รพ.หนองม่วง
รพ.หนองม่วง รพ.หนองม่วง รพ.หนองม่วง รพ.หนองม่วง

การเลิกสูบบุหรี่


มาตรการ 5A เพื่อค้นหาและช่วยเหลือในการเลิกสูบบุหรี่

มาตรการ 5A ในการค้นหาผู้สูบบุหรี่และดำเนินการช่วยเหลือ

  1. 1.                  Ask = ถามประวัติการสูบบุหรี่และการใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบอื่นๆทุกชนิด ของผู้ที่เข้ามารับบริการ  เพื่อเป็นการสำรวจ คัดกรองผู้สูบ โดยสามารถแบ่งกลุ่มเพื่อดำเนินมาตรการ  3P
  • Ø ผู้ที่ไม่สูบเลย  =  Prevent new smoker  ป้องกันผู้สูบหน้าใหม่ โดยชื่นชม สนับสนุน เน้นย้ำถึงพิษภัยของบุหรี่เพื่อไม่ให้ทดลองสูบ
  • Ø ผู้ที่เคยสูบแต่เลิก = Prevent relapse ป้องกันการกลับมาสูบซ้ำ  โดยชมเชยให้กำลังใจ ให้คำปรึกษา แนะนำ เพื่อไม่ให้กลับมาสูบซ้ำ และติดตาม
  • Ø ผู้ที่ยังสูบ ไม่อยากเลิก = Promote motivation สร้างแรงจูงใจในการเลิก โดย Advice ตามมาตรการ 5R

 

  1. 2.                  Advice = แนะนำให้ผู้สูบบุหรี่ เลิกบุหรี่ โดยใช้มาตรการ 5R ในการชักจูง
  • Ø Relevance = ชี้ให้เห็นผลกระทบจากบุหรี่ โดยเจาะจงถึงปัญหาที่มีผลกระทบต่อผู้สูบเช่น สุขภาพของตนเองหรือคนในครอบครัว  ภาวะเศรษฐกิจ 
  • Ø Risk = เน้นย้ำถึงผลเสีย ความเสี่ยงต่างๆ จากการสูบบุหรี่ทั้งระยะสั้นและยาว รวมทั้งผลต่อคนรอบข้าง
  • Ø Reward = เน้นย้ำถึงผลดีที่ได้จากการเลิกสูบบุหรี่  หรือการตั้งรางวัลให้ตนเองเมื่อเลิกบุหรี่ได้สำเร็จ
  • Ø Roadblock = วิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการเลิกบุหรี่ พร้อมหาแนวทางการแก้ไขไว้ล่วงหน้า เช่น อาการอยากบุหรี่ ภาวะซึมเศร้า สิ่งกระตุ้นให้กลับมาสูบ
  • Ø Repetition = ในผู้ที่ยังไม่ตัดสินใจเลิก ควรแนะนำซ้ำๆทุกครั้งที่ผู้ป่วยมาพบแพทย์หรือเมื่อมีโอกาส

 

  1. 3.                  Assess = ประเมินความรุนแรงในการติดบุหรี่และความประสงค์ในการเลิกบุหรี่

การประเมินระดับความรุนแรงของการเสพติดสารนิโคติน

 (Fagerstrom test for Level of Nicotine Dependence)

คำถาม 

คะแนน

คุณต้องสูบบุหรี่มวนแรกหลังตื่นนอนตอนเช้า นานแค่ไหน ?
   ภายใน 5 นาทีหลังตื่น   
   6 – 30  นาที  
    >30        นาที


3
2
1

รู้สึกกระวนกระวายหรือลำบากใจไหม ที่ต้องอยู่ในสถานที่มีการห้ามสูบบุหรี่ ?       
    ใช่        
    ไม่ใช่ 


1
0

บุหรี่มวนใดต่อไปนี้  ที่คุณคิดว่าเลิกยากที่สุด  ?               
    มวนแรกสุดตอนเช้า          
    มวนอื่นๆ 


1
0

ปกติสูบบุหรี่วันละกี่มวน?                            
   >30        มวน
    21-30   มวน 
    11- 20   มวน 


3
2
1

สูบบุหรี่จัดภายใน 1 ชม.แรกหลังตื่นนอนและสูบมากกว่าช่วงเวลาที่เหลือของวันใช่หรือไม่?  
    ใช่   
   ไม่ใช่


1
0

ต้องสูบบุหรี่แม้ในขณะเจ็บป่วยมากจนไม่สามารถลุกจากเตียงได้ ?                                        ใช่   
  ไม่ใช่ 


1
0

 

การประเมินความประสงค์ลความพร้อมในการเลิกสูบบุหรี่

Trantheoretical (TTM) หรือ Stage of change model

ระยะ

รายละเอียด

การดำเนินการ

ไม่สนใจ (Precontemplation)

ไม่สนใจจะเลิกบุหรี่ใน 6 เดือนข้างหน้า

ไม่เร่งรัด มอบเอกสาร บอกช่องทางการรับบริการ แนะนำว่าเราพร้อมที่จะช่วย

ลังเล (Contemplation)

คิดจะเลิกสูบ แต่ยังไม่มีแผนชัดเจน

กระตุ้น จูงใจ ใช้เหตุผล เพื่อให้ตัดสินใจเลิก

พร้อม (Preparation)

กำลังวางแผนจะเลิกสูบภายใน 1 เดือนข้างหน้า หรือกำลังเข้าสู่กระบวนการเลิก

ชื่นชมการตัดสินใจ  บอกวิธีเลิก

ลงมือ (Action)

เลิกสูบบุหรี่ได้ไม่เกิน 6 เดือน

ติดตามประคับประคอง เสริมแรงจูงใจ

คงสภาพ (Maintenance)

เลิกสูบบุหรี่มาแล้วนานกว่า  6 เดือน

ติดตาม แนะนำการหลีกเลี่ยงบุหรี่

 

  1. 4.                  Assist = ช่วยเหลือและบำบัดรักษาอย่างเหมาะสม เพื่อให้เลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จ
  • Ø ช่วยเหลือ วางแผนเลิก โดยใช้ STAR technique

-            S = Set a target quit date กำหนดวันเลิกสูบบุหรี่ ภายใน 2 สัปดาห์หลังตัดสินใจ

-            T = Tell a family and others  บอกคนในครอบครัว เพื่อน ผู้ร่วมงาน ถึงการตัดสินใจเลิกบุหรี่ และขอความสนับสนุนจากทุกคนเพื่อให้ช่วย และเป็นกำลังใจ

-            A = nticipate challenges  คาดการณ์ถึงปัญหา อุปสรรค ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างเลิก เช่น อาการถอนนิโคติน ภาวะซึมเศร้า พร้อมทั้งวางแผนรับมือ

-            R = emove all tobacco-related product  กำจัดบุหรี่และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในการสูบทั้งหมด รวมทั้งหลีกเลี่ยงสถานที่ที่เคยสูบ

  • Ø บำบัดโดยให้คำปรึกษา  มีหลายรูปแบบ ในการเลือกใช้ หรือใช้ร่วมกัน

-            Brief advice ให้คำแนะนำสั้นๆ 1 -3 นาที

-            Individual counseling ให้คำปรึกษาแบบตัวต่อตัว

-            Group counseling ให้คำปรึกษาเป็นกลุ่ม

-            Proactive & reactive telephone counseling ให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์

-            Behavioral modification ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วย

  • Ø การบำบัดโดยวิธีอื่นๆ

-            การใช้ยาช่วย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม

  1. สารนิโคตีนทดแทน (Nicotine replacement therapy - NRT) เช่น แผ่นติดผิวหนัง หมากฝรั่ง
  2. ยากุ่มที่ไม่มีส่วนผสมของนิโคตีน ได้แก่ BuprpionSR , Vareneclin , Nortripthyline

-            การแพทย์ทางเลือก =  เช่น การแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนจีน การฝังเข็ม

  1. 5.                Arrange = ติดตามผลการบำบัดเพื่อช่วยเลิกสูบบุหรี่ของผู้สูบทุกราย
  • Ø ควรติดตามนัดครั้งแรกภายใน 1 -2 สัปดาห์
  • Ø ทุก 1 – 2 สัปดาห์ จนครบ 1 เดือน
  • Ø ทุก 1 เดือน จนครบ 3 – 6 เดือน
  • Ø ติดตามเป็นระยะ จนครบ 1 ปี
หมายเลขบันทึก: 339846เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2010 10:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 12:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท