พระจุฬามณี ต้นแบบพระเมืองสองแคว "พิษณุโลก"


การสร้างพระพุทธรูปรุ่นหลังๆนั้น ได้มีการใช้ศิลปะต้นแบบจากอย่างน้อยสองแหล่งด่วยกันคือ ศิลปะตั้งต้นจากแหล่งที่มา ผสมผสานกับศิลปท้องถิ่น

จากการศึกษาพุทธศิลป์ของพระกรุ ผมได้พบว่ามีพระโบราณกรุหนึ่งที่น่าสนใจมาก คือ พระจุฬามณี ที่สร้างโดยฤๅษี ที่มีทั้งสองหน้า และหน้าเดียว

Chulamanee3

ลักษณะซุ้มของพระจุฬามณี ที่คล้ายคลึงซุ้มพระพุทธชินราช

Shinarat024small

ลักษณะพิมพ์นางพญา ที่น่าจะเป็นต้นแบบของพระนางพญา

 

โครงสร้างของพิมพ์พระ ได้มีลักษณะที่คล้ายคลึงกับพระรุ่นหลังๆแทบทุกกรุ

ไม่ว่าจะเปนชินราชใบเสมา พระพุทธชินราช ดังได้กล่าวไปแล้ว และยังมีพระนางพญาอีกองค์หนึ่งที่โด่งดังมากในระดับ "เบญจภาคี"

ความโด่งดังของพระนั้น กลับไปเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่มีการค้นพบกรุแล้วนำขึ้นถวานรัชกาลที่ ๕ ในช่วงที่ท่านเสด็จประพาสเมืองพิษณุโลก ประมาณ พ. ศ. ๒๔๔๐ หรือกว่าร้อยปีมาแล้ว

แต่กลับแทบไม่มีใครให้ความสนใจพระต้นแบบของพระดังๆเหล่านั้น

ที่เป็นโอกาสให้น่าศึกษามาก

จากการศึกษาพิมพ์พระ ทำให้พบว่า

การสร้างพระพุทธรูปรุ่นหลังๆนั้น ได้มีการใช้ศิลปะต้นแบบจากอย่างน้อยสองแหล่งด่วยกันคือ ศิลปะตั้งต้นจากแหล่งที่มา ผสมผสานกับศิลปท้องถิ่น

ที่น่าจะเป็นแนวทางในการศึกษาที่มาและวิวัฒนาการศิลปะของไทยได้อีกทางหนึ่ง

จึงขอคิดดังๆมาประมาณนี้ครับ

หมายเลขบันทึก: 331427เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2010 11:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท