การจัดการความรู้


การจัดการความรู้

การจัดการความรู้

การจัดการความรู้ หมายถึง กระบวนการที่ช่วยให้องค์การสามารถค้นหา คัดเลือก จัด ระบบ

แพร่หลาย และถ่ายโอนสารสนเทศและความชำนาญ เพื่อสร้างขุมความรู้ และภูมิปัญญาที่จำเป็นในการปฏิบัติงานสู่เป้าหมาย

นักการศึกษาได้เสนอแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดการความรู้ไว้หลายรูปแบบ ที่น่าสนใจได้แก่โมเดลการจัดการความรู้ของ สคส. (KMI Model) เป็นโมเดลการจัดการความรู้ของนักปฏิบัติและโมเดลการสร้างความรู้ของนักจัดการความรู้ที่เรียกว่า วงจรเซกิ (SECI) ของ อิคุจิโร่ โนนากะ (IkujiroNonaka) ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยฮิโต สุบาชิ (Hitosubashi University) ผู้มีบทบาทสำคัญต่อแนวคิดด้านการจัดการความรู้ในประเทศญี่ปุ่น และโมเดลปลาทู (Tuna) แนวคิดของ ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืดแนวคิดการจัดการความรู้ตามโมเดลของ สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.)มุ่งเน้นให้นักปฏิบัติจัดการความรู้มีหน้าที่ที่ ต้องทำให้วงจรทั้งสาม คือ วงจรการเรียนรู้ วงจรองค์ความรู้และวงจรแหล่งความรู้ภายนอก ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและพัฒนาไปจนได้ผลลัพธ์เป็นองค์ความรู้ที่เพิ่มทวีคูณอย่างไม่มีที่สิ้นสุด แนวทางเริ่มต้นการจัดการความรู้ต้องเริ่มที่การสร้างภาวะผู้นำให้เกิดขึ้นภายในองค์กรด้วยการสร้างความมุ่งมั่นและกำหนดหลักการสำคัญไว้เพื่อเปน็ แนวทางดำเนินงานร่วมกัน รวมทั้งการปรับมุมมองหรือกรอบแนวความคิดขององค์กรให้อยู่ภายใต้ฐานความคิดที่ตรงกันแนวความคิดการจัดการความรู้ของโนนากะ กล่าวถึงวิธีการจัดการความรู้สามารถทำได้ โดย

() ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งแบบตัวต่อตัว และแบบเป็นกลุ่ม เพื่อให้เกิดการสร้างความรู้

() ส่งเสริมให้มีการสืบทอดความรู้ ด้วยการเปลี่ยนความรู้ที่ฝังลึกในตัวบุคคลไปเป็นความรู้ที่ชัดแจ้งสามารถเข้าถึงได้

() ส่งเสริมให้เกิดการยกระดับความรู้ ด้วยการควบรวมหรือผนวกความรู้ ทั้งความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคลเข้ากับความรู้ที่ชัดแจ้งในสื่อต่างๆ และความรู้ในท้องถิ่นเข้ากับความรู้สากล นำมาสังเคราะห์ บันทึก เผยแพร่ เพื่อยกระดับคุณภาพความรู้

() ส่งเสริมให้เกิดการหมุนเกลียวความรู้ด้วยการนำความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มาใช้ปรับปรุงการทำงานให้มีคุณภาพมาตรฐานสูงขึ้นโมเดลปลาทู (Tuna Model) นี้เป็นแนวคิดของ ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด (๒๕๔๙ : ๑๙-๒๖)สำหรับใช้ทำความเข้าใจ ส่วนหลักของการจัดการความรู้ที่สัมพันธ์กับบุคคล กลุ่ม ในการจัดการความรู้

) ส่วนหัวและส่วนตา หมายถึง เป้าหมายหลักของการจัดการความรู้ สะท้อนวิสัยทัศน์ความรู้

(Knowledge Vision) หรือหัวใจของความรู้ เพื่อการบรรจุวิสัยทัศน์ขององค์กร บุคคลที่มีความสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดหัวปลาชัดเจนคือ ระบบ (Chief Knowledge Officer)

) ส่วนกลางลำตัว หมายถึง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือแบ่งปันความรู้ (Knowledge Sharing)ถือเป็นกิจกรรมหลัก หรือหัวใจของการจัดการเรียนรู้ในหลายองค์กร กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นี้เป็นการสร้างสรรค์ที่มีความลึกซึ้งเลยความคิด หรือการใช้เหตุผล ลึกเข้าไปในระดับความเชื่อ คุณค่าและอารมณ์ และสูงขึ้นเลยปัญญาในระดับสติปัญญาขึ้นไปในระดับญาณปัญญาหรือปัญญาหยั่งรู้ ที่เหนือระดับความคิดแบบใช้เหตุผล

) ส่วนหาง หมายถึง ขุมความรู้ (Knowledge Assets) ซึ่งได้มาจากการปฏิบัติงาน และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สังคมไทยมีการจัดการความรู้ที่ทำกันอยู่ตามธรรมชาติโดยไม่รู้ตัวอยู่ไม่น้อย กล่าวคือมีตัวปลาหรือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการทำงานร่วมกัน แต่มักจะละเลยหางปลาคือการจดบันทึกความรู้ปฏิบัติ สำหรับไว้ใช้งาน และยกระดับความรู้อย่างต่อเนื่อง

คำสำคัญ (Tags): #การจัดการ
หมายเลขบันทึก: 337679เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2010 12:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2012 09:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท