E-Environment
E-Environment E-Environment สภาพแวดล้อมอิเล็กทรอนิกส์ E-Environment สภาพแวดล้อมอิเล็กทรอนิกส์ ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์

RFID (Radio Frequency Identification)


RFID (Radio Frequency Identification)
ระบบการชี้เฉพาะด้วยคลื่นความถี่วิทยุ RFID (Radio Frequency Identification)


คือระบบชี้เฉพาะอัตโนมัติ (Automatic Identification) แบบไร้สาย (Wireless) ระบบนี้จะประกอบด้วยอุปกรณ์สองส่วน คือ ส่วนเครื่องอ่าน (Reader) และส่วนป้ายชื่อ (Tag) โดยการทำงานนั้นเครื่องอ่านจะทำหน้าที่จ่ายกำลังงานในรูปคลื่นความถี่วิทยุให้กับตัวบัตร ยังผลให้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ภายในสามารถส่งข้อมูลจำเพาะที่แสดงถึง "Identity" กลับมาประมวลผลที่ตัวอ่านได้


โครงสร้างการทำงานของระบบ RFID แบบ Inductive Coupling

ความเป็นมาและเหตุผล

ในปัจจุบัน การใช้บัตรอัจฉริยะ (SmartCard) และระบบตรวจสอบรหัสโดยใช้ความถี่วิทยุ (RFID) เป็นที่ยอมรับอย่างสูงว่า เป็นเทคโนโลยีที่เอื้ออำนวยต่อการใช้งานที่ต้องการการบ่งบอกความแตกต่างหรือข้อมูลจำเพาะของแต่ละบุคคล ที่สามารถทำงานได้ถูกต้องแม่นยำ รวดเร็ว และมีความเป็นอัตโนมัติกว่าระบบตรวจสอบรหัสในระบบอื่นๆ เช่น รหัสแบบแท่ง (Barcode) การใช้งานที่ง่ายและยังเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการเสริมในเชิงพาณิชย์ด้านต่างๆ อีกทั้งยังสอดคล้องกับเทคโนโลยีทางการเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ยังผลให้การขยายตัวของการใช้งาน RFID/SmartCard สูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด


วัตถุประสงค์ของโครงการ

โครงการ RFID เป็นโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์วงจรรวมชิปเดี่ยวเพื่อใช้ในบัตรอัจฉริยะ (SmartCard Chip) ชนิดไร้สัมผัส (Contactless) เพื่อสร้างต้นแบบให้กับผู้ประกอบการ RFID/SmartCard ในประเทศไทย นำไปพัฒนาต่อในเชิงพาณิชย์ เป็นการยกระดับขีดความสามารถในการพัฒนา ออกแบบ และผลิตอุปกรณ์ด้านวงจรรวม และสนับสนุนให้เกิดผลผลิตทางการออกแบบวงจรรวมของสถาบันวิจัยในประเทศ ซึ่งเป็นฐานสำหรับการพัฒนาบุคลากรทางด้านไมโครอิเล็กทรอนิกส์ชั้นสูง ทั้งยังสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างมากให้กับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

คุณสมบัติของต้นแบบชิป RFID

  • เป็นระบบชี้เฉพาะด้วยความถี่วิทยุบนชิปเดี่ยว
  • เป็นระบบไร้สัมผัส (Contactless)
  • ใช้งานในย่านความถี่ 13.56 MHz
  • มีหน่วยความจำพรอมอนุกรมแบบโปรแกรมได้ครั้งเดียวขนาด 64 บิต
  • ใช้การเข้ารหัสข้อมูลแบบอินเวอร์สแมนเชสเตอร์ขนาด 70 กิโลบิตต่อวินาที
  • มีระบบป้องกันการชนกันของข้อมูล (Anti-Collision Feature)
  • ขนาดได (Die) 2,270 x 2,620 ตารางไมครอน
  • กินกำลังไฟ140 ไมโครวัตต์ ที่ 3.3 โวลต์
  • ออกแบบโดยใช้เทคโนโลยีซีมอส 0.8 ไมครอน

การประยุกต์ใช้งาน

  • ระบบการบอกรหัสสัตว์เลี้ยง (Animal identification)
  • ระบบทะเบียนประวัติ บัตรประชาชน (e-Citizen)
  • ระบบข้อมูลประวัติการรักษาพยาบาล (Health Care)
  • ระบบตั๋วอิเล็กทรอนิกส์ (e-Ticket)
  • ระบบบัญชีรายการอัตโนมัติ (Automated Inventory)
  • ระบบบอกรหัสพนักงาน (Automatic Teller)
  • ระบบอนุญาตเข้าออกสำนักงาน (Security Access)
  • ใช้แพลตฟอร์มออกแบบ Cadence ED
 
ต้นแบบภาคสนามเครื่องอ่าน ต้นแบบชิป RFID Tag

 

 

 

<ขอขอบคุณข้อมูลจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ>

หมายเลขบันทึก: 329909เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2010 21:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อะจ้า

มันนี้ก็เด็ดนะค่ะ

ขอยืมหยิบข้อมูลไปส่งอาจารย์หน่อยนะเจ้าค่ะ

อืมเกือบลืมนะค่ะ

ขอบคุณมากมายนะค่ะ

(พอดีคุณแม่นู๋สอนมาดีนะค่ะ อิอิอิ (แต่คุณแม่นู๋ยังไม่เสียนนะค่ะ))

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท