หนานเกียรติ
เกียรติศักดิ์ หนานเกียรติ ม่วงมิตร

บทเรียนการพัฒนาโภชนาการ : กรณีศึกษา ร.ร.สุรัสวดี


เสียงเพลงในจังหวะลีลาคึกคักเร้าใจ แผดออกมาจากลำโพงคู่เดิม หลังจากการให้ความรู้เรื่องผักคะน้าสิ้นสุดลง เสียงเพลง “ผักสามสี” นี้นอกจากเป็นการตอกย้ำเนื้อหาความรู้ผ่านบทเพลงให้แก่นักเรียนแล้ว ยังเป็นสัญญาณว่าได้เวลาเข้าแถวเคารพธงชาติแล้ว

      “น้อง ๆ รู้จักผักคะน้าไหมค่ะ คิดว่าทุกคนคงรคู้จักนะคะ แล้วรู้ไหมว่าผักคะน้ามีประโยชน์อย่างไรบ้าง... ผักคะน้ามีวิตามินหลายชนิด เช่น เบต้า – แคโรทีน มีคุณสมบัติช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งที่กระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ...”

      เสียงเจื้อยแจ้วจากเด็กหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ลอดออกมาจากลำโพงที่กระจายอยู่ตามจุดต่าง ๆ ภายในโรงเรียน เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับคุณค่าของผัก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งกิจกรรมเสียงตามสาย หนึ่งในการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมโภชนาการของโรงเรียนสุรัสวดี

      “โอ่ ล่า เน้อ...ผัก พืช สี่ ช้อน ต่อ มื้อ ขอ ให้ กิน ทุก วัน

      ผักพืชต้องกินนะ แค่มื้อละสี่ช้อน ผักพืชต้องกินไว้ โรคร้ายไม่มาซ้อน...”

      เสียงเพลงในจังหวะลีลาคึกคักเร้าใจ แผดออกมาจากลำโพงคู่เดิม หลังจากการให้ความรู้เรื่องผักคะน้าสิ้นสุดลง เสียงเพลง “ผักสามสี” นี้นอกจากเป็นการตอกย้ำเนื้อหาความรู้ผ่านบทเพลงให้แก่นักเรียนแล้ว ยังเป็นสัญญาณว่าได้เวลาเข้าแถวเคารพธงชาติแล้ว

 

      โรงเรียนสุรัสวดี เป็นโรงเรียนเอกชนขนาดเล็ก ตั้งอยู่ที่ ๑๑๖/๑ ม.๒๐ ถ.มะลิวัลย์ ต.บ้านเป็ด อ.เมือง จ.ขอนแก่น เปิดสอนตั้งแต่ระดับเตรียมอนุบาล – ประถมศึกษาปีที่ ๖ นักเรียนส่วนใหญ่มาจากผู้ปกครองที่มีฐานะปานกลางขึ้นไป กระจายอยู่ในพื้นที่ ๑๖ หมู่บ้านในตำบลบ้านเป็ด แม้ว่าโรงเรียนจะไม่ประสบปัญหาโภชนาการทั้งทุพโภชนาการและโภชนาการเกินในกลุ่มเด็กนักเรียน แต่การก็พบว่านักเรียนไม่ค่อนรับประทานอาหารจำพวกพืชผัก ไม่เป็นไปตามเกณฑ์

      ราวกลางปี ๒๕๕๒ โรงเรียนได้เข้าร่วม “โครงการประกวดแผนส่งเสริมโภชนาการดีอย่างยั่งยืนในโรงเรียน ซึ่งจัดขึ้นโดย บริษัทไฮคิวผลิตภัณฑ์อาหารจำกัด ร่วมกับกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข   เพื่อรณรงค์ให้เด็กไทยมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ โดยการกระตุ้นและผลักดันให้โรงเรียนเอาใจใส่ในการดูแลเรื่องการกินของนักเรียนให้ถูกต้องเหมาะสมตามหลักโภชนาการ

      โรงเรียนฯ ได้จัดทำ โครงการส่งเข้าประกวด ซี่งได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการ และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวนหนึ่งให้ปฏิบัติงานตามแผนงานที่ได้เสนอไว้

 

      แทนที่จะซื้อข้าวเหนียวและเนื้อทอดไปเป็นอาหารมื้อกลางวันของบุตรชายที่โรงเรียนดังเช่นวันก่อน ๆ วันนี้คุณแม่ลงทุนเข้าครัวด้วยตัวเอง

      ฝาหม้อถูกเปิดออก ไอพวยพุ่งจากน้ำเดือดพล่านในหม้อ คุณแม่ค่อยเทแครอทและฟักทองที่หั่นเป็นลูกเต๋าชิ้นเล็ก รวมทั้งถั่วฝักยาวหั่นฝอย ลงไปลวกในหม้อครู่ใหญ่แล้วใช้กระชอนช้อนเอาชิ้นผักเล็กน้อยเหล่านั้นลงแช่ในถ้วยน้ำเย็น เพื่อเป็นส่วนผสมในการทำข้าวผัดสายรุ้ง

      ผักชิ้นเล็ก ได้แก่ แครอท ฟักทอง ถั่วฟักยาว และต้นหอมซอย ถูกผัดคลุกเคล้าลงไปในกระทะที่มีข้าวสวย ไข่ และหมูสับ หน้าตาน่ารับประทานนี้ เมนูพิเศษที่คุณแม่ตั้งใจทำไปประกวดอาหารกลางวันของลูกชายสุดที่รักที่โรงเรียน

      คุณแม่ตั้งใจหั่นผักเป็นชิ้นเล้ก และต้องนำไปลวกให้นุ่มก่อนที่จะนำมาผัดรวมกับข้าว เพราะทราบดีว่าลูกชายไม่รับประทานผักชิ้นใหญ่และแข็ง และการใส่แครอท ฟักทอง และถั่วฝักยาวลงไปนั้น เป้นเพราะต้องการให้ข้าวผัดจานนี้มีสีสันน่า ดึงดูดให้น่ารับประทาน

      เย็นวานนี้ ขณะไปรับลูกชายที่โรงเรียน ลูกชายเอ่ยบอกคุณแม่ด้วยน้ำเสียงตื่นเต้นว่า พรุ่งนี้เป็นวันที่ห้องเรียนของเขาจะประกวดข้าวห่อ เขาร้องขอให้แม่ทำกับข้าวที่คุณค่าครบถ้วนตามหลักโภชนาการ ที่สำคัญมีส่วนประกอบของพืชผักถูกต้องตามสัดส่วน

      แท้ที่จริงคุณแม่รับทราบข้อมูลนี้มาก่อนหน้าแล้ว ว่าจะมีการประกวห่อข้าวนักเรียน ในวันประชุมผู้ปกครองเมื่อต้นเทอม และเมื่อไม่กี่วันมานี้ก็ได้รับจดหมายสำทับจากทางโรงเรียนถึงกิจกรรมดังกล่าว

      ก่อนกลับถึงบ้าน คุณแม่พร้อมลูกชาย แวะที่ตลาดสดใกล้บ้าน ซื้อบรรดาพืชผักอย่างละเล็กน้อยเพื่อเตรียมทำอาหารสำหรับให้ลุกชายนำไปประกวดในวันพรุ่งนี้

 

      “นักเรียนที่รับประทานอาหารกับทางโรงเรียน จะได้รับประทานผักอยู่แล้ว แต่มีนักเรียนอีกจำนวนมากที่นำอาหารกลางวันมาจากบ้าน กับข้าวส่วนใหญ่ไม่มีผักเลย มีแต่ไข่เจียว เนื้อทอด ไก่ทอด เนื่องจากความง่านและสะดวกของผู้ปกครอง...”

      คุณครูผู้รับผิดชอบโครงการฯ กล่าวถึงปัญหาหนึ่งที่พบ เพื่อที่จะให้เด็กกลุ่มนี้ได้รับประทานผัก รวมทั้งการสื่อสารความรู้ไปยังผู้ปกครองจึงเป็นที่มาของกิจกรรม “ประกวดห่อข้าว” ขึ้น

      “การประกวดห่อข้าว” กิจกรรมส่งเสริมโภชนาการของโรงเรียน มิได้จำกัดเฉพาะเด็กนักเรียนที่นำอาหารมารับประทานเท่านั้น แต่ยังเปิดโอกาสให้กับนักเรียนที่รับประทานอาหารกลางวันที่โรงเรียนอยู่แล้ว ซึ่งสามารถให้ผู้ปกครองทำอาหารมาประกวดได้เช่นกัน กติกาการประกวด คือ เป็นอาหารที่ประกอบเองโดยผู้ปกครอง เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ มีสารอาหารครบถ้วนทั้ง  ๕ หมู่ และมีที่สำคัญต้องมีส่วนผสมของพืชผักในอัตราส่วนที่เป็นไปตามเกณฑ์ คือ อย่างน้อย ๔ ช้อนโต๊ะ

      การดำเนินงาน ทางโรงเรียนได้ประชาสัมพันธ์ให้กับผู้ปกครองทราบล่วงหน้าตั้งแต่ต้นเทอม เมื่อมีการประชุมผู้ปกครอง รวมทั้งการแจ้งประชาสัมพันธ์ผ่านไปทางจดหมายที่โรงเรียนมีไปถึง

      กิจกรรมนี้ หากดูผิวเผินอาจเป็นการส่งเสริมการรับประทานพืชผักในกลุ่มนักเรียนที่เข้าข่ายมีปัญหา แต่หากพิจารณาแล้ว จะพบว่า เป็นกิจกรรมที่มุ่งส่งเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้ปกครองด้วย เนื่องจากปัญหาดังกล่าวเกิดจากผู้ปกครอง การแก้ปัญหาต้องแก้ที่ผู้ปกครอง

      ครูผู้รับผิดชอบโครงการสะท้อนว่า การดำเนินกิจกรรมดังกล่าวแม้ว่าจะไม่สามารถแก้ปัญหาได้ แต่ก็มีผู้ปกครองจำนวนหนึ่งที่เตรียมอาหารกลางวันมาให้บุตรหลาน ให้ความสำคัญกับการเตรียมอาหารที่มีส่วนผสมของพืชผักมากขึ้น

 

      การส่งเสริมโภชนาการของโรงเรียน ดำเนินการผ่านกิจกรรมต่าง ๆ หลากหลาย อาทิ การประกวดห่อข้าวดังที่กล่าวมาข้างต้น การจัดทำอาหารกลางวันที่มีส่วนผสมของพืชผัก การบูรณาการเนื้อหาโภชนาการในกลุ่มสาระวิชาต่าง ๆ  การจัดบอร์ดนิทรรศการให้ความรู้ การจัดรายการเสียงตามสาย การปลูกพืชผักดดยนักเรียน ฯลฯ

      อย่างไรก็ตามการแก้ปัญหาและส่งเสริมโภชนาการที่ดีแก่นักเรียนในโณงเรียน ดำเนินการกับนักเรียนกลุ่มเป้าหมายเพียงอย่างเดียวมิได้ เนื่องจากต้นทางปัญหาทั้งมวดอยู่ที่ “ผู้ปกครองและชุมชน” โรงเรียนเป็นเพียงปลายทางของปัญหา และสามารถดำเนินการจัดการปัญหาได้ค่อนข้างจำกัด

      เพื่อให้การป้องกันและแก้ปัญหาเป็นไปอย่างครอบคลุมยิ่งขึ้น โรงเรียนจึงมีแนวทางที่จะดำเนินการเผยแพร่และส่งเสริมความรู้เรื่อโภชนาการที่ถูกต้องเหมาะสมออกไปสู่ผู้ปกครองและชุมชนให้มากขึ้น

      นอกจากการพูดเสียงตามสายในโรงเรียนแล้ว ทางโรงเรียนได้จัดทำแผ่นซีดี ซึ่งมีเนื้อหาเรื่องราวเกี่ยวกับโภชนาการต่าง ๆ จากการทำรายการเสียงตามสายของนักเรียนในโรงเรียน แจกจ่ายไปยังแกนนำชุมชนทั้ง ๑๖ หมู่บ้าน ให้นำไปเปิดในหอกระจายข่าวของหมู่บ้าน ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการเผยแพร่ความรู้ออกไปสู่ผู้ปกครองและชุมชนของโรงเรียน

 

      แม้ว่าการส่งเสริมโภชนาการที่ดีของโรงเรียนจะอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่การเข้าร่วมโครงการประกวดแผนส่งเสริมโภชนาการดีอย่างยั่งยืนในโรงเรียน ก็ทำให้โรงเรียนมีทิศทางการดำเนินงานที่ดีและหลากหลายมากขึ้น เนื่องจากได้รับโอกาส และความรู้/แนวทางในการดำเนินงานมากขึ้น

 

หมายเลขบันทึก: 342799เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2010 14:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 เมษายน 2012 11:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

น่าสนใจมาก ขยันจังเลยนะครับ

โครงการประกวดข้าวห่อ

อยากกลับเป็นน้อย

(เพราะพ่อทำกับข้าวเก่ง อร่อย

และดุ 5ๆๆ)

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาเป็นกำลังใจให้กันค่ะ
  • ช่วงนี้อากาศร้อนมาก ๆ นำภาพนี้มาฝากเผื่อจะคลายความร้อนได้บ้าง

สวัสดีครับ พี่ เบดูอิน 

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับพี่
เดินทางไปทางแม่สอดบ้างหรือเปล่าครับพี่...

สวัสดีครับ คุณ ปีตานามาจิตต์ 

โครงการประกวดข้าวห่อนี้ดีมาก ๆ ครับ เป็นกุศโลบายที่จะส่งเสริมความรู้ให้ผู้ปกครอง
แหะ แหะ มีคนบอกว่าผมก็ทำกับข้าวอร่อยครับ...

 

สวัสดีครับ พี่ บุษรา 

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ...
ตอนนี้ผมอยู่กรุงเทพฯ อากาศร้อนมาก ๆ เลยครับ

 

 

มาเรียนรู้ และ ให้กำลังใจ ครับ

สวัสดีครับ ท่านอาจารย์ JJ 

ขอบคุณมาก ๆ ครับที่แวะมาเยี่ยมเยียน
เสียดายโอกาสที่เชียงใหม่มาก ๆ ครับ ที่ไม่ได้เข้าร่วมจึงมิได้พบคารวะอาจารย์ครับ

สวัสดีคะ ข้าวห่อ ไปโรงเรียน ต่อไปประกวดข้าวห่อไปทำงานบ้าง ลดพุง ลดไขมัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท