เครือข่ายการบริการ การดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีภาวะ STEMI


เมื่อวาน(3 มีค. 53) ไปประชุมเรื่อง เครือข่ายการบริการ การดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีภาวะ STEMI ที่ ร.พ.ชัยนาทนเรนท วิทยากร(หมอนิภาพร) บรรยายได้ชัดเจนและเข้าใจง่าย และจะสรุปเอาตอนที่ไม่ได้หลับมาฝากก็แล้วกัน ดังนี้

  สถานบริการผู้ป่วยMI มี 4 ระดับ ซึ่งปรับแนวทางการส่งต่อเหมือนกันมั้งประเทศ คือ

 ระดับ ก.     =    สถานีอนามัย/PCU. คัดกรองผู้ป่วย ACS และส่งต่อได้

 ระดับ ข.     =    ร.พ.ชุมชน ก็แบบเราคือรักษาเบื้องต้นแล้วส่งต่อ

 ระดับ ค.     =    ร.พ.จังหวัด/ร.พ.ทั่วไป/ร.พ.ชุมชน ที่ให้การรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด   (Thrombolytic agents)

 ระดับ ง.     =    ร.พ.ศูนย์/ร.พ. ที่ตรวจสวนหัวใจได้

 *** ขอโทษยังไม่จบนะคะ  ....ง่วงน่ะค่ะ*** By Jan (04/03/2553)

 *** มาแล้วค่ะ ต่อเลยแล้วกัน ก่อนอื่นก็มาทบทวนเรื่องหลอดเลือดหัวใจกันก่อน***

 หลอดเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจเรียกว่า Coronary Artery มี 2 เส้นใหญ่ โดยออกจากหลอดเลือดแดงใหญ่ Aorta ด้านขวา ซ้าย เรียกว่า Right และ Left Coronary Artery ตามลำดับ หลอดเลือดด้านซ้ายยังแบ่งเป็นแขนงใหญ่ๆ คือ Left Anterior Desending Artery (LAD) ซึ่งเลี้ยงหัวใจด้านหน้า และ เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจส่วนสำคัญของ หัวใจห้องซ้ายล่าง และ อีกแขนงจะวิ่งไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ด้านหลังและด้านล่าง เรียกว่า Left Circumflex Artery (LCX) ส่วน Right Coronary Artery (RCA) จะเลี้ยง กล้ามเนื้อหัวใจด้านขวาและด้านล่าง

 ดังนั้นหากหลอดเลือดหัวใจผิดปกติ เช่น ตีบ หรือ ตัน กล้ามเนื้อ หัวใจจะขาดเลือดไปเลี้ยง ทำให้หัวใจบีบ คลาย ตัวผิดปกติ และ เกิดอาการแน่นหน้าอก

 ซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุ แต่ที่พบบ่อยที่สุด เกิดจากการสะสมของไขมันที่ผนัง ทำให้หลอด เลือดหัวใจตีบและตันในที่สุด (ไม่ใช่มีก้อนไขมันในเลือดลอยไปอุดตัน ตามที่เข้าใจกัน)

 

        ภาพแสดงตำแหน่งของหลอดเลือดหัวใจ

 The clinical presentation of IHD ที่นำผู้ป่วยมา ER ได้แก่

 - Slilent Ischemia มีกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดโดยที่ไม่มีอาการเจ็บอกเลย

 - Stable angina pectoris เจ็บหน้าอกเมื่อออกกำลังกาย หรือมีการออกแรง

 - Unstable angina pectoris

 - Non STEMI

 - STEMI ของเราพบไม่มาก

 - Heart failure มาด้วยเรื่อง Congestive heart failure

 - Suden death ข้อนี้มีบ่อยนะ

 Definition of Acute coronary syndrom

           Acute coronary syndrom หมายถึง กลุ่มอาการของหลอดเลือดหัวใจที่มีการขาดเลือดไปเลี้ยงอย่างเฉียบพลัน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ

 1. STEMI

 2. Non STEMI

 3. Other

 

การซักประวัติ ใช้คำถามปลายเปิดอย่าถามนำ (ระวังในผู้ป่วย ชรา หลงลืม อาจบอกได้ไม่ชัด)  เกี่ยวกับ Angina pectoris (anginal pain) เจ็บอกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด คือ 
 1. ตำแหน่งที่เจ็บ เจ็บบริเวณหน้าอกตรงใดก็ได้จากยอดอก (ลิ้นปี่) ถึงคอ พบมากคือเจ็บกลางอก ใต้กระดูกอก(Substernal) ที่ด้านซ้าย ใต้ส่วนบนของกระดูกอก พบน้อยที่เจ็บที่ลำคอ คอ แขนหลังและกราม 



2. ลักษณะของการเจ็บ เจ็บแน่นๆ เจ็บรัดๆ เจ็บรุนแรงในอก
3. เจ็บร้าว มี หรือไม่มีก็ได้ ถ้ามี เจ็บร้าวไปที่แขน คาง ฟัน คอ ไหล่ หลัง ร้าวตามแขนด้านใน ลามถึงข้อมือ
4. ทำอะไรจึงเจ็บอก เจ็บอกขณะทำงาน ขณะยกของหนัก ตื่นเต้น โกรธ รับประทานอาหาร ถูกอากาศเย็น ฯลฯ
5. ระยะเวลาที่เจ็บอก เจ็บอกนาน ประมาณ 30 วินาทีถึง 15นาที
6. ทำอย่างไรจึงหายเจ็บอก หายเจ็บโดยหยุดพัก อมยาใต้ลิ้น
7. อาการร่วม มี หรือไม่มีก็ได้ ถ้ามีเช่น จุกแน่นลิ้นปี่ เหนื่อยหอบ ใจสั่น เหงื่อออก เวียนหัว เป็นลมหน้ามืด
*** ควรซักประวัติเลือดออกด้วยเพราะอาจต้องให้ยาละลายลิ่มเลือด***

การตรวจร่างกาย

- Hemdynamic,Vitalsign+ABC(Airway, Breathing, Circulation)
- Sign of LV Dysfuction
*** ระวัง!! บางรายมี Stroke ร่วมด้วย***

การวินิจฉัย

- ประวัติเจ็บอก

- EKG ใน 10 นาที

- Cardiac enzyme เช่น Trop T, Trop I

(เฉลี่ย พบ ใน 3-12 ชม. หลังเจ็บอก)

 

***การตรวจ EKG ที่พบลักษณะการเปลี่ยนแปลงของ ECG จะบอก ตำแหน่ง ของหัวใจที่ขาดเลือดได้ ดังนี้

1. Extensive anterior wall พบการเปลี่ยนแปลงใน Lead V1-V5 หรือV6

2. Anteroseptal wall พบการเปลี่ยนแปลงใน Lead V1-4 หรือ V1-V3

3. Anterolateral wall พบการเปลี่ยนแปลงใน Lead I, aVL และ V4-V6

4. Inferior wall พบการเปลี่ยนแปลงใน Lead II, III, aVF ( ถ้าพบข้อนี้ ให้ทำ Lead III,IV ข้างขวาด้วย)

5. Posterior wall พบการเปลี่ยนแปลงมุมกลับ (Reciprocal change) คือพบ ST depression และV2 T wave หัวตั้ง ใน Lead V1-V5 หรือ V6 และ Tall R wave in V1-3 หรือ V 1-2 (R/S ratio ≥ 1in V1 and11

6. Right ventricular (RV) infarction พบการเปลี่ยนแปลงโดยมี ST elevation ใน Lead V1,V2R-V6R

ER Management of ACS  (ทำทั้งหมดและ Refer ให้ได้ ใน 30 นาที) 

- ทำและแปรผล EKG ใน 10 นาที

- 0.9 NSS IV KVO

- MONA ( MO,Oxygen keep O2 sat 95%,NTG,ASA gr V เคี้ยวละเอียดก่อนกลืน)

-Blood exam (CBC,BS,Lipid profile,BUN,Cr,E'lyte,Cardiac masker,Coagulation)

- EKG Monitoring

- *** เตรียมพร้อมที่ จะ CPR ได้ตลอดเวลา***

*** ได้ข่าวว่า BOSS จะควงแม่ลูก 3 จาก ER ให้ความรู้เรื่องนี้ ในวันที่ 9 เมษายน 2553  ฉะนั้นจึงขอจบเพียงเท่านี้ เพื่อให้พวกเราไปฟัง จาก BOSS และทีมงานดีกว่า*** By Jan

  

  

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #acs#stemi
หมายเลขบันทึก: 341841เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2010 21:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

พักผ่อนก่อนก็ได้นะคะ 21.30 น.แล้วตื่นแล้วค่อยมาเขียนให้น้องๆอ่านเป็นห่วงสุขภาพกลัวจะผอมลงน่ะ

น้อง ward

สุดยอดจริงๆ เลยเจ้าแม่ gotoknow เป็นกำลังใจให้ค่ะ

อังค์ริสา พินิจจันทร์

ได้ความรู้เพิ่มขึ้น ดีจัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท