Motivational Interviewing ต่อการกลับมาป่วยซ้ำของผู้ป่วยจิตเภท


การเพิ่มแรงจูงใจในการรับประทานยาในผู้ป่วยจิตเภท

Nittaya Suriyapan,Bsc Nurse,Psychology Community

ปรับปรุงจากคู่มือการให้คำปรึกษาเพื่อความร่วมใจในการรักษา (ดร.ดรุณี ภู่ขาว,2549)

รายละเอียดของคู่มือการดำเนินกลุ่ม

เสริมสร้างกำลังใจ-ความร่วมใจในการเปลี่ยนแปลง

 

ปรัชญา

ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน, การดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม (Holistic Care)

 

เป้าหมายหลักของการดำเนินกลุ่ม

ส่งเสริมศักยภาพในการพึ่งตนเองของผู้ป่วยจิตเภท ในการตัดสินใจที่จะร่วมใจในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้ให้การปรึกษาเป็นผู้กระตุ้นให้บุคคลสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง

 

เป้าหมายย่อย

ผู้ป่วยจิตเภทสามารถสร้างแผนที่มีประสิทธิภาพในการที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

การรับประทานยาของตนเอง

 

แนวคิดพื้นฐานในการดำเนินกระบวนการช่วยเหลือโดยการใช้รูปแบบของกลุ่มบำบัด

                กระบวนการช่วยเหลือในรูปแบบกลุ่มที่ให้บริการกับผู้ป่วยจิตเภทที่ประสบปัญหาที่เกี่ยวกับการรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง จะดำเนินการโดยยึดหลักของการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม (Holistic Care) ซึ่งมุ่งเน้นในการตอบสนองความต้องการของบุคคลทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ ความคิด สังคมและวัฒนธรรม จิตวิญญาณและอาชีพ

                นอกจากนั้นการบำบัดนี้ยังดำเนินการบนพื้นฐานของแนวคิด “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน”

ซึ่งเทียบได้กับแนวคิดการเคารพความเป็นปัจเจกบุคคลที่เกี่ยวกับการตัดสินใจในการที่จะกระทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง (Sense of Autonomy) มากกว่าที่จะใช้หลักการบอกหรือสั่งการให้บุคคลกระทำตามสำสั่ง  เนื่องจากการบอกให้ทำ (Didactic) หรือการใช้ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ (Authoritarian) ในการสื่อสารกับบุคคลเป็นการส่งเสริมให้บุคคลเกิดลักษณะบุคลิกภาพแบบพึ่งพาอย่างไม่สร้างสรรค์ นอกจากนั้นวิธีการดังกล่าวยังเป็นรูปแบบหนึ่งของการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชนของบุคคลซึ่งเกี่ยวกับสิทธิในการที่จะตัดสินใจในการที่จะกระทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง และหลักการบอกหรือสั่งการให้บุคคลกระทำตามคำสั่งยังได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้บุคคลตัดสินใจออกจากการเข้าร่วมการรักษาก่อนกำหนด (Barry et al, 2000; Britten,2000)   

                ดังนั้นวิธีการที่นำมาใช้ในการบำบัดครั้งนี้จะใช้หลักของการยึดความต้องการของผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง (Client-centre)  โดยที่มีผู้บำบัดเป็นผู้แนะแนว (Therapist directed style) และวางโครงสร้างในกลางการสนทนา ซึ่งเกี่ยวกับการกระตุ้นให้บุคคลได้มีการปรึกษาหารือและออกความคิดเห็นร่วมกัน(Negotiation) การตัดสินร่วมกัน, การใช้วิธีการร่วมมือกัน (Co-operation) การเสนอข้อมูลที่ตรงกับความต้องการของบุคคล ซึ่งวีการดังกล่าวเป็นการส่งเสริมให้บุคคลได้พัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง (Sense of Autonomy)  ซึ่งจะนำไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเอง

ขั้นตอนหลักในการดำเนินการช่วยเหลือในรูปแบบกลุ่มบำบัด

 

  1. การส่งเสริมให้ผู้ป่วยจิตเภทเกิดแรงจูงใจที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการรับประทานยาของตนเอง (Develop the motivation and commitment for change)
  2. การสร้างแรงจูงใจให้ผู้ป่วยจิตเภทเกิดความสนใจในความสำคัญของหลักการวางแผนก่อนปฏิบัติ เพื่อนำมาสู่กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างเป็นระบบ
  3. การส่งเสริมศักยภาพของบุคคลที่เกี่ยวกับทักษะทางด้านการใช้เทคนิคความคิด และพฤติกรรมต่างๆ (Cognitive and behavioral skill) ซึ่งได้จากการประยุกต์หลักการปฏิบัติตามหลักไตรสิกขาในศาสนาพุทธและหลักการรักษาจากแนวคิดสติปัญญาและพฤติกรรมบำบัด  เพื่อลดหรือกำจัดปัจจัยต่างๆ รวมทั้งสถานการณ์ที่เป็นอุปสรรคต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานยา เนื่องจากปัจจัยต่างๆ อาจนำไปสู่การกระให้บุคคลลืมหรือไม่กินยา (Strengthening the skill to change one’s own behavior and one’s environment) รายละเอียดของทักษะต่างๆ มีดังนี้

                        การใช้ทักษะทางด้านความคิด (Cognitive skill) ประกอบด้วย

-                   เทคนิคในการสังเกตองค์ประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับพฤติกรรมการขาดหรือลืมรับประทานยาของตนเอง

-                   เทคนิคการคิดโดยใช้หลักการแก้ปัญหาแบบ Self-efficacy และ  Self-esteem

                        ทักษะทางด้านพฤติกรรมต่างๆ (Behavioral skill)

                        ทักษะในด้านการปรับสิ่งแวดล้อม (Modification of the environment)  ซึ่งนำมาใช้ในการลดหรือกำจัดปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรวมทั้งสถานการณ์ที่เป็นอุปสรรคต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานยา เนื่องจากปัจจัยที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมต่างๆ อาจนำไปสู่การกระตุ้นให้บุคคลลืมกินยา

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 337885เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2010 21:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 15:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท