เชื่อมโลกของเราผ่านมือถือ ด้วย foursquare


Location-based service กำลังจะมาเป็น trend ที่แทรกซึมเข้าไปในชีวิตประจำวันของพวกเราทุกคนไม่เร็วก็ช้

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2005 ต้องยอมรับว่า Google Earth เป็นบริการสาธารณะสะท้านโลกตัวแรกที่ทำให้เรารู้จักพื้นโลกที่เราอยู่นี้มากขึ้น ซึ่งควบคู่ไปกับบริการตัวนี้ก็ยังมี Google Maps ที่ให้บริการคล้ายๆ กัน แต่ข้อดีของมันคือเป็น Web application ทำให้เราไม่ต้องดาว์นโหลดโปรแกรมมาติดตั้งเพิ่มเติม อีกทั้งยังมี API (Application Programing Interface) ให้เว็บไซต์อื่นๆ สามารถนำแผนที่นี้ไปใช้ในเว็บของตน หรือต่อยอดทำ application อื่นๆ ออกมาอีกมากมาย ตัวอย่างเช่นใน eventpro.in.th ก็มีการแสดงพิกัดของสถานที่จัดอีเวนท์บน Google map
พัฒนาการของบริการแผนที่ออนไลน์ไม่ได้หยุดเพิ่งแค่นั้น ในปี 2006 Google ก็ได้เปิดให้บริการ Google Maps บนมือถือเป็นครั้งแรกสำหรับเครื่องที่สามารถรัน Java ได้ ต่อมาอีกไม่นาน Google ก็ได้เปิดตัว Google Latitude ที่ทำให้เรารู้ตำแหน่งพิกัดของตัวเองได้ด้วยโทรศัพท์มือถือ และในปี 2007 ความร่วมมือระหว่าง Google กับ Apple ก็ปรากฏขึ้นใน Apple iPhone ที่นำเอา Google Maps on mobile ไปเป็น defualt application ตัวหนึ่ง ทำให้เราสามารถใช้งานมือถือได้คล้ายคลึงกับ GPS (Geographic Positioning System) แต่ต่างกันก็ตรงที่วิธีการได้มาซึ่งพิกัดของมือถือจะมาจากการดึงข้อมูลของ wireless network และ cell site ที่ใกล้เคียง ทำให้ตำแหน่งอาจจะคลาดเคลื่อนได้ขึ้นอยู่กับโครงสร้างพื้นฐานของประเทศที่เราใช้บริการอยู่ และแน่นอนสำหรับประเทศไทยของเราในปี 2010 นี้ บางครั้งผู้ที่ใช้บริการเปิดขึ้นมายังอาจจะห่างเป็นหลายร้อยเมตร หรือเป็นกิโลเมตรเลยก็เป็นได้
แต่ที่แน่ๆ บริการประเภทนี้ที่เราเรียกว่า Location-based service กำลังจะมาเป็น trend ที่แทรกซึมเข้าไปในชีวิตประจำวันของพวกเราทุกคนไม่เร็วก็ช้า และวันนี้บริการหนึ่งที่ไม่อาจไม่พูดถึงก็คือ foursquare มันเป็น Social network ประเภทหนึ่งบนมือถือที่ทำให้เราสนุกไปกับการบอกให้คนอื่นรู้ว่าตำแหน่งที่เรากำลังอยู่นี้คือสถานที่อะไร?
อาจจะมองว่าบริการนี้คล้ายๆ กับการเล่นเกมแรลลี่ ที่พอเราไปถึงที่ไหนก็เข้า foursquare ทำการ "check-in" เพื่อรับแต้ม (point) เป็นรางวัล ซึ่งการ check-in นี้ หากเราเพิ่มสถานที่ใหม่ๆ ซึ่งยังไม่เคยไปมาก่อนก็จะได้ bonus และหากยิ่ง check-in ถี่มากขึ้นมีการใส่ tag เกี่ยวกับเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง เราก็จะมีโอกาสได้ป้าย (badge) ที่แสดงถึงความเก๋าเกมของเรา และหากเราไป check-in ในสถานที่หนึ่งบ่อยๆ เข้าเราก็จะได้รับการแต่งตั้งเป็น เจ้าเมือง (Mayor)
นอกจากนี้เรายังสามารถตะโกน (shout) บอกให้เพื่อนๆ เรารู้ได้ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ที่นั้น เพราะ foursquare สามารถเชื่อมต่อเข้ากับ Socail nework site อื่นๆ อย่าง facebook และ twitter ได้โดยไม่ยาก เราสามารถสร้าง todo list และ tips ในการเข้าไปยังสถานที่แต่ละแห่ง เพื่อเป็นการแนะนำเพื่อนๆ ของเราว่าเขาควรจะไปทำอะไรในที่เหล่านั้น
อ่านมาถึงตรงนี้ในฐานะนักพัฒนาคงจะเห็นกลยุทธที่แยบยลของ foursquare ที่สร้างเกมให้คนติด ให้เพื่อนเป็นคนชวนเพื่อนให้มาเล่น ยิ่งมีคนใช้บริการนี้มากเท่าไร foursquare ก็จะยิ่งได้พิกัดสถานที่และข้อมูลที่ถูกต้องมากขึ้นเท่านั้น (โดยไม่ต้องเสียตังค์จ้างใครมาปักหมุดเลย ก็แค่ทำให้บริการมันสนุกเท่านั้นเอง) ซึ่งต่อไปในอนาคต foursquare ก็คงจะได้ประโยชน์จากพิกัดเหล่านี้อีกมากมาย สามารถนำไปใช้ในการให้บริการโฆษณาแบบ Location Targeted Advertising เหมือนกับครั้งก่อนโน่นที่ Google ให้บริการ Search engine ฟรี และเมื่อเปิดไพ่ไม้ตายออกมาก็เป็น Google Adwords ที่สามารถสร้างรายได้จากคนทั่วโลกได้เป็นพันพันล้านต่อปี มันถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะคิดอะไรให้ได้แบบนี้ หรือยังคงเป็นผู้ใช้ที่ดีต่อไป แล้วคุณหละคิดอย่างไร How do u think?

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2005 ต้องยอมรับว่า Google Earth เป็นบริการสาธารณะสะท้านโลกตัวแรกที่ทำให้เรารู้จักพื้นโลกที่เราอยู่นี้มากขึ้น ซึ่งควบคู่ไปกับบริการตัวนี้ก็ยังมี Google Maps ที่ให้บริการคล้ายๆ กัน แต่ข้อดีของมันคือเป็น Web application ทำให้เราไม่ต้องดาว์นโหลดโปรแกรมมาติดตั้งเพิ่มเติม อีกทั้งยังมี API (Application Programing Interface) ให้เว็บไซต์อื่นๆ สามารถนำแผนที่นี้ไปใช้ในเว็บของตน หรือต่อยอดทำ application อื่นๆ ออกมาอีกมากมาย ตัวอย่างเช่นใน eventpro.in.th ก็มีการแสดงพิกัดของสถานที่จัดอีเวนท์บน Google map


พัฒนาการของบริการแผนที่ออนไลน์ไม่ได้หยุดเพิ่งแค่นั้น ในปี 2006 Google ก็ได้เปิดให้บริการ Google Maps บนมือถือเป็นครั้งแรกสำหรับเครื่องที่สามารถรัน Java ได้ ต่อมาอีกไม่นาน Google ก็ได้เปิดตัว Google Latitude ที่ทำให้เรารู้ตำแหน่งพิกัดของตัวเองได้ด้วยโทรศัพท์มือถือ และในปี 2007 ความร่วมมือระหว่าง Google กับ Apple ก็ปรากฏขึ้นใน Apple iPhone ที่นำเอา Google Maps on mobile ไปเป็น defualt application ตัวหนึ่ง ทำให้เราสามารถใช้งานมือถือได้คล้ายคลึงกับ GPS (Geographic Positioning System) แต่ต่างกันก็ตรงที่วิธีการได้มาซึ่งพิกัดของมือถือจะมาจากการดึงข้อมูลของ wireless network และ cell site ที่ใกล้เคียง ทำให้ตำแหน่งอาจจะคลาดเคลื่อนได้ขึ้นอยู่กับโครงสร้างพื้นฐานของประเทศที่เราใช้บริการอยู่ และแน่นอนสำหรับประเทศไทยของเราในปี 2010 นี้ บางครั้งผู้ที่ใช้บริการเปิดขึ้นมายังอาจจะห่างเป็นหลายร้อยเมตร หรือเป็นกิโลเมตรเลยก็เป็นได้


แต่ที่แน่ๆ บริการประเภทนี้ที่เราเรียกว่า Location-based service กำลังจะมาเป็น trend ที่แทรกซึมเข้าไปในชีวิตประจำวันของพวกเราทุกคนไม่เร็วก็ช้า และวันนี้บริการหนึ่งที่ไม่อาจไม่พูดถึงก็คือ foursquare มันเป็น Social network ประเภทหนึ่งบนมือถือที่ทำให้เราสนุกไปกับการบอกให้คนอื่นรู้ว่าตำแหน่งที่เรากำลังอยู่นี้คือสถานที่อะไร?
อาจจะมองว่าบริการนี้คล้ายๆ กับการเล่นเกมแรลลี่ ที่พอเราไปถึงที่ไหนก็เข้า foursquare ทำการ "check-in" เพื่อรับแต้ม (point) เป็นรางวัล ซึ่งการ check-in นี้ หากเราเพิ่มสถานที่ใหม่ๆ ซึ่งยังไม่เคยไปมาก่อนก็จะได้ bonus และหากยิ่ง check-in ถี่มากขึ้นมีการใส่ tag เกี่ยวกับเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง เราก็จะมีโอกาสได้ป้าย (badge) ที่แสดงถึงความเก๋าเกมของเรา และหากเราไป check-in ในสถานที่หนึ่งบ่อยๆ เข้าเราก็จะได้รับการแต่งตั้งเป็น เจ้าเมือง (Mayor)


นอกจากนี้เรายังสามารถตะโกน (shout) บอกให้เพื่อนๆ เรารู้ได้ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ที่นั้น เพราะ foursquare สามารถเชื่อมต่อเข้ากับ Socail nework site อื่นๆ อย่าง facebook และ twitter ได้โดยไม่ยาก เราสามารถสร้าง todo list และ tips ในการเข้าไปยังสถานที่แต่ละแห่ง เพื่อเป็นการแนะนำเพื่อนๆ ของเราว่าเขาควรจะไปทำอะไรในที่เหล่านั้น


อ่านมาถึงตรงนี้ในฐานะนักพัฒนาคงจะเห็นกลยุทธที่แยบยลของ foursquare ที่สร้างเกมให้คนติด ให้เพื่อนเป็นคนชวนเพื่อนให้มาเล่น ยิ่งมีคนใช้บริการนี้มากเท่าไร foursquare ก็จะยิ่งได้พิกัดสถานที่และข้อมูลที่ถูกต้องมากขึ้นเท่านั้น (โดยไม่ต้องเสียตังค์จ้างใครมาปักหมุดเลย ก็แค่ทำให้บริการมันสนุกเท่านั้นเอง) ซึ่งต่อไปในอนาคต foursquare ก็คงจะได้ประโยชน์จากพิกัดเหล่านี้อีกมากมาย สามารถนำไปใช้ในการให้บริการโฆษณาแบบ Location Targeted Advertising เหมือนกับครั้งก่อนโน่นที่ Google ให้บริการ Search engine ฟรี และเมื่อเปิดไพ่ไม้ตายออกมาก็เป็น Google Adwords ที่สามารถสร้างรายได้จากคนทั่วโลกได้เป็นพันพันล้านต่อปี มันถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะคิดอะไรให้ได้แบบนี้ หรือยังคงเป็นผู้ใช้ที่ดีต่อไป แล้วคุณหละคิดอย่างไร How do u think?

* บทความนี้ ลงในนิตยสาร D+Plus ฉบับเดือน กุมภาพันธ์ 2553

คำสำคัญ (Tags): #4sq#google#lbs#social network
หมายเลขบันทึก: 340615เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2010 11:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2012 15:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท