การจัดการความรู้ในสถานศึกษา : 81


การเปิดใจ ยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือ การรับฟังด้วยหัวใจที่ใคร่ครวญ

การฟังด้วยหัวใจ

"การฟัง" เรื่องนี้แลดูเป็นเรื่องธรรมดา ที่นับวันไม่ธรรมดาขึ้นทุกวัน เพราะปัญหาของสังคมทุกวันนี้บางครั้งเราปฏิเสธไม่ได้ว่าเกิดจากการ"ฟัง"


การฟัง เป็นทักษะที่มีความสำคัญในชีวิตประจำวันของมนุษย์ เพราะมนุษย์ต้องอาศัยการฟัง เพื่อการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ และจำเป็นต้องใช้ความคิดพิจารณาไตร่ตรอง

บางครั้งการฟัง นำไปสู่การตีความ แปลความ ที่ทำเกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน แต่บางครั้งก็ทำให้เกิดความขัดแย้งก็มีไม่น้อย

ราจะเห็นได้ว่าการฟัง จึงเป็นหัวใจของนักคิดที่ดี นำไปสู่การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ การเรียนรู้ในอดีตจึงกล่าวว่าการฟัง เป็นองค์ประกอบสำคัญประการแรกของหัวใจนักปราชญ์อันได้แก่ สุ (ฟัง) จิ (คิด) ปุ (ถาม) ลิ (เขียน)

ใน การทำงานร่วมกับผู้อื่น การรับฟัง จึงถือว่ามีความสำคัญต่อทีมงาน ที่ต้องมีความพร้อมและยอมรับที่จะรับฟังทั้งความสำเร็จและความล้มเหลว ดังนั้นทีมงานต้องมีทักษะการฟังที่ดี

                                      

ผู้บริหารสมควรต้องเรียนรู้และยอมรับ รับฟังความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้ร่วมงาน จึงจะก่อให้เกิดบรรยากาศแบบเปิดในการทำงาน ซึ่งก็เป็นสิ่งสำคัญของวัฒนธรรมองค์กรแบบองค์กรแห่งการเรียนรู้

ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้ร่วมงานก็ต้องเรียนรู้และยอมรับ รับฟังความคิดเห็นของผู้บริหารด้วยเช่นเดียวกัน เพื่อบรรยากาศการทำงานแบบมีส่วนร่วมทุกฝ่าย

การเปิดใจรับฟัง จึง เป็นกลไกสำคัญของการทำงานร่วมกันอย่างมีคุณภาพ

การฟังเป็นทั้งศาสตร์ และ ศิลปะ. ซึ่งเราสามารถแบ่งการฟังออกคร่าวๆเป็นสามระดับ คือ

  • การเพียงได้ยิน ซึ่งเป็นการฟัง ที่ไม่ให้ความสนใจ เป็นไปอย่างขอไปที ซึ่งมักเป็นพฤติกรรม ที่หัวหน้าที่แย่ ปฏิบัติกับลูกน้องของตน
  • การฟังเฉยๆ เป็นการฟังที่แสดงความสนใจเพิ่มขึ้น  แต่ไม่ได้ให้ความสำคัญสูงสุด หลายครั้ง ผู้ฟังอาจจะนั่งทำอย่างอื่น หรือ แสดงความสนใจสิ่งอื่น ในขณะฟัง
  •  การฟังอย่างกระตือรือร้น เป็นการฟังที่แสดงความตั้งใจที่แท้จริง ที่จะรับฟัง และเข้าใจผู้พูด เป็นการฟังอย่างมีวิจารณญาณ

การฟังวันนี้จึงน่าเป็นเรื่องของการรับฟังด้วยหัวใจที่ใคร่ครวญ อันนำไปสู่บรรยากาศการทำงาน และการเรียนรู้ที่ระเบิดออกมาจากข้างใน อย่างแท้จริง

อ่านบันทึกที่เกี่ยวกับการฟังเพิ่มเติม

ท่านรอง Small Man

 

หมายเลขบันทึก: 337310เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2010 11:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

สวัสดีค่ะ

มาอ่านเรื่องการฟัง

เพียงการฟัง ก็แบ่งได้หลายระดับแล้วนะคะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับพี่ณัฐรดา

ขอบคุณมากครับ ที่มาเยี่ยมเยือน พร้อมทั้งให้ข้อคิดครับ

ผมคิดว่าบางทีการฟัง ก็เป็นเรื่องที่สำคัญของการสร้างคุณค่าของมนุษย์เช่นเดียวกัน

  • เท่าที่ตัวเองเคยเห็นมาบ้าง..ถ้าใจมุ่งเรื่องเดียวกันอย่างแท้จริง การฟังจะเกิดขึ้นเองแบบไม่ยากนัก แต่ถ้าไม่ใช่ ยังเป็นแค่การแสดง จุดประสงค์ยังคนละอย่างกันอยู่ หรือมีอะไรแอบแฝง การฟังก็ยากจะเกิดขึ้นครับ
  • ขอบคุณข้อคิดดีๆเกี่ยวกับการฟังครับ

ตามอาจารย์ธนิตย์มาเยี่ยมครับ

เรื่องการฟังดูเหมือนจะง่าย แต่ก็ไม่ง่ายครับ

บางคนฟังแต่ก็ไม่ได้ยินครับ

สวัสดีครับ

P
เห็นด้วยกับท่านอาจารย์ธนิตย์ครับ ถ้าใจไม่เปิด ยากที่จะเกิดการฟังอย่างลึกซึ้งครับ
ขอบคุณมากครับที่มาร่วมแลกเปลี่ยน

สวัสดีครับ

P

หนานเกียรติ

"ฟังแต่ไม่ได้ยิน"ชัดเจนครับ

เหมือนบางคน"มองแต่ไม่เห็นครับ"

ขอบคุณครับที่มาร่วมแลกเปลี่ยนครับ

สวัสดีค่ะ

  • มาเรียนรู้เรื่องการฟังค่ะ  เด็กไม่ชอบฟัง ก็เพราะไม่มีแบบอย่าง ครูไม่ปฏิบัติและไม่สอนวิชาว่าด้วยการฟังค่ะ
  • มาชวนไปดูอะไรที่นี่  เคยเห็นมาจากที่ใดบ้างคะ
  • http://gotoknow.org/blog/krukim/224849
  • จะส่งพันธุ์มาให้นะคะ

ใช้ใจฟังกันเลยเชียวน่ะค่ะ ฟังด้วยใจ ใส่ด้วยจำ ทำด้วยมือ ยึดถือความดี อิอิ แต่งสด ๆ เลยค่ะ

ขอบคุณน่ะค่ะ

สวัสดีค่ะคุณครู

คุณครูสบายดีไหมคะ

หนูมีบันทึกใหม่ค่ะ บันทึกของหนูมีเรื่องดี ๆที่น่าภูมิใจค่ะ

สวัสดีครับ

P

ครูคิม

ไปเยี่ยมดูมาแล้วครับไม่กล้าฟังธงครับว่าเป็นถั่วชนิดใด

 

สวัสดีครับคุณกอ

P

สุดสายป่าน

ยุดนี้มันต้องอย่างสาวกอว่าแหละ"ฟังด้วยใจ ใส่ด้วยจำ ทำด้วยมือ ยึดถือความดี"

สบายดีนะครับ

สวัสดีครับ  P

น้องนัท

ครูสบายดีครับ หวังว่าน้องนัทคงจะสบายเช่นกัน ใกล้สอบแล้วนี่ ดูหนังสือบ้างหรือยัง

ครูไปเยี่ยมน้องนัทมาตลอดครับ ชอบในความเป็นนักเรียนรู้ของหนูครับ

  • สวัสดีค่ะ
  • ต่อไปจะฟังให้มากขึ้น และพูดให้น้อยลงแล้วค่ะ 5555
  • ขอบคุณบันทึกดี ๆ ที่นำมาแบ่งปันกันค่ะ

สวัสดีครับ

P

บุษรา

ขอบคุณครับที่มาร่วมเรียนรู้ด้วยกันครับ

  อ.คมสันครับ

  * ผมมีโอกาสได้ฟังท่านผู้รู้ท่านหนึ่ง  บอกว่าไทยเรามีสถาบันฝึกพูดมากมายหลายสถาบัน    แต่ไม่มีสถาบันฝึกฟังสักสถาบันเดียว

   * ตอนนี้ไปทางใหน ก็เจอแต่คนพูดกันเก่งๆทั้งนั้นเลยครับ  แต่หาคนฟังได้น้อยเต็มที

   * ผมว่าถ้าปฎิรูปวัฒนธรรมการฟังขึ้นมาได้บ้าง   ผมว่าอะไรๆก็น่าจะดีขึ้นมาบ้างนะครับ

             ขอบคุณสำหรับสาระดีๆว่าด้วยการฟังครับ

การฟังผู้อื่นอย่างตั้งใจ(ปรโตโฆสะ)ก็เป็นหลักข้อหนึ่งเพื่อเข้าสู่กระบวนการแห่งสัมมาทิฏฐิขอรับ..แต่เมื่อขาดกระบวนการแห่งมรรคแปดก็ขาดสะบั้นทันที..

 

สวัสดีค่ะ

แวะมาเยี่ยมเยียน

สบายดีนะคะ

  • เป็นข้อเขียนที่งดงามมากค่ะ เขียนจากประสบการณ์ผู้ปฏิบัติจริงทำให้คนอ่านเข้าใจได้ง่าย เป็นประโยชน์มากค่ะ
  • ขอบพระคุณค่ะ

 

สวัสดีครับ

P

small man

ชัดเจนครับไม่มีสถาบันฝึกทักษะการฟัง เพราะไม่มีใครกล้า กล้วไม่ผ่านการประเมินสมศ.(ล้อเล่น)

ขอบคุณท่านรองฯครับ

กราบนมัสการ

P

ธรรมฐิต

ต้องกราบขอบพระคุณอย่างสูงที่ท่านเมตตาให้คำแนะนำครับผม

สวัสดีครับ

P

Sila Phu-Chaya

ขอบคุณมากครับที่มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

สวัสดีครับพี่ณัฐรดา

ผมสบายดีครับพี่

หวังว่าพี่คงจะสุขสบายทั้งกายและใจเช่นเดียวกัน

ขอบคุณครับ

ขอบคุณข้อคิดดีๆ เกี่ยวกับการฟัง

สวัสดีครับ

P

ปริมปราง

ขอบคุณมากครับที่มาร่วมเรียนรู้ด้วยกันที่นี่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท