เคล็ดการแยกพระกรุออกจากพระโรงงาน : ตอนที่ ๕ พระเนื้อชินเงิน


มีการเกิดสนิมน้อย มีการผุกร่อนจากผิวนอกในลักษณะการระเบิดออกเป็นจุดๆ โดยเฉพาะผิวที่อยู่ด้านนอกสุด จนเหลือแกนในเป็นเม็ดๆ

พระกรุเนื้อชินเงิน เป็นพระเนื้อโลหะที่พบตั้งแต่สมัยทวาราวดีเป็นต้นมา แต่มักมีน้อย และไม่เป็นที่นิยมมากนัก จึงถือว่าเป็นพระระดับรองๆ หรือเป็นพระทดแทนเนื้ออื่นๆ เมื่อหาเนื้อหลักไม่ได้

องค์ประกอบของพระเนื้อชินเงินนั้น ดูเหมือนจะเป็น

  • โลหะผสมหลายชนิด
  • ไม่มีทอง และทองแดง
  • จึงมีสีเทาถึงเทาดำ
  • มีความแข็งมากกว่าเนื้อสำริด และแข็งกว่าเงิน

มีการเกิดสนิมน้อย มีการผุกร่อนจากผิวนอกในลักษณะการระเบิดออกเป็นจุดๆ โดยเฉพาะผิวที่อยู่ด้านนอกสุด จนเหลือแกนในเป็นเม็ดๆ

Shinngeun003

พระกันทรวิชัย ยุคทวาราวดี เนื้อชินเงิน หนัก ๘๐๐ กรัม

อายุกว่า ๑๓๐๐ ปี จึงมีสภาพการระเบิดทั้งองค์

Shinngeun002

ภาพใกล้ จะเห็นผิวที่เหลือของเนื้อชินเงินหลังกว่าพันปีของการกร่อน

Shinngeun004

พระบูชายุคลพบุรี เนื้อชินเงิน อายุประมาณพันปี

Shinngeun001

พระร่วงยืน ลพบุรี ชินเงิน สภาพเกือบสมบูรณ์ มีการกร่อนเล็กน้อย

Shinngeun006

พระบูชายุคทวาราวดี ชินเงิน ศิลปะคุปตะ

มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์

หรือ ทำให้มีลักษณะกร่อนเป็นแนว ที่สังเกตได้ง่าย ถ้ายิ่งเก่ามาก จะยิ่งระเบิดมาก ทั้งองค์ก็มี

ลักษณะสำคัญที่ต้องสังเกตคือ

  • ผิวปรอทหรือพรายเงิน
  • สนิมตีนกา เป็นเม็ดดำๆละเอียดยิบ
  • ทั้งสองอย่างอยู่ด้วยกันอย่างกลมกลืนกัน

แต่พรายเงินอาจหมดไปในพระที่เก่ามากๆ ที่จะต้องไปดูการระเบิดแบบธรรมชาติของผิว

ลักษณะพระโรงงานที่พบก็มีการทำเลียนแบบเนื้อสีเทาดำ

ที่ส่วนใหญ่ทำจากโลหะประเภทตะกั่ว แล้วบิดหรือราดกรดให้มีการปริแตก

ที่สามารถตรวจจากน้ำหนัก และขีดบนกระดาษขาว ถ้าเป็นตะกั่วจะออกดำแบบดินสอดำ

จึงสามารถสังเกตได้ง่าย จากเหลี่ยมมุมการแตกตามธรรมชาติ และการแกะให้ดูเหมือนการแตก

และโดยเฉพาะการอบให้แตกนั้น ยิ่งดูง่ายขึ้นไปอีก จึงไม่ซับซ้อน และไม่น่าเป็นกังวลที่จะทำให้เกิดความสับสน

และพระกลุ่มนี้ก็เป็นพระรองๆ ราคาต่ำ ฝีมือ หรือความพยายามในการปลอมจึงไม่สูงนัก ไม่น่าเป็นกังวลอะไร

ขอให้สังเกตตามตัวอย่างที่แสดงให้ดูครับ ไม่น่าจะพลาด

ขอให้โชคดีครับ

หมายเลขบันทึก: 332549เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2010 20:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เนื้อชินแบบนี้ ถ้าบิ่นแตก เนื้อข้างในจะเหมือนที่ผิวไหมครับ เข้มหรือ อ่อนกว่าครับ

ก็จะเห็นเนื้อเดิมครับ ไม่แน่นอน

เนื้อหาความเก่าดี..ไหมคับองค์นี้

รบกวนขอรูปเปรียบเทียบ ระหว่าง ผิวระเบิดธรรมชาติกับของฝีมือหน่อยครับอาจารย์ แล้วก็สนิมตีนกา อ่านแล้วผม จินตนาการไม่ออกครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท