Beyond Budgeting


Beyond Budgeting

บันทึกนี้ ผู้เขียนขอนำเรื่อง "Beyond Budgeting" ก้าวข้ามผ่านให้พ้นระบบการงบประมาณแบบเดิม ซึ่ง ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการ ก.พ.ร. ได้เขียนบทความไว้ ใน Knowledge Center ของ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สรุปได้ดังนี้ค่ะ...

การบริหารจัดการสมัยใหม่ เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์การนั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องของ ทุนทางการเงิน และการจัดการการเงินเท่านั้น แต่จะต้องครอบคลุมถึงเรื่องของทุนทางปัญญา ซึ่งได้แก่ ผู้บริหารที่มีขีดความสามารถ ผู้ปฏิบัติงานที่มีความรู้และทักษะ ระบบงานที่มีประสิทธิผล ลูกค้าผู้มีความจงรักภักดี รวมถึงตราผลิตภัณฑ์ที่มีความเข้มแข็งและการจัดการความรู้

องค์การยุคใหม่หรือองค์การคลื่นลูกที่สาม มีลักษณะในรูปแบบเครือข่าย (network model) หรือที่เรียกกันว่า "N - form" ที่สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงในบริบทและสภาพการแข่งขันของยุคสารสนเทศร่วมสมัย ซึ่งแตกต่างไปจากองค์การในแบบเดิมที่มีลักษณะในรูปแบบการแบ่งแยกออกเป็นส่วนย่อย ๆ หรือที่เรียกกันว่า "M - form" ของยุคอุตสาหกรรมในอดีต

ปัจจุบัน พบว่า ทรัพยากรที่มีความสำคัญอย่างสูงกลับไม่ใช่ ทุนทางการเงิน อีกต่อไปแล้ว แต่กลับกลายเป็นเรื่องของ ทุนทางปัญญา (intellectual capital) จึงทำให้องค์การในรูปแบบ M - form ดังกล่าวล้าสมัยและไม่สอดรับกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

N - form เป็นรูปแบบองค์การที่ให้ความสำคัญต่อเรื่องการบริหารกระบวนงานและทีมงาน เช่นเดียวกับกระแสการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การและการรื้อปรับระบบงาน โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจซึ่งกันและกัน ระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ได้แก่

1. ผู้จัดการในระดับปฏิบัติการ ต้องมีความเป็นผู้ประกอบการ นักวางยุทธศาสตร์และผู้ตัดสินใจ

2. เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อโอกาสความท้าทายทางธุรกิจที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา

3. ผู้บริหารระดับกลาง ต้องเป็นผู้ทำหน้าที่สอนงาน ให้แก่ ผู้บริหารในระดับปฏิบัติการและบูรณาการงานในแนวนอน เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของทุกฝ่ายภายในองค์การ รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์กับพันธมิตรภายนอกองค์การ

4. ผู้บริหารระดับสูง ต้องทำหน้าที่ในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง การสร้างแรงบันดาลใจ การสื่อสารทำความเข้าใจและตอกย้ำให้เห็นถึงวัตถุประสงค์และค่านิยมขององค์การและการปฏิบัติงานรวมถึงการเปิดประเด็นความท้าทายในแง่มุมด้านต่าง ๆ เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและแตกต่างไปจากสภาพการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

หลักการสำคัญของ Beyond Budgeting

ประกอบด้วยหลักการสำคัญ 2 ประการ ได้แก่ หลักการว่าด้วยภาวะผู้นำ และหลักการว่าด้วยการบริหารผลงาน โดยครอบคลุมทั้งในส่วนของการเพิ่มอำนาจให้แก่ ผู้จัดการและเจ้าหน้าที่ในระดับปฏิบัติการเพื่อให้สามารถตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วทันการณ์และอาศัยวิธีการที่เหมาะสม หรือที่เรียกกันว่า การโอนถ่ายอำนาจ และในส่วนของกระบวนการบริหารแบบปรับตัว ศึกษารายละเอีดเพิ่มเติมได้จากไฟล์ด้านล่างนี้ค่ะ...

http://gotoknow.org/file/bussayamas/2-1-BeyondBudgeting.pdf

หมายเลขบันทึก: 339848เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2010 11:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2016 16:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท