ชาครธมโม
นาย สมชาย ชาครธมโม ชินวานิชย์เจริญ

เที่ยวซับตะเคียน ดูก๊อสขมิ้นชันแบบแพทย์แผนไทย


แนวคิดการใช้ก๊อสขี้ผึ้งขมิ้นชันในสถานบริการ

เราออกเดินทางตอน 03.30 ซึ่งจริงแล้วเจี๊ยบนัดไว้ตอน 03.00 แต่จริง ๆ ของ จริง ๆ คือการนัดเผื่อ ซึ่งหลังจากล้อหมุน จนสิ้นสุดวันที่ 26 มกราคม 2553 นั้น คณะดูงานบอกว่าโหดสุด ๆ  เดินทางถึงอำเภอชัยบาดาล ทราบต่อมาจากการนำเสนอของคุณชัยพร ว่าเดิมเรียกว่าอำเภอ ชายบ่าด้าน   เราแวะทานอาหารเช้าที่ร้านอาหารที่ตอนแรกไม่แน่ใจว่าสะอาดหรือไม่ แต่ขอบอกว่าทั้งสะอาดและรสชาติใช้ได้  เดินทางถึง สอ.ซับตะเคียน เวลา 09.00 น. คุณชัยพร หรือต่อไปนี้จะเรียกว่าอาจารย์หยอยหรือพี่หยอย  เพราะเป็นวิทยากรเดินสายสอนเวชกรรมแผนไทย รวมทั้งที่ขอนแก่นด้วย  พี่หยอยพูดถึงแนวคิดการใช้ก๊อสขี้ผึ้งขมิ้นชันในสถานบริการ  ซึ่งหน่วยบริการสามารถเริ่มต้นได้ตั้งแต่การทำครีมขมิ้นชันเตรียมไว้สำหรับชุบก๊อส โดยผสมพิมเสนซึ่งมีคุณสมบัติในการกัดฝ้าหนอง ตรงนี้แหละที่เป็นจุดเด่นของการประยุกต์ใช้ และการสร้างความพึงพอใจ ซึ่งทำให้ผมได้ขบคิดต่อไปว่าเราจะต่อยอดจากการมีและใช้นวตกรรมดังกล่าวได้อย่างไร  เช่นระยะเวลาลดลงหรือไม่ คุณภาพชีวิตความพึงพอใจของผู้ใช้เป็นอย่างไร  ที่ สอ.ซับตะเคียนนั้นนอกจากเรื่องนี้แล้ว เรายังได้ทราบแนวคิดการทำงานในชมชนของพี่หยอยด้วย ในเรื่องของการเพิ่มมูลค่าดินสอพองโดยนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาปรับ ซึ่งดินสอพองสูตรที่ สอ.ซับตะเคียน ดำเนินการอยู่นั้นไม่เหมือนดินสอพองที่อื่น ๆ มีการผสมสมุนไพรในท้องถิ่น เช่น นางพญาหน้าขาว และอื่น ๆ ด้วย   มีการทำสบู่กลีเซอรินผสมสมุนไพรในท้องถิ่น ทั้งนี้ทั้งนั้นเป็นการเริ่มต้นงานร่วมกันจาก สอ.ลงสู่ชุมชนและชุมชนก็พูดคุยกับ สอ. แลกเปลี่ยนจุดอ่อน จุดแข็งกันและกัน เราดูสาธิตการทำครีมขมิ้นชันแล้วทานอาหารเที่ยง  จากนั้นพี่หยอยพาไปที่ ซับจำปา พาไปดูสวนป่าจำปีป่า เป็นศูนย์ศึกษาและอนุรักษ์พันธุ์ไม้โดยเฉพาะจำปีป่า  ก็ได้รับกลับมาปลูกที่บ้านคนละต้น
จากนั้นเราออกเดินทางไปที่ คลินิกหมอสมาร์ท ซึ่งเป็นนายแพทย์แผนปัจจุบัน และมีความสนใจในการแพทย์แผนไทย ซึ่งหลังจากที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยจาก อาจารย์ประสาท และพี่หยอยแล้ว คุณหมอได้ปรับปรุงคลินิกและมีการผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม จุดที่น่าสนใจในเรื่องของผลิตภัณฑ์คือฉลากและตัวยา ประเด็นที่น่าสนใจคือแนวคิดการพัฒนางานของหมอ และรู้สึกได้ถึงไมตรีจิต ความสุขที่เผื่อแผ่ออกมาจากตัวหมอ
ที่โรงพยาบาลลำสนธิ เราไปดูที่อาคารแพทย์แผนไทย เป็นอาคารทรงไทยตั้งอยู่ด้านหลังโรงพยาบาล มีพี่พยาบาลเป็นหัวหน้างาน และอาจารย์นกแลเป็นผู้จัดการ ซึ่งอาคารและการจัดการที่เห็นนั้นได้รับการสนับสนุนจากผู้อำนวยการโรงพยาบาล อาจารย์นกแลเล่าให้ฟังว่าใช้วัสดุเดิมพวกไม้จากบ้านพัก มีค่าใช้จ่ายรวมแล้ว 200,000 แต่จริงๆ  ราคาประเมินประมาณ 2 ล้านกว่า ถ้าไม่ใช้วัสดุเหลือใช้ นอกจากนี้อาจารย์นกแลเองยังมีแนวคิดทำบ่อบำบัดอัมพฤกษ์ อัมพาต ด้านหน้าอาคารเรือนไทยนั้นด้วย ประเด็นที่ได้จากที่นี้คือแนวคิดการทำงานที่มุ่งไปที่ผู้รับบริการ ประชาชน โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นบุคลากร , วัสดุเหลือใช้ ผมยังได้เห็นอุปกรณ์การผลิตที่อาจารย์นกแลขอมาจากหลาย ๆ แหล่งเพื่อพัฒนาการผลิตต่อไป
 สรุปในวันแรกเราไปดูงานที่ สอ.ซับตะเคียน , คลินิกหมอสมาร์ท และ รพ.ลำสนธิ ตั้งแต่ 09.00 – 17.00 น. ไม่แน่ใจว่าจะโหดสุด ๆ จริงหรือไม่
แต่อีกวันหนึ่งเราออกเดินทางจากเขาค้อทะเลหมอกหลังจากดื่มด่ำกับความสุขที่สัมผัสได้ เหมือนคำขวัญที่ว่า นอนเขาค้อ 1  คืน อายุยืน 1 ปี  และก็ได้พูดคุย แนวทางการสรุปงานโดยใช้ OutComeMapping  แผนที่ผลลัพธ์ ในประเด็นการนำแนวคิดการใช้ก๊อสขี้ผึ้งขมิ้นชันไปใช้ในสถานบริการ ซึ่งคณะดูงานจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ  กลุ่มแพทย์แผนไทยจากโรงพยาบาลอื่น ๆ , และหัวหน้าสถานีอนามัยที่ไปด้วย ก็ได้มีแผนงานคร่าว  ๆ เอาไว้แล้ว ซึ่งจะได้ติดตามต่อไปในการประชุมกลุ่มแพทย์แผนไทย จากนั้นก็เดินทางกลับแบบสบาย ๆ ไม่ต้องเร่งรีบรวมทั้งพูดคุยหารือกันไปในรถในประเด็นการพัฒนางานด้านต่าง ๆ แวะนมัสการพระบรมธาตุเจดีย์ที่อำเภอเขาค้อ  กลับถึงที่ตั้งเวลา 16.00 น.

คำสำคัญ (Tags): #แพทย์แผนไทย
หมายเลขบันทึก: 333577เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2010 16:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 14:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท