หลักภาษาไทย


สรุปหลักภาษาไทย ฉบับเตรียมสอบ รวบยอดความคิด

 

1.  ธรรมชาติของภาษา  

ความหมายกว้าง - การแสดงออกเพื่อสื่อความหมาย เช่น ท่าทาง การใบ้ ภาษาสัตว์ เครื่องหมาย สัญญาณ

ความหมายแคบ – การใช้ภาษาของมนุษย์เพื่อสื่อสาร คำที่คิดขึ้นไม่จำเป็นต้องตรงกันกับภาษาอื่น เสียงจึงไม่สัมพันธ์กับความหมาย เว้นแต่การเลียนเสียงธรรมชาติ

หน่วยในภาษา และการขยาย

หน่วยในภาษา หมายถึง เสียง คำ วลี  อนุประโยค และประโยค

การขยายหน่วยในภาษา หมายถึง การนำภาษาเรียงร้อยต่อกันเพื่อให้ได้ใจความไม่จำกัด โดยจะมีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ ในระดับประโยค

 

2. เสียง  

          พยัญชนะ – เสียงที่เปล่งออกมาโดยผ่านการกล่อมเกลาเสียงจากอวัยวะภายในช่องปาก เรียกว่า เสียงแปร ประกอบด้วย รูปพยัญชนะ 44 รูป และเสียงพยัญชนะ 21 เสียง

 

จากตาราง ทำให้จัดหมวดหมู่ได้ ดังนี้

            พยัญชนะไทย  พยัญชนะเติม ตัวอักษรบาลี สันสกฤต  อักษรสามหมู่ อักษรต่ำคู่ อักษรต่ำเดี่ยว

 

                   ก                 ข  (ฃ)            ค (ฅ)            ฆ                 ง

                   จ                 ฉ                 ช (ซ)             ฌ                 ญ

              (ฎ)  ฏ                 ฐ                  ฑ                 ฒ                 ณ

              (ด)  ต                 ถ                 ท                 ธ                 น

              (บ)  ป                 ผ (ฝ)             พ (ฟ)            ภ               ม                                                                                                                                          ย  ร ล ว       

ศ ษ ส  ห                                              ฬ

                   (อ)                                   (ฮ)

 

          เมื่อเสียงพยัญชนะต้นถูกนำไปใช้ จะใช้ในลักษณะของ เสียงอักษรนำ (ห  อย่า อยู่ อย่าง อยาก)  และเสียงควบ (ควบแท้ ร ล ว กับ ควบไม่แท้ ทร เป็น ซ  หรือ ไม่ออกเสียงตามรูป)

            เสียงพยัญชนะท้าย (ตัวสะกด) เมื่อนำไปใช้ มี 9 มาตรา คือ ก บ ด ม น ง ย ว ก.กา

 

(แทรก ก บ ด  สะกด และ สั้น ถือเป็น คำตาย  ส่วน  ม น ง ย ว และ ยาว คือ คำเป็น)  เมื่อประกอบกับ ทัณฑฆาต เรียก การันต์ คือ ไม่ออกเสียง เช่น  จันทร์  ทุกข์  สุขสันต์  เป็นต้น

 

          สระ เสียงที่เปล่งออกมาแล้วไม่ผ่านการกล่อมเกลาจากอวัยวะภายในช่องปาก เรียกว่า เสียงแท้ แบ่งเป็น เสียงสระเดี่ยว (18)

 

                        อะ อา               อิ อี                   อุ อู                   เอะ เอ  

แอะ แอ             โอะ โอ               เออะ เออ           อัวะ อัว     เอาะ ออ

 

เสียงสระประสม (3) -  (เอียะ) เอีย            (เอือะ) เอือ         (อัวะ) อัว

ข้อควรจำ อำ ไอ ใอ เอา ฤ ฤา ฦา ไม่ถือเป็นสระ เพราะมี เสียง พยางค์ท้าย คือ ม ย ว และเป็นเสียงซ้ำ คือ รึ (อึ) รือ (อือ) เป็นต้น  สระจึงมี 21 รูป 21 (24) เสียง

 

            วรรณยุกต์ – เสียงที่กำหนดตามระดับของเส้นเสียงเมื่อเปล่งออกมา ใช้กำหนดไตรยางศ์

มี 4 รูป 5 เสียง 

ข้อควรจำ         อักษรต่ำ รูปเอก เสียงโท  รูปโท เสียงตรี

อักษรกลาง ผันได้ครบ 5 เสียง

อักษรสูง ผันได้ครบ 5 เสียงเมื่อนำอักษรต่ำคู่มาช่วย

3. พยางค์

          โครงสร้างพยางค์ ตามปกติ ประกอบด้วย เสียง พยัญชนะต้น  สระ  วรรณยุกต์ (3 ส่วน)

อาจมี พยัญชนะท้าย (4) หรือ การันต์ (4 พิเศษ) หรือตัวสะกดพร้อมการันต์ (5 ส่วน)

            พยางค์ปิด – มีเสียงตัวสะกด (คำครุ   ั  เสียงยาว)

            พยางค์เปิด – ไม่มีเสียงตัวสะกด (คำลหุ   ุ และเสียงสั้น)

4. คำ

            ภาษาไทย สร้างด้วยคำ 7 ชนิด คือ นาม สรรพนาม กริยา วิเศษณ์ บุพบท สันธาน อุทาน

            นาม -  บอกชื่อคน สัตว์ สิ่งของ มี 5 ประเภท สามานยนาม วิสามานยนาม อาการนาม สมุหนาม ลักษณนาม

            สรรพนาม – ใช้แทนนาม มี 6 ประเภท บุรุษสรพนาม ประพันธสรรพนาม วิภาคสรรพนาม นิยมสรรพนาม อนิยมสรรพนาม ปฤจฉาสรรพนาม

            กริยา – ใช้บอกอาการ มี 5 ประเภท สกรรม อกรรม วิกรรต (เป็น เหมือน คล้าย เท่า คือ) กริยานุเคราะห์ (ย่อม กำลัง คง อาจ จะ ต้อง ได้ แล้ว ถูก) สภาวมาลา (ทำหน้าที่เป็นเหมือนนาม)

 

วิเศษณ์ – ใช้ขยาย มี 9 ประเภท เช่น บอกลักษณะ กาล สถาน ประมาณ นิยม อนิยม ประติชญา (หางเสียง) ประติเษธ และปฤจฉา

คำวิเศษณ์บางคำสามารถทำหน้าที่เป็นกริยาของประโยคได้ เช่น หล่อ ดี สวย ร้อน

            บุพบท – ใช้เชื่อม คำ วลี เช่น ของ สำหรับ เพื่อ ใน แก่ กับ แต่ ต่อ แด่ บน ล่าง นอก ใน

ดูรา ดูกร ข้าแต่  ตัวอย่าง  ปลาหมอตายเพราะปาก

            สันธาน – ใช้เชื่อมประโยค 4 ลักษณะ คือ คล้อยตาม ขัดแย้ง ให้เลือก เหตุผล

ตัวอย่าง ปลาหมอตายเพราะปากไม่ดี

            อุทาน แสดงอารมณ์ แบ่งเป็น บอกอาการ (อุ๊ย ตาย ว้าย กรี๊ด) กับ เสริมบท (ชามเชิม อาหงอาหาร ละคงละคร)

 

5. การสร้างคำ

          ภาษาไทย เป็นภาษาในตระกูลคำโดด (ไม่เปลี่ยนแปลงรูปคำ) และมีการกำหนดคำแทนความหมายต่างๆ ขึ้น เรียกว่า คำมูล ซึ่งเป็นคำตั้งขึ้นเอง หรือยืมมาจากภาษาอื่น คำมูล เป็นคำถือเป็นรากของคำนั้น ๆ แล้ว ไม่อาจจะแยกต่อไปได้อีก หรือเมื่อแยกแล้ว ได้คำที่ไม่สอดคล้องกับความหมายเดิม เช่น  ตา ยาย แม่ กิน นอน ศาสนา เขนย ขบ เป็นต้น

ข้อควรสังเกต

นาที เป็นคำมูล ที่มาจาก นา และ ที ที่แม้มีความหมายแต่ไม่เกิดความสัมพันธ์สอดคล้อง

กับความหมายที่มีอยู่ คือ ไม่เกี่ยวเนื่องกับเวลา

ไฟฟ้า เป็นคำประสม ที่มาจาก ไฟ และ ฟ้า ที่ต่างก็มีความหมาย และเมื่อรวมแล้ว

กลายเป็นคำใหม่ที่มีเค้าความหมายเดิม คือ ไฟ

 

คำมูล

ภาษาไทย                  

สะกดตรงตามมาตรา มีพยางค์เดียวเป็นส่วนมาก เช่น นั่ง นอน พ่อ แม่ น้า งู กา  หรือหาก

มีหลายพยางค์ อาจเกิดจากการกร่อนเสียง แทรกเสียง เติมพยางค์ เช่น หมากม่วง – มะม่วง ต้นขบ – ตะขบ   สายเอว – สะเอว   ผักเฉด – ผักกะเฉด   ลูกดุม – ลูกกระดุม   นกจิบ – นกกระจิบ   โจน – กระโจน   โดด – กระโดด

ไม่นิยมควบกล้ำ   ไม่มีตัวการันต์   มีความหมายหลายอย่างในลักษณะพ้องรูป 

มีรูปวรรณยุกต์กำกับ    ใช้ ใ เป็นส่วนใหญ่   ไ ใช้กับคำอ่าน

คำว่า ศอก ศึก เศิก เศร้า ศก กระดาษ ดาษ ฝีดาษ ฝรั่งเศส เป็นไทยแท้

  

ภาษาบาลี (ท่อง พยัญชนะวรรค ข้างต้น)

            มีตัวสะกดซ้ำกับพยัญชนะถัดไป  ไม่มี ศ ษ   ใช้ ฬ แทน ฑ   ไม่มี ฤ  ฤา ฦ ฦๅ รร

           

ภาษาสันสกฤต  จะมีควบกล้ำ   รร            ศ ษ      ฤ ฤา     ฑ         สถ

บาลี                        สันสกฤต

คห                                คฤห

อิทธิ                              ฤทธิ์

อิสิ                                ฤษี

อุตุ                                ฤดู

จักก                              จักร

สุกก์                              ศุกร์

ขณะ                             กษณะ

ขัตติยะ                          กษัตริย์

เขต                               เกษตร

สิกขา                            ศึกษา

อัคค                              อัคร

นิจจ์                              นิตย์

สัจจะ                            สัตยา

อาทิจจ                          อาทิตย

วิชชา                             วิทยา

มัชฌิม                          มัธยม

ปัญญา                          ปรัชญา

กัญญา                          กันยา

สามัญ                           สามานย์

ถาวร                             สถาพร

สมุทท                           สมุทร

กัปป์                              กัลป์

ธัมม                              ธรรม

วิเสส                             วิเศษ

 

ภาษาเขมร      1) บัง บัน บรร บำ   เช่น บังคับ บังคม บันได บันดาล บันลือ บำบัด   

                      บำเหน็จ บังเหียน

2) แข โลด เดิน นัก อวย ศก เลิก บาย มาน

3) ราชาศัพท์ เขนย ขนง เสด็จ สมเด็จ อาจ ไถง

4) สะกดด้วย จ ร ล ญ เช่น อร ถวิล เพ็ญ ครวญ จมูก อัญเชิญ

ภาษาจีน                  เจ้าสัว โจ๊ก เจ๊ง เจ๋ง เกาเหลา เก้าอี้ กวยจั๊บ ก๋วยเตี๋ยว

ภาษาญี่ปุ่น               คาราเต้ เคนโด้ กิโมโน

ภาษาเปอร์เซีย           กุหลาบ  ชุกชี  สุหร่าย  ยี่หร่า

ภาษาทมิฬ                ตะกั่ว อาจาด สาเก กุลี

ภาษาชวา มลายู         มังคุด มะละกอ บุหลัน บุหรง น้อยหน่า กริช โสร่ง สลัด

ภาษาโปรตุเกส           สบู่ ปิ่นโต เหรียญ กะละแม

ภาษาฝรั่งเศส             กงสุล กรัม ลิตร

 

คำมูลเหล่านี้ เข้ามาในภาษาไทยจากการติดต่อซื้อขาย และการศาสนา ซึ่งแม้จะมีการยืมมาใช้แล้ว ก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการ จึงต้องมีการสร้างคำขึ้นมาใหม่ จากวิธีการดังต่อไปนี้

 

การประสมคำ

การประสมคำ คือ การนำคำมูลในภาษามาเข้าคู่กันเพื่อให้เกิดเป็นความหมายใหม่ที่ยังคงมีเค้าความหมายเดิมอยู่ โดยมักให้คำแรกเป็นคำที่มีความหมายเป็นหลักของคำนั้น

ตัวอย่าง แม่ทัพ หลังคา พัดลม ไฟฟ้า คนรถ ยินดี หายใจ ยาดับกลิ่น อ่างเก็บน้ำ ชาวนา ชาวสวน ช่างทอง เครื่องมือ การบ้าน การเมือง (ต่างจากอาการนาม เพราะไม่ได้นำหน้ากริยา)

ข้อสังเกต  คำประสม ต้องเป็นเนื้อความใหม่ ไม่ใช่เนื้อความขยาย เช่น

มะม่วงกวน มะม่วงแช่อิ่ม ข้าวเหนียวมะม่วง VS มะม่วงเก่า มะม่วงเน่า มะม่วงของเธอ

เด็กดอง เด็กปั๊ม เด็กยกของ VS เด็กน่ารัก เด็กดื้อ เด็กตัวโต

แม่บ้าน แม่ทัพ แม่น้ำ VS แม่เขา แม่เธอ แม่ฉัน   

การซ้อนคำ

            การซ้อนคำ คือ การนำคำมูลสองคำขึ้นไปมารวมกัน เพื่อขยายหรือไขความหมาย หรือเพื่อให้เสียงกลมกลืนกัน

 

การซ้อนคำเพื่อความหมาย จะใช้เสียงที่มีความหมายคล้ายกัน มารวมกัน เช่น ครอบครอง บุกรุก คัดเลือก แจกแจง  หรือความหมายตรงข้ามกันมารวมกัน เช่น ดำขาว สูงต่ำ อ้วนผม เท็จจริง มากน้อย

                        การซ้อนคำเพื่อเสียง จะใช้เสียงเดียวกันมาเข้าคู่ เช่น อึกอัก เอะอะ รุ่งริ่ง จุกจิก

 

การซ้ำคำ

            คำมูลที่นำรูปและเสียงมารวมกัน แล้วความหมายแปรเปลี่ยน ใช้ไม้ยมกแทนได้ เช่น ดีๆ  ดำๆ  เด็กๆ  หรือ เขียนซ้ำคำเดิม เช่น เรื่อยเรื่อย เรียงเรียง  (ในร้อยกรอง) หรือเปลี่ยนรูปบางส่วน เช่น ค้าวขาว แด๊งแดง 

ความหมายอาจเปลี่ยนไปในลักษณะ ดังนี้

จำนวนมากขึ้น                - เด็กๆ ไม่ยอมไปโรงเรียน

แยกจำนวน                    - จ่ายเงินเป็นงวดๆ ดีกว่า

ทำโดยไม่ตั้งใจ                - เดินๆ พอเป็นพิธีแล้วกัน

เน้นความหมาย              - เธอนี่มันบ้านน้อกบ้านนอก

ความหมายเปลี่ยน          - เรื่องแค่นี้เบๆ

 

การสมาสคำ

          หลักการสมาส คือ นำบาลีสันสกฤตมาสมาสกัน แล้วนำคำขยายไว้ข้างหน้า ไม่ใส่เครื่องหมาย  ์  ะ  แต่อ่านออกเสียงต่อเนื่องกันได้   มักมีคำว่า ศาสตร์ ภัย กรรม ภาพ กร อยู่

หลักสังเกต  พิจารณาว่า

1) มาจากคำบาลี สันสกฤต หรือไม่ คำที่ยกตัวอย่างให้นี้ มักใช้เป็นคำหลอก เช่น  เรือน วัง ทุน สินค้า ลำเนา เคมี ไม้

2)  การเรียงคำหลัก ต้องอยู่หลัก เช่น ผลผลิต (ประสม)  ผลิตผล (สมาส)

 

การสนธิคำ

            หลักการของสนธิ คือ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในส่วนใดส่วนหนึ่งเพื่อให้ได้คำใหม่ วิธีสังเกต ลองแยกคำเหล่านั้นออก แล้วดูว่า ต้องเติม อ เพื่อให้ได้คำหลังที่สมบูรณ์หรือไม่ เช่น

ราโชรส  มาจาก ราช – โอรส, คเชนทร์ มาจาก คช – อินทร์ เป็นต้น

 

การแผลงคำ   

            การเปลี่ยนแปลงอักษรของคำในภาษาไทยหรือคำในภาษาอื่นที่ไทยนำมาใช้ให้มีรูปที่ต่างไปจากเดิม มีความหมายใหม่ แต่ยังคงรักษาเค้าของความหมายเดิม

 

การแผลงสระ คือ การเปลี่ยนแปลงคำทางสระให้คำนั้นมีสระผิดไปจากเดิม เช่น จาก สระอะ เป็นสระอา ในคำว่า อธรรม – อาธรรม, วน – วนา เป็นต้น

            การแผลงพยัญชนะ คือ การเปลี่ยนแปลงคำ โดยแปลงพยัญชนะ ไปเป็นพยัญชนะอื่น อาจกลายร่วมกับสระด้วย เช่น กัน – กำนัน, เกิด – กำเนิด, ขจร – กำจร, จน – จำนน, ขาน – ขนาน, ชิด – ชนิด, ทรุด – ชำรุด, ผทม – บรรทม, เพราะ – ไพเราะ, พัก – พำนัก, จอง – จำนอง

            การแผลงวรรณยุกต์ คือ การเปลี่ยนแปลงคำด้วยการแปลงวรรณยุกต์ในคำนั้น ๆ ให้เป็นรูปอื่น เช่น จึง – จึ่ง, ดัง – ดั่ง, บ – บ่, นั่น – นั้น, นี่ – นี้ เป็นต้น

 

การทับศัพท์

          การทับศัพท์ หมายถึง คำภาษาต่างประเทศที่เขียนด้วยตัวอักษรไทย โดยมากมักเป็นคำที่มาจากภาษาอังกฤษ เช่น  ฟุตบอล ปลั๊ก ทอฟฟี่ เชิ้ต แท็กซี่ แบตเตอรี่ โน้ต คอมพิวเตอร์ ชาร์ต

 

การบัญญัติศัพท์

ศัพท์บัญญัติ หมายถึง การกำหนดคำขึ้นมาเพื่อแทนคำที่ยืมมาใช้ โดยให้เป็นคำในภาษาไทยที่มีความหมายตรงกับคำที่ยืมมา แต่ในการประกอบรูปคำขึ้นใหม่นั้น อาจใช้ทั้งคำไทยแท้ หรือคำจากภาษาอื่น ๆ มาประกอบกันด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น

Automatic         บัญญัติเป็น        อัตโนมัติ

            Cosmetic         บัญญัติเป็น        เครื่องสำอาง

            Entertainment  บัญญัติเป็น        การบันเทิง

            Propaganda     บัญญัติเป็น        การโฆษณาชวนเชื่อ

            Stamp              บัญญัติเป็น        ดวงตราไปรษณียากร

            Seminar           บัญญัติเป็น        สัมมนา

            Telephone        บัญญัติเป็น       โทรศัพท์

 

6. กลุ่มคำ หรือวลี

            กลุ่มคำ คือ การที่คำหลายคำมารวมกันแล้วมีความหมายเพิ่มขึ้น

ข้อสังเกต  กลุ่มคำ ต่างจากคำประสมตรงที่ คำประสมจะมีความหมายใหม่เกิดขึ้น ส่วนกลุ่มคำมีเพียงความหมายเพิ่ม  ทั้งนี้ต้องพิจารณาบริบทของคำนั้นด้วย

ส่วนกลุ่มคำ ต่างจากประโยค ตรงที่ ประโยคจะมีใจความที่สมบูรณ์ทั้งภาคประธาน และภาคแสดง

 

ตัวอย่าง

 

คำประสม                                    กลุ่มคำ

ลูกเสือเข้าค่าย                                       ลูกเสือวิ่งเล่นอยู่ในกรง

 

ประโยค                                      กลุ่มคำ                   

กระดาษสีมีราคาถูก                               กระดาษสีราคาถูก         

 

7. ประโยค

            ประโยคในภาษาไทย หากพิจารณาตามโครงสร้างมี 3 ประเภท คือ ประโยคความเดียว ประโยคความรวม และประโยคความซ้อน

 

ประโยคความเดียว

ประโยคความเดียว คือ ประโยคที่มีใจความสำคัญเพียงใจความเดียว อย่างไรก็ดี ประโยคความเดียวก็อาจมีความซับซ้อนได้ เช่น

 

            ที่ห้องที่บ้านของฉันเหนือภูผาสูงที่จังหวัดตากทาสีชมพู

            การส่งเสริมกีฬาในร่มแก่คนหนุ่มสาวช่วยส่งเสริมพลานามัยที่สมบูรณ์ –

            รูปปั้นช้างงาเดียวสีขาวเขี้ยวยาวตัวสูงใหญ่สีดำมีรายละเอียดมาก

          นักกีฬาวิ่งกระโดดกระโจนข้ามรั้วด้วยความดีใจ

            นักเรียนค่อยๆ ดึงสุนัขออกจากกรง

           

ประโยคความรวม

ประโยคความรวม คือ ประโยคที่มีใจความมากกว่าหนึ่ง มักปรากฏคำเชื่อม และการเชื่อมความใน 4 ลักษณะ คือ การเชื่อมแบบคล้อยตาม การเชื่อมแบบขัดแย้ง การเชื่อมแบบให้เลือก และการเชื่อมแบบเป็นเหตุเป็นผลกัน ตัวอย่างของประโยคความรวมที่มีความซับซ้อน เช่น

 

            สุนัขป่าออกวิ่งไล่ตามติดเหยื่อ แต่ฝูงสิงโตเข้ามาแย่งชิงเหยื่อไปได้

            นักเรียนไม่ตั้งใจเรียน และขาดเรียนมากเกินไป จึงไม่มีความรู้และสอบตก

            ป่าไม้ให้ความชุ่มชื้นทำให้โลกเย็น ดังนั้น ถ้าคนทำลายป่าไม้เพิ่มขึ้นจะทำให้โลกร้อนขึ้น

  

 

 

 

ประโยคความซ้อน

ประโยคความซ้อน คือ ประโยคที่มีใจความร่วมกันแบบใจความหลักกับใจความรอง แบ่งเป็น 3 ประเภทของการซ้อนความ คือ นามานุประโยค (ทำหน้าที่เป็นเหมือนนามในประโยค)คุณานุประโยค (ขยายคำนาม ตามหลังคำว่า ที่ ซึ่ง อัน) และวิเศษณานุประโยค (ขยายกริยา และวิเศษณ์ มักตามหลังคำว่า ให้ ว่า)

 

            นักกีฬาขาดการฝึกซ้อมทำให้แข่งขันตกรอบสุดท้ายนำความเสียใจมาสู่ทุกคน

            ละครที่ครูและนักเรียนแสดงร่วมกันได้รับความชื่นชมมาก

            เขาบอกว่า เขายิงโจรอย่างไม่ลังเลด้วยกระสุน 6 นัดจนตายคาที่

            การพิจารณาประโยคอีกรูปแบบหนึ่ง คือ การพิจารณาจากเจตนาในการสื่อสาร แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

  1. ประโยคแจ้งให้ทราบ (บอกเล่า, ปฏิเสธ)

แม่ชอบกินขนมถ้วยที่ขายอยู่ตรงปากทางเข้าตลาด

แม่ไม่อยากไปงานนี้เพราะไม่มีคนรู้จักไปด้วย

 

  1. ถามให้ตอบ (คำถาม)

เธอชอบทำการบ้านตอนกลางคืนเสมอหรือ

 

  1. บอกให้ทำ (ขอร้อง, คำสั่ง)

กรุณาตอบให้ตรงคำถาม

ห้ามเดินลัดสนาม

 

 

หมายเลขบันทึก: 333898เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2010 20:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท