ถอดความสามัคคีเภทคำฉันท์ในบทเรียน (๑)


ถอดความสามัคคีเภทคำฉันท์ในบทเรียน (๑)

ภุชงคประยาต ฉันท์ฯ

          ทิชงค์ชาติฉลาดยล                  คะเนกลคะนึงการ

กษัตริย์ลิจฉวีวาร                                ระวังเหือดระแวงหาย

         เหมาะแก่การณ์จะเสกสรร          ปวัตน์วัญจโนบาย

มล้างเหตุพิเฉทสาย                            สมัครสนธิ์สโมสร

         ณวันหนึ่งลุถึงกา                       ลศึกษาพิชากร

กุมารลิจฉวีวร                                    เสด็จพร้อมประชุมกัน

         ตระบัดวัสสการมา                     สถานราชเรียนพลัน

ธแกล้งเชิญกุมารฉัน                          สนิทหนึ่งพระองค์ไป

         ลุห้องหับรโหฐาน                      ก็ถามการณ์ ณ ทันใด

มิลี้ลับอะไรใน                                    กถาเช่นธปุจฉา

        จะถูกผิดกระไรอยู่                     มนุษย์ผู้กระทำนา

และคู่โคก็จูงมา                                 ประเทียบไถมิใช่หรือ

        กุมารลิจฉวีขัตติย์                      ก็รับอรรถอออือ

กสิกเขากระทำคือ                              ประดุจคำพระอาจารย์

        ก็เท่านั้นธเชิญให้                       นิวัตในมิช้านาน

ประสิทธิ์ศิลป์ประศาสน์สาร                 สมัยเลิกลุเวลา

        อุรสลิจฉวีสรร                            พชวนกันเสด็จมา

และต่างซักกุมารรา                            ชองค์นั้นจะเอาความ

         พระอาจารย์สิเรียกไป                ณข้างในธไต่ถาม

อะไรเธอเสนอตาม                              วจีสัตย์กะส่ำเรา

        กุมารนั้นสนองสา                        รวากย์วาทตามเลา

เฉลยพจน์กะครูเสา                             วภาพโดยคดีมา

        กุมารอื่นก็สงสัย                          มิเชื่อในพระวาจา

สหายราชธพรรณนา                          และต่างองค์ก็พาที

        ไฉนเลยพระครูเรา                      จะพูดเปล่าประโยชน์มี

เลอะเหลวนักละล้วนนี                          รผลเห็นบเป็นไป

        เถอะถึงถ้าจะจริงแม้                    ธพูดแท้ก็ทำไม

 แนะชวนเข้าณข้างใน                        จะถามนอกบยากเย็น

        ชะรอยว่าทิชาจารย์                    ธคิดอ่านกะท่านเป็น

รหัสเหตุประเภทเห็น                           ละแน่ชัดถนัดความ

        และท่านมามุสาวาท                     มิกล้าอาจจะบอกตา

พจีจริงพยายาม                                 ไถลแสร้งแถลงสาร

        กุมารราชมิตรผอง                      ก็สอดคล้องและแคลงดาล

พิโรธกาจวิวาทการณ์                          อุบัติขึ้นเพราะขุ่นเคือง

        พิพิธพันธไมตรี                           ประดามีนิรันดร์เนือง

กะองค์นั้นก็พลันเปลือง                       มลายปลาตพินาศปลงฯ

ถอดความ ภุชงคประยาต ฉันท์ฯ

       พราหมณ์ผู้ฉลาดคาดคะเนว่ากษัตริย์ลิจฉวีวางใจคลายความหวาดระแวง  เป็นโอกาสเหมาะที่จะเริ่มดำเนินการตามกลอุบายทำลายความสามัคคี  วันหนึ่งเมื่อถึงโอกาสที่จะสอนวิชา   กุมารลิจฉวีก็เสด็จมาโดยพร้อมเพรียงกัน  ทันใดวัสสการพราหมณ์ก็มาถึงและแกล้งเชิญพระกุมารพระองค์ที่สนิทสนมเข้าไปพบในห้องส่วนตัว  แล้วก็ทูลถามเรื่องที่ไม่ใช่ความลับแต่ประการใด ดังเช่นถามว่า ชาวนาจูงโคมาคู่หนึ่งเพื่อเทียมไถใช่หรือไม่  พระกุมารลิจฉวีก็รับสั่งเห็นด้วยว่าชาวนาก็คงจะกระทำดังคำของพระอาจารย์  ถามเพียงเท่านั้นพราหมณ์ก็เชิญให้เสด็จกลับออกไป  ครั้นถึงเวลาเลิกเรียนเหล่าโอรสลิจฉวีก็พากันมาซักไซ้พระกุมารว่าพระอาจารย์เรียกเข้าไปข้างใน ได้ไต่ถามอะไรบ้าง ขอให้บอกมาตามความจริง  พระกุมารพระองค์นั้นก็เล่าเรื่องราวที่พระอาจารย์เรียกไปถาม  แต่เหล่ากุมารสงสัยไม่เชื่อคำพูดของพระสหาย  ต่างองค์ก็วิจารณ์ว่าพระอาจารย์จะพูดเรื่องเหลวไหลไร้สาระเช่นนี้เป็นไปไม่ได้  และหากว่าจะพูดจริงเหตุใดจะต้องเรียกเข้าไปถามข้างในห้อง ถามข้างนอกห้องก็ได้  สงสัยว่าท่านอาจารย์กับพระกุมารต้องมีความลับอย่างแน่นอน  แล้วก็มาพูดโกหก  ไม่กล้าบอกตามความเป็นจริง  แกล้งพูดไปต่าง ๆ นานา  กุมารลิจฉวีทั้งหลายเห็นสอดคล้องกันก็เกิดความโกรธเคือง  การทะเลาะวิวาทก็เกิดขึ้นเพราะความขุ่นเคืองใจ  ความสัมพันธ์อันดีที่เคยมีมาตลอดก็ถูกทำลายย่อยยับลง

มาณวก ฉันท์ฯ

           ล่วงลุประมาณ                              กาลอนุกรม

 หนึ่งณนิยม                                            ท่านทวิชงค์

เมื่อจะประสิทธิ์                                        วิทยะยง

เชิญวรองค์                                              เอกกุมาร

          เธอจรตาม                                     พราหมณไป

โดยเฉพาะใน                                           ห้องรหุฐาน

จึ่งพฤฒิถาม                                            ความพิสดา

ขอธประทาน                                            โทษะและไข

         อย่าติและหลู่                                   ครูจะเฉลย

เธอน่ะเสวย                                               ภัตกะอะไร

ในทินนี่                                                     ดีฤไฉน

พอหฤทัย                                                  ยิ่งละกระมัง

        ราชธก็เล่า                                        เค้าณประโยค

ตนบริโภค                                                 แล้วขณะหลัง

วาทะประเทือง                                           เรื่องสิประทัง

อาคมยัง                                                    สิกขสภา

        เสร็จอนุศาสน์                                    ราชอุรส

ลิจฉวิหมด                                                 ต่างธก็มา

ถามนยมาน                                               ท่านพฤฒิอา

จารยปรา                                                   รภกระไร

         เธอก็แถลง                                        แจ้งระบุมวล

ความเฉพาะล้วน                                        จริงหฤทัย

ต่างบมิเชื่อ                                                 เมื่อตริไฉน

จึ่งผลใน                                                     เหตุบมิสม

       ขุ่นมนเคือง                                          เรื่องนฤสาร

เช่นกะกุมาร                                                ก่อนก็ระ

เลิกสละแยก                                                แตกคณะกล

เกลียวบนิยม                                               คบดุจเดิม

ถอดความ มาณวก ฉันท์ฯ

               เวลาผ่านไปตามลำดับ เมื่อถึงคราวที่จะสอนวิชาก็จะเชิญพระกุมารพระองค์หนึ่ง  พระกุมารก็ตามพราหมณ์เข้าไปในห้องเฉพาะ  พราหมณ์จึงถามเนื้อความแปลก ๆ ว่า ขออภัย ช่วยตอบด้วย อย่าหาว่าตำหนิหรือลบหลู่  ครูขอถามว่าวันนี้พระกุมารเสวยพระกระยาหารอะไร รสชาติดีหรือไม่ พอพระทัยมากหรือไม่ พระกุมารก็เล่าเรื่องเกี่ยวกับพระกระยาหารที่เสวย  หลังจากนั้นก็สนทนาเรื่องทั่วไป  แล้วก็เสด็จกลับออกมายังห้องเรียน  เมื่อเสร็จสิ้นการสอนราชกุมารลิจฉวีทั้งหมดก็มาถามเรื่องราวที่มีมาว่าท่านอาจารย์ได้พูดเรื่องอะไรบ้าง  พระกุมารก็ตอบตามความจริง  แต่เหล่ากุมารต่างไม่เชื่อ  เพราะคิดแล้วไม่สมเหตุสมผล  ต่างขุ่นเคืองใจด้วยเรื่องไร้สาระเช่นเดียวกับพระกุมารพระองค์ก่อน  และเกิดความแตกแยกไม่คบกันอย่างกลมเกลียวเหมือนเดิม

หมายเลขบันทึก: 330820เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2010 10:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (28)
นักแปลที่ไ่ม่ได้ึความ

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ หนูลองถอดความเองแล้ว อ่านแล้ว งงๆ

ถ้ามาอ่านของ ครูแป๊ว อีกที ก็เข้าใจมากขึ้นเลยค่ะ

สวัสดีค่ะ

  หลักการถอดคำประพันธ์ได้แนะนำไว้ในตอนท้ายของบันทึก "ถอดความสามัคคีเภทคำฉันท์ ตอนที่ ๕" ลองฝึกฝนดูนะคะ  ไม่ใช่เรื่องยาก

ขอบคุณมากค่ะ

ของหนูได้ทั้งสองอันนี้พอดีเลยค่ะ

เลยเสร็จเรียบร้อยแล้ว

สวัสดีค่ะ  น้องหทัยวรรณ  และน้อง KAPOOKLOKK

  เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดควรอ่านบทอื่น ๆ ให้ครบถ้วนด้วยนะคะ 

ขอบคุณมากๆๆๆเลยค่ะ

ขอบคุณมากครับคุณครู กำลังทำการบ้านเรื่องนี้พอดีครับ

-ขอขอบพระคุณยิ่ง ด้วยใจจริงที่กรุณาค่ะ-

สวัสดีค่ะ  PUMPKIN  Tugsica  jjj  และผู้ไม่แสดงตน

  ยินดีมากค่ะที่ได้ต้อนรับลูกศิษย์ใหม่ใน "ศึกษาวรรณคดี  สามัคคีเภทคำฉันท์"  หวังว่าบันทึกนี้คงช่วยให้นักเรียนเรียนวรรณคดีอย่างสนุกสนานนะคะ

ขอบคุณมากน่ะค่ะคุณครู

ขอบคุณมากๆเลยน่ะค่ะ

ขออำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองผู้ให้ข้อมูลด้วยน่ะค่ะ

ขอบคุณ *0*

ปีใหม่ต้องนั่งทำรายงาน

ขอยคุณมากครับ

ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงค่ะคุณครู ^^

ถ้าจะขอเนื้อเรื่องทั้งหมดจะได้ไหมครับ

ขอบคุณมากมากน้ะค่ะ

พิเฉทแปลว่าอะไรค่ะ

ขอบคุณครับ

ขอบคุณค่ะ กำลังหาอยู่พอดีเลย

ขอบคุณมากน้ะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท