การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาส่งเสริมการเดิน


การเดินเป้นทางเลือกของการออกกำลังกายที่ดีสำหรับคนที่ไม่ต้องการวิ่งหรือหรือออกกำลังกายระดับรุนแรงเนื่องจากกังวลต่อการบาดเจ็บที่จะเกิดขึ้น

ศก.ที่ผ่านมาดิฉันได้ไปอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาส่งเสริมการเดิน ตอนแรกก็ยังงึก ๆ งัก ๆ ว่าเกิดมาก็ต้องเดิน แล้วทำไมต้องมาส่งเสริมการเดินในคนที่ใช้วิถีชีวิตชนบท ในส่วนคนไข้โรคเรื้อรังเราจะประยุกต์ใช้อย่างไร  เดินอย่างไรจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด เวลาดิฉันออกเยี่ยมผู้ป่วยโรคเบาหวานที่บ้าน ในรายที่จะแนะนำให้ออกกำลังกายด้วยการเดิน ส่วนใหญ่จะบอกระยะทาง อาณาบริเวณบ้านตรงส่วนที่เหมาะสมเป็นราย ๆไป และบอกแต่เพียงว่า " เดินเร็วสัก 20 นาที นะคะ" แต่ไม่เคยบอกเลยว่าต้องเดินมีเป้าหมายแบบระยะสั้น ระยะยาวอย่างไร ซึ่งต้องเป็นความต้องการของตัวผู้ป่วยเอง ไม่ใช่เป้าหมายของหมอที่ปรารถนาดี จุดประสงค์เพียงให้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทีละน้อยละนิดแต่ยั่งยืน เหมือนน้ำเซาะหินทุกวัน หินมันยังกร่อน พอผ่านการบรรยายจาก นพ.กฤช ลี่ทองอิน แล้วดิฉันจึงเข้าใจมากขึ้น

การเดินนับเป็นทางเลือกหนึ่งในประชาชนทั่วไป และยิ่งเหมาะสมกับผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อายุมาก ทำได้ง่าย ทุกที่ทุกเวลา ไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ  มีแรงกระแทกค่อนข้างต่ำ นุ่มนวล ไม่บาดเจ็บ ลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากโรคเรื้อรัง ซึ่งการเดินไม่จำเป็นต้องเดินรวดเดียวจบ แต่อาจเป็นการเดินสะสมก็ได้ การเดินก้าวเร็ว ๆ วันละ30 นาที 5 - 7 วัน/สัปดาห์ ส่งผลดีต่อสุขภาพมากมาย ในคนที่ต้องการเดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสุขภาพนั้น อาจจะต้องเลือกระดับปานกลาง คือความเร็วตั้งแต่ 4 กม./ชม.ขึ้นไป (เดินให้ได้ 2 กม. ในเวลาครึ่งชั่วโมง) ในคนที่เริ่มต้นยังไม่ค่อยกระฉับกระเฉงนัก อาจเดินช้ากว่านี้เพื่อให้ร่างกายมีการปรับตัว จากนั้นจึงค่อย ๆ เพิ่มระยะเวลาและความเร็วขึ้นเป็นลำดับ

นอกจากนี้การเดินทำให้เกิดกิจกรรมทางสังคมกับเพื่อน เพื่อนบ้าน บุคคลในครอบครัว หรือเดินพักผ่อนหย่อนใจ เปลี่ยนวิถีชีวิต พบปะสิ่งใหม่ ๆ ไม่จำเจ ไม่แน่คนโสด ๆ อาจจะพบคนรู้ใจเพราะการเดินก็ได้นะ  อย่างหนังเรื่อง "รถไฟฟ้ามาหานะเธอ " ไง /สินีนาถ OPD

 

หมายเลขบันทึก: 340360เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2010 13:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มีนาคม 2012 02:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เดิน 2 กม.ในเวลา 30 นาที นี่น่าจะเป็นวิ่งมากกว่านะ ถ้าเดินคงจะใช้เวลานานกว่านี้

ง่ายๆทำได้สะดวกดีครับ สักวันคงต้องใช้วิธีนี้ในการออกกำลังกาย / boss

อย่าง boss คงยังวิ่งได้อีก 60 ปีนะคะ

ขออธิบาย ความเห็นที่ 1 ว่าการเดิน 2 กม. ในเวลา 30 นาที นั้นเขาระบุว่าใช้ความเร็วระดับกลางค่ะ ซึ่งคนที่เริ่มต้นทำใหม่ๆ จะเดินช้ากว่านี้ และถ้าวิ่งจริงๆ ละก็ ไม่ถึง 10 นาที หรอกค่ะ แต่ก็ขึ้นกับอายุด้วยนะคะ อย่างพี่จรรย์ตอนนี้ก็ไม่วิ่งแล้วค่ะ ยอมแพ้ Boss ค่ะ (แอบห่วงอยู่นิดๆ อายุ,น้ำหนักที่เพิ่ม และการวิ่งมีแรงกระแทกมาก รองเท้าต้องดีด้วย)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท