ติตตามชุมชนพอเพียงอำเภอทุ่งสง


12,788,000 บาท 42 โครงการ ชุมชนพอเพียงอำเภอทุ่งสง

เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2553 ที่ผ่านมาคณะกรรมการติดตามประเมินผลการดำเนินการตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล โครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน (ศพช.) หรือโครงการชุมชนพอเพียง จังหวัดนครศรีธรรมราช  นำโดย ว่าที่ ร.ต.ฐิตวัฒน  เชาวลิต  รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ลงพื้นที่อำเภอทุ่งส่ง เพื่อติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการดังกล่าว

นายธัชพงศ์ แผ่ความดี นายอำเภอทุ่งสงได้รายงานสรุปว่า “อำเภอทุ่งส่งได้รับการอนุมัติจัดสรรงบประมาณจากสำนักงานเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชนจำนวน 35 หมู่บ้าน รวม 42 โครงการ เป็นเงิน 12,788,000 บาท”  

นอกจากนั้นนายธัชพงศ์  ยังกล่าวอีกว่า “สำหรับปัญหาอุปสรรคที่พบคือ คณะทำงานระดับหมู่บ้าน  ที่ได้รับการเลือกจากประชาคมหมู่บ้านยังขาดความรู้ ความเข้าใจในการจัดทำโครงการ การบริหารจัดการโครงการที่ก่อให้เกิดความต่อเนื่องยั่งยืน รวมทั้งขาดความร่วมมือจากประชาคมหมู่บ้านในการจัดเวทีประชาคมเพื่อคัดเลือกโครงการและคณะทำงานของหมู่บ้าน บางหมู่บ้านต้องเรียกประชุม 2-3 ครั้ง จึงครบองค์ประชุม และมีข้อเสนอว่า ควรมีการฝึกอบรมให้ความรู้คณะกรรมชุมชนพอเพียงหมู่บ้าน ก่อนการดำเนินการตามโครงการ ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานตามโครงการมีความยั่งยืน เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของทางราชการ”

          อย่างไรก็ตามหลังจากนั้นในช่วงบ่าย คณะกรรมการได้ลงพื้นที่สุ่มตรวจการดำเนินโครงการ 2 พื้นที่ได้แก่ พื้นที่บ้านท่าเลนหมู่ที่ 10 ตำบลกะปาง และบ้านไสกรูดหมู่ที่ 8 ตำบลนาไม้ไผ่

พื้นที่บ้านท่าเลน ดำเนินโครงการสนับสนุนกลุ่มอาชีพเพาะเห็ดครบวงจร มีคณะกรรมการดำเนินงานจำนวน 15 คน สมาชิกคือราษฎรทั้งหมดในหมู่บ้าน จะให้ราษฎรเป็นผู้ผลิตก้อนเชื้อเห็ดไปเพาะรับประทานที่บ้านโดยมีนักวิชาการเกษตรเป็นผู้เขี่ยเชื้อและให้คำแนะนำ ส่วนคณะกรรมการจะผลิตก้อนเชื้อไว้สำหรับเพาะเพื่อจำหน่ายให้เกิดเงินทุนหมุนเวียน  และโครงการสนับสนุนกลุ่มอาชีพผลิตปุ๋ยจุลินทรีย์ มีคณะกรรมการดำเนินงาน 15 คน มีสมาชิก 75 คน การผลิตปุ๋ยจะผลิตตามยอดสั่งซื้อในชุมชน โดยใช้ก้อนเชื้อเห็ดที่หมดสภาพมาแปรรูปเป็นปุ๋ยร่วมกับมูลสัตว์ในชุมชนและน้ำหมักชีวภาพ จำนวนกระสอบละ 130 บาท

 

สำหรับพื้นที่บ้านไสกรูด ดำเนินโครงการส่งเสริมโรงสีข้าวชุมชน โดยได้ขยายผลในกลุ่มสมาชิกกลุ่มปุ๋ยชีวภาพจำนวน 75 ครัวเรือน มีกิจกรรมคือให้บริการสีข้าวแก่สมาชิกและราษฎรทั่วไปคิดค่าบริการกิโลกรัมละ 1 บาท รวมทั้งรับซื้อข้าวเปลือกจากราษฎรในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียงที่แน่ใจว่าปลอดภัยจากสารเคมีมาสีจำหน่าย สำหรับเงินทุนหมุนเวียนเกิดจากค่าบริการสีข้าว การรำข้าว และกำไรจากการซื้อข้าวเปลือกมาสีจำหน่าย สำหรับแกลบจะนำไปใช้ผลิตปุ๋ยชีวภาพ

 

คำสำคัญ (Tags): #ชุมชนพอเพีย
หมายเลขบันทึก: 334605เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2010 20:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท