพรรคการเมืองชื่อ " พรรคราษฎร "  พระยามโนฯ จึงออกคำสั่ง  ไม่อนุญาตให้มีการตั้ง พรรคการเมือง  มีความว่า " สถานการณ์ของ บ้านเมือง  ยังไม่เข้าสู่ความเรียบร้อย พรรคการเมืองเป็นเรื่องใหญ่  คนไทยส่วนมากยังไม่มีความรู้และเข้าใจในเรื่อง พรรค ถ้ายอมให้ตั้งขึ้น  สมาชิกแต่ละพรรคจะเห็นแก่พรรคพวกของตนเป็นใหญ่  มิได้คำนึงถึงประโยชน์ของราษฎรเป็นที่ตั้ง "

              คำสั่งของนายกรัฐมนตรี  พระยามโน ฯ ฉบับนี้สร้างความผิดหวังอย่างยิ่งให้กับผู้เป็นมันสมองของ คณะปฏิวัติ  ที่คิดจะรวบเอา "คณะชาติ " ไว้เป็นเครื่องมือในการที่จะเปลี่ยนรัฐบาล (ซึ่งได้มอบให้ขุนนางรุ่นเก่าบริหารอยู่นั้น ) ให้เป็นรัฐบาลของคณะปฏิวัติโดยตรง  ซึ่งเป็นการผนึกกำลังทางการเมืองได้อย่างเป็นปึกแผ่นแน่นหนาและถาวร เป็นการปูพื้น เผด็จการ ให้คณะปฏิวัติผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ( 24 มิ.ย.75 ) ใช้อำนาจ "เผด็จการทางรัฐสภา" ได้ตลอดกาล....คณะปฏิวัติ ได้นำวิธีการนี้มาใช้อีกในเวลาต่อมา  คือการตั้งพรรคการเมืองชื่อ " แนวรัฐบาล "และ" สหชีพ " ซึ่งอยู่ได้ไม่กี่วันก็ต้องสิ้นชื่อสิ้นชาติ จากแผ่นดินไทยเพราะ ผู้ใช้ ลัทธิเผด็จการ  อยู่ได้ไม่นาน ล้วนต้องหกล้มจมคว่ำ  ประวัติศาสตร์ จดไว้ไม่จำ หัวทิ่มหัวตำ แล้วอย่าเที่ยวโกรธโทษใคร...

          เรื่องเบื้องหลังกลุ่ม " คณะชาติ " ที่เล่าไว้ ก็เพื่อแสดงให้เห็นเล่ห์เหลี่ยมทางการเมือง สมัยต้นของระบอบประชาธิปไตยในเมืองไทย  ซึ่งนักการเมืองมุ่งหน้าแต่จะรวบอำนาจไว้เป็นส่วนบุคคล  หรือพรรคพวกตนโดยเฉพาะอันเป็นวิสัยของลัทธิ เผด็จการซึ่งยากจะโค่นให้สิ้นซากจากเมืองไทย  การแทรกซึมของ "คณะปฏิวัติ" (คณะราษฎร์) โดยมุ่งกุมอำนาจ ใน "พรรคคณะชาติ "ดังกล่าวแล้วนั้น เป็นต้นเหตุแห่งการที่กลุ่มผู้ก่อตั้ง "คณะชาติ"ต้องถูกจับเข้าคุกเป็นแถวๆ ภายหลัง "กบฎบวรเดช " 

             คนสำคัญๆ ผู้ก่อตั้ง " คณะชาติ " ต้องถูกจับกุมตั้งแต่ วันแรกที่กองทัพ พระองค์เจ้าพระองค์เจ้าบวรเดช  ยกมาถึง ชานพระนคร  และก็ถูกจำคุกบางขวาง  และถูกส่งไปอยู่ เกาะมหานรกตรุเตา และ เกาะเต่า กำหนดโทษถึงตลอดชีวิตก็มี ...ที่ตายด้วยความทรมานก็มี  6  คน..

             อันดับต่อไป   คือเรื่อง ทหารไทยรบกับทหารไทยเพื่อยึดรัฐธรรมนูญ และ นำขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวายคืน พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงแก้ไขและพระราชทานฉบับใหม่  ให้เป็นประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์   ตามพระราชปณิธาน........

 

พระยาวิชิตวงศวุฒิไกร

พระยาอิสราธิราชเสวี

พระยาอนุภาพไตรภพ

 

พระเจ้าอลงกฎ

หมายเลขบันทึก: 343076เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2010 17:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

สวัสดีค่ะ

แวะมาอ่านบันทึกค่ะ

ขอบคุณนะคะ

สลามอาจารย์

  • เหมือนเคยได้อ่านจากหนังสือใต้ฟ้าเดียวกันหรือไม่ก็เว็บประชาไทค่ะ..ลึกซึ้งมาก
  • ขอบคุณค่ะ

Fall Colors ~ Vermont

มาชม

น่าสนใจใฝ่รู้นะครับ...

เข้ามาอ่านเรื่องที่น่าสนใจค่ะ

ขอบพระคุณท่าน P  มากค่ะ 

ได้รับความรู้ที่ไม่เคยรับรู้มาก่อนเลยค่ะ

ด้วยความระลึกถึงค่ะ

ช่วยกัน.... ช่วยกัน  "หยุดทำร้ายประเทศไทยค่ะ"

 

สวัสดีครับ

ช่วงเห็นการรณรงค์

เห็นด้วยอย่างแรงครับ

“ประวัติศาสตร์” เปรียบเสมือนกระจกเงาสะท้อนภาพความเป็นเราในทุกๆด้าน เพราะทำให้เรารู้จักที่มาของตนเอง สังคม และโลก ...

  • ขอบคุณครับท่าน ที่นำเรื่องราวในอดีตมาเล่าสู่กันฟัง
  • สวัสดีค่ะ คุณเบดูอิน
  • ขอบพระคุณที่ไปเยี่ยมทักทายค่ะ
  • ประวัติศาสตร์ของผู้คนโดยเฉพาะการแย่งอำนาจลาภยศ
    ล้วนแปดเปื้อนด้วยคราบน้ำตามเสมอ
  • ขอบพระคุณบันทึกดี ๆ ที่มีค่าค่ะ

สวัสดีค่ะ

มาอ่านแล้ว  ทำให้รักชาติมากขึ้น

สิ่งดีดีเหล่านี้ควรให้คนรุ่นหลังรับรู้

กานดา จางวาง ดิฉันนามสกุล จางวางเลยอยากเข้ามาอ่านค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท