การสกัดความรู้


การสกัดความรู้

การสกัดความรู้ออกจากตัวคน

 การสกัดความรู้ออกจากตัวคน (Externalization) ดำเนินการโดยวิธีการทำให้ความรู้ใน

การปฏิบัติออกมาเป็นคำพูดหรือตัวหนังสือ วิธีการที่ใช้คือการเล่าเรื่อง (storytelling) การเล่าเรื่องทำให้ความรู้ในการปฏิบัติ และความรู้เพื่อการปฏิบัติให้กลายเป็นคำพูด ในรูปของเรื่องราวที่มีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมจำเพาะ สำหรับให้ผู้ฟังตีความได้โดยอิสระซึ่งคาดหวังว่าผลการตีความของผู้ฟังแต่ละคนจะมีทั้งส่วนที่เหมือนและส่วนไม่เหมือนกับการตีความของคนอื่น เมื่อนำผลการตีความนั้นมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในกลุ่มจะสามารถบันทึก ขุมความรู้ที่เป็นความรู้เพื่อการปฏิบัติ เมื่อผู้เล่าแต่ละคนเล่าเรื่องเสร็จ ประธานขอให้สมาชิกกลุ่มตีความว่าเรื่องดังกล่าวบอกอะไรเกี่ยวกับความรู้เพื่อการบรรลุ หัวปลาที่เป็นความรู้เพื่อการปฏิบัติ เมื่อผู้ตีความคนที่ เสนอการตีความของตน คุณลิขิตจะเขียนขึ้นกระดาษทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนสมาชิกกลุ่มตีความจนครบ จากนั้นช่วยกันสรุปขุมความรู้จากเรื่องเล่าดังกล่าว ให้สมาชิกกลุ่มหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันเล่าเรื่องและให้สมาชิกคนอื่นๆ ช่วยกันตีความสกัดขุมความรู้จนครบคน จนสมควรแก่เวลาจึงร่วมกันสังเคราะห์จากรายการขุมความรู้ จัดเป็นหมวดหมู่ได้เป็นแก่นความรู้ (core competence) เพื่อการบรรลุหัวปลาที่กำหนด วิธีการเขียนขุมความรู้จะเขียนแบบวิธี

ปฏิบัติไม่ใช่ความรู้เชิงทฤษฎีบางกรณีเมื่อได้ขุมความรู้และแก่นความรู้จากการประชุมระดมความคิด ครูแต่ละคนจะนำความรู้เหล่านั้นไปใช้ในห้องเรียนของตน ทำการเก็บข้อมูล สังเกตและบันทึกผลการทดลองปฏิบัตินำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิก ความรู้ก็จะถูกยกระดับผ่านการปฏิบัติขึ้นเรื่อยๆ

คำสำคัญ (Tags): #การสกัดความรู้
หมายเลขบันทึก: 337683เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2010 12:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 22:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท