ความสุขกับเป้าหมายการจัดการศึกษา


ความสุขควรเป็นเป้าหมายหลักของการจัดการศึกษา

    เราคงได้ยินกันบ่อยจนอาจจะคุ้นชินกันไปแล้วเกี่ยวกับเป้าหมายของการจัดการศึกษา ที่ว่า เก่ง  ดี  มีสุข 

     ช่วงแรกของการปฏิรูปการศึกษาให้ความสำคัญกับ เก่ง มาก จนเด็กเกิดความเครียด EQ AQ และ MQ ต่ำ แพ้ไม่เป็น คิดจะเอาชนะ แข่งขันกันทางวิชาการเพื่อแย่งชิงความเก่ง

     ช่วงหลังการปฏิรูป 5-6 จนถึงปัจจุบันกระแสวงการศึกษาเริ่มปรับลดบทบาทเก่ง (ไม่แน่ใจ) มาให้ความสำคัญกับ ดี หรือให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมผู้เรียน มากขึ้น เพราะเก่งแล้วเครียด เก่งแล้วอัตตาสูง จึงมีความเชื่อว่าควรมาพัฒนาให้ดีก่อนแล้วเก่งจะมาเอง แต่โรงเรียนในระบบส่วนใหญ่ยังไม่ได้พัฒนาผู้เรียนให้ ดีจริง เพราะติดปัญหาที่ไม่กล้าจะก้าวข้ามที่หลากหลาย

     จวบจนมาถึงยุคที่ 2 ของการปฏิรูปการศึกษา ผมว่าน่าจะลองให้ ความสุข นำหน้า ดี หรือ เก่งดูบ้าง เพราะท่านราชวรมุณี (ประยูร ธมมจิตโต) กล่าวว่า ในบรรดาความเก่ง ความดี และความสุข นั้น ความสุขสำคัญที่สุด เพราะความสุขเป็นพื้นฐานของชีวิต

     ความสุขเป็นฐานของความเก่ง ความดี ความสุขเป็นแรงจูงใจที่มีพลังที่สุด เด็กที่มีความสุขในการเรียน จะตั้งใจเรียน และเรียนได้ดี

   เพราะฉะนั้นการศึกษาจะต้องทำให้คนคิดเชื่อมโยงได้ว่าไม่ว่าจะทำอะไรเขาจะทำอย่างมีความสุข

 

             

         ที่มา : www.savok-it.exteen.com

   การปฏิรูปการศึกษาครั้งใหม่นี้หากเน้นที่ การเรียนรู้อย่างมีความสุข ให้เกิดกับผู้เรียน ครูผู้สอนควรจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีความสุข  หากเขามีความสุขที่จะเรียน มีความสุขในการเรียน  เชื่อได้ว่า  การเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ เกี่ยวกับตัวผู้เรียนน่าจะตามมาไม่แน่อาจทำให้เป้าหมายในการจัดการศึกษาของชาติบรรลุความสำเร็จอย่างแท้จริง

หมายเลขบันทึก: 339899เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2010 14:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดี ครับ

ความสุขเป็นฐานของความเก่ง ความดี ความสุขเป็นแรงจูงใจที่มีพลังที่สุด เด็กที่มีความสุขในการเรียน จะตั้งใจเรียน และเรียนได้ดี

   เพราะฉะนั้นการศึกษาจะต้องทำให้คนคิดเชื่อมโยงได้ว่าไม่ว่าจะทำอะไรเขาจะทำอย่างมีความสุข

 

เป็นมุมมอง และแง่คิดที่ดี มาก นะครับ

ขอบคุณ ครับ

 

สวัสดีค่ะ

  • เจอกันแว็บ ๆ ถือโอกาสมาทักทายค่ะ
  • เจ็บปวดกับการปฏิรูปนะคะ  เห็นทีจะต้องไปเปิดพจนานุกรมไทย  ทำความเข้าใจกับความหมายของการปฏิรุปการศึกษาเสียใหม่แล้วนะคะ
  • วันนี้พี่ไม่ไปโรงเรียน  เพราะเด็กสอบเสร็จแล้ว รอทำงานส่งสะสางให้สะอาดก่อนค่ะ
  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาเยี่ยมเยือน มาพร้อมกับนำภาพน่ารัก ๆ มาฝากด้วยค่ะ

            

จาก ประสบการณ์ส่วนตัวในวัยเรียนของผม ถึงจะเกเร ไปบ้าง แต่ก็พอเข้าใจเรื่องพวกนี้ดี

สมัยตอนผมอยู่ ม.ต้น พวกผมมักจะถูกสอนให้อยู่ในสภาวะแข่งขัน มันเป็นอะไรที่น่าเบื่อมาก

การอธิบาย ก็มักจะเจาะจงไปอยู่ที่คนเรียนดี คนที่ด้อยกว่ามักจะไม่ได้คำตอบเท่าที่ควร

ตอนนั้นยอมรับเลยว่าเรียนแย่มาก เกรดอยู่ราวๆ 1.8-2.7 เน่าสนิท

แต่พอขึ้น ม.ปลาย สภาพการสอนเปลี่ยนขึ้นมาหน่อย ผู้สอนมักที่จะให้ช่วยกันคิด จะตอบผิดหรือถูก ก็ไม่มีใครว่าอะไร

ผู้จะพูดอยู่เสมอ ให้ดึงคนที่ด้อยกว่าด้วย ให้คนในห้องเรียนอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน

ตอนนั้นสนุกมากมาย คนส่วนใหญ่ สนุกที่จะหาคำตอบ สนุกที่จะโต้ตอบกับผู้สอน

ช่วงเวลานั้น สอนอะไรหลายๆอย่างเรื่องการเรียน และการทำงานเป็นกลุ่ม

เกรดพุ่งกระฉูดครับ 3.6-3.8

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณค่ะที่นำเนื้อหาของการศึกษามาโ็กไพส เพื่อพัฒนาการศึกษาของชนชาวไทยให้ดีขึ้นช่วยกันหลายๆความคิดเพื่อเด็กไทยของเราจะได้มีอนาคตที่สดใสค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท