บทความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรม


บทความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรม

นายสิวาวุธ  สุทธิ  หัวหน้างานสื่อ  นวัตกรรม และสารสนเทศเพื่อการศึกษา

กลุ่มบริหารงานวิชาการ  โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๙ ฯ 

ติดต่อโทร.0825354867

นวัตกรรม (Innovation) 
เป็นคำที่คณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ บัญญัติขึ้นเดิมใช้ นวกรรม มาจากคำกริยาว่า Innovate มาจากรากศัพท์
ภาษาอังกฤษว่า Inovare (in(=in)+novare= to renew, to modify) และnovare มาจากคำว่า novus (=new)

Innovate  แปลตามรูปศัพท์ได้ว่า "ทำใหม่,เปลี่ยนแปลงโดยนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามา "Innovation = การทำสิ่งใหม่ๆ สิ่งใหม่ๆ ที่ทำขึ้นมา (International Dictionary)

นวัตกรรม (Innovation)
หมายถึง การนำสิ่งใหม่ ๆ อาจเป็นแนวความคิด หรือ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation)
หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษาเพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียนและช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนใช้คองพิวเตอร์ช่วย การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น

นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย        
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์หลักเกณฑ์ประกอบการพิจารณาว่าสิ่งใดคือ นวัตกรรม
1.  เป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน
2.  มีการนำวิธีการจัดระบบ (System Approach) มาใช้พิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วน  ข้อมูลที่ใช้เข้าไปในกระบวนการและผลลัพธ์ให้เหมาะสมก่อที่จะทำการเปลี่ยนแปลง
3.  มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยหรืออยู่ระหว่างการวิจัยว่าจะช่วยให้ดำเนินงานบางอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
4.  ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งในระบบงานปัจจุบัน

ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรม
1. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น
   - การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)
   - แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
   - เครื่องสอน (Teaching Machine)
   - การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)
   - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
   - เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
2. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความพร้อม (Readiness) นวัตกรรมที่สนองแนว ความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
   - ศูนย์การเรียน (Learning Center)
   - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
    -การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)
3. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการใช้เวลาเพื่อการศึกษา นวัตกรรมที่สนองแนวความคิด เช่น
    - การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)
    - มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
    - แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
    - การเรียนทางไปรษณีย์
4. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการขยายตัวทางวิชาการและอัตราการเพิ่มประชากรนวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น
  - มหาวิทยาลัยเปิด
   - การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์
   - การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป
   - ชุดการเรียน

 

                                  ปัญหาที่ฉันพบในการใช้นวัตกรรม

              จากการที่ได้มีโอกาสเข้าไปอ่านถึงการรายงานสภาพปัญหาด้านการใช้นวัตกรรม โดยที่ใช้ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลจริงนั้นทำให้ทราบการที่ไม่สามารใช้นวัตกรรมได้ดี และเกิดประโยชน์สูงสุดส่วนหนึ่งมาจากเราที่ครูไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ เห็นได้จากข้อมูลด้านล่างนั้นที่ใช้เป็นเรื่องเราๆก็เคยประสบพบเจอกันทั้งสิ้น

                     ความรู้ความสามารถของครูเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี   ในการใช้คอมพิวเตอร์ของครู   มีครูที่มีความสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในระดับพื้นฐาน คิดเป็นร้อยละ 31.26   ใช้ Internet  ในระดับพื้นฐานคิดเป็นร้อยละ 35.09   และการบูรณาการเทคโนโลยีกับวิชาหรือกลุ่มสาระการเรียนรู้ในระดับพื้นฐานคิดเป็นร้อยละ 31.57  ใช้เทคโนโลยีประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในระดับพื้นฐาน คิดเป็นร้อยละ 37.27  แสดงให้เห็นว่าครูยังมีความรู้ ความสารถด้านเทคโนโลยีเพียง  ในระดับพื้นฐาน ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีไม่เป็น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าครูส่วนใหญ่มีอายุค่อนข้างมากแล้วและไม่มีความรู้พื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีมาก่อนจึงทำให้เกิดการพัฒนาตนเองค่อนข้างช้ามาก โดยเฉพาะในเรื่องของการตั้งกลุ่มเพื่อการช่วยเหลือซึ่งกันและกันเกือบจะไม่ได้ทำเลย และครูส่วนมากก็ไม่นำเทคโนโลยีไปบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ รวมทั้งการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ส่วนใหญ่ก็ไม่นำเทคโนโลยีมาใช้ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่าครูไม่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีตลอดจนไม่สามารถติดตั้งและบำรุงรักษาเครื่องได้

                        ในสภาพปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่า  ครูผู้สอนได้ใช้เทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่าครูคงเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในระดับดีพร้อมที่จะดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้ 

                        สภาพการใช้คอมพิวเตอร์ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดให้ของครูรายการที่ครู  ใช้มากได้แก่ ใช้พัฒนาทักษะวิชาชีพครู  เตรียมการสอนและสร้างสื่อการสอน ค้นสารสนเทศ  ทางการศึกษา และค้นคว้าเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ   รายการที่ครูไม่ได้ใช้เลย ได้แก่ สอนทักษะการใช้คอมพิวเตอร์  ใช้สำหรับการนำเสนองาน ใช้สื่อสารระหว่างนักเรียน ครูและผู้เกี่ยวข้องและใช้ตรวจสอบผลงาน/ทำรายงานของนักเรียน  แสดงให้เห็นว่าสภาพการใช้คอมพิวเตอร์ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดให้ครูจะใช้คอมพิวเตอร์เพื่อพัฒนาทักษะวิชาชีพครู มากกว่าการเตรียมการสอนและสร้างสื่อการสอน  แสดงให้เห็นว่าครูใช้คอมพิวเตอร์เพื่อพัฒนาตนเอง เช่นจัดทำผลงานเพื่อเลื่อนระดับให้กับตนเองมากกว่าที่จะค้นคว้าหาความรู้เพื่อเตรียมการสอนรวมทั้งการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับนักเรียน

 

หมายเลขบันทึก: 337673เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2010 12:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

จ๊ะเอ๋..นึกว่าใครคนกันเองนี่หน่า..

คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท