Anti Aging "ประจำเดือน" ไม่สมานฉันท์


เมื่อคุณรู้สึกปวดท้อง

“เกิดเป็นหญิง แท้จริงแสนลำบาก” หากจะกล่าวว่าข้อความนี้เป็นความจริง ท่านสุภาพสตรีส่วนใหญ่คงจะเห็นด้วยแน่ เรื่องที่เพศหญิงยังต้องทนลำบากอีกเรื่องไม่แพ้กันก็คือ การมีรอบเดือนหรือการมีประจำเดือน ที่เป็นปัญหาไม่เล็กเลยของคุณผู้หญิงหลายๆ ท่าน โดยปกติการมีประจำเดือนนั้นจะมีทุกๆ 28 วันโดยเฉลี่ย แต่ในผู้หญิงบางคนนั้นอาจะมีรอบเดือนที่ยาวได้ถึง 35 วัน

ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบของคุณผู้หญิงที่ต้องทนทุกข์ทรมานในการมีประจำเดือนนั้น คือ อาการปวดท้อง บางท่านมีเลือดประจำเดือนออกมามาก ในบางท่านพบว่าประจำเดือนขาดหายไป แต่ละปัญหาที่พบ การรักษาอาการจะแตกต่างกัน หากมีอาการปวดท้องในวันแรกๆ ของการมีประจำเดือนนั้นถือว่าเป็นอาการปกติและพบได้บ่อย ซึ่งสาเหตุของคนที่ปวดท้องมาก

ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากการขาดการออกกำลังกาย มีสารเคมีที่ชื่อว่า prostaglandin มากเกินไป บางท่านอาจจะเกิดจากภาวะเครียด บางท่านอาจจะเกิดจากภาวะช่องทางปากมดลูกค่อนข้างแคบ หรือมีตำแหน่งรูปร่างมดลูกผิดปกติ เยื่อบุมดลูกอยู่ผิดที่ Endometriosis มีภาวะพังผืดในมดลูกหรือภาวะอักเสบของช่องเชิงกราน

ภาวะการไม่มีประจำเดือนแบบปฐมภูมิ จะใช้ศัพท์คำนี้ในกรณีที่ผู้หญิงอายุ 16 ปีแต่ยังไม่เคยมีประจำเดือนเลย และภาวะไม่มีประจำเดือนแบบทุติยภูมิจะเกิดจากการที่เคยมีประจำเดือนเป็นปกติแต่ต่อมาขาดหายไปเป็นระยะเวลามากกว่า 3 เดือน ซึ่งภาวะที่ประจำเดือนขาดหายไปนั้นถือเป็นปกติในกรณีหญิงที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

 

หมอมีเคล็ดลับมาฝากคุณผู้หญิงเพื่อลดบรรเทาอาการเจ็บปวดเมือมีประจำเดือน

- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เลือดหมุนเวียนได้ดี นอกจากนี้การออกกำลังกายจะช่วยให้สมองหลั่งสาร Endrophin ซึ่งเป็นสารแห่งความสุขจะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น ทำให้นอนหลับอย่างสบาย

- การอาบน้ำอุ่น ประคบร้อนจะช่วยลดอาการปวดท้องประจำเดือนได้

- นอนหลับและพักผ่อนให้เพียงพอ จะช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้เช่นเดียวกัน

- ควรระมัดระวังการทานไขมัน เพราะไขมันสัตว์จะกระตุ้นให้เกิดอาการอักเสบในร่างกายและนำไปสู่สภาวะการปวดท้องมากขึ้น ในเพศหญิงที่ออกกำลังกายและควบคุมอาหารมากเกินไปจนเกิดภาวะประจำเดือนขาดหายไปนั้นเป็นสัญญาณเตือนให้ต้องปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เพื่อที่จะเพิ่มการสะสมไขมันในร่างกาย ควรลดพฤติกรรมการออกกำลังให้น้อยลงและรับประทานอาหารให้มากขึ้น

การบรรเทาอาการและการรักษานอกจากเคล็ดลับข้างต้นที่หมอแนะนำไปแล้วนั้น ยังสามารถใช้ยาช่วยได้ด้วยไม่ว่าจะเป็นกลุ่มยาที่รักษาอาการโดยตรงรวมถึงการใช้ฮอร์โมนด้วย นอกจากนั้นการทานอาหารเสริม วิตามิน ชนิดวิตามินอี แคลเซียม แมกนีเซียม ก็มีคุณสมบัติในการช่วยบรรเทาอาการลงได้ด้วย ในกรณีที่ประจำเดือนออกมามากการเสริมธาตุเหล็กก็มีความสำคัญเพื่อป้องกันภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็กด้วย

สนับสนุนข้อมูลโดย ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล

หมายเลขบันทึก: 330827เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2010 10:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 12:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท