Orn
น.ส. กนกอร ตั้งกุลบริบูรณ์

ร้านธรรมดาๆ กับ ยอดขายอันดับ1 ของประเทศ


จิตวิทยาการขอ แบบสร้างบรรยากาศเป็นกันเอง

การบริหารแบบเดิมๆ ของร้านธรรมดาๆ กับยอดขายอันดับ 1 ของประเทศ หลายท่านคงสงสัยว่ามันเป็นยังไงแน่ ?

เรื่องมันมีอยู่ว่า ดิฉันได้คุยกับญาติที่เป็นร้านตัวแทนจำหน่ายเครื่องมือการเกษตรค่ะ เขาบอกว่ามีกรณีศึกษาของทางบริษัทอยู่กรณีหนึ่งจะเล่าให้ฟัง

นั่นคือ มีร้านตัวแทนจำหน่ายร้านหนึ่งค่ะ เป็นร้านขายสินค้าเกี่ยวกับเครื่องมือการเกษตร ร้านนี้มียอดขายเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทยมาตลอด ทั้งที่ทางร้านเองไม่ได้มีระบบการจัดการที่ดีเลยค่ะ มีสินค้าหายจาก stock มากมาย เจ้าของกิจการก็ไม่เคยเข้าไปโกดังเพื่อควบคุมหรือดูแลจัดการสินค้าเลยค่ะ

คงสงสัยว่าทำไมไม่เข้าไปดูแลเลย แต่มียอดขายอันดับ 1 สินะคะ?

จริงๆเจ้าของร้านลุกไปไหนจากร้านไม่ได้ค่ะ เขาจะนั่งอยู่ที่โต๊ะคอยรับโทรศัพท์และคอยบริการพูดคุยกับลูกค้าที่มาที่ร้านค่ะ และนี่คือจุดที่ทำให้ร้านๆนี้มียอดขายอันดับ 1 เพราะว่าลูกค้าที่โทรมาซื้อของนั้น ต้องการคุยกับเจ้าของร้านค่ะ การได้คุยหรือสอบถามกับเจ้าของร้านโดยตรงแทนที่จะคุยกับพนักงาน ทำให้ ลูกค้ารู้สึกสบายใจที่จะซื้อของกับร้านนี้ค่ะเพราะว่าได้ซื้อกับตัวเจ้าของร้านเองโดยตรง

ลูกค้าจะคิดว่าคุยกับเจ้าของร้านสามารถต่อรองราคาได้เพราะตัวเจ้าของเองมีอำนาจในการตัดสินใจมากว่าพนักงานทั่วไปค่ะ และลูกค้าส่วนใหญ่ก็ชอบที่จะซื้อของกับตัวเจ้าของร้านโดยตรง ทำให้เจ้าของร้านๆนี้ จะประจำอยู่ที่ร้านคอยคุยกับลูกค้าและรับโทรศัพท์ลูกค้าทั้งวันเลยค่ะ

เป็นการใช้จิตวิทยาการขอให้ลูกค้านั้นมาซื้อสินค้า โดย

การขอแบบสร้างบรรยากาศความสบายใจเป็นกันเองให้กับลูกค้าค่ะ!

หมายเลขบันทึก: 332106เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2010 19:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 12:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

นึกว่ามีบริการหาลูกค้า(นักเรียน)

และสร้างบรรยากาศ

ความประทับใจในเด็กน้อย อิอิ

มาชวนไปหาเพื่อนหายไปค่ะ

ขอบคุณค่ะ

คงเป็นยอดขายเฉพาะร้านตัวแทนจำหน่ายเครื่องมือการเกษตรนะครับ

จริงๆมันก็เป็นอย่างนั้นนะคะ

เรารู้สึกว่าการต่อรองกับเจ้าของร้านน่าจะได้ราคาถูก

แต่..บางครั้งก็ไม่ใช่ค่ะ

เพราะบางครั้งเขาลดให้นิดเดียวเราก็คิดว่าเขาลดเยอะ.. แบบนี้ก็มีนะคะ

ถ้าเลือกได้เวลาซื้อของ ผมมักจะชอบคุยกับเจ้าของร้านมากกว่าครับ

แต่ถ้ามีลูกเจ้าของร้านขายอยู่ด้วย ผมก็จะเลือกไปคุยกับลูกเจ้าของร้านแทน

เพราะผมเจอมาหลายร้านแล้วครับ

ที่ลูกเจ้าของร้านคุยง่ายกว่า และลดราคาให้มากกว่าเจ้าของร้านซะอีก

"ขอบคุณเรื่องราวดีๆ ครับ"

ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาเช่นกันค่ะ

คิดว่าสิ่งสำคัญคือการสร้างความสบายใจให้กับลูกค้ามากกว่าค่ะ ในเคสนี้ลูกค้าจะอยากซื้อของเมื่อได้คุยกับเจ้าของร้าน มากกว่าซื้อกับพนักงานขายทั่วไปค่ะ

จริงครับ เคยมีลูกเถ้าแก่มาเรียน MBA กลับไปเปลี่ยนวิธีการทำงานพ่อแม่ เพราะคิดว่าล้าสมัย ทำไมต้องไปดูเอง ผลก็คือเจ๊งไปเลย เพราะไม่คุยกับลูกค้าครับ อันนี้ได้ยินเขาเล่ามาอีกต่อ

แป้งก็เห็นด้วยนะค่ะ บางทีซื้อกับลูกน้องเหมือนจาลดได้น้อยกว่าคุยกับเจ้าของ

ถ้าได้คุยกับเจ้าของเลยก็น่าจะดีค่ะ

นี่ก็เป็นอีกอย่างที่ร้านโชว์ห่วยเอามาใช้เพื่อแข่งขันกับร้านแฟรนไชส์ต่างๆได้นะคะ

สวัสดีครับคุณอรคนนารัก

ผมมีอยู่เคสหนึ่ง อยู่แถวบ้านหม้อ เป็นร้านขายพวกอุปกรณ์อีเล็คโทรนิคเจ้าของความจำดีมาก พวกอุปกรณ์ตัวไอซี ต่างๆเวลาใครไปซื้อถ้าเป็นช่างก็สามารถระบุค่าไอซีที่ต้องการได้เลย แต่ถ้าเป็นลูกค้าอย่างเราๆก็ต้องเอาของตัวอย่างไปให้  นายเชาว์ เจ้าของร้านที่ยืนดักอยู่หน้าร้านดูถ้าที่ร้านเขามี ก็ตะโกนบอกเข้าไปในร้านให้ลูกน้องหาตัวไอซี หมายเลขกล้องที่เก็บ ราคาและค่าผันแปรต่างๆ และถ้าไม่มีจะบอกลูกค้าว่าให้ใช้ไอซีที่มีค่าผันแปรตัวอื่นแทนอะไรทำนองนี้

ที่ผมบอกว่าความจำดีมาก คือตัวไอซี ต่างๆจะมีแถบสีเป็นตัวบอกค่า เขามองปุบบอกค่าได้เลย ช่างเองบางทียังนึกไม่ทันต้องเปิดคู่มือ แถมยังจำได้หมดว่าของที่ต้องการเก็บไว้ในกล่องไหน ราคาเท่าไหร่ (ทุกตัวราคาไม่เท่ากัน)

และวิธีการตอนรับลูกค้าคือให้ลูกค้ายืนรอหน้าร้านกับเขา ในร้านไม่ให้ลูกค้าเข้าจะมีเฉพาะพนักงานหยิบของ ห้าหรือหกคนอยู่ในร้าน ตัวเขายืนขวางหน้าร้านไว้และเก็บเงินทอนเงินกันตรงนั้น ไม่มีเครื่องเก็บเงินใดๆ มีเพียงกระเป๋าคาดเอวหนึ่งใบ ลูกค้าแน่นร้านทุกวัน ตัวไอซี แปลกๆบางครั้งช่างเองไม่เคยเห็นไปถามนายเชาว์ ถ้าร้านเขาไม่มีขาย เขาจะบอกให่ไปซื้อที่ร้านไหนได้บ้าง แต่ถ้าเขาบอกว่าไม่มีในประเทศ ก็ไม่ต้องไปหาที่ไหนอีก นอกจากต้องสั่งนำเข้า

เป็นวิธีบริหารจัดการร้านที่แปลก ผมก็ไม่เข้าใจว่าลูกค้าแน่นร้านได้ทุกวัน ทั้งที่แถบบ้านหม้อ มีร้ายขายอุปกรณ์ประเภทนี้ก็มากแต่ไม่แน่นเท่าร้านนี้ ถ้าใครผ่านไปลองหันไปดูนายเชาว์จะไม่มีผมยืนตะโกนอยู่หน้าร้านตรงสี่แยกพอดี

 

เห็นด้วยค่ะ..บางทีซื้อเจ้าของร้านจำหน้าเราได้อีก

นอกจากจะลดยังได้ของแถมอีกค่ะ ^^

ขอบคุณ เรื่องดี น่าติดตามค่ะ

เหมือนเวลา เข้าร้านทำผมนั่นแหละค่ะ

..ต้องถามหาเจ้าของร้านก่อน

...ทั้งๆที่ลูกน้อง ก็ฝีมือดีเหมือนกัน

...แวะเข้ามาทักทายค่ะ

คุยกันมากขึ้น เข้าใจกันมากขึ้น ลูกค้าเพิ่มขึ้น ยอดขายเพิ่มขึ้น

โห!!! ดีนะเนี่ย

จริงๆนี่คือพื้นฐานการจัดการความรู้ครับ คนญี่ป่นพัฒนานวัตกรรมด้วยวิธีหนึ่งคือการเอาวิศวกรไปคุยกับลูกค้าที่ชอบอะไร Trendy ครับ KM เราเรียกว่า Socialization (Takeuchi and Nonaka, 1995) Knowledge Creating Company

ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาแสดงความคิดเห็นค่ะ

สิ่งสำคัญคือหาให้ได้ว่าลูกค้าต้องการอะไร เป็นความต้องการแบบที่ลูกค้าอาจจะไม่ได้ขอออกมา แต่เป็นสิ่งที่ลูกค้าอยากได้อยู่ในใจลึกๆ

เจ้าของร้านจะมีอำนาจในการลดราคาสินค้าได้มากกว่าพนักงานขาย ถึงแม้จะลดเพียงไม่กี่บาทเท่านั้นก็ทำให้ผู้ซื้อรู้สึกว่าอย่างน้อยของที่เราซื้อมานั้นก็ได้ราคาถูกแล้ว โดยปกติแล้วถ้าเจ้าของร้านขายเองจะเอาใจใส่ลูกค้ามากกว่าคนอื่น ซึ่งลูกค้าก็จะมีความพึงพอใจทั้งที่สินค้าที่ซื้อนั้นอาจจะไม่ได้ลดราคาเลยก็ตาม

เห็นด้วยค่ะ คุณ molly mon เจ้าของร้านย่อมใส่ใจในธรุกิจของตัวเองเพราะมันเป็นของๆตัวเอง

ฉะนั้นองค์กรหลายๆองค์กรเลยต้องทำให้พนักงานในองค์กรรู้สึกร่วมถึงความรู้สึกถึงการเป็นเจ้าของในงานที่เราทำด้วยจะได้ทำงานอย่างเอาใจใส่ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท