ธรรมหรรษา
รศ.ดร. พระมหา หรรษา นิธิบุณยากร

ศาสนศึกษาเสวนา: เหลียวหลัง แลหน้า มุ่งหาทิศทาง ร่วมสร้างอนาคต


     วันนี้ (๓ มีนาคม ๒๕๕๓: ๘.๓๐) ผู้เขียนกำลังเข้าร่วมเพื่อตั้งข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ รวมถึงมุมมองที่เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง "เหลียวหลัง แลหน้า มุ่งหาทิศทาง ร่วมสร้างอนาคต" ณ วิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล  โดยมี ศ. คลินิก นพ.ปิยะกล สกลสัตยาทร เป็นประธานการประชุม ในขณะเดียวกัน ได้มีการเสวนานำ เรื่อง "สถานการณ์ศาสนศึกษาในระดับอุดมศึกษา" โดย พระศรีคัมภีรญาณ,รศ.ดร. รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาจุฬาฯ และ พระเทพวิสุทธิกวี,ดร. รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหามกุฏฯ

     วัตถุประสงค์หลักในการศาสนศึกษาเสวนาครั้งนี้ เพื่อมุ่งหวังในการวิเคราะห์บทสรุป และการประเมินผลการบริหารและจัดการวิทยาลัยศาสนศึกษาของ รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ และรศ.ดร.ต่อตระกูล ยมนาค  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ข้อเสนอแนะที่น่าสนใจ เช่น

     ๑. ควรปรับเปลี่ยนสถานะและบทบาทของวิทยาลัยศาสนศึกษาที่เดิมที่มีความเป็นอิสระในการบริหารงานมาเป็นส่วนงานหนึ่งของมหาวิทยาลัย

     ๒. ควรมีการเตรียมพร้อมในการสรรหาบุคคลากรของวิทยาลัยที่มีองค์ความรู้ และมีประสบการณ์ในการบริหารจัดการวิทยาลัยเพื่อให้สอดรับกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

     ๓. พัฒนาหลักสูตรให้มีความทันสมัย การจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ศ. นพ.ปิยะกล สกลสัตยาทร เป็นประธานการประชุม
โดยมี ศ. เกียรติคุณ นพ.ประเวศ วะสี กล่าวปาฐกถานำเรื่อง "จินตนาการใหญ่: ศาสนศึกษาเพื่อสร้างคุณธรรมของแผ่นดิน"

การเสวนานำ เรื่อง "สถานการณ์ศาสนศึกษาในระดับอุดมศึกษา" โดย พระศรีคัมภีรญาณ,รศ.ดร. รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาจุฬาฯ และ พระเทพวิสุทธิกวี,ดร. รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหามกุฏฯ

ท่านผู้หญิงสุมาลี จาติกวณิช และ  รศ.ดร.พินิจ รัตนกุล ในฐานะผู้อำนวยการวิทยาลัยศาสนศึกษา ม.มหิดล

ผู้แทนของมหาวิทยาลัยสงฆ์สองแห่ง คือ มหาจุฬาฯ มหามกุฏฯ ได้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่อความเป็นไปได้ในการบริหาร และเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกัน

 

ข้อสังเกต

     ๑. ม.มหิดล  มีกลุ่มงาน และหน่วยงานที่จัดการศึกษาด้านศาสนา ๓ กลุ่ม คือ วิทยาลัยศาสนศึกษา  ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา และสังคมศาสตร์ และมนุษย์ศาสตร์  ซึ่งอาจจะทำให้ผู้บริหารมีความประสงค์จะยุบ ควบ รวม เพื่อให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และสอดรับกับการปรับตัวของมหาวิทยาลัย (ตามคำกล่าวของอธิการ)

     ๒. การแยกกลุ่มบริหารจัดการอาจจะมีประเด็นที่ควรใส่ใจ ซึ่งประเด็นนี้มหาจุฬาฯ ได้ให้ความตระหนักรู้ต่อประเด็นดังกล่าว จึงได้ตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการจัดตั้ง "วิทยาลัยพุทธศาสตร์ศึกษานานาชาติ" ขึ้น โดยปรับให้แต่ละคณะ หรือหน่วยงานที่ดำเนินการจัดการศึกษาด้านนานาชาติให้เป็นกลุ่มงานเีดียวกัน ตั้งแต่ปริญญาตรี จนถึงปริญญาเอก   แต่การจัดการศึกษาในภาคภาษาไทยยังคงดำเนินการต่อไปเพราะสามารถดำเนินการได้ดีอยู่แล้ว เช่น คณะพุทธศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ คณะครุศาสตร์ และบัณฑิตวิทยาลัย

     ๓. ในปัจจุบัน มีมหาวิทยลัยหลายแห่งในประเทศไทยที่จัดการศึกษาด้านพระพุทธศาสนา เช่น ธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ม.ราชภัฏพระนคร นครปฐม  นอกเหนือจากมหาจุฬาฯ และมหามกุฏที่ดำเนินการจัดการศึกษาอยู่แล้ว

     ๔. สถานการณ์ของพระสงฆ์ที่มีจำนวนลดน้อยลง  โดยเฉพาะสามเณรซึ่งถือได้ว่า "เป็นเหล่ากอของสมณะ" ที่น้อยลงตามลำดับ เหตุผลสำคัญที่ประชุมได้เสนอคือ "นโยบายสนับสนุนการเรียนฟรี หรือการศึกษาภาคบังคับ ๙ ปี ๑๒ ปี" ทำให้เด็กและผู้ปกครองต้องหันไปพึ่งพาระบบการศึกษาที่จัดการศึกษาโดยรัฐ  ความจริงแล้ว การจัดการศึกษาทางเลือกก็มีอยู่ แต่ไม่ค่อยได้รับการสนใจเท่าที่ควร

     ๕. มหาวิทยาลัยทางโลก เช่น รามคำแหง  และมหาวิทยาลัยสยาม ได้เิปิดพื้นที่ทางการศึกษาให้แก่พระภิกษุสามเณรเพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยให้เข้าไปเรียนในสาขาวิชาอื่นๆ เช่น กฎหมาย การตลาด  การบริหาร และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ทำให้พระภิกษุและสามเณรเหล่านี้ มีทางเลือกมากยิ่งขึ้น  แต่คำถามก็คือ "ทำไม พระภิกษุที่เป็นนักบวช จึงหันไปศึกษาวิชาการอื่นๆ " นอกเหนือจากการศึกษาวิชาการทางพุทธฯ

     ๖. ในสถานการณ์เช่นนี้  มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่ง จะอยู่รอดได้อย่างไร หากมองในเชิงการตลาด "นิสิตนักศึกษา" ในฐานะเป็นทั้งลูกค้า และสินค้า มหาวิทยาลัยทั้งสองแห่งจะมีแนวทางและรูปแบบในการนำเสนอทางเลือกเพื่อให้ผู้เข้าใจเข้ามาเรียนรู้ได้อย่างไร  หลักสูตรควรจะมีรูปแบบอย่างไร  จึงจะตอบสนองผู้เรียนได้อย่างสอดรับกับสถานการณ์

     ๗. สถาบันการศึกษาแต่ละแห่งที่สนใจ หรือเปิดการศึกษาด้านศาสนาหรือพระพุทธศาสนาควรจะมีจุดเน้น หรือความแตกต่างกันอย่างไร  เราจะนำหลักการทางการตลาดมาปรับใช้ได้หรือไม่ โดยเฉพะประเด็น "STP" เราจะจำแนกแยกแยะประชากรและกลุ่มตัวอย่างไร Segmentation อย่างไร เราจะมองกลุ่มเป้าหมาย Target Group ตรงไหนอย่างไร  เราจะกำหนดจุดยืน Positioning ของแต่ละแห่งอย่างไร  จึงจะทำให้ภาพลักษณ์ หรือบทบาทต่างๆ จะมีทับซ้อนกัน

     ๘. ข้อมูลที่น่าสนใจในเชิงสถิติ พบว่า "ฆราวาสเรียนธรรมะ พระเรียนทางโลก"  พระภิกษุจะเลือกสาขาวิชาอื่นๆ ก่อนสาขา "พุทธศาสตร์" เช่น รัฐศาสตร์ และสังคมศาสตร์  สถานการณ์เช่นนี้ เกิดขึ้นทั้งในระดัับปริญญาตรี และโท   ถ้าเมื่อวิเคราะห์ตัวเลขในส่วนของฆราวาสจะพบสนใจในทางพุทธศาสตร์โดยตรง หากจะมองในระดับปริญญาโท  เมื่อหากเทียบตัวเลขในระดับปริญญาเอกของมจร. ในปัจจุบันจำนวน ๒๐ รูป/คน แต่เป็นฆราวาส ๑๗ คน พระ ๓ รูป

     ๙. ด้านหลักสูตร  ฆราวาสส่วนใหญ่จะศึกษาสาขาวิชาที่เน้นความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น หลักสูตรชีวิตและความตาย รัฐประศาสนศาสตร์  และจิตตปัญญาศึกษา  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่มีงานทำอยู่แล้ว เพราะสามารถจะนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต และประกอบการงานโดยตรง

     ๑๐. หลักสูตรด้านศาสนาในต่างประเทศเฟื่องฟูมาก แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการเรียนวิชามหายานศึกษา หรือธิเบตศึกษา  ส่วนพุทธเถรวาทจะถดถอยลงโดยลำดับ อาจจะเกิดจากอิทธิพลของดาไลลามะก็ได้

หมายเลขบันทึก: 341303เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2010 09:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)
  • โอโหมีทั้งอาจารย์หมอประเวศ อาจารย์อนุชาติ
  • เป็นความรู้ใหม่ว่า พระเรียนทางโลก ฆารวาสเรียนทางพระ
  • เอา ดร.ดิสกุล จาก กศน อยุธยามาฝาก
  • เผื่อจะได้ประสานงานกันครับ
  • http://gotoknow.org/blog/disakul/340435
  • ขอบคุณครับ

อ.ดร.ขจิต

  • ขอบใจมากที่แวะมาเยี่ยมเยียน
  • อาจารย์ทำหน้าที่ในฐานะทูตที่เชื่อมพวกเราชาว มจร. กับ กศน. ของท่านดิสกุล
  • พวกเราได้ไปเชื่อมมาแล้ว  และท่านผอ. ได้รับปากที่จะเป็นกรรมการทำงานกับพวกเราในฐานะที่ปรึกษาวิสาขบูชาโลกด้วย
  • เจริญพร

เชิญเลยท่าน ดร. ขจิต อาตมาจะให้ทีมงานติดต่อไปเพื่อจะได้มาทำงานร่วมกัน

นมัสการครับ

เป็นหัวข้อการเสวนาที่น่าสนใจมาก

ผมขอร่วมคิดเป้นการเบื้องต้น ดังนี้ครับ

ศาสนศึกษาควรจะเริ่มเมื่อวัยหรือชั้นใด จะเริ่มเมื่อโตแล้ว ในระดับวิทยาลัยหรืออุดมศึกษา หรือจะเริ่มเมื่ออนุบาล

การสอนศาสนาเป็นวิชาชีพหรือไม่ (ข้อนี้สำคัญครับ.....)

พระสงฆ์สอนพุทธศาสนาโดยการปฏิบัติที่ถูกต้อง ผู้คนทั่วไปได้เห็น ได้สัมผัส ก็ถือว่าเป้นการสอนโดยธรรมชาติแล้วหรือไม่

ในฐานะชาวพุทธ การเรียนพุทธศาสนาในชีวิตประจำวัน จากครองครัว จากวัดในชุมชน ถ้าทำให้ดี เพียงพอหรือไม่

ถ้ารู้พุทธแล้วแก้ปัญหาตัวเองได้หรือไม่

ถ้าแก้ปัญหาตัวเองได้ จะสามารถเป็นผู้แนะนำคนอื่นได้ด้วยจะดีไหม

เท่าที่มีเวลาแวะมาทักทายกันครับ

นมัสการครับ

พระอาจารย์...

มจร..น่ามีการพูดคุยกันระหว่างกันเพื่อหาแนวทางการพัฒนาพระสงฆ์..กับเจ้าคณะผู้ปกครอง

เพื่อหาแนวทาง ..ที่น่าจะอยู่บนพื้นฐานเเห่งปรากฏการณ์อันเป็นจริง(Truth) หรือ ข้อเท็จจริง(Fact)

กราบสวัสดีท่านอาจารย์ ธรรมหรรษา

เห็นชาวบ้านเรียนนิมนต์พระผู้ทรงภูมิความรู้ มาร่วมเสวนาเห็นภาพแล้วชื่นใจมากครับท่านอาจารย์  การได้เสวนากับบัณฑิตมีแต่คุณประโยชน์อย่างเดียวครับ

กราบนมัสการพระอาจารย์

มีเรียนรู้ค่ะ เห็นคนที่มา ลปรร คงจะทำให้หาคำตอบได้นะคะ

กราบมนัสการพระอาจารย์

กระผมเป็นผู้ที่นั่งอยู่ข้างประตูและเป็นผู้ที่พระอาจารย์ให้ช่วยถ่ายรูปพระภิกษุที่มาร่วมในการเสวนา ขอเรียนพระอาจารย์เกี่ยวกับชื่อบุคคลและสถานที่ ที่ถูกต้องดังนี้

1. รศ.ดร.พินิจ รัตตกุล ไม่ถูกต้องที่นามสกุล ที่ถูกต้องคือ รัตนกุล

2. คุณหญิงสุมาลี จาติกวณิช ไม่ถูกต้องที่คำนำหน้านามและนามสกุล ที่ถูกต้องคือ ท่านผู้หญิงสุมาลี จาติกวนิช

3. ศ.นพ.ประเวศ วะสี ไม่ถูกต้องที่ต่ำแหน่งทางวิชาการ ที่ถูกต้องคือ ศ. เกียรติคุณ นพ.ประเวศ วะสี

4. ศ. นพ.ปิยะกล สกลสัตยาทร ไม่ถูกต้องที่ตำแหน่งทางวิชาการและชื่อ ที่ถูกต้องคือ ศ.คลินิก นพ. ปิยะสกล สกลสัตยาทร

5. คณะมนุษย์ศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ที่ถูกต้องคือ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

มนัสการครับ

ปิยะ จินดาบวร

เจริญพร โยมปิยะ จินดาบวร

ขอบใจมากที่เข้ามาช่วยแก้ไขเพิ่มเติมให้ข้อมูลมีความถูกต้องและชัดเจนมากยิ่งขึ้น

เจริญพร

นมัสการเจ้าค่ะ

กำลังหานางแบบที่จะวาดสำหรับห้องสมุด

ตอนแรกว่าจะอ่านหนังสือก่อน สอบเสร็จแล้วค่อยวาด

แต่ ไม่ได้จับพู่กันนานวัน มันคันมือ เหมือนขาดอะไรไปอย่างเจ้าค่ะ

ก็เลย อ่านไปวาดไป ก็แล้วกัน

นมัสการลา

ท่านทูต

  • การตั้งข้อสังเกต และตั้งคำถามเป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการวางกรอบและกำหนดทิศทางการศึกษาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาทั้งที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการ
  • อาตมาจะนำคำถามเหล่านี้ไปให้พวกเราได้ช่วยกันตอบในโอกาสต่อไป
  • เจริญพร

ท่านจาตุรงค์และพระปลัดครับ

  • ขอบคุณสำหรับการเข้ามาเยี่ยมเยียน
  • การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างพระสงฆ์ฝ่ายปกครองกับมจร. เราทำมาตลอดนะครับ
  • หลักสูตรที่ท่านเหล่านี้เรียนคือ "หลักสูตรปกาศนียบัตรการบริหารกิจการคณะสงฆ์" โดยใช้เวลาเรียน ๑ ปีครับ
  • ตอนนี้ขยายพื้นที่ไปเกือบ ๕๐ จังหวัดแล้วครับ

นมัสการหลวงน้าค่ะ

วันนี้หนูได้เขียนบันทึกใหม่  ออกจากเน็ตไปแล้ว

มีเวลากลับมาอีกครั้งค่ะ  หนูจะลาออกจากโรงเรียนเดิมวันที่ ๒๕ นี้ค่ะ

หนูได้ชื่อใหม่หรือยังคะ

โยมแก้ว และโยมณัฐรดา

  • การ ลปรร ระหว่างพระอาจารย์และนักศึกษาที่กำลังจบการศึกษามีประโยชน์มาก เพราะได้ทั้งมุมมองทั้งทางโลกและทางธรรม
  • ขอบใจโยมณัฐรดามากๆ ที่พยายามจะวาดภาพเพื่อนำไปติดตั้งที่ห้องสมุด WizPark อันจะก่อให้เกิดแรงบันดาลใจแก่ผู้ที่ไปใช้บริการ
  • เจริญพรขอบใจทั้งสองท่าน

หนูนัท

  • ได้รับเมล์แล้ว ตอบกลับหลวงน้าด่วน!!!
  • หลวงน้าจะดำเนินการเป็นการด่วน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท