ทอดกระทะเสี่ยงมะเร็ง


หิว..ค่อยกิน อยาก..อย่ากิน (ความอยากไม่มีทีสิ้นสุด)

คณะนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์เวย์ ในเมืองทรอนด์เฮม เผยผลการทดลองการหาปริมาณสารก่อมะเร็ง หรือ คาร์ซิโนเจน จากการปรุงอาหารด้วยกระทะที่ใช้ความร้อนจากก๊าซหุงต้มเปรียบเทียบกับกระทะที่ใช้ความร้อนจากไฟฟ้า พบว่าความร้อนจากก๊าซหุงต้มนั้นเพิ่มอัตราการสัมผัสระหว่างผู้ปรุงอาหารกับสารเคมีจำพวกหมู่แอลดีไฮด์ซึ่งกลายสภาพเรียกว่า มิวทาเจนิก แอลดีไฮด์ และสารวงแหวนประเภทเฮกเทอโรไซคลิกซึ่งมีหมู่อะมีน ซึ่งสถาบันวิจัยโรคมะเร็งนานาชาติ (ไอเออาร์ซี) จัดให้ทั้งคู่เป็นสารอาจก่อมะเร็ง

ผู้วิจัยเชื่อว่าปริมาณของคาร์ซิโนเจนจะแปรผันตามอุณหภูมิของความร้อนจากก๊าซหุงต้มซึ่งทำให้เกิดอนุมูลอิสระจากการเสียสภาพของโมเลกุลน้ำมัน นอกจากนี้ ยังพบสารประกอบพอลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนที่เป็นอันตรายด้วย แต่ในระดับต่ำมาก จึงแนะนำว่า ควรหมั่นตรวจสอบสภาพของเตาแก๊สเป็นประจำและปรุงอาหารในครัวที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก

 ขอบคุณ ข่าวสดรายวัน

วันที่ 02 มีนาคม พ.ศ. 2553  

หมายเลขบันทึก: 341079เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2010 09:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2013 13:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท