ถ่ายทอดตัวชี้วัด (KPI) งานส่งเสริม


                หายหน้าไปหลายเดือน ไม่ได้กลับมา ทำเอาเกือบลืม pass word  คิดว่า ทางG2K จะลบชื่อออกจากสาระบบ ซะแล้ว เพราะมีภารกิจ จิปาถะ (เป็นแนวของข้อแก้ตัว ที่มักจะถูกอ้างถึงบ่อยๆ) จึงทำให้ต้องห่างหายหน้ากันไป กว่าจะกลับมาได้ก็วนอยู่ เป็นนาน 2นาน  ก็จะขออนุญาตเล่าถึงการทำงานดีกว่าครับ   

 ถ่ายทอดตัวชี้วัด (KPI) งานส่งเสริม

--------------------

                   ตัวชี้วัด (Key Performance Indicator : KPI) มีการทำเข้ามาใช้ในระบบราชการมานานแล้ว แต่ยังไม่แพร่หลายเท่าที่ควร มาช่วงหลัง ๆ นี้ มักจะได้ยิน KPI กันบ่อยขึ้น ใช้กันบ้าง ไม่ใช้กันบ้าง ใช้จริงบ้างไม่จริง (จัง) บ้าง  (แต่ส่วนใหญ่ไม่จริงจัง)

                   วันนี้  KPI  มาถึงหัวบันใดบ้านเราแล้ว  เริ่มใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติราชการตั้งแต่ ปี  2553  นี้  ตามข้อกำหนด ของ ก.พ.   สำนักงานเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี  ได้เตรียมความพร้อมในการรับการประเมินผลการปฏิบัติราชการแนวใหม่นี้  โดยการแต่งตั้งคณะทำงานจัดทำตัวชี้วัด  ที่มาจากตัวแทนข้าราชการทุกตำแหน่ง  เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือในองค์กร  โดยได้ระดมพลเพื่อยกร่าง KPI ขึ้น เมื่อวันที่    21 - 22  ธันวาคม  2552  ณ  ระเบียงทรายรีสอร์ท  อำเภอขนอม  จังหวัดนครศรีธรรมราช  จากการระดมสมองแลกเปลี่ยน ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ครั้งนี้  ได้เป็น KPI ฉบับยกร่าง   ที่จะนำมาใช้ในองค์กร  จำนวน 14 งาน  30  ตัวชี้วัด  ครอบคลุม งานตามยุทธศาสตร์งานตามภารกิจ และงานที่ได้รับมอบหมาย ทุกงานที่เกี่ยวข้อง  จากนั้นได้นำยกร่าง  KPI  ดังกล่าว  มาเข้าที่ประชุมเกษตรอำเภอประจำเดือนธันวาคม  2552  ปรับปรุงนิดหน่อย  แล้วนำไปถ่ายทอด KPI  นี้  ให้กับผู้เกี่ยวข้อง ที่มีส่วนได้-เสีย  คือ (ข้าราชการทุกตำแหน่งในระดับอำเภอและจังหวัด)   ในเวทีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการระดับอำเภอ    ตัวชี้วัดดังกล่าวนี้  จะเป็นเครื่องมือประเมินการทำงานของอำเภอ  (สำนักงาน + เกษตรอำเภอ)   และจังหวัด (กลุ่ม/ฝ่าย+เจ้าหน้าที่) ในปี 2553 นี้ต่อไป

                   ต่อจากนี้ไป  เป็นหน้าที่ของทุกคน(ที่เกี่ยวข้อง)  ที่จะต้องจัดทำตัวชี้วัดในระดับบุคคลให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดขององค์กร  เพื่อขับเคลื่อนงานในหน้าที่ความรับผิดชอบ ให้บรรลุเป้าหมาย ตามที่กำหนดไว้    ในระยะแรก ๆ นี้  ผู้บังคับบัญชา  (เกษตรอำเภอ+หน.กลุ่ม/ฝ่าย)  ต้องเป็นที่ปรึกษา ชี้แนะ  และคอยให้กำลังใจแก่ลูกทีมในการจัดทำ  ซึ่งการทำงานกับ  KPI  เป็นเรื่องใหม่  ครั้งแรก  อาจจะดูว่าน่าจะยาก  ไม่รู้จะทำอย่างไร  อาการนี้ก็คงต้องปรึกษา กับเพื่อนข้าง ๆ   ผู้รู้  ไปก่อน  อีกหน่อยก็จะชินไปเอง  ไม่มีอะไรในประเทศนี้ ที่นักส่งเสริมเรา ทำไม่ได้…

                   สำหรับตัวผมเอง รับผิดชอบ 3 งาน ทำตัวชี้วัดในระดับบุคคล ได้ 9 ตัวชี้วัด ไม่รู้ว่าจะรอดหรือป่าว และเพื่อนๆ ที่ต้องทำ KPI และทำเสร็จแล้ว หรือว่ามีประสบการณ์ด้านนี้ มาก่อนแลกเปลี่ยนกันดูบ้าง ก็ดีนะครับ

ขอให้ทุกท่าน โชคดี มีความสุข เตรียมรับการประเมินผลการปฏิบัติราชการรูปแบบใหม่นี้นะครับ.... 

                    

                                                นายชัยพร  นุภักดิ์ 
   
                                          สำนักงานเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี

หมายเลขบันทึก: 331760เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2010 13:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 12:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

อิอิ นึกว่าสูญซะแล้ว แผน KM ส่งยัง

ของผมใช้กับทุกคน รวมทั้งพนักงานราชการด้วยทุกตำแหน่ง

จังหวัดกำหนด 4-7 ตัวชี้วัด

จังหวัดกำหนด 4 ตัวให้เลือกเอง 3 ตัว

ขอบคุณมากครับ

สวัสดีพี่บ่าว วิทย์ และพี่บ่าวมนตรี

เที่ยวนี้คงทำกันจริงจังแล้วนะ แต่จริงแบบกันเองหน่อย อาจค่อยๆเป็นค่อยๆไป

หายไปนาน กลับมาตามไม่ค่อยทันแล้วครับ

  • สวัสดีค่ะ
  • 9 ตัวชี้วัด!  ทำไปได้อย่างไร?
  • ระบบนี้ ดีมากถ้าคนใช้ เข้าใจและใช้เป็น แต่จะไม่ได้ผลอะไรเลยถ้าผู้ใช้ (ทั้งผู้ประเมินและผู้ถูกประเมิน) ไม่เข้าใจและใช้ไม่เป็น

สวัสดีครับคุณ มุ่ยฮวง

  • ถ้าทำได้จริงจังก็ดีครับ
  • ระบบราชการต้องค่อยๆเดิน มั้ง ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท