รายงานระบบดูแลนักเรียนตามหลักปรัชญาขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๙ จังหวัดนครศรีธรรมราช สพฐ.


ระบบดูแลนักเรียนตามหลักปรัชญาขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

 

             รายงานระบบดูแลนักเรียนตามหลักปรัชญาขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนราชประชานุเคราะห์  ๑๙  จังหวัดนครศรีธรรมราช        สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ซึ่งเป็นการรายงานเชิงประเมินในครั้งนี้  ผู้รายงานได้ดำเนินการตามขั้นตอน   ดังนี้ 

วัตถุประสงค์ของการรายงาน

                1.   เพื่อรายงานระบบดูแลนักเรียนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนราชประชานุเคราะห์  ๑๙  จังหวัดนครศรีธรรมราช     สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ   สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

                2.  เพื่อนำผลจากระบบดูแลนักเรียนตามหลักปรัชญาขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง           โรงเรียนราชประชานุเคราะห์  ๑๙  จังหวัดนครศีธรรมราช     สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ   สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน   ไปใช้ในการพัฒนา

                3.  เพื่อรายงานปัญหาอุปสรรค   และข้อเสนอแนะในระบบดูแลนักเรียนตามหลักปรัชญาขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง     โรงเรียนราชประชานุเคราะห์  ๑๙  จังหวัดนครศีธรรมราช     สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ   สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน   และใช้ในการพัฒนาต่อไป

 

สมมติฐานการรายงาน 

                        - ไม่มี-
ขอบเขตการรายงาน

 

1.  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
          1.1  ประชากรที่ใช้ในการรายงานผลการดำเนินการระบบดูแลนักเรียนตามหลักปรัชญาขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง     โรงเรียนราชประชานุเคราะห์  ๑๙  จังหวัดนครศรีธรรมราช     สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ครั้งนี้  คือ   ผู้บริหาร  จำนวน  5  คน   ครูและบุคลากร   จำนวน 60   คน   คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  จำนวน  13  คน     และลูกจ้าง  จำนวน  12  คน   รวมทั้งสิ้น  จำนวน   90  คน 
          1.2  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการรายงานผลระบบดูแลนักเรียนตามหลักปรัชญาขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง           โรงเรียนราชประชานุเคราะห์  ๑๙  จังหวัดนครศรีธรรมราช     สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  คือ  ผู้บริหาร  จำนวน  5  คน  ครูและบุคลากร จำนวน  60  คน   คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน      13 คน  และลูกจ้าง  จำนวน  12  คน  ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกันกับประชากร  รวมทั้งสิ้นจำนวน  90  คน 

2.  ขอบเขตด้านเนื้อหา

                                2.1   ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  4   องค์ประกอบ

                                       2.1.1  การแนะแนวและระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

                                       2.1.2  ด้านการจัดกิจกรรมนักเรียน  ลูกเสือ  เนตรนารี

                                       2.1.3  ด้านการจัดทำโครงงาน

                                       2.1.4  การจัดกิจกรรมชุมนุม/ชมรม

 

                3.  ขอบเขตด้านกิจกรรมที่ดำเนินการ 

                        3.1  ด้านเศรษฐกิจ   ได้แก่   กิจกรรมการปลูกพืชผักปลอดสารพิษ    กิจกรรม  การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติกและบ่อคอนกรีต      กิจกรรมการออมทรัพย์    กิจกรรมบัญชีครัวเรือน

                        3.2   ด้านสังคม  ได้แก่    กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย    กิจกรรมผู้นำนักเรียน

                        3.3   ด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่  กิจกรรมทำปุ๋ยชีวภาพ   กิจกรรมทำปุ๋ยหมัก    กิจกรรมทำน้ำหมักชีวภาพ      กิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม   กิจกรรมโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ

                        3.4   ด้านวัฒนธรรม   ได้แก่    กิจกรรมโรงเรียนวิถีพุทธ   กิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา    กิจกรรมหิ้วปิ่นโตไปวัด  

                4.  ระยะเวลาดำเนินการ    

                                ตั้งแต่วันที่  16  พฤษภาคม  2550  - 25  กุมภาพันธ์   2551

 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 

                เครื่องมือที่ใช้ในการรายงาน   ใช้แบบประเมินผลการเป็นแบบประเมินที่ผู้รายงานจัดทำขึ้นโดยปรับปรุงมาจากแบบประเมินการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา  ของกระทรวงศึกษาธิการ   ซึ่งมีการประเมิน  4   ด้าน   แบ่งระดับการประเมินจากการปฏิบัติของโรงเรียน   เป็น  5  ระดับ  ตามมาตราส่วนประมาณค่าของลิเคิร์ท   (Likert)   (สมบูรณ์  สุริยวงศ์,สมจิตรา  เรืองศรี และ  เพ็ญศรี  เศรษฐวงศ์,2543 :  116)   คือ     

                                ระดับ  5   หมายถึง   ระดับการปฏิบัติมากที่สุด   

                                ระดับ  4   หมายถึง   ระดับการปฏิบัติมาก

                                ระดับ  3   หมายถึง   ระดับการปฏิบัติปานกลาง   

                                ระดับ  2   หมายถึง   ระดับการปฏิบัติน้อย

                                ระดับ  1   หมายถึง   ระดับการปฏิบัติน้อยที่สุด

มีรายละเอียดแต่ละด้าน  ปรากฏประเด็นย่อย   ดังนี้

                   2.3   ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  4   องค์ประกอบ

                          2.3.1  การแนะแนวและระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน   จำนวน   4   ข้อย่อย

                          2.3.2  ด้านการจัดกิจกรรมนักเรียน  ลูกเสือ  เนตรนารี   จำนวน   4   ข้อย่อย

                          2.3.3  ด้านการจัดทำโครงการ    จำนวน   4   ประเด็น  ได้แก่ 

1. แนวคิดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโครงการด้านเศรษฐ์กิจ   6  ข้อย่อย

2. แนวคิดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโครงการด้านสังคม / กิจกรรมพัฒนาศักยภาพผู้เรียน  ซึ่งได้แบ่งออกเป็น  5  ประเด็นหลัก คือ 

                1.ด้านศิลปะ จำนวน  3  องค์ประกอบ 

                2.ด้านดนตรี  จำนวน 4  องค์ประกอบ

                3.ด้านนาฏศิลป์  จำนวน  3  องค์ประกอบ

                4. ด้านกีฬา  จำนวน 4  องค์ประกอบ

                5. ด้านส่งเสริมสุขภาพกายและจิตใจ    จำนวน  1 องค์ประกอบ

3. กิจกรรมพัฒนาศักยภาพผู้เรียนด้านสิ่งแวดล้อม   จำนวน  2  ข้อย่อย

4. กิจกรรมพัฒนาศักยภาพผู้เรียนด้านวัฒนธรรม     จำนวน  3  ข้อย่อย

5. ด้านการจัดทำโครงงาน

6. การจัดกิจกรรมชุมนุม/ชมรม   จำนวน   4   ข้อย่อย

 

สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล

                ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการประเมินและรายงานผลระบบดูแลนักเรียนตามหลักปรัชญาขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนราชประชานุเคราะห์  ๑๙  จังหวัดนครศรีธรรมราช     สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ   สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มีดังนี้

ตอนที่  1    จำนวนประชากรผู้ตอบแบบประเมินการดำเนินการรายงานระบบดูแลนักเรียนตามหลักปรัชญาขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง   โรงเรียนราชประชานุเคราะห์  ๑๙  จังหวัดนครศรีธรรมราช   สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ   สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน    ประกอบด้วย  ผู้บริหาร  จำนวน  5  คน  ครูและบุคลากร จำนวน  60   คน   คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  จำนวน  13  คน  ลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราว  จำนวน  12  คน         รวมทั้งสิ้น  จำนวน  90  คน  ได้รับแบบประเมินคืนและเป็นฉบับที่สมบูรณ์ทั้งหมด   จำนวน         83  ฉบับ  คิดเป็นร้อยละ  92.21   ซึ่งเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้ทางสถิติ

ตอนที่  2     ผลการประเมินผลระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๙  จังหวัดนครศรีธรรมราช   สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ   สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มีดังนี้ 

                  ผลการประเมินผลการดำเนินการผลการประเมินผลระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง   โรงเรียนราชประชานุเคราะห์  ๑๙ จังหวัดนครศรีธรรมราช   ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  องค์ประกอบ การแนะแนวและระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน  พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  (m =4.36,s=0.71) โดยในเรื่อง  มีกิจกรรมส่งเสริมการปฏิบัติหรือประกอบอาชีพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา ค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด (m =4.52,s=0.54)อยู่ในลำดับสูงที่สุด    รองลงมา คือ มีการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนรู้จักศักยภาพของตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง    ค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด (m =4.44,s=0.68)  และมีการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้วางแผนอนาคตของตนเองให้สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก(m =4.31,s=0.85) เป็นลำดับสุดท้าย   

                 ผลการประเมินผลการประเมินผลระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง   โรงเรียนราชประชานุเคราะห์  ๑๙ จังหวัดนครศรีธรรมราช  ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  องค์ประกอบที่ 3.2   ด้านการจัดกิจกรรมนักเรียน  ลูกเสือ  เนตรนารีพบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (m=4.42,s=0.74) โดยในเรื่อง  สถานศึกษานำผู้เรียนเข้าร่วมบำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง   ค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด (m =4.63,s=0.86) อยู่ในลำดับสูงที่สุด รองลงมา คือ    สถานศึกษามีการจัดกิจกรรมชุมนุม/ชมรม ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด (m=4.41,s=0.72)  และ สถานศึกษามีกิจกรรม/โครงการที่เน้นการมีส่วนร่วมระหว่างครูนักเรียน  ผู้ปกครองและชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน  ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก  (m=4.25,s=0.75) เป็นลำดับสุดท้าย   

                  ผลการประเมินผลการดำเนินการผลการประเมินผลระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  แนวคิดโครงการด้านเศษฐกิจ  โรงเรียนราชประชานุเคราะห์  ๑๙ จังหวัดนครศรีธรรมราช  กิจกรรมการปลูกผักปลอดสารพิษ  พบว่า  ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (m=453,s=0.66)  กิจกรรมผลิตน้ำมันไบโอดีเซล  ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (m=4.65,s=0.54)  กิจกรรมยุวเกตรกร   ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (m=4.47,s=0.68)             และกิจกรรมเลี่ยงปลาในกระชัง  ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (m=4.43,s=0.84)  กิจกรรมเกษตรหอนอน   พบว่า  ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (m=4.42,s=0.78)  กิจกรรมส่งเสริมอาชีพอิสระ          พบว่า  ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด(m=4.37,s=0.78) 

                   ผลการประเมินผลการดำเนินการผลการประเมินผลระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง   โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๙  จังหวัดนครศรีธรรมราช   พบว่า     แนวคิดด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนด้านสังคม  ได้ดำเนินการกิจกรรมที่เน้นการสร้างโอกาสแก่ผู้พิการทางการเรียนรู้ได้แก่กิจกรรมการจัดการเรียนร่วม  พบว่า   ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก  (m =4.44,s=0.68)  พร้อมได้ผสมผสานโดยใช้กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนสุนทรียภาพ ทั้งร่างกายและจิตใจด้านศิลปะ  ด้านดนตรี   ด้านนาฏศิลป์  ด้านกีฬา   การส่งเสริมสุขภาพร่างกายและจิตใจ  พบว่า ด้านศิลปะผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  (m =4.52,s=0.54)  รองลงมากิจกรรมส่งเสริมด้านการผลิตด้านประดิษฐ์    ผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  (m =4.43,s=0.84)   และกิจกรรมการแกะหนังตะลุง  ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก  (m =4.31,s=0.85)   กิจกรรมด้านดนตรี กิจกรรมส่งเสริมด้านดุริยางค์     ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  (m =4.65,s=0.54)   กิจกรรมขับร้องเพลงไทยลูกทุ่ง  ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  (m =4.52,s=0.54)  รองมา  คือ  กิจกรรมส่งเสริมดนตรีไทย  ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (m =4.37,s=0.78)   และ กิจกรรมส่งเสริมดนตรีสากล ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (m =4.39,s=0.74)   ด้านนาฏศิลป์ กิจกรรมส่งเสริมนาฏศิลป์พื้นเมือง  (มโนราห์)  ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (m =4.67,s=0.47)  ในระดับเดี่ยวกันนั้น  ผลการประเมินกิจกรรมส่งเสริมการรำไทย  ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (m =4.67,s=0.47) รองลงมา คือ กิจกรรมส่งเสริมนาฏศิลป์ประยุกต์ (m =4.34,s=0.82) กิจกรรพัฒนาผู้เรียนด้านกีฬา  ในการประเมินภาพรวม  พบว่า  กิจกรรมส่งเสริมด้านกรีฑา    ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (m =4.50,s=0.69)  และกิจกรรมส่งเสริมด้านกีฬามวยสากล     ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (m =4.51,s=0.63) และระดับการประเมินในระดับมาก  ได้แก่  กิจกรรมส่งเสริมด้านกีฬาฟุตซอล    การประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (m =4.32,s=0.77)  กิจกรรมส่งเสริมด้านกีฬาฟุตบอล    ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก   (m =4.42,s=0.62) กิจกรรมส่งเสริมด้านกีฬามวยไทย    ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (m =4.46,s=0.64)  และกิจกรรมส่งเสริมกีฬาเปตอง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (m =4.43,s=0.71)    ด้านการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน   ได้ดำเนินการ กิจกรรมส่งเสริมสุขอนามัยนักเรียน  มีผลการประเมิน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (m =4.57,s=0.68 )  

                ผลการประเมินผลการดำเนินการผลการประเมินผลระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง   โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๙ จังหวัดนครศรีธรรมราช  แนวคิดด้านสิ่งแวดล้อม ดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม  พบว่า กิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมผลการประเมิน  พบว่า  ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก   (m =4.46 ,s=0.69 )  และกิจกรรมกิจกรรมทำปุ๋ยชีวภาพผลการประเมินพบว่า  ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก   (m =4.36 ,s=0.76 ) 

                 ผลการประเมินผลการดำเนินการผลการประเมินผลระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง     โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๙ จังหวัดนครศรีธรรมราช   แนวคิดทางวัฒนธรรมดำเนินกิจกรรมด้านวัฒนธรรม  ผลการประเมิน  พบว่า  กิจกรรมวันสำคัญทางศาสนาในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด   (m =4.57 ,s=0.68 )   กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม  ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด   (m =4.54 ,s=0.51 )  รองลงมา กิจกรรมประเพณีท้องถิ่น         ผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมาก  (m =4.77 ,s=0.72 )  

                  ผลการประเมินผลระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง   โรงเรียนราชประชานุเคราะห์  ๑๙ จังหวัดนครศรีธรรมราช  ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  องค์ประกอบที่ 3.  ด้านการจัดทำโครงงาน   พบว่า  ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (m=4.51,s=0.69) โดยในเรื่องสถานศึกษามีการจัดทำโครงงานที่นักเรียนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา  และพัฒนาด้านเศรษฐกิจ  สังคมหรือสิ่งแวดล้อมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด (m=4.60,s=0.56) อยู่ในลำดับสูงที่สุด  รองลงมา คือ  สถานศึกษามีการส่งเสริมให้ผู้เรียนจัดทำโครงงานเรียนรู้ที่หลากหลายสอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ค่าเฉลี่ยระดับมาก (m=4.58,s=0.68) และสถานศึกษา      มีการเผยแพร่โครงงาน/กิจกรรมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่ชุมชน ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (m=4.37,s=0.82) เป็นลำดับสุดท้าย  

                   ผลการประเมินผลระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง   โรงเรียนราชประชานุเคราะห์  ๑๙ จังหวัดนครศรีธรรมราช   จำแนกตามองค์ประกอบ    พบว่า  ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (m=4.43,s=0.71) โดยองค์ประกอบที่ 3  การจัดทำโครงงานค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด (m=4.86,s=0.43) อยู่ในลำดับสูงที่สุด รองลงมาคือ องค์ประกอบที่ 4  การจัดกิจกรรมชุมนุม  ค่าเฉลี่ยระดับมาก(m=4.43,s=0.70)  และการแนะแนวและระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน   ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก(m=4.40,s=0.71) เป็นลำดับสุดท้าย

 อภิปรายผล 

                1.  จากผลการประเมินผลรายงานระบบดูแลนักเรียนตามหลักปรัชญาขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง    โรงเรียนราชประชานุเคราะห์  ๑๙  จังหวัดนครศรีธรรมราช                                            ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การแนะแนวและระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน  ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (m=4.40,s=0.71)  ที่มีองค์ประกอบจากการที่โรงเรียนได้ดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมการปฏิบัติหรือประกอบอาชีพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา  ที่ส่งผลต่อเนื่องถึงความสัมพันธ์ในการวางแผนตามเงื่อนไข   ความสมเหตุสมผลของเศรษฐีกิจพอเพียง  นักเรียนเกิดความตระหนักและให้ความสำคัญในการพึ่งตนเอง  และดำเนินการโดยรู้ในศักยภาพของตนเอง  ที่ประกอบกับการแนะแนวทางของครูผู้สอนอย่างใกล้ชิดจึงเป็นเหตุที่ส่งผลถึงด้านการพัฒนาอาชีพ  ของนักเรียนไก้ดำเนินการอย่างบรรลุผลตามวัตถุประสงค์อย่างชัดเจนรวดเร็ว

                ด้านการจัดกิจกรรมนักเรียน  ลูกเสือ  เนตรนารี  มีผลการประเมินในระดับมาก  (m=4.42,s=0.74)  ที่ปรากฏกิจกรรมที่โดดเด่น    คือ  กิจกรรมลูกเสือ  เนตรนารี  ตามหลักปรัชญาเศรษกิจพอเพียง  ที่ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (m=4.37,s=0.86)   และผลของการจัดกิจกรรมได้ส่งผลถึงศักยภาพผู้เรียนในการประกอบกิจกรรม/โคตรงการที่เน้นการมีส่วนร่วมระว่างครู  นักเรียน  ผู้ปกครองและชุมชน  ตามหลักเศรษฐ์กิจพอเพียงอย่างยั่งยืน ที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (m=4.25,s=0.85)  นั้นเอง   จึงเป็นเหตุให้ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยมีการเชื่อมโยงต่อการวางแผนการจัดกิจกรรม  ในการส่งเสริมศักยภาพของนักเรียนในปีการศึกษา  2553  อีกด้วย

                ด้านแนวคิดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโครงการด้านเศรษฐกิจ   โรงเรียนได้ดำเนินการกิจกรรมโครงการส่งเสริมกิจกรรมระหว่างเรียน (สอร.) ได้มีการปรากฏผลการพัฒนาที่มีความกว้าวหน้า    คือ  กิจกรรมผลิตน้ำมันไบโอดีเซล  ที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (m=4.65,s=0.54)   และกิจกรรมปลูกพืชปลอดสารพิษ ที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (m=4.53,s=0.66)  ที่โรงเรียนได้ดำเนินการกิจกรรมเชิงบูรณาการกับการส่งเสริมรายได้ของนักเรียน  คือ  กิจกรรมเกษตรหอนอน   ที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (m=4.42,s=0.78)  และส่งผลให้กิจกรรมส่งเสริมอาชีพอิระได้ขัดบเคลื่อนในการให้นักเรียนได้ประกอบอาชีพได้อีกด้วย 

แนวคิดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโครงการด้านสังคม / กิจกรรมพัฒนาศักยภาพผู้เรียน  ซึ่งโรงเรียนได้แบ่งออกเป็น  5  ประเด็นหลัก คือ  1.ด้านศิลปะ จำนวน  3  องค์ประกอบ  ได้มีกิจกรรมที่นักเรียนให้ความสนใจและโรงเรียนได้ให้การสนับสนุนส่งเสริมให้กับนักเรียน คือ กิจกรรมส่งเสริมการวาดภาพ  กิจกรรมการแกะหนังตะลุง   ด้านดนตรี  โรงเรียนได้ดำเนินการวางกลยุทธ์ในการส่งเสริมกิจกรรมสานทรียภาพแก่ผู้เรียน  โรงเรียนจึงดำเนินการจัดทำหลักสูตรดุริยางค์              จึงทำให้นักเรียนได้ฝึกบรรเลงเครื่องดนตรี  หลักสูตรโยธวาทิต   และหลักสูตรขับร้องในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและปลาย   ที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (m=4.65,s=0.54)  ที่ส่งผลถึงการจัดกิจกรรมด้านนาฏศิลป์ ในกิจกรรมรำไทย  การฝึกรำมโนราห์  ซึ่งปัจจุบันโรงเรียนได้ดำเนินการสอนมโนราห์แก่นักเรียน  จำนวน  450  คน ที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (m=4.67,s=0.74)  ด้านกีฬาโรงเรียนมีความสำเร็จด้านกรีฑา  เป็นอย่างเพื่ออาจมีปัจจัยด้านอาคารสถานที่  โรงเรียนมีสนามฟุตบอลครูนักเรียนจึงใช้ได้อย่างเต็มศักยภาพ  ที่ส่งผลดีต่อกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพกายและจิตใจของนักเรียนอีกด้วย 

                   ผลการวิจัย 

                   ทั้งนี้  ในด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา จำเป็นจะต้องอาศัยความตระหนัก  รับรู้                     มีความเข้าใจในปัญหาและความจำเป็น  จึงจะสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ  สอดคล้องกับ  สุนัย  เศรษฐ์บุญสร้าง  (2549 : คำนำ)   ที่กล่าวว่า  ปัญหาทุกอย่างย่อมเกิดขึ้นจากเงื่อนไของค์ประกอบ ของสาเหตุต่าง ๆ  ถ้าเราสามารถ   “ ทำความคิด ความเห็นให้ถูกต้อง  เที่ยงตรงและมั่นคงอยู่ในเหตุผล”   จนรู้วิธีที่จะทำ  “ เหตุ ” ได้อย่างพอเหมาะพอประมาณ “ ผล” ที่ตามมาก็ย่อม จะนำไปสู่การคลี่คลายของปัญหาทั้งหลาย   เมื่อปัญหาต่างๆได้รับการแก้ไขอย่าง  “ถูกต้องเที่ยงตรงตามเหตุและผล”  ให้มาก            “ พอเพียง”  จนถึงจุดๆ หนึ่งที่เป็นจุดมวลวิกฤติของความเปลี่ยนแปลง  “ระบบภูมิคุ้มกันในตัว”                   ต่อผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งหลาย  ก็จักเกิดขึ้นตามมาโดยอัตโนมัติ    อย่างไรก็ตามการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน   จำเป็นต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของบริบทต่าง ๆ  เป็นสำคัญ

 

2.  ผลการประเมินผลการดำเนินการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนราชประชา- นุเคราะห์  ๓๗  จังหวัดกระบี่  ด้านที่  2  จำแนกตามองค์ประกอบ  5  องค์ประกอบ พบว่า  ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  (m =4.51,s=0.63) โดยองค์ประกอบที่  2.2  การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด (m=4.60,s=0.66)  อยู่ในลำดับสูงที่สุด   รองลงมาคือ  การบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน  ค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด(m=4.57,s=0.68) และการวัดและประเมินผล   ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก(m =4.43,s=0.63) เป็นลำดับสุดท้าย   นั้น  เพราะโรงเรียนได้เน้นให้มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  โดยบูรณาการการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน  และด้านการวัดและประเมินผล    เพราะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างแท้จริงนั้น  จะต้องเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติให้มากที่สุด  เพื่อให้เกิดการพัฒนาด้านต่างๆ ดังที่  สุวัฒน์  วิวัฒนานนท์ (2549 : 30-31, 55 – 57)  ได้สรุปหลักการจัดการศึกษาหรือจุดมุ่งหมายตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   เพื่อเข้าถึงแก่นแท้ปฐมภูมิในพระอัจฉริยภาพของพระองค์    ดังนี้

หมายเลขบันทึก: 340361เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2010 13:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท