เรียนบรรณารักษ์ไปทำไม


“เรียนบรรณฯ ก็ต้องเป็นบรรณารักษ์สิ ถามได้!!”

ไปเจอใน www.dek-d.com เลยก๊อปมาให้อ่านครับ

เรียนบรรณารักษ์ไปทำไม 
“เรียนบรรณารักษ์ จบไปทำอะไร จัดชั้นหนังสือ อยู่ในห้องสมุดหรือ?” 
คำถามและข้อสงสัยในเชิงว่าเรียนบรรณารักษ์นี้จบไปแล้วจะไปทำอะไรนั้นเป็นคำถามสุดยอดคลาสสิคมาแต่ไหนแต่ไร ซึ่งหากจะตอบให้คลาสสิคก็ต้องตอบว่า 
“เรียนบรรณฯ ก็ต้องเป็นบรรณารักษ์สิ ถามได้!!” 
เหมือนเรียนหมอ ก็ต้องเป็นหมอ วิศวะก็ต้องเป็นวิศวะ พยาบาลก็ต้องเป็นพยาบาล แต่นั่นเป็นการตอบพอให้หายรำคาญผ่านๆไปเท่านั้น แท้ที่จริงแล้ว เรียนบรรณารักษ์ สามารถทำงานได้หลากหลาย กว้างขวางมากมาย เลยทีเดียว 
ในยุคปัจจุบัน ถือกันว่าเป็นยุคแห่งสังคมสารสนเทศ ที่ข้อมูล ข่าวสารมีมากมายหลากหลาย ข้อมูลเหล่านี้มีทั้งในรูปที่จับต้องได้เช่น หนังสือ วีดีโอ เทปเสียง ภาพถ่าย แผนที่ และที่เป็นดิจิทัล เช่น อินเทอร์เน็ท ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้ เกิดขึ้นทุกวัน วันละมากๆเสียด้วย บางครั้งก็มีคุณภาพ บางทีก็ด้อยคุณภาพ บางครั้งมีระเบียบแบบแผน บางทีก็กระจัดกระจายไม่เป็นระบบ ทั้งๆที่ข้อมูลเหล่านี้มีคุณค่าต่อการตัดสินใจ ในชีวิตประจำวัน ในการดำเนินธุรกิจ 
แต่บางครั้งเราก็ไม่สามารถนำเอาทรัพยากรสารสนเทศที่มีคุณค่าเหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด อุปมาดังปลาในสระใหญ่ ที่คนไม่มีคนทำอวน ทำแห มาทอดจับไปขาย 
ฉันใดก็ฉันนั้น บรรณารักษ์(Librarian)และนักสารสนเทศ(Information Specialist) ก็คือชาวประมงผู้ชาญฉลาด มีเครื่องมือคือแห อวนอันทรงอานุภาพ จับปลาเหล่านั้นมาขาย แล้วไม่ใช่ขายธรรมดา ต้องสามารถจำแนกปลาแต่ละประเภท ได้อีกด้วย เพื่อให้เหมาะกับลูกค้าที่จะมาซื้อหาไปทำการอื่นใดต่อไป 
โลกปัจจุบันและตลาดงานปัจจุบัน ยังขาดคนเหล่านี้อยู่มาก ทางรัฐบาลเองก็ส่งเสริมการสร้างแหล่งเรียนรู้ ทั้งห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ขนานใหญ่ แล้วใครเล่าใครจะไปทำงาน ถ้าไม่ใช่ผู้ที่จบในสาขาเหล่านี้ 
บรรณารักษศาสตร์ , บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์, บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ , สารนิเทศศึกษา, สารสนเทศศาสตร์ จะชื่อใดก็ตาม ล้วนแต่มีกำเนิดและมีเนื้อหาหลักวิชาตรงกันทั้งสิ้น คือการสร้าง นักวิชาชีพ หรือ มืออาชีพ ในด้านการจัดการข้อมูลข่าวสารให้เกิดระบบ ตั้งแต่การแสวงหาสารสนเทศ การจัดเก็บ การนำออกมาใช้ การให้บริการ ซึ่งงานลักษณะนี้ สาขาวิชาชีพอื่นๆไม่สามารถจะทำแทนกันได้ ต้องเป็นผู้ที่จบในศาสตร์เหล่านี้จริงๆเท่านั้น 
ดังนั้นหน้าที่จริงๆของบรรณารักษ์จึงไม่ใช่การจัดชั้นหนังสือ แต่เป็นการจัดการให้หนังสือแต่ละเล่มอยู่อย่างเป็นระบบในห้องสมุด โดยการวิเคราะห์และกำหนดสัญลักษณ์ คือเลขหมู่ให้หนังสือที่มีเนื้อหาเดียวกันอยู่ด้วยกัน สร้างเครื่องมือช่วยค้นให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงหนังสือที่ตัวเองต้องการได้ เช่นการค้นจากคอมพิวเตอร์ และให้บริการตอบคำถาม แก่ผู้ใช้ที่สงสัยเกี่ยวกับสารสนเทศต่างๆ 
วิชาในหลักสูตรนี้ จะมีทั้งวิชาด้านการวิเคราะห์เนื้อหา และการจัดการสารสนเทศประเภทต่างๆเป็นวิชาหลักเพื่อให้สามารถจำแนกแยกแยะว่าสารสนเทศเนื้อหาแบบใดควรจะจัดการย่างไรให้เหมาะสมกับผู้ใช้ และวิชาด้านเทคนิคต่างๆ ซึ่งในปัจุบันต้องเรียนวิชาด้านคอมพิวเตอร์ทั้งการทำเว็บไซต์ การวิเคราะห์และพัฒนาระบบสารสนเทศ ฯลฯ รวมถึงวิชาด้านการประชาสัมพันธ์ และการให้บริการอีกด้วย 
ด้วยเนื้อหาวิชาลักษณะนี้ผู้ที่จบออกไปจึงสามารถนำเอาความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับสารสนเทศที่ไม่ใช่หนังสือได้หลากหลาย ดังนั้นเราจึงพบว่า ผู้ที่จบบรรณารักษ์ สามารถไปทำงานเป็น นักจัดการข้อมูลในศูนย์ข้อมูลต่างๆได้ หรือจะเรียกให้โก้ๆก็ต้องเรียกว่าศูนย์สารสนเทศขององค์กร ต่างๆ มีหลายๆคนก็ไปเป็นนักข่าว , ฝ่ายข้อมูลบริษัทโฆษณา , เว็บมาสเตอร์, เจ้าหน้าที่บริการงานทั่วไป, นักวิชาการสารสนเทศ, อาจารย์ กระทั่งเป็นเจ้าของร้านทอง ก็เป็นร้านทองIT 
จุดเด่นของสาขาบรรณารักษ์ฯ ก็คือการสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานลักษณะต่างๆได้อย่างหลากหลายนั่นเองอีกทั้งยังเป็นที่ต้องการของตลาดงานมาก โดยเฉพาะตำแหน่งบรรณารักษ์ฯ เนื่องจากคนสนใจน้อยแต่ความต้องการ และการพัฒนาห้องสมุดมีมากนั่นเอง 
คราวนี้มีมหาวิทยาลัยใดบ้างล่ะที่เปิดสอน ในปัจจุบัน หลักสูตรในสาขาด้านนี้ มีอยู่หลายมหาวิทยาลัยและมีชื่อเรียกขานต่างกัน อาจจะแบ่งได้ดังนี้ 
สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์หรือ สารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์ เช่น คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร, คณะศิลปศาสตร์ มธ. , คณะมนุษยศาสตร์ มศว., คณะมนุษยศาสตร์ฯ ม.ทักษิณ ฯลฯ 
สาขาสารสนเทศศาสตร์ เช่น คณะมนุษยศาสตร์ฯ มข., คณะมนุษศาสตร์ มช., คณะสารสนเทศศาสตร์ ม.มหาสารคาม, คณะมนุษยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์, คณะเทคโนโลยีสังคม ม.เทคโนโลยีสุรนารี ฯลฯ 
สาขาสารนิเทศศึกษา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ 
ซึ่งทั้งหมดล้วนมีรากเหง้าที่มาจาก สาขาบรรณารักษ์ทั้งสิ้น คณาจารย์ส่วนใหญ่ จะสังกัดภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และจบด้านบรรณารักษศาสตร์เป็นส่วนใหญ่ 
นอกจากระดับปริญญาตรีแล้ว ยังสามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาโท เอก ทั้งในและต่างประเทศได้อีกด้วย 
เมื่อรู้เช่นนี้แล้วกรุณาอย่าคิดว่า จบบรรณารักษ์แล้วต้องจัดชั้นหนังสืออีก ไม่เช่นนั้นคราวหน้าจะเอา LC SUBJECT HEADING ฟาดหัวเสียให้เข็ด หุๆๆ 
www.dek-d.com 

 

       เรียนบรรณารักษ์ไปทำไม “เรียนบรรณารักษ์ จบไปทำอะไร จัดชั้นหนังสือ อยู่ในห้องสมุดหรือ?” คำถามและข้อสงสัยในเชิงว่าเรียนบรรณารักษ์นี้จบไปแล้วจะไปทำอะไรนั้นเป็นคำถามสุดยอดคลาสสิคมาแต่ไหนแต่ไร ซึ่งหากจะตอบให้คลาสสิคก็ต้องตอบว่า “เรียนบรรณฯ ก็ต้องเป็นบรรณารักษ์สิ ถามได้!!” เหมือนเรียนหมอ ก็ต้องเป็นหมอ วิศวะก็ต้องเป็นวิศวะ พยาบาลก็ต้องเป็นพยาบาล แต่นั่นเป็นการตอบพอให้หายรำคาญผ่านๆไปเท่านั้น แท้ที่จริงแล้ว เรียนบรรณารักษ์ สามารถทำงานได้หลากหลาย กว้างขวางมากมาย เลยทีเดียว ในยุคปัจจุบัน ถือกันว่าเป็นยุคแห่งสังคมสารสนเทศ ที่ข้อมูล ข่าวสารมีมากมายหลากหลาย ข้อมูลเหล่านี้มีทั้งในรูปที่จับต้องได้เช่น หนังสือ วีดีโอ เทปเสียง ภาพถ่าย แผนที่ และที่เป็นดิจิทัล เช่น อินเทอร์เน็ท ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้ เกิดขึ้นทุกวัน วันละมากๆเสียด้วย บางครั้งก็มีคุณภาพ บางทีก็ด้อยคุณภาพ บางครั้งมีระเบียบแบบแผน บางทีก็กระจัดกระจายไม่เป็นระบบ ทั้งๆที่ข้อมูลเหล่านี้มีคุณค่าต่อการตัดสินใจ ในชีวิตประจำวัน ในการดำเนินธุรกิจ แต่บางครั้งเราก็ไม่สามารถนำเอาทรัพยากรสารสนเทศที่มีคุณค่าเหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด อุปมาดังปลาในสระใหญ่ ที่คนไม่มีคนทำอวน ทำแห มาทอดจับไปขาย ฉันใดก็ฉันนั้น บรรณารักษ์(Librarian)และนักสารสนเทศ(Information Specialist) ก็คือชาวประมงผู้ชาญฉลาด มีเครื่องมือคือแห อวนอันทรงอานุภาพ จับปลาเหล่านั้นมาขาย แล้วไม่ใช่ขายธรรมดา ต้องสามารถจำแนกปลาแต่ละประเภท ได้อีกด้วย เพื่อให้เหมาะกับลูกค้าที่จะมาซื้อหาไปทำการอื่นใดต่อไป 

โลกปัจจุบันและตลาดงานปัจจุบัน ยังขาดคนเหล่านี้อยู่มาก ทางรัฐบาลเองก็ส่งเสริมการสร้างแหล่งเรียนรู้ ทั้งห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ขนานใหญ่ แล้วใครเล่าใครจะไปทำงาน ถ้าไม่ใช่ผู้ที่จบในสาขาเหล่านี้  บรรณารักษศาสตร์ , บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์, บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ , สารนิเทศศึกษา, สารสนเทศศาสตร์ จะชื่อใดก็ตาม ล้วนแต่มีกำเนิดและมีเนื้อหาหลักวิชาตรงกันทั้งสิ้น คือการสร้าง นักวิชาชีพ หรือ มืออาชีพ ในด้านการจัดการข้อมูลข่าวสารให้เกิดระบบ ตั้งแต่การแสวงหาสารสนเทศ การจัดเก็บ การนำออกมาใช้ การให้บริการ ซึ่งงานลักษณะนี้ สาขาวิชาชีพอื่นๆไม่สามารถจะทำแทนกันได้ ต้องเป็นผู้ที่จบในศาสตร์เหล่านี้จริงๆเท่านั้น   ดังนั้นหน้าที่จริงๆของบรรณารักษ์จึงไม่ใช่การจัดชั้นหนังสือ แต่เป็นการจัดการให้หนังสือแต่ละเล่มอยู่อย่างเป็นระบบในห้องสมุด โดยการวิเคราะห์และกำหนดสัญลักษณ์ คือเลขหมู่ให้หนังสือที่มีเนื้อหาเดียวกันอยู่ด้วยกัน สร้างเครื่องมือช่วยค้นให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงหนังสือที่ตัวเองต้องการได้ เช่นการค้นจากคอมพิวเตอร์ และให้บริการตอบคำถาม แก่ผู้ใช้ที่สงสัยเกี่ยวกับสารสนเทศต่างๆ   วิชาในหลักสูตรนี้ จะมีทั้งวิชาด้านการวิเคราะห์เนื้อหา และการจัดการสารสนเทศประเภทต่างๆเป็นวิชาหลักเพื่อให้สามารถจำแนกแยกแยะว่าสารสนเทศเนื้อหาแบบใดควรจะจัดการย่างไรให้เหมาะสมกับผู้ใช้ และวิชาด้านเทคนิคต่างๆ ซึ่งในปัจุบันต้องเรียนวิชาด้านคอมพิวเตอร์ทั้งการทำเว็บไซต์ การวิเคราะห์และพัฒนาระบบสารสนเทศ ฯลฯ รวมถึงวิชาด้านการประชาสัมพันธ์ และการให้บริการอีกด้วย ด้วยเนื้อหาวิชาลักษณะนี้ผู้ที่จบออกไปจึงสามารถนำเอาความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับสารสนเทศที่ไม่ใช่หนังสือได้หลากหลาย ดังนั้นเราจึงพบว่า ผู้ที่จบบรรณารักษ์ สามารถไปทำงานเป็น นักจัดการข้อมูลในศูนย์ข้อมูลต่างๆได้ หรือจะเรียกให้โก้ๆก็ต้องเรียกว่าศูนย์สารสนเทศขององค์กร ต่างๆ มีหลายๆคนก็ไปเป็นนักข่าว , ฝ่ายข้อมูลบริษัทโฆษณา , เว็บมาสเตอร์, เจ้าหน้าที่บริการงานทั่วไป, นักวิชาการสารสนเทศ, อาจารย์ กระทั่งเป็นเจ้าของร้านทอง ก็เป็นร้านทองIT  

จุดเด่นของสาขาบรรณารักษ์ฯ ก็คือการสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานลักษณะต่างๆได้อย่างหลากหลายนั่นเองอีกทั้งยังเป็นที่ต้องการของตลาดงานมาก โดยเฉพาะตำแหน่งบรรณารักษ์ฯ เนื่องจากคนสนใจน้อยแต่ความต้องการ และการพัฒนาห้องสมุดมีมากนั่นเอง คราวนี้มีมหาวิทยาลัยใดบ้างล่ะที่เปิดสอนในปัจจุบัน หลักสูตรในสาขาด้านนี้ มีอยู่หลายมหาวิทยาลัยและมีชื่อเรียกขานต่างกัน อาจจะแบ่งได้ดังนี้ สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์หรือ สารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์ เช่น คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร, คณะศิลปศาสตร์ มธ. , คณะมนุษยศาสตร์ มศว., คณะมนุษยศาสตร์ฯ ม.ทักษิณ ฯลฯ  สาขาสารสนเทศศาสตร์ เช่น คณะมนุษยศาสตร์ฯ มข., คณะมนุษศาสตร์ มช., คณะสารสนเทศศาสตร์ ม.มหาสารคาม, คณะมนุษยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์, คณะเทคโนโลยีสังคม ม.เทคโนโลยีสุรนารี ฯลฯ สาขาสารนิเทศศึกษา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ  ซึ่งทั้งหมดล้วนมีรากเหง้าที่มาจาก สาขาบรรณารักษ์ทั้งสิ้น คณาจารย์ส่วนใหญ่ จะสังกัดภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และจบด้านบรรณารักษศาสตร์เป็นส่วนใหญ่ นอกจากระดับปริญญาตรีแล้ว ยังสามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาโท เอก ทั้งในและต่างประเทศได้อีกด้วย

เมื่อรู้เช่นนี้แล้วกรุณาอย่าคิดว่า จบบรรณารักษ์แล้วต้องจัดชั้นหนังสืออีก ไม่เช่นนั้นคราวหน้าจะเอา LC SUBJECT HEADING ฟาดหัวเสียให้เข็ด หุๆๆ

แหล่งที่มา www.dek-d.com 

หมายเลขบันทึก: 338677เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2010 22:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เคยจบบรรณารักษ์...แต่ไม่ได้ทำงานบรรณารักษ์

มีเพื่อนเรียนและทำงานเป็นบรรณารักษ์

เขาชอบอ่านหนังสือเป็นทุนเลยมีความสุขที่ได้ทำ

ส่วนตัวคิดว่าสาขาวิชานี้น่าจะโปรโมตตัวเองให้มากหน่อย

เพราะเด็กๆพอได้ยินว่าบรรณารักษ์ก็จะคิดแต่ว่าอยู่ในห้องสมุดอย่างเดียว ^^

ทำงานเป็นบรรณารักษ์อยู่และมีความสุขกับการทำงานดี บรรณารักษ์ไม่ใช่จัดหนังสือย่างเดียวทำงานอย่างอื่นด้วย ต่างประเทศอาชีพบรรณารักษ์จะเป็นอาชีพที่ได้รับการยกย่องมากแต่ประเทศไทยเราคนส่วนใหญ่ยังไม่รักการอ่าน เลยยังมองไม่เห็นความสำคัญของบรรณารักษ์เท่าที่ควร คนที่เรียนจบเอกนี้มาจึงต้องไปทำงานอย่างอื่นแทน ทั้งที่การอ่านเป็นพื้นฐานของอาชีพทุกอาชีพทีเดียว

รับสมัคร บรรณารักษ์ 1 ตำแหน่ง ที่โรงเรียนอรุโณทัยวิทยาคม อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ใครสนใจติดต่อได้ที่ 053045559 หรือที่ 0898530921 รองฯสุรชัย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท