Best Practice


ปัจจุบัน Best Practice จะมีความหมายมากน้อยเพียงไร

ในวงการศึกษาบ้านเราแต่ที่ผ่านมากว่าจะมาเป็นBest Practice

ในสายตาที่ยอมรับนั้นมันเป็นผลการทำงานด้วยความมุ่งมั่น

ที่จะพัฒนาเด็กน้อยให้เป็นคนดี เก่ง คู่คุณธรรม

ก็เป็นความภาคภูมิใจที่ความหวังความฝันที่ได้มีส่วนร่วม

และพัฒนางานของครูด้วยจิตวิญญาณของครู

มิใช่ทำเพื่อเงินรางวัล สองขั้น หรือความดีความชอบแต่อย่างไร

หากสุขนั้นมันเกิดจากผลการกระทำ

ที่นำพาชีวิตเด็กน้อยให้เจริญงอกงามตามอัตภาพ

ที่มีอยู่ได้อย่างมีความสุข เป็นคนดีของสังคม

มีทุนชีวิตที่พอจะก้าวออกไปสู่โลกภายนออกอย่างสง่างาม

วันนี้เมื่อได้รับทราบถึงความสำเร็จของเด็กน้อยที่ ณ วันนั้นถึงวันนี้

เธอเติบโตเป็นประชาชนคนดี

รับราชการเป็นข้าราชการของรัฐสภา

เธอไม่เคยลืมครูของเธอเลยก็ว่าได้ เพราะพวกเธอต่างผลัดเวียนกันส่งข่าว ความสำเร็จเป็นระยะให้ครูของเธอทราบจวบจนบัดนี้หลายคนแต่งงานมีครอบครัว ก็ยังส่งข่าวเขยศิษย์ให้ทราบ นึกๆดูก็น่าขัน ทำให้ฉันนึกถึงสุภาษิตโบราณสมัยที่ฉันเป็นเด็กขึ้นมาทันที  ..เด็กเอ๋ยเด็กน้อย ความรู้เจ้ายังอ่อนด้อยเร่งศึกษา เมื่อเติบใหญ่เราจะได้มีวิชาเป็นเครื่องหาเลี้ยงชีพสำหรับตน...............

เป็นผลงานเชิงประจักษ์ ที่น่าภาคภูมิใจที่พวกเขาพากันเป็นพลเมืองดีของประเทศชาติ

ฉันก็รู้สึกถึงคำว่า Best Practice ขึ้นมาเป็นBest Practice

ที่ฉันเฝ้าปฏิบัติมาก่อนยุคการปฏิรูปการศึกษา

ในปีพุทธศักราช 2542  นี่ละมั๊ง.....ความหมายที่แท้จริง

จึงมานั่งทบทวนความรู้ใหม่ ที่ได้รับ เพื่อเติมพลังให้ตัวเอง

 

ย้อนอดีต กับคำว่า Best Practices, Best Practices

ใครๆก็พูดถึง Best Practices

เป็นที่น่าสงสัยมากเมื่อ ปี พุทธศักราช 2542

ฉันอยากเรียกว่าเป็นยุคที่ครูไทย มีการปรับเปลี่ยนพัฒนาการจัดการเรียนการสอนและ เกิดแนวความคิดครั้งใหญ่ของเมืองไทยที่หันมาให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อย่างจริงจัง   เมื่อพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545และมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 กำหนดให้กระทรวงศึกษาธิการกระจายอำนาจบริหารและการจัดการศึกษา ทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารงานทั่วไป เพื่อให้สถานศึกษามีความคล่องตัวสามารถบริหารจัดการการศึกษาในสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล มีความสะดวกรวดเร็วถูกต้อง

       การปฏิรูปการศึกษาในครั้งนั้นส่งผลทำให้ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ต้องปรับเปลี่ยนบทบาท โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เน้นการบริหารแบบมีส่วนร่วม ร่วมคิดร่วมทำ จนสามารถนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมสามารถบรรลุผล ตรงตามกับความคาดหวังของบุคลากรและชุมชนที่มีต่อสถานศึกษานั้นต้องการ  ซึ่งผู้รับผิดชอบในสถานศึกษานั้นๆ ต้องปฏิบัติและต้องแสดงผลในเชิงประจักษ์ ให้บุคลากรทางการศึกษาทั้งประเทศได้รับรู้รับทราบโดยทั่วกัน การปฏิบัติที่เป็นเลิศนี้เองแหละที่เรียกว่า” Best Practices  ผลงานเป็นที่ประจักษ์บ่งบอกความสำเร็จ หรือมีความเป็นเลิศที่ก้าวสูงขึ้น เป็นที่ยอมรับ และตอบสนองความพึงพอใจของสังคมชุมชนนั้นๆ อันได้แก่ ผู้ปกครอง สถานประกอบการที่พร้อม และเต็มใจรับผลผลิตจากโรงเรียนหรือสถานศึกษาเข้าทำงาน ซึ่งถือเป็นความสำเร็จสุงสุดที่สถานศึกษาสามารถผลิตคนออกมาได้มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับของคนทำงาน ไม่ใช่วิ่งเต้นพวกใครพวกมัน

 

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็น Best Practices หรือไม่  Best Practices

ก็ต้องมาตรวจสอบว่า

1. ผลการดำเนินการบรรลุ และผลตอบสนองความต้องการของชุมชน หรือของตลาด หรือไม่  

2. มีกระบวนการ แบบ P D C A  มีตัวชี้วัด  มีสิ่งที่บอกได้ว่าเป็นความสำเร็จ (พอถึงตรงนี้ มีผู้รู้บอกว่ามันช้า /มันล้าไปแล้ว มันต้องให้ความรักก่อน ก้าวเดินด้วยรัก รักที่จะทำให้ดี รักด้วยความรู้สึกเอื้ออาทรต่อกัน รักที่จะเรียนรู้ และนำพาความรักให้เป็นพลัง พลังที่ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี กระบวนการPDCA ก็ตามมาเอง ทำไปแก้ไป ด้วยทัศนคติที่เป็นบวก การพัฒนาก็เกิดขึ้น ด้วยสติ และปัญญา)

3. บี้ให้ได้ ว่า What   How   Why   นั้นทำอย่างไร  บี้ให้เห็นเลยว่าหน้าตาจะออกมาอย่างนี้ ๆ  มีขั้นตอน แบบนี้ 1 2 3 ว่าไปเลย ให้มันชัดเจน เพราะทำจริง  ทำอย่างไร ก็ว่าไปตามนั้น ของฉันมันเป็นแบบนี้ จะให้ฉันไปตามเธอ เหมือนเธอได้ยังไง จะผัด จะแกง ก็เป็นอาหารได้ประโยชน์เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับว่าใครมีแนวทางทำแบบไหน ได้ผลก็มาแลกเปลี่ยนกัน ใครอร่ยอกว่ากัน ยังไง แบบไหน แสดงแผ่กันให้เห็นถึงกึ๋น

4. ผลลัพธ์ในแต่ละขั้นตอน มีหน้าตา รูปร่างอย่างไร แต่งองค์ทรงเครื่องแบบไหน ก็บอกรายละเอียดได้ (แสดงว่าทำจริง ไม่ได้make up) ทุกขั้นตอนเป็นไปตามข้อกำหนดของการพัฒนาคุณภาพเชิงระบบ

5.แล้วทำอย่างต่อเนื่อง ๆ ดีขึ้น มั่นคงขึ้น เกิดการพัฒนาๆ จนเป็นที่ยอมรับของตลาด เกกกิดความเฃื่อมั่น

6. สุดท้ายการปฏิบัตินั้นต้องใช้กระบวนการ การจัดการความรู้ที่เรียกว่า Knowledge Management หรือ (KM) เอาไปใช้ได้ เป็นแบบอย่างได้  สร้างสุขในการทำงานได้

ขออนุญาตยกบทความจาก.. http://www.dopa.go.th/iad/km/km_des.html

ซึ่ง นพ.วิจารณ์ พานิช ได้ให้ความหมายของคำว่า

การจัดการความรู้ไว้ดังนี้ .....การจัดการความรู้คือ เครื่องมือ เพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่

          1. บรรลุเป้าหมายของงาน

          2. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน

          3. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรเรียนรู้ และ

          4. บรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ  ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน

ขอบคุณค่ะ

 

 

หมายเลขบันทึก: 333035เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2010 15:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

       *   ชุมชนพอใจ  ผู้ปกครองยอมรับ 

       *  ผมว่านี่แหละครับ Best practices ที่แท้จริง

                 ขอบคุณครับ

P

ขอบพระคุณค่ะ น้องท่านรองฯ

วันนี้สบายๆค่ะ

เพราะเด็กสอบNT พี่ไม่ได้เป็นกรรมการคุมสอบ

เลยไปทำสวนหลังอาคารเรียนแทนเด็กน้อย ได้เหงื่อค่ะ

และวันนี้ก็ล้างพิษให้กับร่างกายตัวเองด้วยการรับประทานแอบเปิ้ลอย่างเดียว

ตั้งใจไว้ว่าจะใช้เวลา 2 วัน ช่วงเด็กสอบค่ะ

ขอบคุณค่ะ

 

สวัสดีค่ะ พี่ครูต้อย

เรืองนี้ พอลล่าคิดว่า ผลงานที่ดีต้องสะท้อนกับเป้าหมายองค์กร เป็นเรื่องที่องค์กรให้ความสำคัญ

ผลงานนั้น ชัดเจนที่เป้าหมาย มีตัววัดผลงานที่ชัดเจน ค่ะ มี PDCA ครบอย่างที่พี่ครูต้อยบอกค่ะ

มีการสรุปบทเรียนจากเรื่องนั้นค่ะ

P

สวัสดีค่ะพี่ใหญ่

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมค่ะ

รักษาสุขภาพด้วยนะคะ

 

P

ขอบคุณค่ะน้องพอลล่า

พอลล่าคิดว่า ผลงานที่ดีต้องสะท้อนกับเป้าหมายองค์กร

เป็นเรื่องที่องค์กรให้ความสำคัญ

ชัดเจนที่เป้าหมาย

มีตัววัดผลงานที่ชัดเจน ค่ะ มี PDCA

มีการสรุปบทเรียนจากเรื่องนั้นค่ะ

อรุณสวัสดิ์ค่ะครูพี่ต้อย

ขอบคุณมุมมองดีๆ จาก best practice ค่ะ น่าจะแตกต่างไปตามสภาพงาน และพื้นที่

สุดท้ายแล้วสอดคล้องกับองค์กร ชุมชน และผู้มีส่วนได้เสียทุกระดับค่ะ

P

ค่ะเห็นด้วยนะคะ น้องPoo

เพราะสภาพพื้นที่ แตกต่างกัน อีกทั้งวัฒนธรรม

ประเพณีของแต่ละพื้นที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง

แต่เพื่อให้การจัดการศึกษาไทยเรามีประสิทธฺภาพ

มีผลเป็นที่พึงพอใจของตลาด ดั่งที่ท่านรองฯsmallmanกล่าว

โดยเฉพาะผู้ปกครองต้องพอใจ ยอมรับด้วย

ขอบคุณค่ะ

 

แวะมาเยี่ยมชมบ้านครูต้อยค่ะ

ชอบกิจกรรมดีดี ของครู

เป็นกำลังใจให้ค่ะ

สวัสดีค่ะครูต้อย ขอแนะตัวจริงก่อนค่ะ ชื่อ อรทัย รัตนบรรดาล ค่ะ จากรร.จุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช

ยินดีมากค่ะที่ครูต้อย สนใจการอบรมที่ มวล. ติดต่อ อ.นิศารัตน์ ( 089-892-2612 )บอกว่าทราบจาก อ. อรทัย

อ.นิศารัตน์ จะบอกรายละเอียดอีกครั้งค่ะ( จะทราบผลแน่นอนกว่า ) ถ้าติดต่อไม่ได้ก็ ( 089-195-7934 )ใจใสใส ครูจ๋าค่ะ

ใจใสใส ก็จะนำน.ร.ไปหลายคนค่ะ ช่วงปิดเทอมเด็กๆว่างค่ะ

รักค่ะ

P

ขอบคุณค่ะ น้องใจใสใส น้องอรทัย

ยินดีที่รู้จักค่ะ

ครูต้อยเคยเรียนที่นครฯค่ะ

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท