โรงพยาบาลไร้ความแออัด


คณะทำงานด้านกลยุทธ์พัฒนาการบริหารโครงการพัฒนาบุคลากรและการศึกษาดูงาน ภายใต้คำสั่งรพ.หาดใหญ่ที่ 89/2552 เรื่องแต่งตั้งคณะทำงานโครงการความร่วมมือพัฒนาเครือข่ายปฐมภูมิหาดใหญ่ เพื่อเสริมศักยภาพบริการและยกระดับบริการโรงพยาบาลหาดใหญ่

หลังจากประชุมคณะทำงาน 3 ครั้ง ก็ได้ตารางออกดำเนินการMini KM โดยเริ่มที่ศูนย์คลองเรียน ศูนย์ควนลัง ศูนย์3ตำบล และศูนย์คลองเตย

วันนี้จะนำเสนอของทีมศูนย์ควนลังก่อนนะคะ

ฝันที่ชาวศูนย์ควนลังอยากให้เกิดขึ้นใน CMU ควนลัง ในอนาคต

  1. อยากให้ศูนย์ฯ เป็นศูนย์กลางเพื่อการรักษา ให้ผู้ป่วยมีความสะดวกในการเดินทางและสามารถทำการรักษาหรือการส่งเสริมสุขภาพได้อย่างครบถ้วนทุกด้าน ไม่เพียงแต่ทำเพียงแค่การรักษาอย่างเดียวเหมือนในปัจจุบัน
  2. อยากให้มีการขยายสถานบริการให้มีความกว้างขวาง สะดวกสบาย มีขอบเขตที่ชัดเจน ทั้งห้องน้ำผู้ป่วย ห้องน้ำเจ้าหน้าที่ ห้องบัตร ห้องรอตรวจ ห้องตรวจ และห้องจ่ายยา
  3. อยากให้ลดความแออัดของผู้ป่วยขณะรอตรวจและรอเจาะเลือด ต้องการให้เกิดพื้นที่ใช้สอยในการนั่งรอรับบริการเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์และเกิดความสะดวกสบาย
  4. อยากให้เจ้าหน้าที่ทุกคนในศูนย์ฯ ทั้ง  แพทย์  เภสัชกร  พยาบาล และเจ้าหน้าที่อื่นๆ ทุกคน เข้าใจบทบาทที่แท้จริงของตนเองและรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างเคร่งครัด รวมทั้งผู้ป่วยที่มารับบริการก็อยากให้มีความรับผิดชอบในสุขภาพของตนเอง อยากให้มีการพึ่งพาตนเองมากกว่าพึ่งผู้ให้บริการทางด้านสุขภาพ (ลดปัญหาการเพิ่มยาในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง)

การพูดคุยสะท้อนวิธีการทำงานที่จะช่วยให้ฝันเป็นจริง

  1. พื้นที่ความรับผิดชอบยังไม่ชัดเจน เนื่องจากขณะนี้ CMU ควนลัง จะดูแลพื้นที่ร่วมกับสถานีอนามัยควนลัง โดย CMU ควนลังจะให้บริการในลักษณะเชิงรับ (รักษา) ส่วนสถานีอนามัยควนลังจะให้บริการในลักษณะเชิงรุก (ส่งเสริมและป้องกัน) ปัญหาในส่วนนี้เจ้าหน้าที่แก้ปัญหาด้วยการทำ family folder ให้กับทุกคนที่มารับบริการที่ศูนย์ฯ
  2. มีปัญหาผู้ป่วยผิดนัดมากในแต่ละเดือนทำให้ในวันที่มีการนัดหมายผู้ป่วยมาเจาะเลือด จะมีผู้ป่วยมากกว่าปกติ จนทำให้สถานที่แออัด และระยะเวลาในการรอตรวจนาน ประกอบกับเจ้าหน้าที่มีน้อย ทำให้ปฏิบัติงานไม่ทันเวลา ปัญหาส่วนนี้เจ้าหน้าที่แก้ไขปัญหาด้วยการใช้โทรศัพท์และไปรษณียบัตรติดตามผู้ป่วยผิดนัด และในวันนัดเจาะเลือด เจ้าหน้าที่จะมาเร็วเพื่อจัดการกับผู้ป่วยที่มารับการเจาะเลือดและผู้ป่วยผิดนัด ทำให้ลดจำนวนผู้ป่วยในวันนั้นๆ  และทำให้พื้นที่ในการรอตรวจเพียงพอต่อผู้รับบริการเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมีการสอนและพูดคุยกับผู้ป่วยมากขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยเล็งเห็นถึงความสำคัญของการดูแลตนเองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นการลดภาวะแทรกซ้อนของโรคที่จะตามมา
  3. การปฏิบัติงานตามนโยบายและคำสั่งจากผู้บังคับบัญชา เพื่อให้ได้ผลที่พึ่งประสงค์แต่สถานการณ์ไม่เอื้ออำนวย ทั้งจำนวนเจ้าหน้าที่  สภาพของสถานบริการ วัสดุอุปกรณ์ ทำให้เกิดความเครียดและขาดขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน  ปัญหาส่วนนี้เจ้าหน้าที่จะปฏิบัติงานยืดหยุ่นตามสถานการณ์ และอาศัยเวลาเพื่อปรับปรุงทุกอย่างให้ดีขึ้นเรื่อยๆ อย่างช้าๆ แต่มั่นคง   นอกจากนี้จะมีการพูดคุยระหว่างเจ้าหน้าที่เพิ่มขึ้นเพื่อร่วมกันแบ่งเบาภาระ-ของกันและกัน

แนวทางอื่นๆที่น่าจะเสริมทำให้ฝันเป็นจริง

-       น่าจะทำ family folder ในหมู่ที่ 3 และ4 ให้ชัดเจน เพื่อจะสามารถจำแนก ผู้ป่วยที่มารับบริการว่ามีผู้ป่วยในเขตและนอกเขตสัดส่วนเป็นอย่างไร

-       ลองปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์และวางแผนขั้นตอนการรับบริการของผู้ป่วยเพื่อป้องกันการเดินสวนทางในที่คับแคบบนพื้นฐานของทรัพยากรที่มีอยู่

 

     

  

 

หมายเลขบันทึก: 336664เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2010 11:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

การเริ่มต้นที่ Extended OPD มักมีปัญหาแทรกซ้อนตามมาเสมอครับ กลับไปที่หลักการเวชศาสตร์ครอบครัว ที่ทีมสุขภาพดูคนไข้องค์รวมเริ่มทีละน้อยๆ ค่อยๆขยายปริมาณ ไม่งั๊นจะเหนื่อยและท้อ อีกทั้งผู้รับบริการจะเป็นเหมือนเด็กบ้านครูน้อยที่เป็นข่าวอยู่ในปัจจุบัน คือไม่ยอมโตหรือพร้อมที่จะช่วยเหลือตัวเองครับ

ขอบคุณคะสำหรับข้อเสนอแนะ ทีมงานจะรับไปคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท