Clinical Reasoning ดีกว่า Technical Response


ผมมีโอกาสอ่านข้อมูลเพื่อการศึกษากิจกรรมบำบัดและประชุมร่างเกณฑ์รับรองหลักสูตรนักกิจกรรมบำบัด Vs ผู้ช่วยนักกิจกรรมบำบัด ณ กระทรวงสาธารณสุข เลยคิดประเด็นที่อยาก ลปรร กับผู้สนใจ

Clinical Therapist คือ ผู้บำบัดที่มีกรอบความคิดหรือเครื่องมือทางความคิด แล้วพิจารณาจนเกิดทักษะการให้เหตุผลทางคลินิก (Clinical Reasoning Skills) ในการประเมินและการจัดกิจกรรมการรักษาแก่ผู้รับบริการ เช่น นักกิจกรรมบำบัด

Technical Therapist คือ ผู้บำบัดที่มีความรู้เชิงเทคนิคการรักษาโดยการศึกษาค้นคว้าจนเกิดประสบการณ์ทางคลินิก และ/หรืออบรมเฉพาะทางเทคนิคเพิ่มเติม หลายครั้งที่มีความเชื่อและตอบสนองในรายละเอียดของเทคนิคการรักษา (Technical Response)มากกว่าการประยุกต์กรอบความคิดและการให้เหตุผลทางคลินิก เช่น นักกิจกรรมบำบัดที่เน้นเทคนิคการปรับพฤติกรรมมากเกินกว่าหลักการกิจกรรมบำบัด

ประเด็นที่เปรียบเทียบข้อดีในตัวอย่างนักกิจกรรมบำบัด

ข้อดีที่มี Clinical Reasoning มากกว่า Technical Response คือ นักกิจกรรมบำบัดสามารถมีกระบวนการคิดที่แสดงบทบาทที่หลากหลายในการพัฒนาความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตและคุณภาพชีวิตของผู้รับบริการ

ข้อดีที่มี Clinical Reasoning น้อยกว่า Technical Response คือ นักกิจกรรมบำบัดสามารถมีเทคนิคเฉพาะด้านและบทบาทเฉพาะกลุ่มผู้รับบริการที่มีการวิจัยและพัฒนาถึงประสิทธิผลของเทคนิคนั้นๆ

ข้อดีที่มีทั้ง Clinical Reasoning พอๆกับ Technical Response คือ นักกิจกรรมบำบัดสามารถแสดงบทบาททั่วไปและบทบาทเฉพาะทาง รวมทั้งมีความคิดความเข้าใจถึงสัดส่วนการใช้เทคนิคการรักษาที่เหมาะสมกับการให้เหตุผลทางคลินิกทั้งกลุ่มผู้รับบริการที่มีความบกพร่องหลากหลายหรือเฉพาะเจาะจง

ตัวอย่างของการใช้เหตุผลทางคลินิกโดยพิจารณาเทคนิคบางส่วน เช่น การนำเทคนิคการดัดแปรสิ่งแวดล้อมของกลุ่มที่มีปัญหาการประมวลผลความรู้สึกมาใช้ในกลุ่มสายตาเลือนลาง (ลองคลิกดูเทคนิคทั้งหมดที่ http://www.sensory-processing-disorder.com/environmental-modifications.html ซึ่งต้องมาคิดอีกครั้งว่า จะเลือกประยุกต์ใช้ในกลุ่มเป้าหมายอย่างมีเหตุผลทางคลินิกอย่างไร)

หรือบางครั้งต้องมีการสื่อสารระหว่างผู้บำบัดที่เน้นเทคนิคกับผู้บำบัดที่เน้นการให้เหตุผลทางคลินิก เช่น

การทำความเข้าใจเรื่อง Apraxia (ปัญหาการวางแผนเคลื่อนไหวทั้งระบบควบคุมประสาท) กับ Dyspraxia (ความบกพร่องของการวางแผนการเคลื่อนไหวบางระบบควบคุมประสาท) ซึ่งบางครั้งผมเองก็สับสนและเข้าใจรวมกันว่าเป็นปัญหาการวางแผนการเคลื่อนไหวเหมือนกัน แต่ต้องใช้เทคนิคการประเมินเฉพาะปัญหา เช่น การวางแผนการเคลื่อนไหวจากภาษาท่าทาง การวางแผนการเคลื่อนไหวจากภาษาพูด การวางแผนการเคลื่อนไหวจากรูปแบบโครงสร้างของวัตถุในกิจวัตรประจำวัน เป็นต้น ลองอ่านเพิ่มที่ http://www.patient.co.uk/doctor/Dyspraxia-and-Apraxia.htm

หมายเลขบันทึก: 342309เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2010 11:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 01:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ผมขอทิ้งท้ายว่า "อยากให้พี่น้องทีมสุขภาพทุกท่านแบ่งปันความรู้และมีกระบวนการคิดดี ทำดี พูดดี เพื่อช่วยเหลือคนให้สามารถดำเนินชีวิตได้ด้วยใจและด้วยความสุข"

อัตตาของเรามีอยู่ทุกชั่วขณะ แต่อยากให้หาเวลาทบทวนความคิดและความดีงามผ่านทุกลมหายใจ ในการใช้ชีวิตเพื่อคนอื่นๆ มากกว่าตนเอง

ขออนุญาตนำประเด็นสอบถามทางคลินิกมา ลปรร กัน

คำถาม: เด็กซีพีคนนึงเดินได้ เข้าใจคำสั้ง เวลาปกติ นิ้วมือเยียดได้ หยิบของได้ แต่ไม่มั่นคง รูปแบบการหยิบจับยังไม่ดี เวลาสอนให้คลาน หรือไถนา นิ้มมือข้อกลาง(pip)จะงอตลอด ไม่ทราบว่าเป็นเพราะอาะไร เตือนก็ไม่เป็นผลเพราะเด็กไม่เข้าใจ เอาweight cuffมาวางทับก็ไม่ได้ ว่าจะลองให้เดฏใส่ถุงมือแล้วใช้หันงยางดึงข้อให้เหยีดเวลาคลานน่ะค่ะไม่ทราบว่าจะได้ผลไหม

คำตอบด้วยการให้เหตุผลทางคลินิกตามด้วยเทคนิคที่น่าจะเป็นไปได้:

กรณีศึกษานี้น่าสนใจ

นักกิจกรรมบำบัดที่ดูแลกรณีศึกษานี้ลองประเมินให้ชัดเจนว่า นิ้วมือข้อ PIP ทุกนิ้วทั้งซ้ายและขวาจะงอทุกครั้งที่จับลงน้ำหนักที่ฝ่ามือบนพื้นหรือไม่ มีการงอแบบ Claw Hand ก่อนการเหยียดนิ้วมือก่อนหยิบจับสิ่งของขนาดใหญ่กับขนาดเล็กหรือไม่ หากประเมินว่า "ทุกครั้งในสองคำถามข้างต้น" แปลผลว่า กรณีศึกษามี Recovery of Hand Function after Spasticity ที่ไม่สมบูรณ์ อาจยังไม่มีการเรียนรู้ความตึงตัวของกล้ามเนื้อเหยียดกับกล้ามเนื้องอข้อนิ้วมือที่กำและแบได้ทันที ไม่มีการเรียนรู้เพื่อลด Grasp Reflex & Associated Reaction ดังนั้นการใช้เทคนิค PNF, NDT, Brunstrom's มาให้ขณะทำ Physical Activity & Self-Care Activity

แต่ถ้าประเมินข้างต้นแล้วพบว่า งอไม่ทุกครั้ง แสดงว่า น่าจะมีปัญหาทาง Biomechanics นักกิจกรรมบำบัดคงต้องตรวจ Joint ROM & Subluxation ของทุกข้อนิ้วมือในท่างอและเหยียด แล้วลองพิจารณา Splint ที่เหมาะสม ซึ่งน่าจะดีกว่านำ Weight Cuff ไปทับหรือใช้หนังยางยืดครับ นอกจากนี้อาจต้องใช้หลักการ Graded Activity ที่เด็กชอบและสนุกในการดำเนินชีวิต

ขอบคุณที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันครับ...อ.ป๊อป

ที่มา: http://www.otinthailand.org/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&WBntype=1&Category=otinthailandorg&thispage=1&No=1290072

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท